การทำเกษตรสำคัญที่ต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้ เปิดใจยอมรับสิ่งใหม่ที่ดีกว่า กล้าเปลี่ยนแปลงจากสิ่งเดิมเพื่อผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้น มีรายได้มากกว่าเดิมเป็นเท่าตัว โดยการปลูกมันสำปะหลังในระบบพิมายโมเดล นั้น เป็นการสะท้อนให้เกษตรกรได้มองเห็นคุณค่าของการปลูกมันด้วยระบบอินทรีย์ที่ยั่งยืน บนพื้นฐานของการลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ผลผลิตมีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไป ปลูกแตงโมอินทรีย์
การปลูกมันสำปะหลัง
คุณเกษม บุญลือ เป็นหนึ่งในเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา ที่ทำเกษตรมานานกว่า 10 ปี ที่หันมาปลูกมันสำปะหลังด้วย “ระบบพิมายโมเดล” จนกระทั่งเห็นผลเป็นที่ประจักษ์มานานกว่า 5 ปี ซึ่งในอดีตนั้นคุณเกษมก็มีวิธีการปลูกมันสำปะหลังไม่แตกต่างไปจากเกษตรกรทั่วไป ไม่เคยใส่ใจเรื่องดิน ไม่เคยคัดท่อนพันธุ์ ยกร่องเล็ก ปลูกถี่ 3,000-4,000 ต้น/ไร่ ใช้ยาฆ่าหญ้ากำจัดวัชพืช และใช้ปุ๋ยเคมีในการบำรุงต้นมันสำปะหลัง ผลผลิตที่ได้จึงมีปริมาณน้อยเพียง 2-3 ตัน/ไร่/ปี เพราะการยกร่องเล็ก ปลูกถี่ อาหารไม่เพียงพอ มันจึงแย่งอาหารกันนั่นเอง
เมื่อคุณเกษมได้มาพบกับระบบพิมายโมเดล เมื่อได้รู้ถึงกระบวนการผลิตมันสำปะหลังด้วยระบบนี้แล้ว จึงมองว่าน่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาการปลูกมันสำปะหลังให้ดีขึ้น จึงตัดสินใจทดลองปลูกมันในระบบนี้ เริ่มตั้งแต่การเตรียมดินให้เหมาะสมกับการปลูกมันสำปะหลังด้วยการเติมธาตุอาหารและอินทรียวัตถุในดิน ทั้งมูลสัตว์ ถ่าน และสภาพพื้นที่ เป็นพื้นที่ดินทรายเม็ดใหญ่
การวัดค่าความเป็นกรด เป็นด่างในดิน (pH) มีการปรับค่า pH ให้เหมาะสมกับการปลูกมันสำปะหลัง หลังจากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการไถเตรียมดินเพื่อปลูกมันแบบยกร่องใหญ่ ระยะ 2.40 เมตร ปลูก 2 แถวคู่ ระยะห่างระหว่างต้น 1 เมตร หรือประมาณ 1,600 ต้น/ไร่ ด้วยสายพันธุ์มังกรหยก 6 ไร่ ทองมา 1 ไร่และพิรุณ 1 ไร่ รวมเป็น 8 ไร่
ปลูกโดยไม่มีระบบน้ำ
โดยไม่มีระบบน้ำ แต่จะมีการคัดท่อนพันธุ์ก่อนปลูกเพื่อให้ได้ผลผลิตในปริมาณใกล้เคียงกันทุกต้น ก่อนจะแช่ท่อนพันธุ์ด้วย “กุ้งทองไคโตซาน” ผสมกับ “น้ำหมักชีวภาพปลาทะเล ตรากุ้งทอง” ไว้นาน 1 ชม. แล้วนำขึ้นมาใส่กระสอบปุ๋ย หมกไว้นาน 3-4 วัน ท่อนพันธุ์จะแตกตาดี เพราะได้รับธาตุอาหารที่สมบูรณ์ ก่อนนำท่อนพันธุ์เสียบในระยะที่กำหนดไว้ ต่อมาเมื่อมีลูกหญ้าขึ้นมาก็จะใช้ยาฆ่าหญ้าชีวภาพกำจัดวัชพืชในช่วงแรก
การปลูกแตงโมแซมในร่องมันสำปะหลัง
จากนั้นจะปลูก “แตงโม” เป็นพืชแซมในร่องมันสำปะหลัง หลุมละ 2 เมล็ด ระยะห่าง 1.50 เมตร ซึ่งทุกครั้งที่มีการฉีดพ่นปุ๋ยน้ำทางใบให้กับมันสำปะหลัง ก็จะเป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้กับแตงโมไปในตัว โดยการใช้กุ้งทองไคโตซานกับน้ำหมักชีวภาพปลาทะเล ตรากุ้งทอง ผสมน้ำในอัตราส่วนที่กำหนด ฉีดพ่นทางใบ 1 ครั้ง/เดือน เพียงแค่ 2 เดือน กับอีก 10 วัน
การเก็บเกี่ยวแตงโมและมันสำปะหลัง
คุณเกษมก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตจากแตงโมได้ เป็นแตงโมไร้สาร สร้างรายได้ 400-500 บาทต่อวัน หรือมีรายได้จากการขายแตงโมราว 40,000-50,000 บาท/ปี และเมื่อต้นมันสำปะหลังมีอายุ 3-4 เดือนขึ้นไป ก็จะใช้กุ้งทองไคโตซานกับน้ำหมักชีวภาพปลาทะเล ตรากุ้งทอง ผสมน้ำในอัตราส่วนที่กำหนด ฉีดพ่นลงดินเพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้กับหัวมันสำปะหลัง จนกระทั่งมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 9-10 เดือน ก็จะขุดเก็บผลผลิต 8 ตัน/ไร่ เปอร์เซ็นต์แป้งมากกว่า 28-30%
“ผมมีที่ปลูกมันสำปะหลัง 8 ไร่ ปลูกมันระบบพิมายโมเดลมา 5 ปีแล้ว ผมปลูกแตงโมแซมทุกปี เป็นแตงโมอินทรีย์ แต่คนอื่นปลูกไม่ได้ เพราะไม่รู้เรื่อง ปลูกก็เจ๊ง เพราะสภาพมีปัญหาโรคตามมา เพราะดินเป็นกรด ดินเค็ม ใส่แต่เคมี พอแล้งมาก็ตาย แต่ผมปรับปรุงดินจนดี ปรับ pH ดี จนมันสำปะหลังปลูกได้ ผมเลยปลูกแตงโมได้ แล้งมากระทบแตงโมก็ไม่ตาย ฝนมาแตงโมยิ่งงาม ขายได้ ขายหมดทุกวัน ลูกใหญ่ 5-6 กก. ขาย 50 บาท เล็กมาหน่อยก็ขาย 20-30 บาท/ลูก
แตงโมไร้สาร หวานตามธรรมชาติ ปีแรกผมขายไม่เป็น ไม่รู้จะขายตรงไหน แต่พอมันเก็บผลผลิตได้ ลูกค้าผ่านไปผ่านมาก็มาซื้อเอง ส่วนการปลูกมันสำปะหลัง ปีแรกผมปลูกแบบไม่ยกร่องนะ ในระยะ 1×1 เมตร แต่ปีนี้ปลูกแบบยกร่องใหญ่แทน 1-2 ปีแรกผมใช้ยาฆ่าหญ้าชีวภาพมา
แต่ตอนนี้ผมไม่ได้ฉีดยาฆ่าหญ้ามา 2 ปี ไม่มีหญ้าขึ้นเลย ก็ดูแลตามปกติ ผลผลิตปีแรกที่ปลูกมันสำปะหลังระบบนี้ยังไม่ค่อยเห็นผล 4 ตัน/ไร่ ปีที่ 2 ได้ 5 ตัน/ไร่ มาปีที่ 3 เริ่มเห็นผลชัดเจนขึ้น 6 ตัน/ไร่ มาปีที่แล้วได้ผลผลิต 8 ตัน/ไร่ ก็พอใจมาก แต่ปีนี้ยังต้องรอดูผลผลิต แต่ไม่น่าต่ำกว่า 8 ตัน/ไร่
รายได้จาก ปลูกแตงโมอินทรีย์ และมันสำปะหลัง
ช่วงแรกผมมีรายได้จากแตงโม พอ 10 เดือน ผมมีรายได้จากหัวมันสำปะหลัง แล้วผมยังขายต้นพันธุ์ได้อีก เพราะเป็นพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตดี เป็นที่ต้องการของเกษตรกร ปีนี้คนมาจองพันธุ์ผมไว้หมดแล้ว ไม่เหลือแล้ว ไร่อื่นเป็นเพลี้ยแป้ง แต่สวนผมไม่เป็น เพราะมันสำปะหลังเรามีภูมิคุ้มกันโรคและแมลง ต้านทานโรค ผมปลูกรุ่นใหม่ ร่องใหญ่ แถวคู่ เราปลูกห่าง รัศมีรากมันหากินได้ไกล หัวใหญ่ขึ้น ดินผมดี มันสำปะหลังอายุ 4 เดือน ต้นโตเท่ากัน เสมอกันหมด
ที่ผ่านมาก็ขุดมันสำปะหลังหัวไม่หัก หัวไม่ขาด ขุดง่ายขึ้น เมื่อก่อนผมเคยเป็นหนี้ ยืมอย่างเดียว แต่วันนี้ผมปลดหนี้ได้จนหมด ไม่เป็นหนี้ใคร ตอนนี้ผมมีรายได้ประมาณ 200,000 บาท/ปี ผมก็พอใจ พออยู่ พอกิน” คุณเกษมเผยถึงความสำเร็จในการปลูกมันสำปะหลังที่เขาสามารถทำได้ เกษตรกรก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ไม่ทำ เพราะไม่ยอมเปิดใจเรียนรู้ ยึดติดกับสิ่งที่เป็นอยู่ ผลผลผลิตที่ได้ทุกวันนี้จึงไม่เกิน 3-4 ตัน/ไร่/ปี สอบถามเพิ่มเติม คุณเกษม บุญลือ ที่อยู่ 177 หมู่ 9 ต.ช่องแมว อ.ลำทะเมนชัย จ.นครราชสีมา โทร.082-863 1043
สภาพพื้นที่การปลูกมันสำปะหลัง
สอดคล้องกับ นายวรพจน์ วิชชาพิณ ผู้ประกอบการอู่ซ่อมรถติดตั้งศูนย์ถ่วงล้อ “วีพีเซอร์วิส” มานาน 20 ปี เลขที่ 293 หมู่ 2 ต.ในเมือง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ซึ่งเดิมทีเคยทำเกษตร และยังมีใจรักในการทำเกษตร จึงอยากจะหวนกลับมาทำเกษตร ทั้งปลูกข้าว และมันสำปะหลัง ในระบบอินทรีย์ ภายใต้การลดต้นทุน หรือ “ระบบพิมายโมเดล” มานานกว่า 3 ปี บนพื้นฐานการปลูกมันสำปะหลังแบบลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
แม้ว่าราคาผลผลิตจะตกต่ำในบางช่วง บางปี แต่ปริมาณผลผลิตต่อไร่ที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ก็ยังทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มีกำไรต่อไร่เพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากคุณวรพจน์มีการใช้พื้นที่ทำการเกษตรมานาน 30-40 ปี จึงต้องปรับปรุงดินให้ดี
การเติมธาตุอาหาร
ด้วยการเติมธาตุอาหารด้วยปุ๋ยอินทรีย์ และเพิ่มอินทรียวัตถุในดินก่อน ทำการตรวจสอบค่าความเป็นกรด เป็นด่าง ในดิน (pH)ให้เหมาะสม หรืออยู่ประมาณ 5 กว่าๆ ก่อนจะทำการเตรียมดินเพื่อปลูกมันสำปะหลังแบบไม่ยกร่อง แช่ท่อนมันด้วย “กุ้งทองไคโตซาน” ผสมกับ “น้ำหมักชีวภาพปลาทะเล ตรากุ้งทอง” นาน 1 ชม. ก่อนนำขึ้นใส่กระสอบปุ๋ย หมกไว้นาน 3-4 วันให้ท่อนพันธุ์แตกตา และสมบูรณ์
ก่อนเสียบท่อนพันธุ์ในระยะ 1.20×1.20 เมตร หรือประมาณ 1,100 ต้น/ไร่ ด้วยสายพันธุ์ห้วยบง 60และ 80 เกษตรศาสตร์ รวมเนื้อที่ 200 ไร่ ปลูกแบบไม่มีระบบน้ำ เป็นพื้นที่ราบ ที่รากมันสามารถหากินได้อย่างทั่วถึงไปได้ไกลกว่า และการปลูกห่างจะได้หัวที่ใหญ่กว่า รากเดินดี ไม่แย่งอาหารกัน หัวจึงขยายได้เต็มที่
การบำรุงดูแล
การดูแลเริ่มตั้งแต่การใช้กุ้งทองไคโตซานในอัตรา 100 ซีซี. น้ำหมักชีวภาพปลาทะเล ตรากุ้งทองในอัตรา 500 ซีซี. และน้ำส้มควันไม้ผสมน้ำ 200 ลิตร ฉีดทางใบ 1 ครั้ง/เดือน ก่อนจะทำการกำจัดวัชพืชด้วยยาฆ่าหญ้าชีวภาพ หลังจากนั้นก็จะทยอยฉีดทุก 45-50 วัน ทั้งฉีดพ่นทางใบ และฉีดพ่นลงดิน เพื่อบำรุงต้นมันสำปะหลังให้สมบูรณ์เต็มที่ไปจนกระทั่งต้นมันสำปะหลังไม่สามารถฉีดพ่นได้ ประมาณ 5-8 รอบ/ปี ผลผลิตล่าสุด 6-7 ตัน/ไร่/ปี เปอร์เซ็นต์แป้ง 30% บางต้นหัวมันยาวเป็นเมตร มันอายุ 11 เดือน หัวยาว และน้ำหนักมากกว่า 39 กก./ต้น
“ตั้งแต่ทำมา 3 ปี คุ้มค่ากับการใช้อินทรีย์ คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป เราไม่หวังให้ได้เยอะๆ แต่เราทำให้ดีที่สุด เพราะมันเป็นงานอดิเรกผม เพราะผมเปิดอู่ ผมมีเวลาแค่วันอาทิตย์ แต่ผมมีคนงานประจำดูแลอยู่ แต่ชาวบ้านมีเวลาทุกวัน การดูแลเอาใจใส่อยู่ที่เราใส่ใจ ถ้าเราใส่ใจมันก็ดูแลทั่วถึงอยู่แล้ว ต้องทำให้ได้ ต้องมีคนงานประจำ แต่คนงานชุดนี้ดี เขาทำให้เราดี เมื่อก่อนที่ผมดินเสียมาก แต่ตอนนี้ปลูกทีหลังเขาต้นสวยกว่าเขาอีก” คุณวรพจน์เผยถึงข้อดีการปลูกมันสำปะหลังด้วยระบบนี้
การดูแลใช้แรงงานฉีดปุ๋ยน้ำทางใบเพียง 4 คนๆ ละ 30 ไร่/วัน ฉีด 2 วัน ก็เสร็จ 200 ไร่ ฉีดยาฆ่าหญ้าชีวภาพ 400 บาท/วัน เพราะหาแรงงานฉีดยาก และการฉีดปุ๋ยทางใบจะทำไปจนกว่าเขาฉีดพ่นไม่ได้ เพราะต้นโตจนคลุมเต็มพื้นที่ ในขณะที่ตันมันสำปะหลังยังได้รับธาตุอาหารทางดินที่ได้เติมไว้ให้ก่อนหน้านี้แล้ว
การปลูกมันสำปะหลังในระบบพิมายโมเดลนอกจากจะให้ผลผลิตราว 6-7 ตัน/ไร่ แบบทยอยปลูก และทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ยังมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 5,000-6,000 บาท/ไร่ เมื่อหักต้นทุนการผลิตออกไปจะมีกำไรมากกว่า 7,000-8,000 บาท/ไร่ ซึ่งในอนาคตคุณวรพจน์มีเป้าหมายที่จะปลูกมันสำปะหลังด้วย “ระบบพิมายโมเดล” ให้ได้ผลผลิตเฉลี่ย 15 กก./ต้น และผลผลเฉลี่ย 10 ตัน/ไร่
ภายใต้ความพยายามเพื่อให้ไปถึงซึ่งจุดหมายที่วางเอาไว้ เพราะการทำเกษตร เกษตรกรต้องทำให้ได้ ต้องมีเป้าหมาย ต้องมีการจดบันทึกต้นทุนการผลิต และกำไร เน้นการปลูกด้วยอินทรีย์เป็นหลัก มีการจัดการที่ถูกต้อง ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้ เปลี่ยนแนวคิด เปลี่ยนวิธีการปลูกเพื่อผลผลิตที่เพิ่มขึ้น รายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกร ที่เกษตรกรทุกท่านสามารถทำได้ โทร.086-430-5784 คุณวรพจน์ วิชชาพิณ(ปุ้ม)