ปัญหาราคายาง
จากปัญหาราคายางที่สะสมมาอย่างยาวนาน จนส่งผลกระทบโดยตรงกับอุตสาหกรรมยางต้นน้ำทั้งระบบโดยเฉพาะเกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ และแม้ว่ารัฐบาลจะอัดฉีดเงินกู้ผ่านหลายโครงการเพื่อแก้ปัญหา แต่ราคายางกลับไม่กระเตื้องมากนัก
หนึ่งในแนวทางที่ได้รับความสนใจมาอย่างยาวนาน คือ การปรับเปลี่ยนวิธีการ จาก “เกษตรเชิงเดี่ยว” เป็น “เกษตรผสมผสาน” สร้างรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี
พื้นที่สวนยางทั้งหมด 100 ไร่ ทำแปลงสับปะรด และปลูก ข้าวเหนียวดำ ไร่ ในสวนยางพารา บนพื้นที่กว่า 40 ไร่ ของ คุณสหัส วิไลรัตน์ ที่ยึดอาชีพเกษตรกรมานาน เป็นเกษตรกรอีกรายที่ประสบผลสำเร็จ จากการปลูกข้าวไร่ และสับปะรด แซมและเสริมในสวนยาง
การเก็บเกี่ยวผลผลิต ข้าวเหนียวดำ
ส่วนการเก็บเกี่ยว เนื่องจากเขาปลูกระหว่างแถวต้นยางบนพื้นที่ 40 ไร่ ทำให้สามารถใช้รถเกี่ยว ข้าวเหนียวดำ เก็บผลผลิตได้สะดวก ส่วนตอซังเขาจะใช้รถแทรกเตอร์ผานสามไถแปรให้ลึกกลบฝังดิน เพื่อปลูกสับปะรดหมุนเวียนต่อไป ทำให้สับปะรดได้ปุ๋ยชีวภาพอย่างดีจากตอซังด้วย
ผลผลิตที่ได้ ตัวอย่างร่องแปลงสวนยาง 46 ไร่ ได้ 160 กว่ากระสอบ และร่องแปลง 26 ไร่ ได้ 120 กว่ากระสอบ ผลผลิตในแต่ละปีขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย โดยขายเป็นข้าวสด กิโลกรัมละ 14 บาท
คุณสหัสบอกว่าไม่ได้หวังผลกำไรจากการปลูก ข้าวเหนียวดำ มากนัก เพราะวัตถุประสงค์หลัก คือ ต้องการตอซังข้าว เพื่อเป็นปุ๋ยปรับปรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารแก่พืชหลัก อย่าง สับปะรด มากกว่า
การเก็บเกี่ยวผลผลิตสับปะรด
ผลสับปะรดที่มีอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมสำหรับบริโภค หรือการแปรรูป โดยนับอายุการเก็บเกี่ยวหลังวันบังคับดอก 150-180 วัน หรือสังเกตการเปลี่ยนสีเปลือกผลจากสีเขียวอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม หรือสีเขียวเหลือง หรือสีเหลือง หรือสีเหลืองส้ม อาจพิจารณาร่วมกับสีเนื้อสับปะรด
“ผมทำสับปะรดไม่เคยขาดทุนเลยสักครั้ง ถ้าทำตามที่ผมบอก รับรองสับปะรดติดดอกดี ออกผลดี 90-95%” นายสหัสพิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริง
การเลือกปลูก ข้าวเหนียวดำ
การปลูกข้าวไร่ในสวนยางถือเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ เพราะโดยปกติพื้นที่ว่างเปล่าในร่องสวนยาง เกษตรกรจะพบปัญหาของการปราบวัชพืช ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ส่งผลให้ต้นทุนการจัดการดูแลสวนยางพาราเพิ่มขึ้น แต่หากหันมาใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้วระหว่างสวนยางให้เกิดประโยชน์สูงสุด เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายข้าว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปราบวัชพืช อีกทั้งได้ปุ๋ยทั้งจากการใส่ ข้าวเหนียวดำ และตอซังข้าว เป็นอาหารของต้นยางพาราได้อีกด้วย
แนวทางของเขา คือ การปรับพื้นที่ว่างเปล่าในสวนยาง ปลูก ข้าวเหนียวดำ เนื่องจากตอซังข้าวไถกลบเป็นปุ๋ยชีวภาพอย่างดีของต้นยางพารา ทั้งเป็นการปรับปรุงบำรุงดินไปในตัวนั่นเอง “คิดว่าข้าวทุกคนต้องกิน ต้องใช้ จึงเลือกข้าว และหลังจากเกี่ยวข้าวจะเหลือตอซังไถกลบไว้เป็นปุ๋ยชีวภาพ มีประโยชน์ต่อต้นยางได้ ให้ผลผลิตหมุนเวียนกันรอบปี” คุณสหัสบอกว่าข้าวไร่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทำมานานตั้งแต่รุ่นพ่อแล้ว เป็นทางหนึ่งที่จะเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และได้กินข้าวปลอดสารพิษ
สภาพพื้นที่ปลูก ข้าวเหนียวดำ ในร่องยาง
การปลูก ข้าวเหนียวดำ ในระหว่างแถวต้นยาง วิธีการของสวนที่นี่จะแตกต่างจากที่อื่น คือ จะหว่านเมล็ดข้าวให้เต็มพื้นที่ จะไม่หว่านห่าง และให้ปุ๋ย ฮอร์โมนพืช ควบคุมการเจริญเติบโต ข้าวพันธุ์น้ำหอมนี้ใช้ระยะเวลาประมาณ 5 เดือน ถึงเก็บเกี่ยวได้
การบำรุงดูแลรักษาต้นข้าว
คุณสหัสเล่าว่าจะปลูกข้าวได้ต่อเมื่อต้นยางอายุ 3 เดือนขึ้นไป อันดับแรกเตรียมดินกำจัดวัชพืชก่อน ไถปรับหน้าดินไม่ต้องลึก หลังจากหว่านข้าวแล้ว 1 เดือน จึงใส่ปุ๋ยสูตร 16-20-0 โดยสังเกตว่าหากตรงไหนต้นข้าวสมบูรณ์ดีจะไม่ใส่ตรงนั้น บนพื้นที่ 43 ไร่ ใส่ปุ๋ย 10 กระสอบ หลังจากนี้บำรุงด้วยฮอร์โมนอย่างเดียว เช่น ฉีด 1 เดือน ก่อนข้าวออกรวง และฉีดอีกครั้งหลังถอดรวง พร้อมยากำจัดแมลง และโรคพืช จากนั้นปล่อยให้เติบโตตามธรรมชาติจนข้าวสุก
การปลูกข้าวไร่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำฝนตามฤดูกาลเพื่อหล่อเลี้ยงต้นข้าว พื้นดินที่ปลูกข้าวไร่จะแห้ง หรือขาดน้ำทันทีที่สิ้นฤดูฝน ดังนั้นการปลูกข้าวไร่จึงต้องใช้พันธุ์ข้าวที่มีอายุสั้น โดยปลูกในต้นฤดูฝน และเก็บเกี่ยวได้ในปลายฤดูฝน
การปลูกสับปะรด ในสวนยาง
คุณสหัสบอกว่าไม่ได้หวังผลกำไรจากการปลูกข้าวมากนัก เพราะวัตถุประสงค์หลัก คือ ต้องการตอซังข้าว เพื่อเป็นปุ๋ยปรับปรุงดิน เพิ่มธาตุอาหารแก่พืชหลัก อย่าง สับปะรด มากกว่า
การปลูกสับปะรด มีต้นทุนสูง การทำเช่นนี้ช่วยให้ประหยัดต้นทุนได้มาก ตัวอย่างแปลงนี้ 26 ไร่ ลงทุน 7 แสนกว่าบาท ได้ผลกำไรเป็น 2-3 เท่า ของต้นทุนทั้งหมด ผลตอบแทนถือว่าคุ้มค่าทีเดียว เมื่อสิ้นฤดูปลูกข้าว เขาจะเริ่มทำ การปลูกสับปะรด ต่อทันทีประมาณเดือนกันยายน
และจะเก็บเกี่ยวประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ช่วงแล้งจะปลูกได้อีกรอบหนึ่ง ซึ่งจะทันเก็บเกี่ยวก่อนฝนมาพอดี และไถกลบเศษซากต้นสับปะรดที่เหลือ เป็นปุ๋ยพืชสดแก่ต้นยาง ทำให้โตเร็ว แข็งแรงกว่าปกติ
สภาพพื้นที่ปลูกสับปะรดในสวนยาง
คุณสหัสเล่าว่า การปลูกสับปะรด ในสวนยางจะแตกต่างจากการปลูกแบบทั่วไป อันดับแรกเริ่มจากการไถดินให้ลึก จะช่วยให้การระบายน้ำและอากาศในดินถ่ายเทดี ในพื้นที่ซึ่งดินเป็นที่ราบควรยกร่องเล็กน้อย เพื่อให้ระบายน้ำได้ดีขึ้น ไถตากหน้าดินประมาณ 15 วัน ไถพรวนอีก 2-3 ครั้ง จนต้นไม้ ใบหญ้า กลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย แล้วปรับระดับให้เรียบเสมอ ใช้รถแทรกเตอร์ลากพรวนจานไถกลับไปมา ไถแปรยกร่องขึ้นทำแปลง
และทำร่องระบายน้ำรอบแปลงปลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ยา หรือสารเคมี ของสับปะรด ชะล้างถึงต้นยางพารา อาจทำให้ต้นยางชะงักการเจริญเติบโต 5-6 เดือน เกิดอาการใบเหลือง และตายได้ในที่สุด
ขั้นตอนลงหน่อสับปะรด
ต่อมาขั้นตอนลงหน่อสับปะรด ใน 1 ไร่ ใช้ 4,000 หน่อ โดยแต่ละหลุมห่างกัน 1 ศอกโดยประมาณ ถ้าต้นยางอายุ 6-7 ปี จะปลูกสับปะรดได้ 6 แถว คือ ฝั่งละเท่าๆ กัน 3 แถว เว้นระยะสำหรับทางเดินประมาณ 70 เซนติเมตร ให้ปลูกห่างจากแถวยางพาราประมาณ 1.5 เมตร
“ถ้าเราไม่มีการจัดการสวนแบบนี้ จะทำให้ผลสับปะรดมีขนาดเล็ก สวนของผมจะแบ่งแปลงแยกออกเป็นซอยๆ ซอยหนึ่งประมาณ 10 ต้นยาง เพื่อง่ายต่อการเข้าไปเก็บผลผลิต” จากนั้นขุดหลุมปลูกลึก 15-25 เซนติเมตร เอาหน้าดินคลุกกับปูนขาวใส่รองก้นหลุม ฉีดน้ำในหลุมที่เจาะไว้ให้ดินอ่อนนุ่ม จากนั้นนำหน่อสับปะรดลงปลูก ใช้เวลา 10-15 วัน หน่อสับปะรดก็จะออกราก และตั้งตัวได้
การใส่ปุ๋ยให้ต้นสับปะรด
ครั้งที่ 1 : หลังจากปลูกสับปะรดแล้ว 1 เดือน ดำเนินการใส่ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 ปุ๋ยกระสอบหนึ่ง 50 กก. ได้ 1,200 ต้น ดังนั้นจำนวน 1 กก. ต่อ 20 ต้น “หลักสำคัญในการทำแปลงสับปะรด คือ อย่าปล่อยให้หญ้า หรือวัชพืช ขึ้นรกเด็ดขาด การกำจัดสามารถใช้ยาฆ่าหญ้าฉีดพ่นหลังสับปะรดอายุ 3 เดือนไปแล้ว”
ครั้งที่ 2 : เมื่อสับปะรดอายุได้ 4 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือสูตร 13-3-21 ผสมกับสูตร 16-21-14 อย่างละ 1:1 ส่วน
ครั้งที่ 3 : เมื่ออายุได้ 7-8 เดือน โดยสวนแห่งนี้จะใช้เป็นปุ๋ยชุดชนิดผง ผสมน้ำฉีดชุดละ 7 กก. ผสมน้ำ 1,000 ลิตร
ครั้งที่ 4 : ช่วงเดือนที่ 9 ถึงเดือนที่ 12 ดำเนินการฉีดพ่นปุ๋ยชุดทางใบ เพื่อขยายขนาดผล หรือขยายสะโพก สับปะรด ตามภาษาชาวสวน จำนวน 2 ครั้ง
การบำรุงดูแลรักษาต้นสับปะรด
ครั้งที่ 1 : หลังจากบังคับออกดอก 1 เดือน เพื่อบำรุงดอกแดง
ครั้งที่ 2 : หลังจากเกิดจุก ห่างจากครั้งแรก 2-3 เดือน
เมื่อต้นสับปะรดครบอายุ 12 เดือน จะดำเนินการหยอดเอทธีลีนชนิดผงที่กลางยอด “เพราะเคยใช้วิธีฉีดพ่นแล้วพบว่าลูกจะยืดยาว ขยายใหญ่ ไม่สวย” ทำในช่วงเดือนที่ 9 ถึงเดือนที่ 11 ใช้เอทธีลีนหลังจากฉีดพ่นปุ๋ยชุดทางใบ ขยายสะโพกสับปะรดแล้ว 1 เดือน
เคล็ดลับ คือ หยอดตอนกลางคืนเท่านั้น ช่วงหลังเที่ยงคืน ประมาณตี 1-ตี 2 จุดนี้สำคัญมาก เนื่องจากสภาพอากาศชื้นและเย็น เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสับปะรด และขณะที่หยอดเอทธีลีนในยอดสับปะรดต้องมีน้ำขังอยู่ ให้หยอดกลางยอด หรือในกาบใบ ก็ได้ กรณีไม่มีน้ำขังยอด ให้หยอดทิ้งไว้แล้วตามมารดน้ำภายหลัง โดยน้ำที่รดผสมปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 จำนวน 3 กก. ในน้ำ 200 ลิตร เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และเพิ่มประสิทธิผลการบังคับดอก
สรุปจะทำการหยอดเอทธีลีนอย่างน้อย 2 ครั้ง คือ หยอด 1 วัน เว้น 3 วัน หากหยอดเพียงรอบเดียวจะไม่ติดผลเท่าไร ขั้นตอนต่อไปหลังจากหยอดไปแล้ว 30-45 วัน จะเริ่มให้ดอกสีแดง ถ้าให้ชัวร์ 38-50 วัน จะเห็นออกดอกทั่วแปลงเลย ให้ฉีดปุ๋ยชุดบำรุงดอกแดง ขยายสะโพกที่กล่าวข้างต้นไปแล้ว ระยะที่เป็นดอกสีแดงถึงระยะเป็นจุก ใช้เวลาประมาณ 60 วัน ช่วงเวลานี้ไม่ต้องใส่ปุ๋ยใดๆ ทั้งสิ้น จนกระทั่งหลังแคะจุกแล้วจึงบำรุงด้วยปุ๋ยชุดครั้งสุดท้าย
“มีบางท่านเคยแนะนำให้ใส่ปุ๋ยเม็ดที่โคนต้นเหมือนกัน แต่ทดลองแล้วปรากฏว่าลูกแตกใช้ไม่ได้” เขาอธิบายความหมายของหน่อพันธุ์/จุก ว่า คือส่วนของต้นพืชที่สามารถนำมาขยายพันธุ์สำหรับใช้ปลูกได้ หลังจากเก็บจุก 30-45 วัน จะเริ่มเก็บผลสุกสับปะรดได้
การเก็บเกี่ยวผลผลิตสับปะรด
ผลสับปะรดที่มีอายุการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมสำหรับบริโภค หรือการแปรรูป โดยนับอายุการเก็บเกี่ยวหลังวันบังคับดอก 150-180 วัน หรือสังเกตการเปลี่ยนสีเปลือกผลจากสีเขียวอ่อนเป็นสีเขียวเข้ม หรือสีเขียวเหลือง หรือสีเหลือง หรือสีเหลืองส้ม อาจพิจารณาร่วมกับสีเนื้อสับปะรด การปลูกสับปะรด การปลูกสับปะรด การปลูกสับปะรด
“ผมทำสับปะรดไม่เคยขาดทุนเลยสักครั้ง ถ้าทำตามที่ผมบอก รับรองสับปะรดติดดอกดี ออกผลดี 90-95%” นายสหัสพิสูจน์แล้วว่าได้ผลจริง การปลูกสับปะรด การปลูกสับปะรด การปลูกสับปะรด การปลูกสับปะรด
รายได้จากการปลูกพืชแซมในสวนยาง
อย่างไรก็ตามการปลูกยางพาราในระยะยาว เกษตรกรสวนยางไม่ควรพึ่งพารายได้จากยางเพียงอย่างเดียว ควรมีการปลูกพืชเพื่อสร้างเสริมรายได้เพิ่ม เพื่อกระจายรายรับจากกิจกรรมต่างๆ
การปลูกพืชแซมในสวนยาง ไม่จำเป็นต้องปลูกข้าวไร่ แต่อาจจะปลูกพืชชนิดอื่นที่มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ สับปะรด หรือกล้วย ซึ่งเกษตรกรมีความจำเป็นต้องศึกษาคุณสมบัติของพืชแต่ละชนิด พร้อมกับศึกษาความต้องการของตลาดในแต่ละพื้นที่ด้วยว่ามีความต้องการพืชชนิดใด โดยน้อมนำพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้เกิดความพอเพียง จะสามารถช่วยแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรได้
ขอขอบคุณ คุณสหัส วิไลรัตน์ 156 ม.9 ต.บางเหรียง อ.ควนเนียง จ.สงขลา โทร.087-827-7557