กรดฟอร์มิกของบริษัท วิทย์คอร์ปฯ ยกระดับคุณภาพยางก้อนถ้วย
การผลิตยางก้อนถ้วย
“ปัจจุบันเกษตรกรทางภาคอีสาน และภาคเหนือ นิยมผลิตยางก้อนถ้วย เนื่องจากใช้น้ำน้อย ประหยัดแรงงาน มีเวลาไปทำกิจกรรมอื่น ที่สำคัญมีต้นทุนการผลิตต่ำ
ยางก้อนถ้วยนับว่าเป็นวัตถุดิบยางขั้นต้นที่ใช้ในการผลิตยางแท่ง โดยมีปริมาณการผลิตทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ 386,173 ตัน และ 55,375 ตัน (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2559) หรือร้อยละ 75 และ 70 ตามลำดับ ของผลผลิตยางทั้งหมด”
อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการผลิตยางแท่งหลายรายมักประสบปัญหาเรื่องคุณภาพยางก้อนถ้วยที่ไม่สม่ำเสมอ ส่งผลต่อการนำยางแท่งไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะล้อยางยานพาหนะ สาเหตุจากการใช้สารจับตัวยางชนิดอื่นที่ไม่ใช่ กรดฟอร์มิก ในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นกรดซัลฟิวริค เกลือแคลเซียมคลอไรด์ หรือกรดที่อ้างว่าเป็นกรดอินทรีย์ กรดชีวภาพ น้ำส้มควันไม้ เป็นต้น
ตามคำแนะนำการผลิตยางก้อนถ้วยคุณภาพดี ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย ได้แนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ “ กรดฟอร์มิก ” ในการจับตัวยางก้อนถ้วย เนื่องจากเป็นสารอินทรีย์ที่สลายตัวง่าย ไม่มีผลตกค้างในยาง และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้ยางที่มีความยืดหยุ่นดี คุณสมบัติทางกายภาพดี
คุณสินชัย บุตรศิลป์ ประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง จ.บุรีรัมย์
แนวคิดการทำสวนยางของ คุณสินชัย บุตรศิลป์ เป็นที่รู้จักดี และได้รับความเชื่อถือจากเกษตรกรชาวสวนยางมายาวนาน เพราะเป็นประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง สาขาบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ และยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสหกรณ์กองทุนสวนยางนิคมบ้านกรวดจำกัด นำเสนอแนวคิดการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่พัฒนาคน พัฒนางาน ประสานสัมพันธ์ ภายใต้กิจกรรมเดียวกัน เพื่อร่วมกันพัฒนาองค์กร
“พัฒนาคน พัฒนางาน ประสานสัมพันธ์ คือ อะไร”
พัฒนาคน คือ การคัดเลือกบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มสมาชิกขึ้นมาทำงานแทนสมาชิกในแต่ละพื้นที่ โดยบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกจะต้องมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง ดังนี้
1.มีความเข้าใจ
2.มีจิตอาสา
3.มีความเป็นประชาธิปไตย
4.มีการประสานงานที่ดี
5.มีการสื่อสารที่ดี
พัฒนางาน คือ บุคคลที่มีคุณลักษณะดังกล่าวข้างต้นจะเป็นผู้นำความต้องการของสมาชิกเกษตรกรชาวสวนยางในความรับผิดชอบมาประมวลผลในแต่ละกิจกรรม เพื่อนำมาสรุปงานของตนเอง
ประสานสัมพันธ์ คือ การนำความต้องการของสมาชิกมาสรุปรวมกับผู้นำจากกลุ่มพื้นที่อื่นๆ ในการทำงานร่วมกัน เพื่อสรุปประเด็นความต้องการของสมาชิก
การวิเคราะห์และทดสอบคุณภาพ กรดฟอร์มิก
เมื่อเริ่มคัดเลือกบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มสมาชิกขึ้นมาทำงานแทนสมาชิกในแต่ละพื้นที่ โดยมีคุณสมบัติ คือ มีความเข้าใจ มีจิตอาสา มีการสื่อสาร มีการประสานงานที่ดี และมีความเป็นประชาธิปไตย เพื่อเป็นผู้นำของสมาชิก รับผิดชอบ ประมวลผล เพื่อสรุปประเด็นความต้องการของสมาชิกในแต่ละกิจกรรม และหาวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินงาน เช่น การประมูล การประกวดราคา หรือการตกลงราคา
“กิจกรรมการจัดหาปัจจัยการผลิต ได้แก่ กรดฟอร์มิก 94% ซึ่งเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยาง สาขาบ้านกรวด ได้ดำเนินการผ่านมาแล้วจำนวน 2 รอบ ในปีกรีด 2560/2561”
“ความต้องการใช้ และการเข้าร่วมโครงการเป็นไปโดยความสมัครใจของเกษตรกรชาวสวนยาง” คุณสินชัยให้ความเห็น และให้ข้อมูลว่า กรดฟอร์มิก 94% ที่ชนะการประมูลในแต่ละครั้ง หลังจากบริษัททำสัญญาซื้อขายกับเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแล้ว ต้องดำเนินการตามประกาศประกวดราคา คือ กำหนดการส่งมอบ บันทึกการเก็บตัวอย่าง นำส่งวิเคราะห์ในหน่วยงานราชการที่รับวิเคราะห์ และทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ก่อนนำไปใช้ทุกครั้ง เช่น ศูนย์วิเคราะห์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยหน่วยเครื่องมือกลาง คณะวิทยาศาสตร์ บริการโดยการวิเคราะห์ตามประกาศ
เน้นรายการวิเคราะห์ 3 อย่าง คือ ความเข้มข้นของกรดฟอร์มิก คลอไรด์ และซัลเฟต ซึ่งผลการวิเคราะห์มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ยางพารา ได้แก่ ยางแผ่นดิบ และยางก้อนถ้วย โดยเฉพาะสารซัลเฟต และคลอไรด์ เป็นสารที่มีผลต่อความยืดหยุ่นของเนื้อยาง
ทางบริษัทยินยอมให้ดำเนินการวิเคราะห์/ทดสอบได้ จึงเป็นผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพยางแผ่นดิบ และยางก้อนถ้วย ของเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางสาขาบ้านกรวดนั่นเอง
ปัจจุบันเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง สาขาบ้านกรวด ใน จ.บุรีรัมย์ มีพื้นที่ดำเนินการรวม 9 อำเภอ ประกอบด้วยอำเภอบ้านกรวด ประโคนชัย ละหานทราย โนนดินแดง ปะคำ โนนสุวรรณ หนองกี่ นางรอง และเฉลิมพระเกียรติ มีเนื้อที่สวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2560) รวมจำนวน 11,394 ราย เนื้อที่ 146,157.58 ไร่ และสวนยางที่เปิดกรีดแล้วจำนวน 8,353 ราย เนื้อที่ 116,990.29 ไร่ ปริมาณผลผลิตน้ำยางประมาณ 28,077,669.60 กก./ปี เฉลี่ยไร่ละ 240 กก.
คุณสมบัติของกรดฟอร์มิก
กรดฟอร์มิก หรือที่เรียกว่า “กรดมด” เป็นสารจับตัวยาง เนื่องจากเป็นสารอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย มีสูตรโครงสร้างทางเคมี คือ HCOOH มีคาร์บอนเพียงตัวเดียว จึงนับว่าเป็นกรดอ่อนที่มีความแรงของกรดไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับกรดชนิดอื่น
ในทางการค้ามีความเข้มข้น 94% หรือ 90% ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต นับว่ากรดฟอร์มิกเป็นกรดอินทรีย์ชนิดเดียวที่จับตัวยางได้อย่างสมบูรณ์ ในวงการอุตสาหกรรมด้านยางพารา กรดฟอร์มิกเป็นสารจับตัวยางใช้ในการผลิตยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย และยางแท่ง STR5L สามารถจับตัวสมบูรณ์ได้ภายใน 45 นาที สีของยางที่แห้งแล้วเหลืองสวย ไม่คล้ำ ยางแห้งเร็ว ไม่เหนียวเหนอะหนะ
กรดฟอร์มิกของ บริษัท วิทย์คอร์ป โปรดักส์ จำกัด เป็นผู้นำทางด้านเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเกษตร ทั้งภาคปศุสัตว์ และประมง เพราะเป็นเคมีที่มีคุณภาพ จนได้รับการการันตีทางมาตรฐาน ISO9001, มาตรฐาน GMP และมาตรฐานอื่นๆ
การให้ความรู้การใช้ กรดฟอร์มิก
“มีคำถามซึ่งเราอยากตอบ ทำไมต้องเลือกกรดมดแดง”
เพราะเป็นกรดฟอร์มิกคุณภาพดี ใช้ทำยางแผ่น และยางก้อนถ้วย ไม่ทำให้แผ่นยางเหนียวเหนอะ เนื้อยางมีความยืดหยุ่นดี ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของยางธรรมชาติ อีกทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่ตกค้างในยาง มีความปลอดภัยโดยได้รับคำยืนยันจากเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฐานเกษตรยางพารา ต.ดงอีจานอ.โนนสุวรรณ
จ.บุรีรัมย์ ดำเนินงานโดย นายธนากร จีนกลาง ประธานกลุ่มฯ ที่มีแนวคิดมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางแผ่นรมควัน จนได้ยกระดับรับรองมาตรฐาน GMP สำเร็จเป็นแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อใช้แล้วผลลัพธ์เป็นอย่างไร
1.แผ่นยางคุณภาพดี เกิดจากน้ำยางกับกรดสามารถจับตัวกันได้สม่ำเสมอ
2.ร่นระยะเวลาในการรมควัน จากปกติใช้เวลา 4-5 วัน พอมาใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัทนี้สามารถร่นระยะเวลาจากการรมเหลือเพียง 2.5-3 วัน ทั้งยังสามารถรีดน้ำออกจากแผ่นยางได้มากกว่า 30%
3.ประหยัดต้นทุน เวลา และเชื้อเพลิงในการรมควันลงครึ่งหนึ่ง ปกติต้นทุนอยู่ที่ 70-80 สตางค์/กิโลกรัม ปัจจุบันลดลงเหลือ 42 สตางค์/กิโลกรัม (ข้อมูลจัดเก็บ ณ เดือนมกราคม 2561)
วิธีใช้กรดมดแดง ทำได้ง่าย และรวดเร็วมาก เพียงแค่ใช้กรดฟอร์มิก 30 มิลลิลิตร (2 ช้อนแกง) ต่อน้ำ 1,100 มิลลิลิตร (3 กระป๋องนม) ผสมกัน ในแกลลอนพลาสติก โดยการเทกรดลงน้ำ จากนั้นตวงน้ำยางสะอาดที่กรองแล้ว 3 ลิตร และน้ำสะอาด 2 ลิตร ใส่ในตะกงขนาด 5 ลิตร คนให้เข้ากัน จากนั้นค่อยๆ เทกรดที่ผสมไว้ 1 กระป๋องนม ลงในตะกงให้ทั่ว แล้วกวนด้วยไม้พายเพื่อให้น้ำยางและน้ำกรดผสมเข้ากันประมาณ 4-5 เที่ยว ทิ้งไว้ 30-45 นาที เพื่อให้ยางแข็งตัว
ขั้นตอนการใช้ กรดฟอร์มิก
คุณสินชัยเล่าให้ทีมงานฟังว่า จากคุณภาพของผลิตภัณฑ์ กรดฟอร์มิก ตัวนี้ที่ผ่านขั้นตอนวิธีการประกวดราคาผ่านผลการวิเคราะห์ และเกษตรกรนำไปใช้ จากการได้รับข้อมูลการรับซื้อผลผลิตยางก้อนถ้วยของสหกรณ์กองทุนสวนยางละหานทรายจำกัด โดยนางเปรมยุดา หนูประโคน หัวหน้าการตลาด ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดซื้อและจำหน่ายผลผลิตยางพาราทุกชนิด เช่น ยางแผ่นดิบ ยางก้อนถ้วย ยางเครป ของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางดังกล่าว
ผลที่ได้ คือ กลิ่นของยางก้อนถ้วยลดลงจากแต่ก่อน การจับตัวของน้ำยางในการแปรรูปยางก้อนถ้วยจับตัวกันได้แน่นขึ้น ส่งผลต่อเปอร์เซ็นต์เนื้อยางก้อนถ้วยที่เพิ่มขึ้น ยางแผ่นดิบที่เกษตรกรแปรรูปลดระยะเวลาในการผึ่งแห้งน้อยลง จากเดิม 20 วัน เหลือเพียง 15 วัน โดยใช้อัตราความเข้มข้นของกรดที่ผ่านการผสมเจือจางกับน้ำสะอาดแล้วที่ความเข้มข้น 5% (กรด 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 17-18 ส่วน)
อย่างไรก็ดีคุณสินชัยสรุปและมีข้อเสนอแนะให้ความเห็นว่า อยากให้บริษัท วิทย์ คอร์ปฯ มีส่วนร่วมในการประกวดราคา กรดฟอร์มิก 94% เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง และเพิ่มจำนวนผู้เข้าแข่งขันในการประกวดราคาในการดำเนินการของเครือข่ายทุกครั้ง รวมถึงการรักษาระดับมาตรฐานคุณภาพของผลิตภัณฑ์ฯ และการพิจารณาด้านราคาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ตลาด และผลประโยชน์ที่เกษตรกรพึงได้ ทั้งช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง
ฝากถึง…เกษตรกรชาวสวนยาง
สุดท้ายคุณสินชัย บุตรศิลป์ ประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง สาขาบ้านกรวด ฝากถึงเกษตรกรว่า การดำเนินกิจกรรมของเครือข่าย หรือสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง สาขาบ้านกรวด เป็นอีกวิธีหนึ่งในการสร้างองค์กรของเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง ลดปัญหาความเสี่ยงในเรื่องการเอารัดเอาเปรียบด้านราคา และยังได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานการรับรองของกรมวิชาการเกษตร
“อยากให้พี่น้องเกษตรกรหันมาร่วมมือส่งเสริมกิจกรรมที่ดีด้วยกัน ร่วมกับหน่วยงานรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่ดีร่วมกัน ในการสร้างสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง และเป็นที่พึ่งให้เกษตรกรตลอดไป”
สรุป กรดฟอร์มิก เป็นสารจับตัวยางที่ดีที่สุด สำหรับทำยางทุกชนิด เนื่องจากเป็นกรดอินทรีย์ที่ระเหยง่าย ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และสิ่งแวดล้อม สามารถจับตัวสมบูรณ์ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง เนื้อยางมีความยืดหยุ่นดี สีสวย เหมาะในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางทุกชนิด
ขอขอบคุณ คุณสินชัย บุตรศิลป์
ประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง สาขาบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
ประธานกรรมการสหกรณ์กองทุนสวนยางนิคมบ้านกรวด จำกัด
สหกรณ์กองทุนสวนยางนิคมบ้านกรวดจำกัด
100 หมู่ 1 ต.จันทบเพชร อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ 31180
โทร. 044-679-449, 061-697-6498
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
บริษัท วิทย์คอร์ป โปรดักส์ จำกัด (สำนักงานใหญ่)
77/113 อาคารสินสาธรทาวเวอร์ ชั้น 27 ถ.กรุงธนบุรี แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กทม. 10600
โทรศัพท์ 02-440-0809 (ติดต่อฝ่ายเทคนิค ต่อ 324, 332) โทรสาร 02-440-0827
Email : [email protected] เว็บไซต์ www.witcorp.co.th