อุตสาหกรรม ถุงมือยาง ไทยโต ทำเงินปีละ 30,000 ล้าน เอกชนลงทุนเพิ่มที่ตรัง 1,800 ล้าน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การผลิตถุงมือยาง

ธุรกิจถุงมือยางมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ตามประมาณประชากรของโลกที่เพิ่มขึ้นจนใกล้ 8,000 ล้านคน ยิ่งประชากรโลกเพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่ อุตสาหกรรมการแพทย์จะขยายตัวมากขึ้นเท่านั้น พร้อมๆ กับความต้องการใช้ถุงมือยาง ซึ่งเป็นอุปกรณ์สิ้นเปลือง ใช้แล้วทิ้ง ถุงมือยางที่มีคุณภาพ และใช้มากที่สุด ก็คือ ถุงมือที่ผลิตจากยางพารา

แน่นอนว่าเมื่อทิศทางของโลกเป็นเช่นนี้ อุตสาหกรรมถุงมือยางย่อมขยายตัว โดยมีประเทศมาเลเซียเป็นผู้ผลิต และส่งออกมากที่สุดของโลก ขณะที่ประเทศไทยรั้งอันดับสอง แม้ว่า “มาเลเซีย” จะไม่ใช่ผู้ผลิตยางพารามากที่สุด แต่เขาสามารถก้าวขึ้นแท่นผู้ผลิตสินค้าจากยางพาราแถวหน้าของโลกหลายตัว โดยนำเข้ายางจากประเทศไทย และอินโดนีเซีย โดยเฉพาะ “น้ำยางข้น” เพื่อป้อนอุตสาหกรรมถุงมือยาง และถุงยางอนามัย เป็นต้น

1.ถุงมือยาง
1.ถุงมือยาง

ขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมถุงมือยางของโลก สัญชาติมาเลเซีย ยังเข้ามาตั้งโรงงานผลิตน้ำยางข้น และถุงมือยาง ใน อ.สะเดา จ.สงขลา เพราะใกล้แหล่งวัตถุดิบ จึงวิเคราะห์ได้ว่าวันนี้มาเลเซียอาศัยวัตถุดิบยางจากประเทศไทย เป็น “บันได” ก้าวสู่ผู้นำผลิตภัณฑ์ยางของโลก ทั้งๆ ที่ประเทศไทยสามารถผลิตและแข่งขันได้ และมีวัตถุดิบอยู่ในมือ

จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตถุงมือยางแห่งประเทศไทย ระบุว่า ประเทศมาเลเซียมีโรงงานผลิต 80 ราย ส่งออกปีละ 90,000 ล้านบาท เป็นผู้ผลิตและส่งออกอันดับหนึ่งของโลก มีส่วนแบ่งร้อยละ 60 ทิ้งห่างอันดับสอง อย่างไทย ที่มีผู้ผลิตถุงมือยางประมาณ 20 ราย ใช้ยางรวมไม่ต่ำกว่าปีละ 4 แสนตัน ทำเงินปีละกว่า 30,000 ล้านบาท มีส่วนแบ่งร้อยละ 22

2.โรงงานผลิตถุงมือยางของไทย
2.โรงงานผลิตถุงมือยางของไทย

ปัญหาและอุปสรรคในการผลิต ถุงมือยาง

อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไทยถูกมาเลเซียทิ้งห่าง นายประชัย ก้องวารี นายกสมาคม ชี้ปัญหาว่ามาจากขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังจากภาครัฐ ทำให้ธุรกิจแข่งขันยาก เริ่มจากปัญหาเครื่องจักรในการผลิตที่ล้าสมัย เครื่องจักรของไทยส่วนใหญ่เป็นรุ่นที่ผลิตถุงมือได้ 6-7 ล้านชิ้น/เดือน ขณะที่เครื่องจักรของมาเลเซียสามารถผลิตได้ 20 ล้านชิ้น/เดือน

ซึ่งการเปลี่ยนเครื่องจักรต้องใช้เงินลงทุนประมาณเครื่องละ 150 ล้านบาท ขณะที่อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรมถุงมือยางเพิ่มขึ้นเรื่อย เนื่องจากการแพร่กระจายของโรคระบาดส่งผลให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตระหนักถึงความสำคัญของสุขอนามัยสูงขึ้น ความต้องการบริโภคถุงมือยางของประชากรโลกจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปัจจุบันทั้งโลกปริมาณความต้องการใช้ถุงมือยางอยู่ที่ประมาณ 200,000 ล้านชิ้น/ปี  แต่ผู้ผลิตทั่วโลกสามารถผลิตถุงมือออกสู่ตลาด คิดเป็นร้อยละ 90 ของความต้องการทั่วโลก อุตสาหกรรมถุงมือยางสำหรับประเทศไทยจึงยังมีโอกาสเติบโต และแชร์ส่วนแบ่งในตลาดเพิ่ม โดยอาศัยข้อได้เปรียบมีวัตถุดิบอยู่ในมือมากที่สุดของโลก

และการลงทุนผลิตถุงมือยางในประเทศเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในผู้ลงทุนที่น่าสนใจ ก็คือ บริษัท ไทยกอง จำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัททำธุรกิจลงทุนด้านการเงิน ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ มีทุนจดทะเบียน 625 ล้านบาท สนใจธุรกิจถุงมือยางเพราะมองเห็นทิศทางการขยายตัวในประเทศ และต่างประเทศ จึงทุ่มเงินลงทุนกว่า 1,800 ล้านบาท สร้างโรงงานที่ทันสมัยใน ต.บางหมาก อ.กันตัง จ.ตรัง กำลังการผลิตประมาณ 4,000 ล้านชิ้น/ปี

3.แปรรูปยางเป็น ถุงมือยาง
3.แปรรูปยางเป็น ถุงมือยาง

การแปรรูปยางพารา

โรงงานผลิตถุงมือแพทย์แห่งนี้นับเป็นโรงงานแห่งแรก และมีเพียงแห่งเดียวใน จ.ตรัง การที่ผู้บริหาร บริษัท ไทยกองฯ ตัดสินใจเลือก จ.ตรัง เป็นฐานที่มั่นสร้างโรงงานถุงมือยาง เพราะเป็นจังหวัดที่ผลิตน้ำยางได้มากที่สุดในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน และน้ำยางมีคุณภาพสูง อีกทั้งใน จ.ตรัง ยังมีผู้ผลิตน้ำยางข้นซึ่งเป็นการแปรรูปน้ำยางพาราขั้นต้นอยู่ในพื้นที่เพียงพอสำหรับป้อนโรงงานที่มีความต้องการอย่างน้อย 14,000 ตัน และจะเพิ่มกำลังการผลิตเต็มที่ต้องใช้น้ำยางข้นอย่างน้อย 30,000 ตัน/ปี

การเกิดขึ้นของโรงงานผลิต ถุงมือยาง ใน จ.ตรัง จะเกิดผลสะท้อนในหลายมิติ

มิติแรก คือ ปริมาณความต้องการใช้ยางพาราในพื้นที่จะเพิ่มมากขึ้น อย่างน้อยปีละ 30,000 ตัน ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นยางภายในจังหวัดอาจจะไม่เพียงพอ ต้องนำมาจากจังหวัดใกล้เคียง

มิติที่สอง เมื่อโรงงานผลิตถุงมือยางต้องการน้ำยางข้นป้อน ย่อมเป็นช่องทางและโอกาสให้ธุรกิจแปรรูปน้ำยางพาราเป็นน้ำยางข้นเกิดการขยายตัวโดยเฉพาะในภาคเกษตรกรที่เป็นสหกรณ์ หรือกลุ่มเกษตรกร หันมาแปรรูปน้ำยางสดจากสมาชิกเป็นน้ำยางข้นเพิ่มมูลค่าขายป้อนโรงงาน ซึ่งเป็นนโยบายที่รัฐบาลส่งเสริมเพื่อแก้ไขปัญหาราคายาง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

มิติที่สาม เกิดการใช้ยางพาราในประเทศแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากขึ้น จะช่วยลดการพึ่งพาตลาดต่างประเทศ ที่ไทยยังส่งออกยางในรูปของยางวัตถุดิบเป็นหลัก ย่อมจะลดปริมาณวัตถุดิบยางในตลาดลง ส่งผลให้ราคาจะค่อยๆ ขยับสูงขึ้น

มิติที่สี่ คือ การเพิ่มมูลค่ายางสูงขึ้น จากที่ไทยส่งน้ำยางข้นให้มาเลเซีย เมื่อเราแปรรูปเองมูลค่าจะเพิ่มขึ้น

หลายเท่าตัว

มิติที่ห้า เกิดการจ้างงานแรงงานในพื้นที่ โดยคาดว่าจะเกิดการจ้างงานกว่า 1,000 คน

เพียงแค่ห้ามิตินี้จึงทำให้พอเห็นผลลัพธ์ของการแปรรูปยางเป็นผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจน

นอกจากนั้นยังมีข่าวว่า บริษัทบิ๊กยางพาราของไทยหลายราย มีโครงการสร้างโรงงานผลิต ถุงมือยาง เช่นกัน เช่น บริษัท ไทยฮั้วฯ เตรียมผลิต ถุงมือยาง เป็นต้น ส่วนเกษตรกรก็น่าจะจับชีพจรอุตสาหกรรมยางได้ดีขึ้น มองเห็นอนาคตของสวนยางพาราชัดเจนขึ้น เพราะการเกิดขึ้นของโรงงานผลิตสินค้าจากยางพาราเป็นเครื่องหมายการันตีด้านความมั่นคง

โฆษณา
AP Chemical Thailand