กระถิน (Leucaena; Leucaena teucocephaia (Lam.) De Wit) เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดไม้ยืนต้น และเป็นพืชพื้นเมืองในประเทศเม็กซิโก และกัวเตมาลา แต่ได้มีการนำเข้ามายังประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศอื่นๆ ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia) รวมทั้งในประเทศไทย ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 และประเทศในเขตแปซิฟิก รวมทั้งประเทศออสเตรเลีย ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 19 ปัจจุบันต้นกระถินมีการกระจายตัวในเขตร้อนชื้นต่างๆ ทั่วโลก กระถินมีการเจริญเติบโตของต้นอย่างรวดเร็ว แม้จะขึ้นในพื้นที่ดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ก็ตาม
ลักษณะของต้นกระถิน
กระถินเป็นพืชที่มีใบดก และสามารถให้ผลผลิตใบแห้งได้ 3-30 ตัน/เฮกแตร์/ปี หรือ 0.48-4.8 ตัน/ไร่/ปี (Cock และคณะ, 2005) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของการปฏิบัติการปลูกต้นกระถิน ใบกระถินมีคุณค่าทางอาหารสูง ได้แก่ มีโปรตีนสูง และมีสมดุลกรดอะมิโนจำเป็นในอาหารใกล้เคียงกับกากถั่วเหลืองมาก ใบกระถินจึงมีศักยภาพในการใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์ของกระถิน ใบกระถินป่น
ใบกระถินแห้งล้วนไม่มีส่วนของก้านปน จะมีโปรตีนประมาณ 30% แต่การปลูกกระถินเชิงการค้าเพื่อทำ ใบกระถินป่น และใช้ในอาหารสัตว์ จะมีการปลูกต้นกระถินให้มีความสูง 1.5-2.0 เมตร และตัดส่วนเหนือพื้นดิน สูงจากดินประมาณ 20-30 ซม. เพื่อเป็นตอเอาไว้ให้ต้นกระถินมีการแตกกิ่งก้านใหม่ออกมาตลอดเวลา ส่วนที่ตัดออกมีทั้งใบและก้านกระถินปนกัน จะถูกนำไปสับย่อยให้มีขนาดชิ้นเล็กลง ตากแดดแห้งแล้วบดละเอียดเป็น ใบกระถินป่น เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ต่อไป ใบกระถินป่น ดังกล่าวจะมีโปรตีน 21% ไขมัน 3.6% เยื่อใย 18% และมี พชด.สุกร และสัตว์ปีก 1,500 และ 900 กค./กก. ตามลำดับ
อย่างไรก็ตามกระถินเป็นพืชที่มีขีดจำกัดในการใช้เป็นอาหารสัตว์สูงมาก กระถินมีสารพิษไมโมซีน (mimosine) เป็นองค์ประกอบในระดับสูง (สูงถึง 12% ใบยอดกระถินแห้ง) ซึ่งสารพิษดังกล่าวก่อให้เกิดผลเสียเป็นอย่างมาก ต่อการกินอาหาร การเติบโต และการสืบพันธุ์ของสัตว์ รวมทั้งมีผลทำให้สัตว์เกิดอาการขนร่วงด้วย นอกจากนี้ใบกระถินแห้งยังมีสารแทนนินเป็นองค์ประกอบในระดับสูงประมาณ 10 มก./ก.
การแปรรูปใบกระถิน
การแปรรูปใบกระถินโดยการตากแดดแห้ง ไม่มีผลทำให้ปริมาณสารพิษข้างต้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ใบกระถินป่นจึงยังคงมีระดับสารพิษไมโมซีนและสารแทนนินสูง และทำให้ ใบกระถินป่น สามารถใช้ได้ไม่เกิน 5% ในสูตรอาหาร การเสริมสารเฟอรัสซัลเฟคในสูตรอาหาร เพื่อให้ธาตุเหล็กไปจับ (cheiated) กับสารพิษไมโมซีนในอาหาร และทำให้สารพิษมีความเป็นพิษต่อตัวสัตว์น้อยลง
จึงทำให้สามารถใช้ ใบกระถินป่น ในสูตรอาหารได้มากขึ้น แต่การเสริมเฟอรัสซัลเฟคในระดับสูงในสูตรอาหาร มีผลทำให้ค่าการย่อยได้ และค่า พชด.ของใบกระถินลดลง และอาจมีผลไปรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุ ทองแดง สังกะสี แมงกานีส รวมทั้งแคลเซียม ในทางเดินอาหารของสัตว์ การเสริมสารเฟอรัสซัลเฟคเพื่อการเพิ่มการใช้ประโยชน์ใบกระถินในสูตรอาหาร จึงต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง
การลดปริมาณสารพิษไมโมซีนในใบกระถิน อาจทำได้โดยการนำใบกระถินสด หรือใบกระถินแห้ง แช่น้ำเป็นเวลา 48 ชั่วโมง รวมทั้งการปรับปรุงพันธุ์กระถินให้มีปริมาณสารพิษไมโมซีนลดลง การทำให้ใบกระถินมีปริมาณสารพิษไมโมซีนลดลง หรือหมดไป มีผลทำให้สามารถใช้ใบกระถินนั้นได้ปริมาณสูงขึ้นในสูตรอาหาร อุทัย คันโธ และคณะ (2534) ได้แสดงให้เห็นว่าสารพิษไมโมซีนในใบกระถินก่อให้เกิดผลเสียต่อการย่อยได้ และการใช้ประโยชน์ได้ของโปรตีนในใบกระถินนั้น ใบกระถินสดสับแช่น้ำเป็นเวลา 24 ชั่วโมง สามารถลดปริมาณสารพิษไมโมซีนในใบกระถินลงได้ 90% และสามารถช่วยทำให้ใบกระถินสดสับแช่น้ำมีการย่อยได้ และการใช้ประโยชน์ได้ของโปรตีนดีกว่าใบกระถินปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ตารางที่ 1 การใช้ประโยชน์ได้ของโภชนะในใบกระถินปกติ ใบกระถินเสริมสารเฟอรัสซัลเฟค และใบกระถินสดสับแช่น้ำ 24 ชม. ของสุกรรุ่น
ลักษณะ |
ใบกระถินแห้ง |
ใบกระถินแห้ง* เฟอรัสซัลเฟค* |
ใบกระถินแช่น้ำ ตากแดดแห้ง** |
ปริมาณใบกระถินที่กิน (กรัม/5 วัน)
ไนโตรเจนที่ได้รับ (กรัม/5 วัน) N-จากใบกระถินที่ถูกดูดซึม (n.) N-จากใบกระถินที่สะสมในร่างกาย (n.) การย่อยได้ไนโตรเจน (%) โปรตีนสะสม/โปรตีนดูดซึม; BV (%) โปรตีนสะสม/โปรตีนได้รับ; NPU (%) พยด. ของใบกระถิน (กค./กก.) พชด. ของใบกระถิน (กค./กก.) |
881 38.01 26.95 18.88 10.85n 10.11 49.51n 4,085n 1,516n |
899.72 38.78 22.91 18.2 59.15n 80.52 47.75n 2,603n 1,254n |
1,354.75 62.90 48.29 46.39 76.71n 96.08 73.7n 3,472n 2,768n |
*0.20% **ใบกระถินสดสับแช่น้ำ 24 ชม. แล้วตากแดดแห้ง
แหล่งที่มา : สุวรรณา ภาคย์วิวัฒน์ และคณะ (2528)
จากผลการศึกษาจะเห็นได้ว่าการลดปริมาณสารพิษไมโมซีนในใบกระถิน เช่น การนำใบกระถินไปแช่น้ำเป็นเวลา 24 ชม. ช่วยทำให้คุณค่าทางอาหารและคุณภาพของใบกระถินในเชิงการใช้เป็นอาหารสัตว์ ได้แก่ การย่อยได้ของโปรตีน คุณค่าทางชีวภาพของโปรตีน (โปรตีนสะสม/โปรตีนดูดซึม; BY) ค่าโปรตีนใช้ประโยชน์ได้สุทธิ (โปรตีนสะสม/โปรตีนได้รับ; NPU) รวมทั้งค่า พยด. และ พชด. ของใบกระถินแช่น้ำให้สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และสูงกว่าการลดการเป็นพิษของใบกระถินด้วยการเสริมสารเฟอรัสซัลเฟค การเพิ่มการใช้ประโยชน์ของโภชนะในใบกระถินแช่น้ำ อาจทำได้โดยการทำให้เซลล์ของใบกระถินเกิดการแตกและปลดปล่อยโภชนะในใบกระถินออกมา ทำให้สัตว์สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
คุณค่าทางอาหารของ ใบกระถิน
นอกจากนี้ อุทัย คันโธ และคณะ (2534) ยังได้ทดลองนำใบกระถินแช่น้ำมาผสมกับมันสำปะหลัง (มันเส้นบดละเอียด) แล้วนำของผสมนั้นผ่านกระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูด โดยการใช้เครื่องบดเนื้อ (mincer) ที่ดัดแปลงให้สามารถอัดอาหารแบบกึ่งเอ็กซ์ทรูดได้ ดังผลการศึกษาได้แสดงไว้ในตารางที่ 2 จากผลการศึกษาพบว่าการนำใบกระถินแช่น้ำดังกล่าวไปผ่านกระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูดยิ่งทำให้คุณค่าทางอาหารของใบกระถินเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญมากขึ้นไปอีก และมีโอกาสใกล้เคียงกับกากถั่วเหลืองมากขึ้น ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยเลือกใช้เครื่องบดเนื้อ (mincer) ที่มีขายทั่วไปในท้องตลาด ซึ่งเป็นเครื่องที่มีกระบอก (barrel) และสกรู (screw) ค่อนข้างสั้น มาดัดแปลงเพื่อให้เป็นเครื่องอัดแบบกึ่งเอ็กซ์ทรูด ซึ่งก็เป็นเครื่องมือที่หาได้ง่ายที่สุดในสมัยนั้น แม้การศึกษาดังกล่าวจะมิได้มีการวัดปริมาณการแตกของเซลล์ใบกระถินแช่น้ำหลังจากการผ่านกระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูดแล้ว แต่ผลการศึกษาก็แสดงให้เห็นว่ากระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูดดังกล่าวช่วยทำให้คุณค่าทางอาหาร และการใช้ประโยชน์ของโภชนะในใบกระถินแช่น้ำดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด หากมีการพัฒนาเครื่องอัดแบบกึ่งเอ็กซ์ทรูดดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อจะทำให้เซลล์ของใบกระถินแช่น้ำเกิดการแตกมากขึ้นในระหว่างกระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูดนั้นทั้งหมด อาจมีผลทำให้คุณค่าทางอาหารและการใช้ประโยชน์ใบกระถินแช่น้ำเป็นอาหารสัตว์สูงมากขึ้นไปอีกก็ได้
ตารางที่ 2 การศึกษาผลของกระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูดต่อการปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของใบกระถินแช่น้ำ
ลักษณะ |
ใบกระถินแห้ง |
ใบกระถินแช่น้ำ |
ใบกระถินแช่น้ำ+มันเส้น ผ่าน/การกึ่งเอ็กซ์ทรูด |
นน.สุกร 30 กก.
การย่อยได้วัตถุแห้ง (%) การย่อยได้โปรตีน (%) โปรตีนสะสม/โปรตีนดูดซึม; BV (%) โปรตีนสะสม/โปรตีนได้รับ; NPU (%) พยด. (กค./กก) พชด. (กค./กก.) นน.สุกร 65 กก. การย่อยได้วัตถุแห้ง (%) การย่อยได้โปรตีน (%) โปรตีนสะสม/โปรตีนดูดซึม; BV (%) โปรตีนสะสม/โปรตีนได้รับ; NPU (%) |
. 64.36 n 38.36 n 63.09 n 28.95 n 1,626.4 n 1,526.3 n . 69.38 n 45.69 67.43 n 30.07 n |
. 69.78 n 41.07 n 65.05 n 32.2 n 1,892.5 n 1,776.7 n . 72.32 n 51.54 77.42 n 40.37 n |
. 71.33 n 48.34 n 83.75 n 46.74 n 3,209.2 n 3,013.1 n . 75.42 n 56.19 87.94 n 49.65 n |
แหล่งที่มา : อุทัย คันโธ และคณะ (2534)
อนึ่งในการนำ ใบกระถิน ไปแช่น้ำ น้ำจะเป็นตัวทำละลายและชะล้างเอาสารต่างๆ ใน ใบกระถิน ที่ละลายน้ำได้ ซึ่งได้แก่ สารพิษไมโมซีน สารแทนนิน และสารละลายน้ำได้ชนิดอื่นๆ ใน ใบกระถิน ออกมาในน้ำด้วย ซึ่งสารพิษดังกล่าวข้างต้นมีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง หรือไล่แมลง เป็นอย่างดี จากการทดลองในภาคสนามพบว่าน้ำแช่ ใบกระถิน ดังกล่าวสามารถควบคุมการเข้าทำลายแมลง หนอนเจาะใบ ในการปลูกผักคะน้า และสามารถใช้เป็นสารไล่แมลงในการปลูกพืชได้เป็นอย่างดี (ข้อมูลไม่ได้ตีพิมพ์) จึงอาจเป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้ในการปลูกพืชแบบอินทรีย์ได้
กระถินเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตโปรตีนเพื่อการใช้เป็นอาหารสัตว์ในประเทศไทย และในเขตร้อนชื้นทั่วโลก เพราะกระถินเป็นพืชที่ปลูกง่าย มีโรคแมลงรบกวนน้อย สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด และทุกสภาวะความอุดมสมบูรณ์ของดิน การปลูกกระถินอย่างถูกต้อง และมีการจัดการดูแลการปลูก และการเขตกรรมที่ดี จะได้ผลผลิต ใบกระถิน แห้งสูงถึง 4.8 ตัน/ไร่/ปี (Cock และคณะ, 2005)
หาก ใบกระถิน แห้งดังกล่าวมีโปรตีนโดยเฉลี่ย 21%
หากใบกระถินแห้งดังกล่าวมีโปรตีนโดยเฉลี่ย 21% จะทำให้สามารถผลิตโปรตีนเพื่อการใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ประมาณ 1,000 กก./ไร่/ปี ซึ่งนับว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับโปรตีนที่ถั่วเหลืองผลิตได้เพียง 95 กก./ไร่/ปี (ผลผลิตเมล็ดถั่วเหลือง 250 กก./ไร่ เมล็ดถั่วเหลืองมีโปรตีน 38%) หากผนวกเข้ากับการนำ ใบกระถิน มาแช่น้ำและผ่านกระบวนการกึ่งเอ็กซ์ทรูดเพื่อการปรับปรุงคุณค่าทางอาหารของ ใบกระถิน ให้สูงขึ้นด้วยแล้ว จะเห็นได้ว่ากระถินเป็นพืชที่มีศักยภาพในการผลิตโปรตีนเพื่อใช้ในการเลี้ยงสัตว์ในเขตร้อนได้เป็นอย่างดี
การลดปริมาณสารพิษไมโมซีนใน ใบกระถิน สามารถทำได้อีกทางหนึ่ง คือ การผสมพันธุ์ให้ต้นกระถินมีปริมาณสารพิษดังกล่าวในใบต่ำ ซึ่งจะทำให้สามารถใช้ ใบกระถิน นั้นในสูตรอาหารได้มากขึ้น หน่วยงาน CSIRO Division of Tropical Crops and Pastures ประเทศออสเตรเลีย ได้มีการปรับปรุงพันธุ์กระถินที่มีระดับสารพิษไมโมซีนในใบต่ำ และสามารถใช้เลี้ยงสัตว์ในปริมาณสูงได้โดยตรง
แต่การปลูกกระถินดังกล่าวไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก เนื่องจากการปลูกกระถินดังกล่าวจะถูกโรคและแมลงรบกวนมาก จนได้ผลผลิตต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากต้นกระถินที่มีสารพิษไมโมซีนต่ำจะไม่มีสารพิษดังกล่าว ซึ่งเป็นสารไล่แมลงอยู่ด้วย จึงทำให้กระถินเหมือนกับพืชที่ไม่มีสารพิษทั่วไป และเป็นแหล่งอาหารอย่างดีของแมลง
คุณสมบัติของ ใบกระถินป่น พืชโปรตีน
ประเทศไทยมีการปลูกผลผลิต ใบกระถินป่น (ไม่แช่น้ำ) เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะการใช้เป็นอาหารไก่ไข่มาเป็นเวลานานแล้ว ทั้งนี้เพื่อเป็นแหล่งสารให้สีสำหรับไข่แดง แต่คุณภาพของ ใบกระถินป่น ลดต่ำลงเรื่อยๆ ทั้งนี้เนื่องจากผู้ผลิต ใบกระถินป่น ใช้ต้นกระถินที่แก่เก็บไปเป็นวัตถุดิบการผลิต
ซึ่งต้นกระถินดังกล่าวจะมีส่วนของลำต้นมาก ทำให้กระถินป่นมีระดับเยื่อใยสูง และมีโปรตีนโดยเฉลี่ยต่ำเพียง 12-14% เท่านั้น จึงทำให้มีความเหมาะสมในการใช้เป็นอาหารสัตว์น้อย โดยเฉพาะกับสัตว์ยุคใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง และทำให้การใช้ ใบกระถินป่น ในสูตรอาหารสัตว์น้อยลงเรื่อยๆ
ขอขอบคุณ ที่มา : อาหารสุกรและสัตว์ปีกเชิงประยุกต์ รศ.อุทัย คันโธ พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน พืชโปรตีน