การบริหาร ต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ ในสภาวะเศรษฐกิจขาลง ให้ได้คุณภาพและมีกำไร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเลี้ยงไก่ไข่

ต้องยอมรับภาวะเศรษฐกิจมีความผันผวนตลอดเวลานั้น อาจส่งผลกระทบกับสินค้าเกษตรในหลายๆด้าน การทำธุรกิจแต่ละอย่างย่อมมีความเสี่ยง ไม่ว่าความเสี่ยงนั้นจะสูงหรือต่ำ เจ้าของธุรกิจต้องหากลยุทธ์ต่างๆมาช่วย เพื่อให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ การลดต้นทุนการผลิตเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะมาช่วยลดความเสี่ยงในด้านปศุสัตว์เหมือนกัน ในสภาวะไข่ไก่ที่มีราคาตกต่ำ เนื่องจากไข่ไก่เป็นสินค้าที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภค ถ้าไข่ไก่มีมากกว่าความต้องการในท้องตลาด จะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าทันที

อาร์ม่าฟาร์ม เป็นฟาร์มที่เลี้ยงไก่ไข่ในพื้นที่อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม มาบอกเรื่องราวการบริหาร ต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ ในสภาวะเศรษฐกิจขาลง

1.การบริหาร ต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ ในสภาวะเศรษฐกิจขาลง ให้ได้คุณภาพและมีกำไร
1.การบริหาร ต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ ในสภาวะเศรษฐกิจขาลง ให้ได้คุณภาพและมีกำไร

คุณชัชวาลย์ โรจนภัทรากุล และคุณกันย์สินี วังถนอมศักดิ์  เจ้าของฟาร์มและบริษัทในเครือ ซึ่งประกอบด้วย JIB FARM, อาร์ม่าฟาร์ม และฟาร์มดี ผู้มีประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่มากว่า 30 ปี ได้เปิดเผยว่าเมื่อก่อนไม่ได้ชื่ออาร์ม่าฟาร์ม เริ่มแรกทำให้นามของพ่อ-แม่ แล้วถึงได้ออกมาทำเป็นอาร์ม่าฟาร์ม ก่อนหน้านี้อยู่ในธุรกิจกงสีมานาน เมื่อบริหารธุรกิจครอบครัวประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง จึงได้เริ่มออกมาทำฟาร์มของตัวเองได้ 7 ปี มีการเลี้ยงไก่ตั้งแต่ลูกไก่จนถึงไก่ไข่ปลด โดยจะแยกเป็นฟาร์มไก่รุ่นอายุ 1วัน จนถึง 5 เดือน เลี้ยงใน JIB FARM และส่วนของฟาร์มไก่ระยะจะเลี้ยงในอาร์ม่าฟาร์ม

2.คุณชัชวาลย์-โรจนภัทรากุล-และคุณกันย์สินี-วังถนอมศักดิ์-เจ้าของฟาร์มและบริษัทในเครือ
2.คุณชัชวาลย์-โรจนภัทรากุล-และคุณกันย์สินี-วังถนอมศักดิ์-เจ้าของฟาร์มและบริษัทในเครือ

ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารเพื่อลดต้นทุนในการผลิต

ปัจจุบันอาร์ม่าฟาร์มใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการบริหารเพื่อลด ต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ ในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการจัดการดูแลไก่ รวมถึงการจัดการภายในโรงเรือน ระบบการให้อาหาร ระบบการกำจัดมูลไก่ และยังคำนึงเรื่องการผลิตที่มีคุณภาพ และมาตรฐาน  การบริหารต้นทุนของฟาร์มจะเป็นการลงทุนเรื่องของเทคโนโลยีเป็นหลัก

เนื่องจากว่าเทคโนโลยีสามารถช่วยลด ต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ ได้ ช่วยให้ทำงานได้สะดวก และสามารถควบคุมขั้นตอนต่างๆ ได้ นอกจากนั้นยังช่วยแก้ปัญหาด้านแรงงาน คุณชัชวาลย์ ยังบอกอีกว่า “เมื่อก่อนไก่ 1 เล้า ใช้แรงงานคนเยอะมาก แต่ปัจจุบันนี้คนเข้าไปเลี้ยงไก่จริงๆ 2 คนต่อเล้า จึงช่วยลดในด้านแรงงานคน และเทคโนโลยี ยังช่วยลดพื้นที่การเลี้ยงได้มากขึ้น ต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ ในการสร้างเล้าในจำนวนไก่เท่าเดิม”

3.ลูกไก่
3.ลูกไก่

ปัจจัยการบริหาร ต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ 

1.พันธุ์ไก่ที่ดี ทางฟาร์มใช้ไก่ไข่ของเบทาโกร พันธุ์โรมัน เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ให้ไข่เป็นสีน้ำตาล ซึ่งตอบโจทย์กับความต้องการของตลาด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.อาหาร หากมีพันธุ์ไก่ไข่ที่ดีแล้ว อาหารที่มีโภชนาการครบถ้วนเหมาะกับไก่ไข่จะมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโต และผลผลิตให้ดีขึ้นด้วย

3.การดูแลสุขาภิบาลเรื่องโรค เนื่องจากปัจจุบันมีปัญหาโรคไข้หวัดนกระบาดในหลายประเทศ รวมถึงโรคอื่นๆ ฉะนั้นทางฟาร์มจึงมีมาตรการการป้องกับโรค หรือที่เรียกว่า “ไบโอซีคียวริตี้” (Biosecurity) ที่เข้มงวด และได้มาตรฐาน ยังมีการเสริมกินวิตามิน  สมุนไพร แลคโตบาซิลลัสบ้าง เพื่อป้องกันก่อนจะเกิดโรค คุณชัชวาลย์ยังกล่าวอีกว่า

“ฟาร์มมีตั้งแต่รถบรรทุกอาหารเอง เพราะเราห่วงของเรื่องระบบไบโอซีคียวริตี้ เพราะว่าการจ้างรถเข้ามา เขาก็ต้องไปฟาร์มอื่นด้วย เราจึงไปเอาอาหารเองที่บริษัท เราจะมีตั้งแต่รถบรรทุกอาหาร ระบบความปลอดภัยไม่ให้ติดเชื้อจากฟาร์มอื่น มีระบบเลี้ยงแบบไม่ต้องผ่านมือคน” คุณชัชวาลย์ยืนยันความพร้อม

4.การจัดการ คือ ทำอย่างไรให้ไก่อยู่สบาย ไม่เครียด อุณหภูมิภายในโรงเรือนเหมาะสมกับจำนวนไก่ที่เลี้ยง สิ่งเหล่านี้ต้องคำนึงถึง เนื่องจากอากาศในบ้านเราร้อนชื้น และเปลี่ยนแปลงบ่อย เพราะสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนจะส่งผลให้เกิดความเครียด ปัญหาด้านสุขภาพ ทุกอย่างจะเชื่อมต่อกัน เป็นปัจจัยที่กระทบต่อผลผลิต ถ้าการจัดการไม่ดี ผลที่ออกมา คือ ปริมาณไข่ที่ลดลงอย่างชัดเจน นั่นทำให้ ต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ การผลิตเพิ่มขึ้น

5.รายได้เสริม การเอามูลไก่ที่ได้จากสายพาน นำมาจำหน่ายผ่านผู้รับเหมา และนำไปตากแห้งเพื่อเป็นปุ๋ยชีวภาพ ยังช่วยในการลด ต้นทุนการเลี้ยงไก่ไข่ ด้วย มูลไก่จะถูกกำจัดออกทุกวัน ก่อให้เกิดผลดี เนื่องจากจะช่วยในการลดกลิ่นที่สามารถไปรบกวนกับชุมชนด้านนอกได้ และลดจำนวนแมลงวันที่จะเข้ามาภายในโรงเรือน ลดการรบกวน ลดความเครียด ให้กับไก่ที่กำลังไข่ได้ ทำให้ไก่ให้ผลผลิตดีตามมาตรฐาน

4.กรงไก่แบบยืนกรง
4.กรงไก่แบบยืนกรง

การบริหารจัดการโรงเรือนไก่ไข่

สำหรับการเลี้ยงทางฟาร์มจะเริ่มเลี้ยงตั้งแต่ลูกไก่ (ลูกเจี๊ยบ) ที่มีอายุ 1 วัน เข้ามาเลี้ยงในโรงเรือนลูกไก่เล็กที่อยู่  JIB Farm โดยจะเคลื่อนย้ายไก่เข้าโรงเรือนตามอายุ จนกระทั่งเป็นไก่สาวพร้อมที่จะขึ้นกรงเพื่อผลิตไข่ จึงย้ายเข้าโรงเรือนไก่ไข่ต่อไป จากนั้นเลี้ยงอีกประมาณ 58-60 สัปดาห์ จึงปลดระวางจำหน่ายให้กับพ่อค้าประจำ เพื่อนำไปแปรรูปเป็นอาหารต่อไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนเรื่องการจัดการด้านโรงเรือนและระบบในโรงเรือน ทางฟาร์มเป็นโรงเรือนระบบปิด (Evap) ระบบอัตโนมัติทั้งหมด การเก็บไข่ออกมาจากเล้าจะใช้สายพานลำเรียงออกมาทางหน้าเล้า โดยไม่ต้องใช้แรงงานคนในการเก็บไข่ ส่วนมูลไก่จะนำออกจากภายในเล้าทุกวัน โดยใช้สายพานลำเลียงออกทางด้านหลังของโรงเรือน

ส่วนอุปกรณ์จะใช้กรงของบริษัท บิ๊กดัชแมน สายพานลำเลียงและเครื่องคัดไข่ใช้ของยี่ห้อ NABELและการให้อาหารจะแบ่งออกเป็นไก่เล็ก, ไก่รุ่น,ในไก่ระยะไข่จะแบ่งการให้อาหารเป็นช่วงก่อนพีคกับหลังพีค

5.อุปกรณ์ลำเลียงไข่ไก่
5.อุปกรณ์ลำเลียงไข่ไก่

ช่องทางการจำหน่ายไข่ไก่

ทางฟาร์มมีแนวทางการแก้ไขเรื่องไก่ไข่ในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยให้ความรู้ผ่านทางช่องทางการขายเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้กับผู้บริโภคไปในตัว เพราะไข่เป็นแหล่งโปรตีนที่ราคาถูก สามารถรับประทานได้ทุกวัน เหมาะกับผู้บริโภคทุกวัย เป็นสิ่งที่ร่างกายต้องการ เพราะมีประโยชน์มากมาย กว่าจะได้ไข่คุณภาพ

คุณชัชวาลเปิดเผยว่า “เราสร้างฟาร์มที่มีคุณภาพ และได้รับมาตรฐาน ให้ดูภูมิทัศน์ดี รักษาสิ่งแวดล้อม รักษามวลชน แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือประสิทธิภาพ” และการนำเทคโนโลยีสมัยมาใช้ภายในฟาร์ม มองแล้วเหมือนเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต แต่จะช่วยในการรักษามาตรฐาน และลดปัญหาด้านแรงงานที่ไม่เพียงพอ การรักษามาตรฐานและคุณภาพก็เป็นส่วนสำคัญ การที่ต้องเปลี่ยนพนักงานใหม่นั้น กว่าบุคคลนั้นจะเรียนรู้ต้องใช้ระยะเวลานาน ถ้าฟาร์มมีพนักงานที่ดีแล้วจะต้องดูแลให้ดี มีสวัสดิการที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามคนก็ยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ เพราะไก่ไข่เป็นสิ่งมีชีวิต

6.ห้องคัดไข่
6.ห้องคัดไข่
ไข่ไก่พร้อมส่งลูกค้า
ไข่ไก่พร้อมส่งลูกค้า

ด้านตลาดไข่ไก่

“การรักษามาตรฐานก็คือ การทำให้ไข่มีคุณภาพ สด ใหม่ ได้ขนาด ได้น้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด รวมถึงการขนส่งทุกอย่าง ไม่มีการเอาปัญหาไปให้ลูกค้า ถ้ามีปัญหา คือ ต้องจบอยู่ที่เรา เวลาลูกค้านำสินค้าไปจำหน่ายต่อ หรือนำไปบริโภคนั้น จะได้มั่นใจว่าได้ไข่ที่สะอาด ถูกหลักอนามัย” นั่นคือสิ่งที่ทางอาร์ม่าฟาร์มได้กล่าวไว้

การที่จะทำให้ไข่ไก่ไม่ล้นตลาด ผู้ผลิตต้องศึกษาตลาดให้ดี เพื่อเป็นการรองรับจำนวนสินค้าที่จะออกมา ไม่ว่าจะเป็นการเปิดขายหน้าร้าน ส่งไปยังบริษัทเพื่อที่จะแปรรูปสินค้าในอุตสาหกรรมเบเกอรี่ ถ้าไม่มีการศึกษาหรือหาตลาดที่จะเข้ามารองรับสินค้า จะทำให้ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของธุรกิจ นั้น ได้รับผลกระทบกับราคาไข่ไก่ที่ลดลง เพราะไข่ไก่เป็นสินค้าที่ผลิตออกมาทุกวัน ระยะเวลาในการเก็บรักษาสั้น สุดท้ายก็จะมีการดั๊มราคาลงเพื่อที่จะกระจายสินค้า นั่นอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ราคาไข่ไก่ลดลง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.ไข่ไก่ฟองใหญ่ๆ
7.ไข่ไก่ฟองใหญ่ๆ

แนวโน้มตลาดไข่ไก่

การดำเนินการของฟาร์มให้เป็นไปตามภาวะปัจจุบัน ทางฟาร์มได้ทำธุรกิจนี้ให้สอดคล้องกับนโยบายแห่งรัฐที่จะไป Thailand 4.0 จึงได้ดำเนินตามแนวทางรัฐบาลให้เป็นไปตามกลไกของตลาดปัจจุบัน

  1. รัฐบาลให้ใช้เทคโนโลยีในการจัดการเพื่อนำไปสู่ความทันสมัย สะดวก รวดเร็ว
  2. รัฐบาลให้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน

เนื่องจากปัจจุบันให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค เรื่องคุณภาพ เรื่องคุณภาพชีวิต สินค้าที่ออกมาต้องตอบสนองผู้บริโภคเรื่องของสุขภาพ ถ้าทำของที่ไม่มีคุณภาพ ไม่มีมาตรฐาน ก็จะอยู่ในธุรกิจนี้ยาก เพราะฉะนั้นทางฟาร์มจึงต้องดูแนวโน้มของตลาด นโยบายของรัฐบาลเป็นอย่างไร ก็ต้องเดินไปตามนั้น เพื่อให้เป็นไปตาม Thailand 4.0 เรื่องของมาตรฐานต่างๆ ที่ออกมาก็เป็นผลดีต่อทุกๆ คน ทั้งผู้ผลิตเอง ต้องแข่งกับเพื่อนบ้าน ถ้าขายของราคาถูกก็จะอยู่ยาก เพราะต้นทุนเราก็ต้องสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ยกเว้นมาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่ต้นทุนจะต่ำกว่า แต่สิ่งที่ต้องแข่งจะเป็นเรื่องของคุณภาพ เพราะฉะนั้นคุณภาพต้องมาก่อน

สุดท้ายคุณชัชวาลได้ให้แง่คิด “คนในวงการไก่ไข่ทุกคน ก็พร้อมช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือผู้บริโภค เพื่อจะได้มีแหล่งโปรตีนคุณภาพดี ราคาถูก ให้กับผู้บริโภคทุกคน ในภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี อย่างน้อยก็ยังมีไข่ราคาไม่สูง เป็นแหล่งโปรตีนที่ราคาถูก สามารถรับประทานได้ทุกวัน เหมาะกับผู้บริโภคทุกวัย”

ขอขอบคุณ คุณชัชวาลย์ โรจนภัทรากุล คุณกันย์สินี  วังถนอมศักดิ์ ที่อยู่  9/1 หมู่ 1 ต.บางภาษี อ.บางเลน จ.นครปฐม 73130 เบอร์โทร.092-636-1615