ในปัจจุบันการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นกุ้ง หรือปลา จะพบว่ากิจการในด้านนี้ประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เช่น โรคอีเอ็มเอส โรคขี้ขาว หรือปัญหาการกีดกันนำเข้าสัตว์น้ำจากประเทศไทย หรือการที่มีจำนวนเกษตรกรหันมาเลี้ยงกุ้งมากขึ้น ทำให้ผลผลิตมีการแข่งขันในทางการตลาดสูง ส่งผลต่อราคาทำให้ลดลงได้
ทีมงาน นิตยสารสัตว์น้ำ ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จึงมองหาทางออก และจะขอนำเสนอแนวคิดใหม่ในยุค 4.0 ที่เกษตรกรไทยมีความคิดที่ก้าวหน้า เพื่อให้พี่น้องชาวนากุ้งทั้งหลายได้มีรายได้มั่นคง และหวังว่าเรื่องราวที่จะนำเสนออาจจะมีส่วนในการปฏิวัติให้วงการกุ้งไทยกลับมาดีกว่าเดิม
วันนี้ กำนันมณูญ สุทธิจินดา นักต่อสู้ด้านการเลี้ยงกุ้งภาคกลาง จะมาแบ่งปันความรู้เรื่องวิธีการเลี้ยงกุ้งขาวแบบผสมผสานร่วมกับปลา 3 ชนิด ได้แก่ ปลายี่สก ปลานวลจันทร์ และปลาจีน มีแนวคิดแบบใหม่เพื่อได้ผลผลิตคุ้มค่าแก่การลงทุน
กำนันมนูญแรกเริ่มเปิดร้านเพาะพันธุ์ปลาขาย ชื่อ ร้านแสงอรุณพันธุ์ปลา เขามีความเพียรและความมุ่งมั่น เริ่มขยายพันธุ์ปลาได้จากการเรียนรู้ภาคทฤษฎีจาก ดร.เพียว วาริชนันท์ เจ้าของแสงสว่างพันธุ์ปลา หลังจากนั้นได้หันมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำ แต่ประสบกับปัญหาเรื่องมาตรา 9 ที่ห้ามเลี้ยงในพื้นที่ความเค็มต่ำ จึงหันมาเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมผสมปลา 3 ชนิด และในปัจจุบันได้ขยายพื้นที่ออกเป็น 3 ฟาร์ม 2 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 315 ไร่
จุดเริ่มต้นการเลี้ยงกุ้งขาวแบบผสมผสานปลา ปลูกมะนาว และผลไม้อีกหลากหลายชนิด
กำนันเปิดเผยว่า เมื่อก่อนตนเลี้ยงปลารวมทุกอย่าง เช่น ปลาจีน ปลานิล ปลายี่สก ปลานวลจันทร์น้ำจืด และกุ้งขาว แต่พบว่าเศรษฐกิจเป็นพิษ เลี้ยงแล้วขายไม่ได้ ก็เลยเลิกเลี้ยงปลานิล เพราะโดยธรรมชาติปลานิล ถ้าไม่ได้รับอาหารอย่างเต็มที่ หรือเลี้ยงแบบอดๆ จะทำให้ปลานิลไข่ และออกลูกมาแย่งอาหารกุ้งกิน ทำให้กุ้งไม่เจริญเติบโต จึงเลี้ยงกุ้งและปลา 3 ชนิด ได้แก่ ปลาจีน ปลายี่สก และปลานวลจันทร์น้ำจืด เพราะปลาพวกนี้ต้องผลิตน้ำเชื้อเทียมถึงจะออกไข่ในธรรมชาติ
ในการเลี้ยงแบบเดิม เป็นการเลี้ยงกุ้งขาวเพียงอย่างเดียว ประสบปัญหากุ้งขาวเป็นโรคตายหมดบ่อ ทำให้ขาดทุนเป็นอย่างมาก จึงหาวิธีการเลี้ยงเพื่อลดปัญหาดังกล่าว คือ “การเลี้ยงร่วมกับปลา” เป็นเทคนิคการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสาน สามารถลดปัญหาเรื่องโรคได้ และยังเพิ่มรายได้อีกด้วย
การ เลี้ยงกุ้งผสมปลา เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มรายได้ ภายใต้เศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย นอกจากนี้ที่บ้านกำนันมณูญยังปลูกมะนาว “น้ำหอมทูลเกล้าฯ” และผลไม้อีกหลากหลายชนิด ขายผลผลิตมากมาย และนอกจากนี้ถ้ากุ้งที่จับมีการลอกคราบแล้วเปลือกนิ่ม นำไปขายจะได้ราคาที่ต่ำ จึงนำมาต้มแล้วตากแดด เพื่อทำเป็นกุ้งแห้ง เป็นการเพิ่มรายได้อีกทาง ส่วนเรื่องอาหารที่ใช้เลี้ยง ใช้เลี้ยงรวมกับปลาและกุ้งนั่นเอง
สภาพพื้นที่การเลี้ยงกุ้งขาวผสมผสานปลา
ในการเตรียมบ่อจะทำการตากบ่อ 10-15 วัน ไม่ต้องให้บ่อแห้งมาก แล้วตรวจสอบไม่ให้มีศัตรูภายในบ่อ จากนั้นปล่อยน้ำเข้าบ่อ 1.5-2 เมตร แล้วใส่น้ำอามิ เป็นน้ำเหลือจากการผลิตผงชูรส เพื่อสร้าง “ไรแดง” ให้เป็นอาหารธรรมชาติของกุ้งขาวและปลา โดยใส่น้ำอามิ 10,000 ลิตรต่อ 50 ไร่ ให้ได้ 20 วันขั้นต่ำ หลังจากนั้นวัด pH ให้ได้ค่าที่ประมาณ 7.7-8.0 แล้วก็ปล่อยกุ้งและปลาได้เลย พอเลี้ยงผ่านไป 3 อาทิตย์ ก็ใส่น้ำอามิเพิ่มจำนวน 500 ลิตรต่อ 50 ไร่ และเปิดเครื่องตีน้ำ เมื่อหมดรอบการเลี้ยงจะทำการถ่ายน้ำ และตากบ่อเกือบแห้ง เพื่อสลับที่พักน้ำ ทำให้ไม่เปลืองน้ำในการใช้เลี้ยงในรอบต่อไป
การให้อาหารกุ้งและปลา
กำนันมณูญกล่าวว่าในส่วนของการให้อาหาร ใช้แรงงานคนหว่านอาหารให้ทั่วบ่อ แต่ใช้คนน้อย เพราะสามารถเดินดูรอบบ่อ ดูความเปลี่ยนแปลงของน้ำ และพฤติกรรมของกุ้งและปลาในบ่อ อาหารที่ใช้ก็เป็นอาหารดี มีคุณภาพ เลือกอาหารที่มีโปรตีนสูงมากกว่าอาหารที่เป็นไฟเบอร์ ส่วนประกอบหลักของอาหาร ได้แก่ ปลาป่น กากถั่วเหลือง ข้าวโพด ปลายข้าว เป็นต้น และยังมีอาหารเสริม ได้แก่ แอล-ไลซีนดี, แอล-แมทไธโอนีน, โมโนไดแคลเซียมฟอสเฟตพี 21, แคลเซียมคาร์บอเนต, เกลือ, วิตามิน และแร่ธาตุ จึงเลือกอาหารหมูของ LAB INTER มาใช้ พบว่ากุ้งและปลาสามารถกินได้หมด เพราะเมื่ออาหารโดนน้ำก็จะแตกตัว ทำให้กุ้งที่หากินแพลงก์ตอน และอาหารแขวนลอยในน้ำได้ และพวกปลาที่หากินตามพื้นท้องน้ำก็สามารถกินอาหารได้ ทำให้อาหารที่ให้ทั้งกุ้งและปลากินได้หมด ไม่เหลือ ทำให้น้ำไม่เน่าเสีย โดยให้กินวันละ 2 มื้อ มื้อละ 15 กิโลกรัม เท่านั้น
การควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อ
โดยทั่วไปฟาร์มของกำนันมณูญวัดคุณภาพน้ำแค่ 2 อย่าง ได้แก่ ความเค็ม และ ค่า pH ความเค็มจะอยู่ที่ 0-10 ppt. ส่วนค่า pH อยู่ที่ 7.7-8.0 แต่โดยรวมแล้วค่าอื่นไม่ได้วัด เพราะมีการเลี้ยงแบบผสมผสาน ทำให้เศษอาหารที่เหลือ หรือมูลของกุ้ง ของปลา ที่อยู่ก้นบ่อ มีการแปรสภาพตลอด จากพฤติกรรมการกินของปลานวลจันทร์ที่ชอบกินที่บริเวณพื้นท้องน้ำ อย่างไรก็ดีกำนันมณูญก็ต้องเปิดเครื่องตีน้ำในช่วงเวลา 6 โมงเย็นเป็นต้นไป ถ้าในเวลาเช้าอากาศร้อนจัด หรือพฤติกรรมของกุ้งเปลี่ยนไป ก็จะเปิดเครื่องตีน้ำในตอนเช้าด้วย
ต้นทุนโดยหลักจะเป็นอาหารหมู และน้ำอามิ ที่นำมาทำน้ำเขียว แต่ถ้าเทียบกับกำไรที่ได้มาถือว่าคุ้มทุน เพราะอาหารที่นำมาใช้ต้นทุนน้อย อาหารกุ้งปกติราคาจะอยู่ที่กระสอบละ 950 บาท โดยประมาณ อาหารหมูใช้กระสอบละ 340 บาท เท่านั้น จึงลดต้นทุนค่าอาหารได้มาก ส่วนน้ำอามิต้นทุนก็อยู่ที่ประมาณ 8,200 บาท ต่อ 10,000 ลิตร
ในการ เลี้ยงกุ้งผสมปลา แบบระบบปิดในน้ำความเค็มต่ำ คือ ต้องระวังในการให้อาหาร ต้องมีการควบคุมตอนเริ่มเลี้ยง ลูกปลายังไม่ต้องการอาหารมากนัก จึงมีการเตรียมน้ำเขียวก่อนเลี้ยง เพื่อให้ลูกปลา ลูกกุ้ง ได้กินอาหารในธรรมชาติ และมีการปูพื้นที่ดี เตรียมน้ำที่ดี ที่เหมาะสมในการเลี้ยง สร้างอาหารธรรมชาติ ที่เป็นตัวทำให้สุขภาพสัตว์น้ำแข็งแรง ก็จะไม่มีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้น แต่เรื่องลูกกุ้งต้องเลือกซื้อลูกกุ้งจากโรงเพาะฟักที่มีการนำพ่อแม่พันธุ์ที่ปลอดเชื้อมาผลิตลูกพันธุ์ไม่ควรซื้อลูกกุ้งจากโรงเพาะฟักที่ไม่ทราบแหล่งที่มาของพ่อแม่พันธุ์
การจำหน่ายผลผลิตกุ้งและปลา
ในช่วงเดือนพฤษภาคม ราคาที่รับซื้อกุ้งก็แล้วแต่ขนาดของกุ้ง 99 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม จะอยู่ที่ราคา 105 บาท ถ้า 47 ตัวต่อ 1 กิโล จะอยู่ที่ราคา 165 บาท ส่วนราคาปลาที่รับซื้อ ปลาจีน และปลายี่สก ตัวละครึ่งกิโลกรัม จะอยู่ที่ราคา 10 บาท ส่วนปลานวลจันทร์ ถ้าขนาดเท่าถ่านไฟฉายจะได้ราคาดี เพราะแม่ค้าใช้ทดแทนปลากระบอกทะเล ส่วนผลผลิตที่ได้ต่อเดือน ถ้าพูดเป็นวัน จะเห็นภาพได้มากกว่า 1 ฟาร์ม จะได้ผลผลิต 100 กิโลกรัม โดยประมาณ คิดในภาพรวมที่ยังไม่คัดไซด์
เทคนิคการ เลี้ยงกุ้งผสมปลา
แนวทางการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบัน ต้องเลี้ยงแบบผสมผสานไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ และสารเคมี เนื่องจากพวกเชื้อต่างๆ ที่เกิดไม่สามารถฆ่าได้หมดไป เพียงแต่ยับยั้งเท่านั้น เมื่อได้อากาศและสภาวะที่เหมาะสมก็เกิดขึ้นใหม่ เกษตรกรต้องมีแนวทางการเลี้ยงใหม่ เป็นการเลี้ยงผสมผสาน และการใช้น้ำอามิสร้างอาหารธรรมชาติ เว้นรอบการเลี้ยงให้ห่างขึ้น ไม่ลงในฤดูที่เสี่ยงต่อการสูญเสีย เป็นต้น
นำกุ้งปรับความเค็มโดยเลี้ยงในน้ำจืด จะปล่อยกุ้งขาวในอัตรา 10,000 ตัวต่อไร่ ปล่อยก่อนปลา 10-14 วัน เมื่อกุ้งเริ่มโตได้ขนาด ใช้ลอบดักกุ้งนำไปดักในบ่อ และนำไฟไปห้อยไว้เหนือน้ำตรงบริเวณที่ดัก เปิดไฟทิ้งไว้ทั้งคืน ตอนเช้าเก็บลอบขึ้น และสามารถเก็บเกี่ยวกุ้งขาวได้ทุกวัน
และเมื่อเลี้ยงไปแล้ว 2-3 เดือน ก็สามารถลงชุดใหม่ได้ เช่น ลงกุ้ง เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2561 จับกุ้งครั้งที่ 1 วันที่ 5 พฤษภาคม 2561 ไซด์ 144 ตัวต่อกิโลกรัม วันที่ 16 พฤษภาคม 2561 ไซด์ 98 ตัวต่อกิโลกรัม วันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ไซด์ 78 ตัวต่อกิโลกรัม เป็นต้น ซึ่งเรื่องนี้กำนันมณูญได้จดบันทึกทำสถิติไว้ทั้ง 3 ฟาร์ม เพื่อดูตัวชี้วัดต่างๆ
เนื่องจากปลานวลจันทร์เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ แต่สามารถปรับตัวเข้ากับแหล่งน้ำธรรมชาติ หนอง บึง อ่างเก็บน้ำ บ่อเลี้ยง และนาข้าว ได้ดี หากินตามพื้นท้องน้ำ ชอบกินซากพืช ซากสัตว์ ที่เน่าเปื่อย สามารถกินได้ทั้งอาหารประเภทพืชและสัตว์ ลูกปลาขนาดเล็กจนถึง 2.5 เซนติเมตร ชอบกินแพลงก์ตอนสัตว์ โดยเฉพาะลูกไรและโรติเฟอร์
ส่วนแพลงก์ตอนพืชอาจกินได้บ้างในบางโอกาส ปลาใหญ่กินสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว สาหร่ายเส้นสีเขียว เศษเล็กๆ ของพืชชั้นสูงรวมกัน พืชเน่าเปื่อย โคลน และอินทรีย์สารในดิน ทำให้หน้าดินแปรสภาพ ตลอดอาหารที่เหลือ และขี้กุ้ง ขี้ปลา ที่ตกตะกอนมันจะกระจายผสมกัน พื้นดินจะไม่เสีย เพราะมันจะไม่นอนก้นกับที่ ปลานวลจันทร์ชอบกินน้ำขุ่น การเลี้ยงผสมผสาน พื้นที่เดิมเลี้ยงปลาจีน ปลายี่สก ปลานวลจันทร์ แต่ด้วยความนิยมของปลานวลจันทร์น้ำจืดที่ทำรายได้ดีกว่า จึงเน้นที่ปลานวลจันทร์เป็นหลัก
ในการ เลี้ยงกุ้งผสมปลา ของกำนันมณูญ เป็นเทคนิคการเลี้ยงแบบผสมผสานที่สามารถเพิ่มรายได้ 2 ทาง เป็นการเลี้ยงโดยไม่ต้องให้อาหารกุ้ง เนื่องจากกุ้งขาวสามารถเก็บกินอาหารที่เหลือจากการให้อาหารปลา เป็นการลดของเสียในบ่อ และยังเป็นการลดต้นทุนเรื่องค่าอาหาร แต่ได้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ
รายได้จากการ เลี้ยงกุ้งผสมปลา
เมื่อถามถึง “รายได้” จากการ เลี้ยงกุ้งผสมปลา กำนันมณูญกล่าวว่า “ผมยังตอบเป็นตัวเลขไม่ได้ แต่ถ้าถามว่าสามารถอยู่ได้มั๊ย อยู่ได้ เพราะทุกอย่างที่เราเลือกมาใช้เป็นการประหยัดต้นทุนในการเลี้ยงอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะอาหารหมูของ LAB INTER ที่มีคุณภาพที่ดี และน้ำอามิที่นำมาใช้สร้างอาหารธรรมชาติ ล้วนแล้วมีแต่คุณภาพที่ดี และต้นทุนที่ต่ำ”
การปล่อยลูกกุ้งลงในบ่อเลี้ยง เกษตรกรมักจะนำถุงที่บรรจุลูกกุ้งลอยไว้ในบ่อ เพื่อปรับอุณหภูมิให้ใกล้เคียงกับอุณหภูมิของน้ำในบ่อ เนื่องจากลูกกุ้งที่ขนส่งลำเลียงมาจากโรงเพาะฟักจะมีการปรับอุณหภูมิระหว่างการเดินทางไม่ให้สูงมาก เพื่อลดความเครียดของลูกกุ้ง การลอยถุงใส่ลูกกุ้งในบ่ออย่าให้นานเกินไป เพราะเมื่ออุณหภูมิของน้ำในถุงอุ่นขึ้นเท่ากับในบ่อ ลูกกุ้งจะเริ่มปราดเปรียว ว่องไว ลูกกุ้งตัวที่โตกว่าอาจจะกินตัวที่เล็กกว่า หรือทำอันตรายตัวที่เล็กกว่า
เคล็ดลับที่พบได้นำมาใช้ให้เกิดความสำเร็จ คือ อาหารหมูของ LAB INTER ที่ดี และมีคุณภาพทางโปรตีนที่สูง จึงทำให้ได้ผลผลิตที่ดี ทำให้กุ้งและปลามีการเจริญเติบโตที่ดี และการนำน้ำอามิมาใช้ในการเลี้ยง ทำให้กุ้งและปลามีแหล่งอาหารธรรมชาติ เช่น พวกแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์
นี่คือเส้นทางธุรกิจสัตว์น้ำของกำนันมณูญ สุทธิจินดา ที่ฝ่าอุปสรรคต่างๆ มากมาย แต่วันนี้เขายังอยู่ได้ในธุรกิจ เพราะปรับตัว พลิกแพลงรูปแบบเพาะเลี้ยง จนเป็นตัวอย่างของคนในวงการ
สนใจเยี่ยมชมฟาร์ม ติดต่อได้ที่ กำนันมณูญ สุทธิจินดา โทร.081-9483032 เลขที่ 7 ม.7 ต.คลองนกกระทุง อ.บางเลน จ.นครปฐม 73130 เลี้ยงกุ้งผสมปลา เลี้ยงกุ้งผสมปลา เลี้ยงกุ้งผสมปลา เลี้ยงกุ้งผสมปลา