การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ถ้าจะกล่าวถึงการปลูกพืชผักเศรษฐกิจ เชื่อว่าเกษตรกรคนไทยทั่วทุกภาคของประเทศต้องเปิดใจตอบรับ และให้ความสนใจในการเพาะปลูกอย่างแน่นอน เพราะเป็นพืชที่มีลักษณะพิเศษ คือ ใช้ระยะเวลาในการปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตที่สั้น ทางด้านการลงทุนเป็นพืชที่สามารถตอบสนองรายได้ที่รวดเร็ว
ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับชนิดของผักที่ปลูกด้วยว่าเป็นชนิด หรือสายพันธุ์ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้มากน้อยแค่ไหน อีกทั้งยังเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินฟ้าอากาศเหมาะสม ผักหลายชนิดเจริญเติบโตช้า ถ้าอากาศร้อนมากเกินไป สายพันธุ์ผักที่ปลูกในบ้านเราส่วนมากเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศหนาวเย็นพอเหมาะ ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เกษตรกรส่วนมากนิยมทำสวนปลูกผักกันในฤดูหนาว
นั่นก็คือ ภาพรวมโดยทั่วไปของการปลูกผักในบ้านเราในระบบที่ปลูกบนดิน และสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ โรคและแมลงเข้าทำลาย ดังนั้นเพื่อต้องการเห็นผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ ได้ตรงตามความต้องการของตลาด สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การนำสารเคมีมากำจัดให้สิ้นซาก ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรที่ทำในเชิงพาณิชย์ และผลที่ตามมาซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือ สารตกค้างในผัก ที่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรณรงค์ต่อต้านกันเรื่อยมาจวบจนถึงปัจจุบัน
“นิตยสารเมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ” ในฐานะสื่อ ก็ไม่ได้มองข้ามสิ่งเหล่านี้ พยายามค้นหาแหล่งปลูกที่เน้นทำ ผักปลอดสาร เรื่อยมา เดือนนี้จะพาท่านไปรู้จักกับ คุณอดิศร และคุณสุมาลี กำจัดโศรก สองสามี-ภรรยา ที่มีอุดมการณ์และแนวความคิดพ้องต้องกันว่าเราต้องทำสวนผักระบบไฮโดรโปนิกส์เท่านั้น อันส่งผลทำให้เกิด “บ้านสวนผัก”
ข้อดีและข้อเสียของระบบ DRFT และ NFT
“การปลูกพืชผักแบบไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบ DRFT คือ ระบบการปลูกพืชโดยให้สารละลายธาตุอาหารพืชและอากาศ โดยการไหลวนผ่านรากพืชในถาดปลูก จากนั้นก็จะไหลลงสู่ถังบรรจุสารละลายธาตุอาหารพืชที่อยู่ต่ำกว่าถาดปลูก และจะถูกส่งกลับขึ้นผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “หัวพ่นอากาศ”
ทำให้เกิดอากาศผสมกับสารละลายธาตุอาหารพืชแบบเติมอากาศในสารอาหาร ก่อนที่สารละลายจะไหลลงสู่ด้านท้ายถาดปลูก และจะต้องไหลผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “สะดือปรับระดับน้ำ” ที่สามารถปรับระดับความสูง-ต่ำของสารละลายในถาดปลูกได้ตามการเจริญเติบโตของพืชนั่นเอง”
คุณสุมาลีกล่าวถึงระบบการให้ธาตุอาหาร พร้อมกับให้ความเห็นถึงระบบที่นำมาใช้ในผักแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน เช่น ระบบ NFT เป็นระบบการให้ธาตุอาหารบนรางปลูก การปลูกแบบนี้จะเป็นการปลูกพืชโดยรากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายธาตุอาหารจะไหลเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ (หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร) ในรางปลูกพืชกว้างตั้งแต่ 5-35 ซม. สูงประมาณ 5-10 ซม. ความกว้างรางขึ้นอยู่กับชนิดพืชที่ปลูก ความยาวของราง ตั้งแต่ 5-20 เมตร การไหลของสารละลายอาจเป็นแบบต่อเนื่อง หรือแบบสลับก็ได้
โดยทั่วไปสารละลายจะไหลแบบต่อเนื่อง อัตราไหลอยู่ในช่วง 1-2 ลิตร/นาที/ราง รางอาจทำจากแผ่นพลาสติกสองหน้า ขาวและดำ หนา 80-200 ไมครอน หรือจาก PVC ขึ้นรูปเป็นรางสำเร็จรูป, ทำจากโลหะ เช่น สังกะสี หรืออลูมิเนียม และบุภายในด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสารละลาย
โดยจะมีปั๊มดูดสารละลายให้ไหลผ่านรางและรากพืช อย่างไรก็ดีระบบนี้มีข้อเสียก็คือ ในกรณีไฟดับ น้ำไม่ไหล บนรางก็จะทำให้ผักตายได้ อีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นแน่นอนในหน้าร้อน คือ ผักตายโดยสาเหตุมาจากการเผาไหม้ของแดดมากเกินไป สิ่งที่ต้องลงทุนเพิ่ม คือ ติดตั้งระบบปรับอากาศ (อีแวป) เพื่อปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะต่อผัก ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนเพิ่มเติม ดังนั้นระบบ NFT จะเหมาะสมสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกผักทางภาคเหนือมากกว่า เพราะเป็นเขตพื้นที่อากาศไม่ร้อนจัดมากเกินไปนั่นเอง
จุดเริ่มต้นการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2552 ก่อนปี พ.ศ.2548 ถือเป็นโอกาสและเป็นผลดีต่อคุณสุมาลีซึ่งอยู่ในช่วงกำลังศึกษาอยู่ที่ “มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน” เธอได้มุ่งมั่นและสนใจเรียนทางภาควิชาพืชสวน
ด้วยหวังว่าจบออกมาจะได้นำความรู้ไปประกอบทำอาชีพให้สอดคล้อง และนำมาต่อยอดทำอาชีพที่ตนรักอย่างไม่มีปัญหานั่นเอง ขณะที่ศึกษาอยู่นั้น คุณสุมาลีก็เป็นอีกคนหนึ่งที่สนใจลักษณะการปลูกผักในระบบ “ไฮโดรโปนิกส์” หรือ “การปลูกผักโดยไม่ใช้ดิน”
ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่แพร่กระจายอยู่ในประเทศไทยที่กำลังมาแรงในขณะนั้น ด้วยความสนใจคุณสุมาลีได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ในใจ ขณะที่กำลังศึกษาปริญญาโท คุณสุมาลีได้ทำโครงการศึกษาระบบ พร้อมกับนำไปทดสอบในห้องแลป เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองเพิ่มมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งมั่นใจและเกิดแสงสว่างขึ้นในสมองว่า “เราต้องทำในสิ่งที่เราชอบ สร้างอาชีพ ให้ประสบความสำเร็จให้จงได้”
“หลังจากจบการศึกษาเมื่อปี พ.ศ.2548 ตนยังไม่ได้ทำอะไร และคิดว่าไม่อยากไปเป็นลูกจ้างใคร และต้องทำตามความคิดที่ได้วางไว้ ขณะเดียวกันก็ได้ศึกษาวิธีการปลูกผักระบบไฮโดรโปนิกส์เพิ่มเติม ส่วนคุณอดิศรก็ยังทำงานบริษัทเอกชนทางด้านเคมีภัณฑ์อยู่เช่นเดิม ในช่วงนั้นถ้าจะพูดถึงการลงทุนถือว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน
โดยเฉพาะในเรื่องเงินลงทุนระบบไฮโดรโปนิกส์ถือว่าเป็นการลงทุนที่สูง ดังนั้นก่อนที่จะลงมือทำต้องศึกษาให้ลึกซึ้งจนเกิดความมั่นใจจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ด้านระบบที่จะนำมาลงมือทำ ซึ่งตนได้ทดลองมาแล้วจนมั่นใจในช่วงที่เป็นนิสิต นอกจากนี้สามีก็หาเวลาเข้าไปศึกษาทางด้านการตลาดของผักแต่ละช่วงว่าผักชนิดไหนควรปลูก ไม่ควรปลูก ปลูกไปแล้วราคาที่ได้กลับมาดีหรือไม่
นอกจากนี้เราก็มองลึกลงไปว่าพื้นที่ทำสวนของเราอยู่ในพื้นที่ “กลุ่มผู้รักสุขภาพ” และใกล้แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ไม่ว่าจะเป็นหาดบางแสน, พัทยา, ทางผ่านแหล่งท่องเที่ยวหมู่เกาะทางจังหวัดจันทบุรี ตนคิดว่าแหล่งลูกค้าก็มีมาก และไม่น่าจะมีปัญหามากมายนัก” คุณสุมาลีกล่าวถึงจุดเริ่มต้นก่อนที่บ้านสวนผักจะก่อร่างขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน พร้อมได้อธิบายถึงเป้าหมายทางด้านการตลาด โดยการวิเคราะห์ตามหลักความเป็นไปได้สูง
สภาพพื้นที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
ปัจจุบันบ้านสวนผักถือว่ามาถูกทาง ภายใต้ความจริงจัง และตั้งใจ ของทั้งสองท่าน ในช่วงแรกคุณสุมาลีเป็นคนลงมือทำสวนระบบไฮโดรโปนิกส์เพียงคนเดียว ส่วนสามีจะเข้ามาช่วยอย่างเต็มที่ในวันหยุด เมื่อถามถึงความพร้อม ความเหมาะสม ของพื้นที่ ผักปลอดสาร ผักปลอดสาร ผักปลอดสาร ผักปลอดสาร ผักปลอดสาร ผักปลอดสาร
คุณสุมาลีได้ตอบอย่างภูมิใจว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการดำเนินกิจการ พื้นที่หรือทำเลที่ตั้ง คือ สิ่งสำคัญ ซึ่งส่งผลถึงลูกค้าทางด้านความสะดวก ถือว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความมั่นใจให้กับเขา ซึ่งเป็นตัวชี้วัดทางด้านการค้าได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามครั้งแรกที่ลงมือทำ คุณสุมาลีได้ทำแบบน้อยไปหามาก โดยยึดหลักทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ประกอบกับต้นทุนในช่วงนั้นยังมีไม่มากมายนัก
การเริ่มต้นลงมือทำครั้งแรก สิ่งหนึ่งที่ต้องมีอยู่ในหัวใจของแต่ละคนก็คือ ความมั่นใจเต็มร้อยในสิ่งที่ตัวเองลงมือทำเกี่ยวกับเรื่องนี้ คุณสุมาลีมีความรู้ที่ฝังลึก ซึ่งเป็นตัวผลักดันและบ่งชี้ให้เกิดพลังความมั่นใจได้เท่าทวีคูณก่อนลงมือทำ ช่วงแรกเริ่มต้นก่อสร้างโรงเรือนเพียง 48 โรง ประกอบด้วยโรงเรือนขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 7.2 เมตร
ปัจจุบันได้ขยายโรงเรือนปลูกอย่างเต็มอัตราในพื้นที่ 1 ไร่เศษ ภายในเนื้อที่ทั้งหมด 2 ไร่ ซึ่งสามารถบรรจุโรงเรือนได้ทั้งหมดที่มีอยู่ในขณะนี้ คือ 84 โรงเรือน สำหรับต้นทุนการก่อสร้างโรงเรือนที่ใช้วัสดุอุปกรณ์ได้มาตรฐานอยู่ที่ราคา 35,000-40,000 บาท ต่อโรงเรือน นับว่าเป็นการขยายกิจการบ้านสวนผักที่เต็มกำลังอัตราการผลิตด้วยต้นทุนที่สูงทีเดียว ซึ่งยังไม่รวมค่าบริหารจัดการอื่นๆ และค่าจ้างแรงงาน เพื่อมาดูแลทั้งหมด 2 คน
นอกจากนี้ปี พ.ศ.2556 คุณอดิศรได้ตัดสินใจลาออกจากบริษัทเพื่อเข้ามาช่วยกิจการภายในสวนอย่างเต็มกำลัง อีกทั้งคุณพ่อและคุณแม่ของคุณอดิศรก็อาสาเข้ามาช่วยเพื่อตัดปัญหาความยุ่งยากให้เบาบางลง
ประโยชน์ของผักไฮโดรโปนิกส์
ปัจจุบันผู้บริโภคโดยทั่วไปให้การยอมรับการทานผักไฮโดรโปนิกส์ เพราะถือว่ามีคุณค่าทางด้านอาหาร มีความปลอดภัยสูง และไม่มีสารตกค้างที่เป็นพิษต่อร่างกาย การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เป็นการให้ธาตุอาหารต่อพืชทางน้ำ โดยนำธาตุอาหารมาละลายลงไปในน้ำ
ซึ่งต้องใช้ธาตุอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของพืชผักที่นำมาปลูก ดูแล้วอาจจะไม่แตกต่างกับการปลูกพืชบนดิน อาจจะแตกต่างกันตรงที่ผักที่ปลูกในดินจะต้องอาศัยจุลินทรีย์ย่อยสลายเปลี่ยนเป็นอาหาร ในบางครั้งหากดินมีธาตุโลหะหนักที่เป็นพิษต่อผู้บริโภค จุลินทรีย์ก็จะเปลี่ยนให้พืชดูดธาตุที่เป็นพิษเข้าไป
ในขณะที่การปลูกพืชระบบไฮโดรโปนิกส์ไร้ดินสามารถควบคุมแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ ดังนั้นผู้บริโภคจึงได้รับประทานผักสด สะอาด ที่มีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้การปลูกพืชระบบไฮโดรโปนิกส์ไร้ดินยังคงคุณประโยชน์ที่โดดเด่นของผักเอาไว้ได้อย่างเต็มที่ เช่น กากใยอาหาร ที่เป็นตัวช่วยในการล้างผนังลำไส้ และเป็นตัวช่วยในการขับถ่ายได้อีกด้วย ผักปลอดสาร ผักปลอดสาร ผักปลอดสาร ผักปลอดสาร ผักปลอดสาร
ข้อดีและข้อเสียของระบบ DRFT และ NFT
“การปลูกพืชผักแบบไฮโดรโปนิกส์ด้วยระบบ DRFT คือ ระบบการปลูกพืชโดยให้สารละลายธาตุอาหารพืชและอากาศ โดยการไหลวนผ่านรากพืชในถาดปลูก จากนั้นก็จะไหลลงสู่ถังบรรจุสารละลายธาตุอาหารพืชที่อยู่ต่ำกว่าถาดปลูก และจะถูกส่งกลับขึ้นผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “หัวพ่นอากาศ”
ทำให้เกิดอากาศผสมกับสารละลายธาตุอาหารพืชแบบเติมอากาศในสารอาหาร ก่อนที่สารละลายจะไหลลงสู่ด้านท้ายถาดปลูก และจะต้องไหลผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า “สะดือปรับระดับน้ำ” ที่สามารถปรับระดับความสูง-ต่ำของสารละลายในถาดปลูกได้ตามการเจริญเติบโตของพืชนั่นเอง”
คุณสุมาลีกล่าวถึงระบบการให้ธาตุอาหาร พร้อมกับให้ความเห็นถึงระบบที่นำมาใช้ในผักแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน เช่น ระบบ NFT เป็นระบบการให้ธาตุอาหารบนรางปลูก การปลูกแบบนี้จะเป็นการปลูกพืชโดยรากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายธาตุอาหารจะไหลเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ (หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร) ในรางปลูกพืชกว้างตั้งแต่ 5-35 ซม. สูงประมาณ 5-10 ซม. ความกว้างรางขึ้นอยู่กับชนิดพืชที่ปลูก ความยาวของราง ตั้งแต่ 5-20 เมตร การไหลของสารละลายอาจเป็นแบบต่อเนื่อง หรือแบบสลับก็ได้
โดยทั่วไปสารละลายจะไหลแบบต่อเนื่อง อัตราไหลอยู่ในช่วง 1-2 ลิตร/นาที/ราง รางอาจทำจากแผ่นพลาสติกสองหน้า ขาวและดำ หนา 80-200 ไมครอน หรือจาก PVC ขึ้นรูปเป็นรางสำเร็จรูป, ทำจากโลหะ เช่น สังกะสี หรืออลูมิเนียม และบุภายในด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสารละลาย
โดยจะมีปั๊มดูดสารละลายให้ไหลผ่านรางและรากพืช อย่างไรก็ดีระบบนี้มีข้อเสียก็คือ ในกรณีไฟดับ น้ำไม่ไหล บนรางก็จะทำให้ผักตายได้ อีกปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นแน่นอนในหน้าร้อน คือ ผักตายโดยสาเหตุมาจากการเผาไหม้ของแดดมากเกินไป สิ่งที่ต้องลงทุนเพิ่ม คือ ติดตั้งระบบปรับอากาศ (อีแวป) เพื่อปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะต่อผัก ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนเพิ่มเติม ดังนั้นระบบ NFT จะเหมาะสมสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกผักทางภาคเหนือมากกว่า เพราะเป็นเขตพื้นที่อากาศไม่ร้อนจัดมากเกินไปนั่นเอง
การนำระบบ DRFT และ NFT มาใช้ในแปลงผักไฮโดรโปนิกส์
“ข้อแตกต่างทางด้านผลผลิตของทั้งสองระบบ DRFT รอบช่วงปลูกจะน้อยกว่าปลูกในระบบ NFT ปลูกในระบบ NFT จะมีช่วงการปลูก 2 ช่วง คือ สเต๊ปอนุบาล 1 กับอนุบาล 2 สมมุติว่าปลูกสลัดต้นเล็กเป็นรางชิดกัน พอเริ่มใหญ่ก็ย้ายมาอีกรางหนึ่ง เพื่อทำรอบให้ได้มากกว่า DRFT ที่มีรอบการปลูกนานถึง 5 สัปดาห์ สัปดาห์ที่ 6 จึงเก็บขายได้
ส่วนระบบ NFT สามารถทำรอบสั้นกว่า นั่นก็หมายถึง ทำให้ผลผลิตที่ออกมาในระยะเวลาเพียง 3 สัปดาห์ ตรงจุดนี้เองซึ่งเป็นข้อพิเศษที่สวนเรานำมาประยุกต์ใช้ควบคู่กัน เพื่อให้ทันต่อความต้องการของตลาดที่ทยอยเข้ามาเรื่อยๆ” คุณสุมาลีเล่าถึงเทคนิคในการนำระบบไฮโดรโปนิกส์ โดยนำจุดเด่นของทั้งสองระบบเข้ามาใช้ควบคู่กัน
ชนิดของผักที่บ้านสวนผัก
สำหรับชนิดผักที่บ้านสวนผักปลูกเป็นประจำจะแบ่งได้เป็น 2 หมวด ก็คือ
1.ผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ ได้แก่ กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค กรีนคอรัล เรดคอรัล บัตเตอร์เฮด คอส ฟิลเล่ย์ ไอซ์เบิร์ก
2.ผักทานใบชนิดต่างๆ ได้แก่ ผักคะน้า ผักกวางตุ้งฮ่องเต้ ผักกวางตุ้ง ผักโขมจีน ผักกาดขาวไดโตเกียว ผักคื่นฉ่าย นอกจากนี้บ้านสวนผักยังทำการตลาดเชิงรุก โดยการทำผลิตภัณฑ์จากผักจัดเรียงในกระเช้าสวยงาม ได้แก่ กระเช้าผักสลัด ชุดผักสลัดกล่อง ชนิดผักดังที่กล่าวมาเป็นชนิดที่คนส่วนมากนิยมทานกันเป็นประจำตามเมนู และความชอบของแต่ละคน โดยเน้นความสนใจเป็นพิเศษทางด้านการปลอดสารพิษนั่นเอง
ในส่วนวิธีการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ และวิธีการปลูก คุณสุมาลีได้ให้รายละเอียดว่าสำหรับผักสลัดจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ แบบเคลือบสารเร่งการงอก และแบบไม่เคลือบ บ้านสวนผักจะใช้เมล็ดพันธุ์แบบเคลือบสาร เนื่องจากส่งผลถึงอัตราการงอกได้ดีกว่า ก่อนการปลูกเราจะต้องมีข้อมูลว่าจะปลูกกี่ต้น จากการที่ลงมือทำเปอร์เซ็นต์การเพาะเมล็ดในฟองน้ำงอกออกมา 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าใช้เมล็ดที่ไม่เคลือบ ถ้าต้องการ 100 ต้น ควรจะต้องเพาะเผื่อไว้ถึง 120 เมล็ด เพื่อเป็นการชดเชยการงอกที่ไม่ครบถ้วน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก และสิ้นเปลืองฟองน้ำสำหรับหยอดเมล็ดโดยใช่เหตุ
การเพาะปลูกผักสลัด
สำหรับวิธีการเพาะปลูกผักสลัด “บ้านสวนผัก” จะใช้วิธีทำในระบบ NFT ก็คือ ทำในลักษณะโรงอนุบาลขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 โดยการหยอดเมล็ดในฟองน้ำทิ้งไว้ 2 คืน หน่อต้นสลัดจะแตกออกมาให้เห็น และการเจริญเติบโตของหน่อจากเมล็ดที่เคลือบสารเร่งการงอกจะสม่ำเสมอกว่าเมล็ดที่ไม่ได้เคลือบดังที่กล่าวมา
“สเต็ปแรกเราจะทำการอนุบาลขั้นที่ 1 ก่อน 2 วัน หลังจากงอกออกมาแล้วก็จะนำมาอนุบาลอีกครั้ง 5 วัน หลังจากนั้น 7 วัน สลัดจะแตกใบจริงออกมาเป็นใบที่สาม หลังจากนั้นค่อยย้ายมาใส่ถ้วยดำอีก 2 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าเป็นการอนุบาลขั้นที่ 2
จากนั้นเมื่อครบวันกำหนดให้ย้ายไปปลูกแปลงจริง เพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้เต็มที่อีก 3 สัปดาห์ รวมเป็น 6 สัปดาห์ พร้อมเก็บผลผลิต ซึ่งเป็นวิธีที่รวดเร็วยิ่งขึ้น การเพาะ 2 สเต็ป อาจจะเพิ่มงานที่มากขึ้น แต่เราสามารถกำหนดรอบและอัตราการผลิตได้อย่างแม่นยำ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธาตุอาหารที่เราทำอยู่ 17 ธาตุ ที่พืชต้องการ บางสูตรก็นำมาปรับตามสภาพแวดล้อม จะมีตัวเอกับตัวบีเหมือนเดิม จะทำการวัดค่าความเข้มข้นของปุ๋ยทุกวัน โดยกำหนดไว้ที่ 1.8 ด้วยเครื่อง EC ทั่วไป”
คุณสุมาลีได้อธิบายวิธีการทำการเพาะตามระบบ NFT ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดีพร้อมทั้งอธิบายสูตรปุ๋ยที่ใช้เป็นประจำ ทางด้านโรคที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งก็คือ “โรคเน่า” ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงหน้าร้อน ในกรณีที่พบเจอจะทำการแยกออกจากกันทั้งแปลง ใช้วิธีการกำจัดโรคโดยวิธีการเปลี่ยนน้ำพร้อมกับนำต้นที่เป็นโรคทิ้งให้หมด ส่วนแมลงจะมีพวกเพลี้ยไฟขนาดเล็กเข้ามาคอยกัดกิน โดยวิธีการจะใช้ยาฉีดป้องกันก่อนเก็บผลผลิต 10-14 วัน
ด้านตลาดผักไฮโดรโปนิกส์ ผักปลอดสาร
ทางด้านการตลาดบ้านสวนผักได้สร้างขึ้นอย่างมีเป้าหมาย กิจกรรมการผลิต ผักปลอดสาร พิษก็ออกสู่ท้องตลาด ซึ่งคุณสุมาลีได้วางแผนการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ โดยแบ่งการจำหน่ายออกเป็น 2 รูปแบบดังนี้
1.การค้าปลีก ผลิต บรรจุ และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผัก ภายใต้ตราบ้านสวนผัก จัดส่งตามหน่วยงานราชการ และสำนักงานต่างๆ เช่น สำนักงานไฟฟ้า โรงเรียน ธนาคาร สำนักงานสาธารณสุข เป็นต้น
2.การค้าส่ง ผลิตและจำหน่ายตามความต้องการของร้านอาหาร โรงแรม พ่อค้า แม่ค้า ทั่วไปโดยใช้ลักษณะการขายแบบ “เมคทูออร์เดอร์” ก็คือ ระบบซื้อแบบรับสั่งปลูกที่ลูกค้าเข้ามาสั่งยอดความต้องการ ทางสวนก็จะจัดให้ตามความต้องการ ทางด้านการจัดการบริหารได้ทำสถิติเก็บตัวเลขยอดการสั่งซื้อในแต่ละช่วงฤดู
ซึ่งตรงนี้เองในแต่ละปีจึงทำให้ได้ล่วงรู้ความต้องการของลูกค้า สามารถกำหนดยอดการผลิตโดยประมาณการล่วงหน้าได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุดในอาชีพทำสวนปลอดสาร บ้านสวนผักได้รับการรับรองมาตรฐานจาก GAP เมื่อปี พ.ศ.2557 พร้อมกันนั้นก็ได้เข้าเป็นสมาร์ทฟาร์เมอร์ของจังหวัดชลบุรีเมื่อปี พ.ศ.2558 โดยคุณอดิศรได้เป็นต้นแบบของ “สมาร์ทฟาร์เมอร์” พร้อมกับเข้ากลุ่ม “ไวเซท” ซึ่งเป็นกลุ่มทำการค้าในจังหวัดชลบุรี ที่ผ่านมาก็ได้รับเชิญให้นำสินค้ามาโชว์เพื่อให้ลูกค้าได้รู้จักมากยิ่งขึ้น ผักปลอดสาร ผักปลอดสาร ผักปลอดสาร ผักปลอดสาร ผักปลอดสาร
และนั่นก็คือ เรื่องราวและภาพรวมของการปลูกผักระบบไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งปลูก ผักปลอดสาร ที่เน้นการบริหาร การจัดการ การวางแผนการผลิต ตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างดีเยี่ยม และทันสมัย สามารถควบคุมคุณภาพผักตามมาตรฐานการผลิตสินค้าปลอดภัย บริการแนะนำ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์แก่ท่านที่สนใจ ซึ่งสามารถติดต่อไปได้ที่ “บ้านสวนผัก” บริหารโดย คุณอดิศร และคุณสุมาลี กำจัดโศรก เลขที่ 23/1 หมู่ที่ 10 ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.ชลบุรี 20000 หรือโทรศัพท์ 038-780-354 ได้ทุกวัน…