ทีมงานสัตวบก จึงหยิบยกแนวทางการเลี้ยงหมูของ “ไพบูรณ์ฟาร์ม” ตั้งอยู่เลขที่ 116 หมู่ 10 ตำบลบ้านโข้ง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีการจัดการอย่างชาญฉลาด สามารถแปลงของเสียภายในฟาร์มมาเป็นเงินได้อย่างมากมาย และถือได้ว่าฟาร์มแห่งนี้เป็นฟาร์มหมูที่ทำอย่างครบวงจร ด้วยแนวคิดของเกษตรกรตัวจริง ขี้หมูอัดเม็ด
อย่าง คุณไพบูรณ์ ผิวพิมพ์ดี เจ้าของฟาร์ม ที่มีแนวคิดพัฒนาเกษตรไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เขาสามารถนำขี้หมูและหมูตายมาแปลงเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพสูง และได้รับการรับรองจากสถาบันการศึกษา และสร้างมูลค่าให้กับฟาร์มอย่างมากมาย “ผมเคยทำไร่ยาสูบ คนจีนท่านเคยสอนเอาไว้ว่าทำอะไรก็ได้ที่ใช้แล้วหมดไป กินแล้วหมดไป และให้ตลาดยอมรับ จะหาเงินง่าย” คุณไพบูรณ์กล่าว
การเลี้ยงหมู
อาชีพเลี้ยงหมูในระบบอีแวปเป็นอาชีพที่มีมูลค่าการลงทุนสูง มีค่าการจัดการดูแลต่อหมู 1 รุ่น ที่สูงมาก และในขณะเดียวกันของเสียจากโรงเรือนก็มีมากมาย หากเจ้าของฟาร์มไม่มีการจัดการอย่างชาญฉลาด แน่นอนว่ารายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วคงเหลือไม่เท่าไหร่
คุณไพบูรณ์ ผิวพิมพ์ดี เลี้ยงหมู จ.สุพรรณบุรี
ทีมงานสัตวบก จึงหยิบยกแนวทางการเลี้ยงหมูของ “ไพบูรณ์ฟาร์ม” ตั้งอยู่เลขที่ 116 หมู่ 10 ตำบลบ้านโข้ง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ที่มีการจัดการอย่างชาญฉลาด สามารถแปลงของเสียภายในฟาร์มมาเป็นเงินได้อย่างมากมาย และถือได้ว่าฟาร์มแห่งนี้เป็นฟาร์มหมูที่ทำอย่างครบวงจร ด้วยแนวคิดของเกษตรกรตัวจริง
อย่าง คุณไพบูรณ์ ผิวพิมพ์ดี เจ้าของฟาร์ม ที่มีแนวคิดพัฒนาเกษตรไทยให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น เขาสามารถนำขี้หมูและหมูตายมาแปลงเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพสูง และได้รับการรับรองจากสถาบันการศึกษา และสร้างมูลค่าให้กับฟาร์มอย่างมากมาย “ผมเคยทำไร่ยาสูบ คนจีนท่านเคยสอนเอาไว้ว่าทำอะไรก็ได้ที่ใช้แล้วหมดไป กินแล้วหมดไป และให้ตลาดยอมรับ จะหาเงินง่าย” คุณไพบูรณ์กล่าว
คุณไพบูรณ์เล่าว่า ทำมาหลายอย่าง ทั้งอาชีพรับซื้อของเก่า ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน อบต.รองนายกเทศมนตรี และปัจจุบันเป็นนายกเทศมนตรี ทำฟาร์มหมูมา 5 ปีแล้ว รายได้ค่อนข้างดี ที่ฟาร์มมีทั้งระบบไบโอแก๊สเพื่อปั่นไฟมาใช้ภายในฟาร์ม มีโรงผลิตปุ๋ยเพื่อจำหน่ายในราคายุติธรรม
นอกจากนี้ยังมีหน่อไม้หวานที่เป็นอีกอาชีพเสริม จะนำหน่อไม้ไปขายที่ตลาดนัด ส่วนต้นไผ่ตัดทำฟืน รายได้ถือว่าดีมาก ซึ่งจะใช้ปุ๋ยจากที่ผลิตเอง ได้หน่อทุกวัน รายได้ต่อครั้งประมาณ 800-1,000 กว่าบาท ปลูกในพื้นที่ไร่กว่าๆ บริเวณทางเข้าฟาร์ม และปลูกมะนาวด้านข้างของโรงเรือน
สภาพพื้นที่เลี้ยงหมู
ในส่วนของการลงทุนช่วงแรกหมดไปล้านกว่าบาท และกู้ธนาคารอีก 5.3 ล้านบาท รวมทั้งระบบและตัวโรงเรือน 4 หลัง หมดไปทั้งสิ้น 7 ล้านบาท รวมถึงค่าต่อไฟฟ้าเข้ามาในฟาร์มด้วย การเดินไฟเข้ามาในฟาร์มจากถนนใหญ่ใช้เสาไฟ 81 ต้น หมดไป 2 ล้านบาท
ส่วนที่ดินเป็นของคุณไพบูรณ์เอง ห่างจากชุมชนมีพื้นที่ทั้งหมด 16 ไร่ เมื่อตัดสินใจทำฟาร์มหมูกับ บริษัท ซีพีเอฟ ในระบบรับจ้างเลี้ยงแล้ว ทางบริษัทจะช่วยประสานกับธนาคารเรื่องสินเชื่อ รวมทั้งข้อมูลด้านการลงทุน รายได้ผลตอบแทน เพื่อใช้ในการกู้เงินธนาคาร และควบคุมดูแลขั้นตอนการก่อสร้างให้ตรงตามแบบแปลนโรงเรือน รวมถึงระบบไบโอแก๊ส ให้การลงทุนเป็นเงินของเกษตรกร 30% และธนาคาร 70% เดิมทำสัญญา 6 ปี
ช่วงปีแรกได้รายได้ประมาณ 7 แสนกว่าบาทต่อรุ่น เมื่อหักค่าใช้จ่ายรวมทั้งส่งธนาคารจะเหลือเงินไม่มาก จึงเข้าไปขอขยายระยะเวลาการกู้จาก 6 ปี เป็น 10 ปี ธนาคารหย่อนให้มาเป็น 9 ปี จากเดิมที่รายได้ 7 แสนกว่าบาท ทางฟาร์มก็พัฒนาการเลี้ยง รายได้ตอนนี้ล้านกว่าบาท
ส่วนที่พัฒนาขึ้นเป็นส่วนที่ทางบริษัทมีการปรับผลตอบแทนเพิ่มขึ้น รวมทั้งทางฟาร์มที่มีการพัฒนาระบบการเลี้ยงให้หมูมีประสิทธิภาพการเลี้ยงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทางฟาร์มได้ติดตั้งระบบน้ำหยด เพื่อกระตุ้นให้หมูกินอาหารได้ดี หมูก็โตขึ้นกว่าเดิม นอกจากนั้นยังได้ทำระบบป้องกันโรคไม่ให้เข้าฟาร์ม เลี้ยงกับบริษัทอื่นรายได้เหมือนจะดีกว่า แต่ความเสี่ยงสูงกว่ามาก ซึ่งถ้าหากเป็นช่วงที่เกิดการสูญเสียมากจะไม่พอส่งธนาคาร
อย่างเลี้ยงกับซีพีเอฟ รายได้ค่อนข้างแน่นอนชัดเจน ค่าใช้จ่าย ทั้งอาหาร พันธุ์สัตว์ ยาวัคซีน ทางบริษัทเป็นผู้ลงทุน เกษตรกรไม่ต้องรับความเสี่ยง รายได้จึงพอส่งธนาคารแน่ๆ ไม่ต้องดิ้นรน ใน 5 ปีนี้ ทางฟาร์มไม่เคยประสบปัญหาเรื่องราคาเลย เพราะเลี้ยงในระบบของบริษัทรายได้ค่อนข้างมั่นคง
การติดตั้งระบบไบโอแก๊ส
เมื่อกล่าวถึงการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ทางฟาร์มติดตั้งระบบไบโอแก๊สตั้งแต่เริ่มตั้งฟาร์มเลย เพราะมองในด้านของธุรกิจระบบนี้ลงทุนต่ำ และใช้ได้จริง ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 70% มองว่าการไม่ติดตั้งระบบไบโอแก๊สเป็นการเสียโอกาส
เพราะช่วงเลือกตั้งเครื่องปั่นไฟเสีย ทำให้ช่วงนั้นต้องเสียค่าไฟฟ้าเดือนละ 8 หมื่นบาท เครื่องปั่นไฟคุณไพบูรณ์เป็นผู้ผลิตขึ้นมาใช้เอง จากการไปดูงานของฟาร์มอื่น วางระบบให้น้ำเสียจากโรงเรือนไหลมาตามท่อส่ง รวมกันที่บ่อไบโอแก๊สเพื่อผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าใช้ในฟาร์ม ในส่วนของกากจากระบบไบโอแก๊สจะสูบขึ้นมาตากประมาณ 1 เดือน และจึงนำไปผลิตเป็นปุ๋ย น้ำเสียจากระบบจะถูกส่งมาตามท่อไปยังบ่อด้านหลังของฟาร์ม เพื่อให้ชาวไร่อ้อยในละแวกนี้มาสูบไปใช้
การบริหารจัดการโรงเรือนหมูขุน
คุณนภดล ผิวพิมพ์ดี ลูกชายของคุณไพบูรณ์ อธิบายการเลี้ยงหมูขุนของฟาร์มให้ทีมงานฟังว่า เริ่มจากการล้างทำความสะอาดโรงเรือน ซึ่งมีทั้งหมด 4 โรงเรือน ขนาดโรงเรือน 15×64 เมตร เลี้ยงหมูได้โรงเรือนละ 600 ตัว ทางฟาร์มจะเลี้ยงแยกเพศ เนื่องจากหมูตอนเล็กเพศเมียอัตราการเจริญเติบโตเร็วกว่าหมูตัวผู้ และจะช้าลงตอนโต
ซึ่งหมูเพศผู้จะสวนทางกัน คือ อัตราการเจริญเติบโตเร็วตอนโต และช้าตอนเล็ก ซึ่งมองว่าคล้ายกับมนุษย์ ที่เพศหญิงจะโตช้าลงเมื่ออายุประมาณ 17 ปี แต่เพศชายจะโตเร็วตอนอายุประมาณ 17 ปี ที่ฟาร์มจะเลี้ยงหมูไม่เกิน 24 สัปดาห์ หรือประมาณ 5-6 เดือน จึงจับหมด เว้นห่างไม่เกินประมาณ 1 สัปดาห์ ทยอยจับทีละโรงเรือน เพื่อให้สะดวกกับการจัดการเรื่องความสะอาด หากจับเร็วกว่านี้จะล้างทำความสะอาดโรงเรือนไม่ทัน
ฟาร์มมี “ระบบน้ำหยด” มองว่าเป็นเทคนิคหนึ่งที่ทำให้หมูโตไวได้ขนาดดี เนื่องจากหมูเป็นสัตว์ที่จมูกกับปากอยู่ติดกัน เวลาหายใจอาหารจะเข้าไปในปอดหมู หมูจึงไม่ค่อยกินอาหาร แต่หากอาหารเปียก มีความชื้น หมูจะกินดี
การให้อาหารหมู
หลังจากที่เตรียมโรงเรือนพร้อมแล้ว บริษัทจัดส่งลูกหมูอายุประมาณ 1 เดือน มาให้ จะกกไฟประมาณ 1 เดือน อุณหภูมิตามสภาพอากาศ ค่อยสังเกตพฤติกรรมของหมูอยู่เสมอ คุณนภดลแนะว่าถ้าตอนเล็กๆ เราดูแลดี โตมาเราก็จะสบาย
ส่วนของอาหารจะให้กินตามเรตอายุของสุกรว่าอายุเท่านี้กินได้เท่าไหร่ระบบการให้อาหารเป็นแบบยกเท ที่ฟาร์มมีการจดบันทึกข้อมูลการทำวัคซีน และการให้อาหาร รวมถึงจำนวนลูกหมู เปรียบเสมือนเด็กต้องดูแลอย่างใกล้ชิด หัวใจของมันคือการอบ หมูมาใหม่ๆ ยังไม่แข็งแรง ภูมิต้านทานไม่ดี เหมือนเด็กแรกเกิด ต้องกกให้ดี ใช้ไฟสปอร์ตไลท์ฉายลงไปทำให้อุ่น เพื่อสร้างภูมิต้านทานให้ลูกหมู ผู้เลี้ยงต้องศึกษาอย่างถ่องแท้ว่าหมูอายุประมาณนี้ต้องการอุณหภูมิที่เท่าไหร่ และการกิน ความเป็นอยู่ของหมู จะเป็นอย่างไร
การป้องกันกำจัดโรคระบาด
ช่วงนี้อากาศค่อนข้างมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว ต้องมาคอยดูเรื่องของพัดลม น้ำด้านหน้าแพดต้องปรับทำให้เหมาะสม ให้หมูได้รับผลกระทบน้อยที่สุด น้ำที่ใช้ในฟาร์มเป็นน้ำบาดาล พอดึงน้ำขึ้นมาเติมคลอรีนก่อนใช้
ส่วนเรื่องของโรคสำคัญมากๆ ที่ฟาร์มมีคนงาน 4 คน และมีหมอของซีพีเอฟมาดูทุกวัน ก่อนเข้าฟาร์มต้องอาบน้ำทำความสะอาดก่อน และต้องเช็คผู้ที่จะเข้าฟาร์มก่อนว่าภายใน 48 ชม.ได้ไปเข้าฟาร์มที่ไหนมาหรือไม่ เพื่อป้องกันเชื้อโรค และต้องฉีดวัคซีนป้องกันไว้ ตอนนี้ที่ฟาร์มจะป้องกันโรคปอด ปากเท้าเปื่อย และอหิวาต์ เป็นต้น จะทำตลอดไม่ให้ขาด ป้องกันตั้งแต่หมูเล็กอายุ 1 เดือน ฉีดเข็มแรกให้เว้นระยะประมาณ 2 สัปดาห์ ฉีดเข็มที่ 2 อัตราการตายไม่เกินร้อยละ 2 เฉลี่ยหลังหนึ่งตายไม่เกิน 20 ตัว ช่วงการสูญเสียจะเป็นช่วงหมูเล็ก
ที่นี่เคยเกิดโรคเพิร์สอยู่ครั้งหนึ่ง ทางบริษัทให้พักเล้า เพื่อจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคซ้ำ โดยได้แยกคนทำงาน ฟาร์มไหนก็ประจำฟาร์มนั้น ไม่ปะปนกับฟาร์มอื่น โรยปูนขาวป้องกันไว้อยู่ตลอด มองว่าการเกิดโรคอยู่ที่การดูแลของเจ้าของฟาร์ม อย่างช่วงหน้าหนาววัคซีนหมูก็จะเป็นปอดได้ เพราะว่าอากาศเย็น เรื่องหมูป่วยต้องเจอกันทุกฟาร์ม อยู่ที่การจัดการของแต่ละที่ และความเข้าใจของเกษตรกรว่าจะปรับสภาพไปในรูปแบบไหนให้ทันกับสถานการณ์
การขนส่งหมู
เมื่อถึงกำหนดจับหมู ไพบูรณ์ฟาร์มจะมีรถวิ่งจับหมูลูกเล้าของซีพีเอฟทั้งหมด แล้วนำไปส่งที่ขาย โดยจะนัดเวลาในการจับ คำนวณเวลาจับต่อเที่ยวจนกระทั่งเอาไปส่งถึงที่ขาย และหมูจะพักประมาณกี่ชั่วโมงจนกระทั่งลูกค้ามารับ คิดค่าจับเป็นระยะทางว่าจากฟาร์มไปถึงฟาร์มขายเป็นระยะทางกี่กิโลเมตรตามเรทของบริษัท รายได้จากฟาร์มหมูตอนนี้ราคาตัวละประมาณ 500 กว่าบาท ไม่รวมโบนัสต่างๆ ที่จะได้รับจากบริษัทอีก
ซึ่งได้จากความสะอาดของฟาร์ม ระบบการป้องกันโรคเข้าฟาร์ม อัตราแลกเนื้อ ระบบไบโอแก๊ส รั้วกัน รายได้ต่อรุ่นประมาณล้านกว่าบาท ส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายหลักๆ ของฟาร์ม คือ ค่าไฟฟ้า และค่าคนงาน นอกนั้นจะเป็นส่วนที่ทางบริษัทหักจากรายได้ คือ ค่ายา วัคซีน อาหาร เป็นต้น มองว่ารายได้จากการรับจ้างเลี้ยงหมูกับบริษัท ซีพีเอฟ ค่อนข้างคงที่ ไม่ค่อยแกว่ง คุณไพบูรณ์เล่าว่า 5 ปี กับบริษัท ซีพีเอฟ บริษัทมีโครงสร้างการบริหารงานที่ดี เมื่อมีปัญหาเรื่องโรคจะเข้ามาแก้ไขอย่างรวดเร็ว และเป็นระบบ
การผลิตปุ๋ยขี้หมู
กล่าวถึงการแปลงมูลค่าของเสียมาเป็นเงิน เมื่อเดินเข้าไปภายในส่วนของโรงผลิตปุ๋ยของคุณไพบูรณ์ จะมีทั้งถังหมัก ถังบรรจุน้ำ ที่ได้จากการย่อยสลาย และถังหัวเชื้อพร้อมผสม ตั้งเรียงรายอยู่ ส่วนของเครื่องจักร ทั้งเครื่องอัดเม็ดปุ๋ย เครื่องร่อนคัดเม็ด ล้วนเป็นอุปกรณ์ที่คุณไพบูรณ์สร้างขึ้นมาเอง จากการไปดูงาน และการดัดแปลงตามความต้องการ
ปุ๋ยขี้หมูทำมาตั้งแต่เริ่มเลี้ยงหมูเลย เดิมพอเลี้ยงหมูก็เอาขี้หมูมาตากใส่กระสอบละ 20 บาท น่าเสียดายมาก จึงมีแนวคิดว่าทำไมไม่ทำให้มันมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากรู้จักกับเฮียชัยรัฐ ปทุมธานี ที่ทำปุ๋ยส่งทั่วประเทศ ส่งลาว เขมร เขามาแนะนำให้ แต่ของเขาเป็นฟาร์มไก่ จากผลวิจัยพบว่าขี้ไก่มีธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชน้อยกว่าขี้หมู
โดยเฉพาะโปรตีนของหมูดีกว่าเยอะ แต่ข้อเสีย คือ ไม่มีบุคลากรทางด้านการตลาด วิธีทำตลาดของคุณไพบูรณ์ คือ แจกให้เกษตรกรไร่อ้อยลองไปหว่านดู ใช้ระยะเวลา 1 ปี หมดหน้าฝนถึงจะรู้ว่าดี เกษตรกรชาวไร่ในละแวกนั้นก็จะมาถามว่าคุณใช้ปุ๋ยของใครมาใส่ เราก็จะได้ลูกค้าเพิ่มจากจุดนั้นจุดเดียว อีกหลายรายใช้วิธีเอาคุณภาพวัดกันเลย
จากแนวคิดการผลิตปุ๋ยให้ได้คุณภาพ และช่วยเหลือเกษตรกร จึงจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจชุมชน ที่มีชื่อว่า “วิสาหกิจชุมชนชีวภาพเกษตรสมบูรณ์ บ้านดอนยอ” โดยรวบรวมเกษตรกรชาวไร่ ชาวสวน ในตำบลบ้านโข้ง ที่ประสงค์ใช้ปุ๋ยคุณภาพ และราคาถูก ปุ๋ยที่ถูกผลิตออกมาแล้วทางคุณไพบูรณ์จะเป็นผู้กำหนดราคาเอง โดยไม่เอาเปรียบผู้บริโภค และให้ทุกคนในกลุ่มสามารถอยู่ได้ โดยใช้ยี่ห้อ “หมูทอง” หลักเกณฑ์ในการรับสมาชิก คือ ต้องเป็นคนในตำบลนี้ และเป็นเกษตรกรตัวจริง นำไปแอบอ้างขายไม่ได้ เพราะมีลิขสิทธิ์
สาเหตุหนึ่งที่ต้องจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจชุมชน เพราะรายได้จากการขายไม่ได้สูงพอที่จะต้องชำระภาษี เน้นเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กำลังการผลิตไม่มาก ทำกันเอง ไม่มีลูกจ้าง จะเน้นผลิตใช้ในสวนของคุณไพบูรณ์เอง
และจำหน่ายให้เกษตรกรในกลุ่มในราคา 4,000 บาท/ตัน และหากเหลือจึงจำหน่ายให้เกษตรกรนอกกลุ่มในราคา 7,000 บาท/ตัน หรือกระสอบละ 350 บาท แต่ถ้าสั่งซื้อ 10 ตัน จะได้ส่วนลด 20% จากตันละ 7,000 บาท จะเหลือ 5,600 บาท ผลตอบรับจากผู้ใช้ดีมาก แต่ทางฟาร์มมีกำลังการผลิตไม่เพียงพอ กำลังการผลิตอย่างเต็มที่ 1 วัน ได้ประมาณ 8 ตัน ทำ 10-15 วันครั้ง เพราะมีภาระหน้าที่ในฐานะนายกเทศมนตรี
ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นชาวไร่อ้อย มีเกษตรกรเข้ากลุ่มอยู่ 10 กว่าราย ในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครสวรรค์ เป็นต้น ถ้าจะทำในเชิงธุรกิจก็สามารถไปเปิดตลาดได้เลยแต่ไม่มีความพร้อม และไม่ชอบ
ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยขี้หมู
คุณไพบูรณ์อธิบายว่าวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตปุ๋ย คือ “กากน้ำตาล” หรือขี้น้ำตาล (Molasses) เป็นส่วนที่ทำให้ขึ้น OM (Organic Matter : อินทรีย์วัตถุ) จะใส่ประมาณ 30% และผสมกับขี้หมูอีก 70% กากน้ำตาลหมักไม่ต่ำกว่า 3 ปี เพื่อให้เกิดการย่อยสลาย ถ้าไม่ถึงระยะเวลาจะมีพวกเชื้อรา กรด ด่าง มาก ทางฟาร์มจะสั่งมาเที่ยวรถพ่วงละประมาณ 3,000 กว่าบาท หรือประมาณ 20 กว่าตัน
ส่วนของหมูตาย ทางบริษัทจะเข้ามาถ่ายรูป และบันทึกข้อมูลไว้ ทางฟาร์มจะนำไปใส่ในถังหมักผสมกับหัวเชื้อ ตัวหมูจะถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ ใช้ระยะเวลาในการหมัก 1 ปีขึ้นไป มองว่าการนำหมูตายมาใส่ถังผลิตเป็นปุ๋ย มันเก็บโรคได้ดีกว่าการทิ้งบ่อซาก มิดชิด และเก็บกลิ่นด้วย มีการบำบัดอย่างดี
เมื่อเอาหมูลงถังหมักปุ๊บจะเติมน้ำยาฆ่าเชื้อพวกจุลินทรีย์ ส่วนผสมเพิ่มเติมอื่นๆ คือ ไดนาไมท์ ฟอสเฟต ปูนมาร์ล ดินภูเขา ที่มีอายุหลายร้อยล้านปี และส่วนที่เป็นแร่ธาตุต่างๆ จะนำมาผสมเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับปุ๋ย เมื่อผสมทุกอย่างตามสูตรของคุณไพบูรณ์แล้ว จะได้ออกมาเป็นปุ๋ยที่พร้อมเป็นหัวฮอร์โมนให้กับพวกพืช ที่ส่งผลให้พืชเจริญงอกงามอย่างมาก ปุ๋ยของฟาร์มได้รับการตรวจรับรองธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นแก่พืช ในเมืองไทยจะมีการทำปุ๋ยลักษณะนี้อยู่ 2 ที่ คือ ที่ฟาร์มของคุณไพบูรณ์ และอีกที่ของอาจารย์ท่านหนึ่ง
การปลูกมะนาว และไผ่
นอกจากฟาร์มหมูแล้วคุณไพบูรณ์ยังปลูกมะนาวไว้ข้างโรงเรือน และทำสวนไผ่ในพื้นที่ไร่กว่าๆ ซึ่งแต่ก่อนจะซื้อปุ๋ยจากท้องตลาดในราคาพันกว่าบาทมาใช้ แต่ผลที่ได้ คือ ไผ่ไม่ออกหน่อ เมื่อมาทำฟาร์มหมูมีของเสียจากฟาร์มจำนวนมาก และนำมาทำปุ๋ยตามสูตรเฉพาะของคุณไพบูรณ์เอง นำมาใช้กับสวนไผ่ที่ปลูกไว้หน้าทางเข้าฟาร์ม ผลที่ได้คือ ไผ่แตกหน่อดี ดินฟูดี มีไส้เดือน เพราะปุ๋ยหมูทองมีคุณสมบัติในการพลิกผืนดิน จากดินดาน ดินแข็ง ที่ผ่านการใช้สารเคมี เมื่อใส่ปุ๋ยตัวนี้ลงไปดินจะฟู
คุณไพบูรณ์แนะต่อว่า “เกษตรกรต้องมีความฉลาด และรอบรู้ ในการใช้ปุ๋ย ปุ๋ยพวกนี้ต้องฝังดินเท่านั้น ไปโรยเหมือนปุ๋ยเคมีไม่ได้ คือ หว่านก่อนแล้วไถให้มันอยู่ใต้ดิน เมื่อปุ๋ยโดนความชื้น ดินจะระเบิด โดยจุลินทรีย์ที่มีชีวิต” นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรนานาชนิดที่ถูกนำมาหมักไว้ อาทิ สบู่เลือด ว่านชักมดลูก กราวแดง กาวขาว กระชายป่า มะม่วงหาวมะนาวโห่ รางจืด เป็นต้น ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นคลังสมุนไพรก็ว่าได้ และสมุนไพรหมักต่างๆ แจกฟรี ไม่ขาย
เมื่อมั่นใจในธุรกิจสุกร คุณไพบูรณ์มองเรื่องการขยายโรงเรือนไว้ แต่ทางบริษัทยังไม่ให้ เพราะพิจารณาจากการควบคุมโรคยาก ในพื้นที่นี้นอกจากฟาร์มของคุณไพบูรณ์แล้วยังมีฟาร์มของน้องชายอีก 4 หลัง เมื่อบริเวณนี้มีขึ้นอยู่ 8 หลัง เท่ากับมีหมูถึง 5,000 กว่าตัว เพราะฉะนั้นเวลาโรคเกิดมันจะควบคุมยาก
ตรงนี้คือเหตุที่บริษัทไม่ให้ขยายเพิ่ม แต่ก็มีประเด็นว่าขณะนี้ในท้องที่ต่างๆ ไม่ให้มีการสร้างฟาร์มใหม่ แล้ว บริษัทอาจต้องอนุญาตให้ลูกเล้าเดิมขยายโรงเรือนเพิ่ม และทางฟาร์มอาจต้องใช้ระบบของบริษัท คือ มีสัตวแพทย์ หรือสัตวบาล ประจำฟาร์มเข้ามาควบคุม ในส่วนของทุนในการขยายเพิ่มคาดการว่าจะขึ้นอยู่กับราคาเหล็ก ปูน และค่าแรงงาน
ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจจะเลี้ยงหมู
ฝากแนวคิดถึงเกษตรกร ที่สำคัญการจะทำอะไรต้องศึกษาอย่างถ่องแท้ เกษตรกรหลายคนประสบความสำเร็จ หลายคนไม่ประสบความสำเร็จ บางคนล้มลุกคลุกคลาน เน้นเลยว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท แล้วเวลาลูกหมูไม่สมบูรณ์ มีปัญหาต้องคุยกับบริษัท เกษตรกรบางคนไม่มีทักษะในการคิด เพราะคิดว่าต้องง้อบริษัท ซึ่งมันไม่ใช่ เพราะคุณลงทุนร่วมกับบริษัทลงทุนไปตั้ง 5-7 ล้าน ธนาคารปล่อยกู้มาก็อยากได้ดอกเบี้ย คือ เราหุ้นด้วยกัน เกษตรกรได้รายได้จากการเลี้ยงหมู บริษัทได้รายได้จากการขายอาหาร ยา วัคซีน ฯลฯ และธนาคารก็ได้รายได้จากดอกเบี้ย ดังนั้นให้มองว่าเป็นการทำธุรกิจร่วมกัน ทั้ง 3 ส่วน ต้องมีการพูดคุยกัน หากเกิดปัญหาขึ้นเพื่อร่วมกันแก้ไขให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไป
มุมมองต่ออาชีพเลี้ยงหมู ขี้หมูอัดเม็ด
คุณไพบูรณ์ให้ความเห็นว่า บริษัท ซีพีเอฟ พวกเราร่วมกันสร้าง ร่วมกันวางแผน ว่าจะมาเปิดที่สุพรรณบุรีกี่ฟาร์ม ใครจะมาบรรทุกหมู ใครจะมาบรรทุกอาหาร มันเหมือนพวกเราช่วยกันคิด และวางแผนร่วมกัน ที่นี่เป็นแหล่งดูงาน การเลี้ยงหมูส่วนใหญ่จะเป็นรายใหม่ที่จะทำฟาร์ม จะมาดูการทำไบโอแก๊ส โรงเรือน ฯลฯ
การเลี้ยงหมูมันมีค่าเสื่อมโทรม เกษตรกรบางคนเห็นคนอื่นเลี้ยงก็อยากเลี้ยง เวลาคิดต้องคิดร่วมกับบริษัท บริษัทบอกว่าได้เท่านั้นเท่านี้ แต่เวลาภาคปฏิบัติมันไม่ง่ายอย่างที่คิด ทุกอย่างมันมีค่าความเสื่อมของมัน อย่างปีนี้รุ่นหนึ่งเสียค่าซ่อมเท่าไหร่ ต้องตั้งค่าความเสื่อมไว้เลย จับหมูเสร็จอาจต้องเทปูนใหม่ แพดลิ่งมีปัญหาต้องซ่อม ไม่งั้นถ้าปล่อยให้โทรมเจ๊งแน่นอน มันเป็นต้นทุนค่าเสื่อมสภาพของฟาร์ม
เกษตรกรร้อยละ 30% ที่ประสบความล้มเหลว และร้อยละ 70% ที่ประสบความสำเร็จ เท่าที่ไปดูมาไม่ประสบความสำเร็จ เพราะไม่ทำครบวงจร สูญเสียขี้หมูไปเท่าไหร่ซึ่งน่าเสียดายมาก การวางโครงสร้างระบบการจัดการโรงเรือน ต้องวางให้ทำ แล้วมีกำไร คือ การทำอย่างครบวงจรทั้งระบบ เสมือนวงกลม 1 วง ถ้าวงกลมไม่มาชนกัน เกิดเป็นช่องว่าง ปัญหาจะเกิด
ฟาร์มหมูมีของเสียมากต้องนำไปแปลงมูลค่าให้ได้ ต้องไม่ให้เสียประโยชน์ ติดตั้งระบบไบโอแก๊สปั่นกระแสไฟมาใช้ภายในฟาร์ม และนำกากที่ได้มาแปลงมูลค่าเป็นปุ๋ย “ระหว่างการเลี้ยงหมูกับขี้หมูบอกได้เลยว่าขี้หมูได้เงินเยอะกว่า” คุณไพบูรณ์กล่าว
มุมมองต่อการประกอบอาชีพนี้ คุณไพบูรณ์มองว่าธุรกิจหมูดีที่สุด เพราะตัวของมันเลี้ยงตัวของมัน จากกู้เงินมาปุ๊บ ดอกเบี้ยเอาจากการเลี้ยงหมู ค่าไฟฟ้าเอาจากการเลี้ยงหมู คนงานเอาจากการเลี้ยงหมู ไม่ต้องเอาที่ไหน และเราก็อย่าไปใช้มัน 9 ปี 10 ปี ลืมๆ มันไป 10 ปี มันก็เป็นของเรา ถ้าคิดอย่างนี้ทำธุรกิจได้ทุกคน แต่บางคนได้เงินมาปุ๊บดึงกระเป๋าซ้ายมาใช้ก่อนเลย พอค่าไฟมาเงินไม่มี เขาเรียกว่าบริหารการคลังไม่ดี ขี้หมูอัดเม็ด ขี้หมูอัดเม็ด ขี้หมูอัดเม็ด
สนใจติดต่อคุณไพบูรณ์โทร.086-808-5191