จากคำบอกเล่าของผู้คนในชุมชน “บ้านเขาดิน” เมื่อในอดีตเคยเป็นพื้นที่ป่าสงวนที่มีการบุกรุกจับจองเป็นพื้นที่ทำมาหากิน แต่ด้วยเหตุที่เป็นพื้นที่ติดชายแดนกัมพูชา เมื่อมีการปะทะกันก็จะมีกระสุนปืนเข้ามาตกในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นอันตรายกับคนในหมู่บ้าน จึงทำให้มีการย้ายถิ่นฐานหนีออกจากพื้นที่กันหมด เหลือทิ้งไว้เป็นพื้นที่ว่างเปล่า ไม่มีคนอยู่อาศัยทำกิน และทางราชการได้มีการคัดเลือกเกษตรกรจากทั่วประเทศทั้ง 4 ภาค จาก 35 จังหวัด ในสมัยนั้นที่ไม่มีที่ดินทำกินให้เข้ามาอยู่ มาทำกินในพื้นที่นี้ จึงเกิดเป็นหมู่บ้านป้องกันตนเองตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาในสมัยนั้นเป็นต้นมา
ปัจจุบันชุมชนแห่งนี้ได้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เนื่องจากคนในชุมชนร่วมมือกัน ทำให้เกิดการพัฒนาในหมู่บ้าน สิ่งต่างๆ จึงเกิดขึ้น พร้อมกับความสามัคคี มีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุข ก็ตามมา
คุณประสิทธิ์ โสภี ผู้ใหญ่บ้าน และประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง จ.สระแก้ว
คุณประสิทธิ์ โสภี ผู้ใหญ่บ้านและประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เล่าถึงการก่อตั้งกลุ่มศูนย์เรียนรู้แห่งนี้ให้ฟังว่า เกิดจากการที่คนในชุมชนอยากให้ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้ในหมู่บ้าน เพราะผู้คนที่อาศัยอยู่ในชุมชนมาจากพื้นที่หลายจังหวัด องค์ความรู้ในแต่ละท้องถิ่นจึงมีมาก ดังนั้นจึงอยากรวบรวมภูมิปัญญาของชาวบ้านแต่ละภูมิภาคที่มาอยู่รวมกันไว้ จึงจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ขึ้นมา ดังนี้
1.เพื่อให้คนในชุมชนค้นคว้าหาความรู้ ในเรื่องที่ศูนย์เรียนรู้นั้นมีการปฏิบัติ และให้ศึกษา
2.เป็นการสืบทอดภูมิปัญญาในแขนงต่างๆ ไม่ให้สูญหายไปจากชนรุ่นหลัง
3.มีการศึกษาหาความรู้จากพื้นที่อื่นๆ เพื่อมาพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในเรื่องการประกอบอาชีพ เช่น การปลูกผัก การเลี้ยงจิ้งหรีด เป็นต้น
โดยการปลูกพืชในกระถาง เริ่มแรกได้มีการไปดูงานที่ อ.วังน้ำเขียว แล้วกลับมาทดลองปลูกดู เพราะสภาพอากาศและลักษณะพื้นที่มีความคล้ายคลึงกัน บวกกับคนในชุมชนส่วนมากต่างมีพื้นฐานในการปลูกผักกันอยู่บ้างแล้ว แต่ก็ยังมีการใช้สารเคมีกันอยู่บ้าง จากนั้นจึงมาเปลี่ยนแนวคิดว่าทำอย่างไร?ถึงจะลดการใช้สารเคมีลง เพื่อให้ได้ผักที่ปลอดภัย คนปลูกก็มีสุขภาพร่างกายที่ดีไปด้วย และถือเป็นความโชคดีเมื่อมีมูลนิธิ MOA ร่วมกับศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทย จ.สระแก้ว เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของการปลูกผักแบบธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้สารเคมี และยังรับซื้อผลผลิตที่เกษตรกรในหมู่บ้านเป็นผู้ปลูกในราคาที่เกษตรกรต่างพอใจ และสามารถเลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย
จุดประสงค์ของมูลนิธิ MOA
กิจกรรมของมูลนิธิ MOA มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างโลกในอุดมคติที่เปี่ยมไปด้วยสันติ สมบูรณ์ พร้อมด้วยความจริง ความดี และความงาม ให้ปรากฏเป็นจริงขึ้น ด้วยการส่งเสริม สนับสนุน ร่วมมือและพัฒนากิจกรรมกับองค์กรของรัฐ รวมทั้งองค์กรเอกชนอื่นๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไป ในกิจกรรมด้านสุขภาพ องค์รวมศิลปะ วัฒนธรรม เกษตรธรรมชาติ อาหารธรรมชาติ ซึ่งเป็นการช่วยแก้ปัญหาของประชาชนไทย อันจะเป็นการเสริมสร้างพื้นฐานของการพัฒนาสังคมไทยด้วย
ด้านเกษตรกรรม ทางมูลนิธิ MOA ได้เล็งเห็นว่า ปัจจุบันอาหารพร้อมปรุง อาหารฟาสต์ฟู้ด การรับประทานอาหารนอกบ้าน และอาหารนำเข้าจากต่างประเทศ ได้รับความนิยมมากขึ้นทุกที สิ่งแวดล้อมให้การบริโภคของเรากำลังเปลี่ยนไป และการบริโภคนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อปัญหาโรคอ้วน โรคที่เกิดจากพฤติกรรม การทำความผิดต่างๆ และอาชญากรรมในวัยรุ่น ฯลฯ
ดังนั้นเกษตรกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารที่เราบริโภคโดยตรงจึงมีปัญหามากมายไม่แพ้กัน เกษตรกรรมสมัยใหม่ที่จำเป็นต้องพึ่งพาสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช และปุ๋ยเคมี จะทำให้บั่นทอนสุขภาพของทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภค อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของชีวิตและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าดิน น้ำ และอากาศ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตใหญ่น้อยอื่นๆ ในธรรมชาติ ถึงเวลาแล้วที่เราควรหันมาช่วยกันคิดเรื่องอาหาร และเกษตรกรรม ที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตและกาย
การส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกร และคนในชุมชน
“จุดประสงค์ของมูลนิธิ MOA เข้ามาเพื่อส่งเสริมให้ความรู้พัฒนาอาชีพในเรื่องของสารเคมี การบริโภคอาหาร เนื่องจากว่าปัจจุบันมีการใช้สารเคมีมาก พืชหลายชนิดมันมีแต่สารเคมีปนเปื้อนอยู่ทั้งนั้น ก็เลยเข้ามาส่งเสริมคนในชุมชน และเกษตรกร ให้หันมาปลูกพืชแบบอินทรีย์ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการหันมาพึ่งตนเอง มีการปลูกผักในครัวเรือน เมื่อชาวบ้านปลูกผักพอเหลือจากการบริโภคก็นำมาขาย และลดเคมีด้วยการทำน้ำหมักชีวภาพ และปุ๋ยอินทรีย์ใช้เอง” ผู้ใหญ่ประสิทธิ์กล่าว
สภาพพื้นที่การปลูกผัก
จากวันนั้นถึงวันนี้ที่มูลนิธิ MOA ได้เข้ามาช่วยเหลือเป็นเวลา 5 ปีแล้ว คนในชุมชนก็มีอาชีพทำเกษตรกรรมภายในครัวเรือน ไม่ต้องออกจากบ้านไปหางานทำที่เมืองใหญ่ ชีวิตความเป็นอยู่ก็ดีขึ้น เพราะไม่ต้องใช้สารเคมี
เริ่มแรกเดิมทีที่ไปดูงานที่ อ.วังน้ำเขียว ผู้ใหญ่ประสิทธิ์จึงหาเมล็ดพันธุ์ผักเพื่อมาปลูก ในระหว่างนั้นยังไม่ได้เริ่มปลูกในกระถาง แต่ปลูกในพื้นดินก่อน จนมีปัญหาในเรื่องของการจำหน่ายผักส่งนอก เพราะผักที่มูลนิธิ MOA มารับซื้อจะมีสารเคมีเจือปน เนื่องจากพื้นดินที่เกษตรกรปลูกนั้นยังมีสารเคมีตกค้าง จึงทำให้ผักที่ปลูกไม่ปลอดจากสารเคมี ทำให้ไม่ผ่านการตรวจเพื่อส่งขายในต่างประเทศ
ต่อมาจึงมีการคิดเพื่อที่จะปลูกผักในกระถาง โดยความคิดนี้ผู้ใหญ่ประสิทธิ์เล็งเห็นว่าน่าจะปลอดภัย และที่สำคัญเป็นการประหยัดพื้นที่ในการปลูกอีกด้วย เพราะถ้ามองภายในชุมชนในแต่ละบ้านจะมีการปลูกพืชไว้รับประทานกันภายในครอบครัว โดยจะนำเอายางรถเสีย กระป๋องแตก กะละมังแตก มาใช้เพื่อปลูก โดยพืชผักเหล่านั้นก็สามารถขึ้นได้ดี จนเก็บไปทำอาหารบริโภคได้
นอกจากการปลูกในกระถางจะเป็นการประหยัดพื้นที่แล้ว ยังดูแลรักษาง่าย โรค-แมลงก็น้อยกว่าปลูกในพื้นดิน เรื่องวัชพืชก็สามารถควบคุมง่าย
“พออาชีพเกิด ก็เริ่มนำผักมาปลูกกับพื้นดิน แต่ปัญหาก็คือ ผักที่จะส่งออกที่มูลนิธิ MOA มารับไปจำหน่ายต้องปลอดจากสารเคมี แต่ในพื้นดินมีสารตกค้างมานาน ฉะนั้นจะต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี เพื่อปรับสภาพดิน ให้ปลอดสารเคมีเหมือนเดิม การปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมี ถ้าถามว่ามันลดต้นทุนไหม ก็ตอบว่ามันลด แต่การปลูกพืชในดินมันดูแลรักษายาก โรคและแมลง ฉีดยายังเอาไม่อยู่
ปัญหาที่ตามมา คือ ในพื้นดินจะปลูกพืชในช่วงฤดูหนาวกับฤดูแล้งได้เท่านั้น พอเข้าฤดูฝนหญ้าก็จะขึ้นเยอะกว่าปกติ ฉีดยาฆ่าหญ้าก็ไม่ได้ ต้องถอนอย่างเดียว ก็เลยมีความคิดที่จะหาวิธีการปลูกพืชแบบใหม่ เพราะคิดว่าดอกไม้ในกระถางยังสามารถปลูกได้เป็นปีๆ แล้วทำไมผักปลูกประมาณ 45-50 วัน น่าจะปลูกได้ ก็เลยนำมาทดลองปลูกจนได้ผลผลิตที่ดี และปัจจุบันสมาชิกในกลุ่มก็ทำการปลูกพืชในกระถางกัน จนสามารถได้ผลผลิตที่ดี ส่งจำหน่ายเข้าสู่ตลาดอย่างปลอดภัย” ผู้ใหญ่บ้านประสิทธิ์กล่าวอย่างภูมิใจ
การปลูกผักสลัด และผักพื้นบ้านหลากหลายชนิด
ปัจจุบันที่ศูนย์เรียนรู้แห่งนี้มีสมาชิกประมาณ 15 คน มีการปลูกผักเพื่อส่งตลาด และมูลนิธิ MOA หลายชนิด เช่น ผักสลัด ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว พริก มะเขือ คะน้า กวางตุ้ง และผักพื้นบ้านอีกหลายชนิด โดยผักที่ได้จะนำไปจำหน่ายทั้งต่างประเทศ และในประเทศ โดยเฉพาะในประเทศจะส่งตามห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และตามร้านที่เน้นขายอาหารสุขภาพ
หลังผ่านการอบรมจากมูลนิธิ MOA ในเรื่องของการใช้สารเคมีกับพืชผักให้น้อยลง หรืองดการใช้เปลี่ยนมาเป็นสารชีวภาพแทนนั้น เกษตรกรจึงต้องหาวิธีการให้ผักที่ปลูกนั้นปนเปื้อนกับสารเคมีให้น้อยที่สุด ดังนั้นการปลูกผักในกระถาง การเตรียมดิน จึงเป็นส่วนสำคัญ เพราะต้องใช้ดินที่มีสารตกค้างจากสารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า น้อยที่สุด ส่วนใหญ่จะนำดินมาจากป่า นำมาผสมแกลบและมูลสัตว์ โดยจะใช้ดินประมาณ 10 กระสอบ แกลบ 3 กระสอบ มาผสมรวมกัน จากนั้นก็ใช้มูลสัตว์ผสมให้เข้ากันอีกที หมักทิ้งไว้ประมาณ 45 วัน ก็จะได้ดินปลูกผักที่ปลอดภัยไร้สารตกค้าง
ขั้นตอนการ ปลูกผักปลอดสารพิษ
โดยการเตรียมดินปลูกควรเตรียมผสมไว้ดังกล่าวไว้ข้างต้น 2 กอง เพื่อสลับเปลี่ยนหมุนเวียนในการใช้ปลูก ดินที่ผสมปลูกแล้วจะสามารถปลูกได้ 3 ครั้ง หลังจากนั้นจะถ่ายดินออกจากกระถาง และนำออกมาหมักใช้ใหม่ แล้วจึงใช้ดินที่เราเตรียมไว้กองที่ 2 นำมาใส่ในกระถางเพื่อปลูกผักตามเดิม ทำเช่นนี้เพื่อให้สามารถมีดินหมุนเวียนใช้ในคราวต่อไป ปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักปลอดสารพิษ
การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ จะซื้อตามท้องตลาด สั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ต หรือตามร้านขายทั่วไป แล้วนำมาเพาะในกระบะเพาะ จากนั้น 15 วัน จึงได้กล้าที่จะมาปลูกในกระถาง การใช้เมล็ดพันธุ์ปลูก ผู้ใหญ่ประสิทธิ์บอกว่าจะเป็นเมล็ดพันธุ์แบบไหนก็ได้ ขอแค่ให้ปลูกแล้วผลผลิตที่ได้ปลอดจากสารเคมีก็พอ ปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักปลอดสารพิษ
การให้น้ำและปุ๋ยผัก
วิธีการรดน้ำจะใช้ 2 วิธี คือ การใช้สายยางฉีดให้น้ำ และการใช้สปริงเกลอร์ แล้วแต่ความถนัดของเกษตรกร โดยทั่วไปการปลูกผักในกระถางมักจะต้องรดน้ำเป็นประจำทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง หรือถ้าเป็นไปได้ก็รดน้ำเช้า-เย็น การให้น้ำแบบใช้สปริงเกลอร์ควรให้น้ำประมาณซัก 15 นาที/ครั้ง เนื่องจากว่าปริมาณพื้นที่ในกระถางมันไม่เยอะ ถ้าให้น้ำมากเกินไปจะทำให้เกิดรากเน่าในผักได้
การรดน้ำอย่าให้ผักที่ปลูกขาดน้ำเป็นอันขาด เพราะจะทำให้พืชไม่เจริญเติบโต ยกเว้นในฤดูฝนอาจจะรดน้ำวันเว้นวัน หรือดูตามความเหมาะสม
สิ่งที่จำเป็นที่ต้องคำนึงก็คือ ธาตุอาหารสำหรับผัก เนื่องจากการปลูกผักในกระถางทำให้ธาตุอาหารจำกัด ดังนั้นจะต้องเสริมด้วยปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ โดยใช้น้ำหมักชีวภาพชนิดบำรุงใบและต้น ผสมน้ำรดหลังจากผักมีอายุได้ 10 วัน
การป้องกันกำจัดโรคและแมลง
หากมีโรคและแมลงรบกวน ก็ใช้น้ำส้มควันไม้ผสมน้ำฉีดพ่นขับไล่ พอผักมีอายุ 40-45 วัน นับจากวันลงปลูกในกระถางก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้
การตั้งกระถางไว้ในที่แสงแดดส่องถึงอย่างน้อยครึ่งวัน ผักกินใบ เช่น ผักคะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง ผักสลัด เป็นผักที่ต้องการแสงแดด เช่นเดียวกับผักกินผล เช่น พริก มะเขือเทศ มะเขือ ถั่วฝักยาว ก็ต้องการแสงแดดอย่างเพียงพอ ผักที่ต้องการแสงแดดรำไรก็มักจะเป็นพวกผักสวนครัว เช่น สะระแหน่ โหระพา กะเพรา ผักชีฝรั่ง ดังนั้นจึงควรจัดวางกระถาง หรือภาชนะปลูก ในตำแหน่งที่เหมาะสม หากเป็นพื้นที่ที่มีแสงแดดจัดตลอดทั้งวัน ต้องพรางแสงด้วยแสลน โดยเฉพาะในช่วงที่ยังเป็นต้นอ่อน
การเก็บเกี่ยวผลผลิตผัก
การเก็บผลผลิตควรเก็บเกี่ยวผักในเวลาเช้า จะทำให้ผักสด และรสชาติดี สำหรับผักประเภทผลควรเก็บในขณะที่ผลไม่แก่จัด จะได้ผลที่มีรสชาติดี และจะทำให้ผลดกในการเก็บผลผลิตครั้งต่อไป หากปล่อยให้ผลแก่คาต้น ต่อไปผลผลิตที่ออกผลจะน้อยลง สำหรับในผักใบ การแบ่งเก็บผักที่สดอ่อน หรือโตได้ขนาดแล้ว โดยยังคงเหลือลำต้นและรากไว้ ไม่ถอนทั้งต้น รากหรือต้นที่เหลืออยู่จะสามารถงอกงามให้ผลได้อีกหลายครั้ง
สายพันธุ์ผัก
ส่วนตัวของผู้ใหญ่ประสิทธิ์เองเน้นปลูกแต่ผักสลัด ซึ่งมีทั้งหมดหลายสายพันธุ์ เช่น กรีนโอ๊ค เรดโอ๊ค บัตเตอร์เฮด กรีนคอส เรดคอรอล เป็นต้น พื้นที่ใช้วางกระถางปลูกผักก็ใช้พื้นที่รอบๆ เขตบ้าน ซึ่งผู้ใหญ่ประสิทธิ์ใช้พื้นที่แค่ 2 งาน ปลูกผักในกระถางประมาณ 2,000-10,000 ต้น จำนวนกระถางก็แล้วแต่ว่าสามารถดูแลรักษาได้แค่ไหน อย่างผู้ใหญ่ประสิทธิ์มีความชำนาญ จึงสามารถดูแลผักที่ปลูกในกระถางได้ในปริมาณที่มาก ภายใต้โรงเรือนขนาดใหญ่
การทำโรงเรือน เพราะผักสลัดเป็นผักที่มีใบบอบบางมาก ถ้าฝนตกหนักๆ เม็ดฝนจะทำให้ผักช้ำ เสียราคา หรือขายไม่ได้ เพราะฉะนั้นการสร้างโรงเรือนจึงถือว่าจำเป็นสำหรับการปลูกผักประเภทนี้ ซึ่งโรงเรือนที่สร้างขึ้นจะใช้ต้นทุน 1-2 แสนบาท ขึ้นอยู่กับว่าใช้วัสดุดีมากน้อยแค่ไหน อายุการใช้งานอย่างต่ำประมาณ 10 ปี “ขายผักแค่ปีเดียวก็คืนทุน” ผู้ใหญ่ประสิทธิ์กล่าว
แต่สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีเงินทุนก็สามารถใช้แสลนในการพรางแสง หรือช่วยลดแรงของน้ำฝนที่ตกลงมาได้ ซึ่งทุกอย่างจะต้องค่อยเป็นค่อยไป และการลงทุนในวัสดุปลูกและเมล็ดพันธุ์ก็ลงทุนน้อยมาก ถ้าไม่ใช้กระถางก็ใช้ถุงดำที่ใช้ปลูกต้นไม้แทน แต่จะสามารถใช้ได้แค่ปีเดียว แล้วต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะถุงจะขาดและเปื่อย
แต่ส่วนมากพอเกษตรกรมีทุนขึ้นมาบ้างแล้วก็จะเปลี่ยนจากถุงดำเป็นกระถางพลาสติก เพราะสามารถใช้ได้หลายปี และมีความทนทานกว่า กระถาง 1 ใบ ราคาประมาณ 3.50 บาท ถ้าเราลงทุนปลูกผักประมาณ 100 กระถาง การลงทุนจะอยู่ที่ไม่เกิน 500 บาท แต่การลงทุนครั้งแรกอาจจะเสียค่าใช้จ่ายเยอะหน่อย แต่พอมาปลูกรอบที่ 2 ค่าใช้จ่ายที่เสียก็จะมีแค่เมล็ดพันธุ์อย่างเดียว เพราะวัสดุปลูกทุกอย่างสามารถใช้ตัวเดิมปลูกได้
ด้านตลาดและช่องทางการจำหน่ายผัก
จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า มูลนิธิ MOA จะมารับซื้อผลผลิตผักทั้งหมดที่เกษตรกรปลูก ในราคาที่ทางมูลนิธิ MOA ประกันราคาไว้ให้ โดยราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นทุกปี เกษตรกรก็ต่างพอใจในราคาที่ถูกรับซื้อ ทำให้รายได้ที่ได้รับอยู่ประมาณ 8,000 บาท/เดือน ตรงนี้ถ้าเกษตรกรมีการปลูกผักจำนวนมาก ขายได้ก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
อย่างผู้ใหญ่ประสิทธิ์ปลูกผักสลัด ราคาที่ได้จะอยู่ที่ประมาณ 45-50 บาท/กิโลกรัม ซึ่งรายได้ที่ผู้ใหญ่ได้รับจะอยู่ที่เดือนละ 15,000-18,000 บาท เพราะผู้ใหญ่ปลูกผักในกระถางจำนวนมากประมาณ 10,000 กระถาง แต่ถึงอย่างนั้นการทำผลผลิตที่เยอะก็ต้องมีแรงงานในการช่วยเก็บผลผลิต พรวนดิน และถอนหญ้าบ้างเล็กน้อย
แต่ถึงอย่างไรการทำเกษตรอินทรีย์ ในเรื่องของตลาด ผลผลิตที่ได้ต่างมีคนยอมรับ และต้องการสินค้ากันมากขึ้น ในหน่วยงานของมูลนิธิ MOA เอง ก็ไม่ได้มีข้อผูกมัดในการจำหน่ายผลผลิตของเกษตรกร ถ้ามีตลาดที่ให้ราคาผลผลิตดีกว่า เกษตรกรก็สามารถส่งไปจำหน่ายได้ หรือจะส่งขายให้กับมูลนิธิ MOA เอง ก็ไม่มีปัญหา แต่การรับซื้อของมูลนิธิ MOA ต้องเป็นผักที่ปลอดจากสารตกค้างจริงๆ จึงจะมีการรับซื้อผลผลิต ซึ่งในชุมชนบ้านเขาดินสามารถปลูกได้ และให้ผลผลิตที่ดี มีคุณภาพ อีกด้วย ปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักปลอดสารพิษ
ท่านผู้อ่านหรือเกษตรกรท่านใดสนใจข้อมูล สอบถามได้ที่ ผู้ใหญ่ประสิทธิ์ โสภี 19 ม.8 ต.คลองหาด อ.คลองหาด จ.สระแก้ว 27160 โทร.08-6139-5234 ปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักปลอดสารพิษ ปลูกผักปลอดสารพิษ