เป็นที่ทราบกันดีว่านับตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งเป็นปีแห่งการเริ่มต้นนโยบายการยกระดับความเข้มแข็งสหกรณ์ ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีสั่งการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการเร่งดำเนินการพัฒนาสหกรณ์ให้เป็นองค์กรที่ช่วยขับเคลื่อนนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ และนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจระดับฐานรากของประเทศ เครื่องผสมปุ๋ย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มอบหมายกรมส่งเสริมสหกรณ์วิเคราะห์และกำหนดเกณฑ์การจัดระดับมาตรฐานสหกรณ์ และประเมินสถานภาพสหกรณ์ เพื่อจัดทำแผนพัฒนาสหกรณ์ตามสถานภาพ โดยมีการพัฒนาภาคเกษตรให้ก้าวหน้าตามลำดับ แต่ทว่าเป็นเรื่องยากที่เกษตรกรจะแก้ปัญหาทุกอย่างได้ด้วยลำพังตนเอง หนทางที่จะสำเร็จ โดยเกษตรกรจะต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา โดยการรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์ เพราะสหกรณ์มีส่วนที่จะสามารถผลักดันช่วยเหลือแก้ไขปัญหาด้านต่างๆ ร่วมกับเกษตรกรได้
การจัดตั้งกลุ่มสหกรณ์การเกษตรปากพนัง จำกัด
ทีมงานนิตยสารเมืองไม้ผลและพืชสุขภาพได้เข้าพบและพูดคุยกับ คุณอุดมช์ นาคถนอม ประธานสหกรณ์การเกษตรปากพนัง จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช หลายประเด็นเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาการก่อตั้งสหกรณ์ ตลอดจนการส่งเสริมเกษตรกร จนทราบว่า เสน่ห์เมืองลุ่มน้ำ “ปากพนัง” ที่แฝงไปด้วยไออุ่นความงดงามของธรรมชาติ อาหารหลากรส และเมืองท่าที่เป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญ และเฟื่องฟูในอดีต
เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเป็นแหลมยื่นออกไปในทะเล และมีอ่าวภายในบริเวณปากแม่น้ำปากพนัง ที่ขาดไม่ได้ คือ ชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร ให้อยู่ดี มีสุข จึงทำให้ “สหกรณ์การเกษตร” เข้ามามีบทบาทต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรรมมากขึ้น จนได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในท้องที่อำเภอปากพนัง เมื่อปี พ.ศ.2491 เป็นสหกรณ์ที่เรียกกันว่า“สหกรณ์ประเภทหาทุน” ที่ได้รับการจดทะเบียนครั้งแรกจำนวน 5 สหกรณ์ มีสมาชิกแรกตั้ง จำนวน 87 คน ใช้ทุนดำเนินงานเมื่อแรกตั้ง จำนวน 103,000 บาท
ประกอบด้วยสหกรณ์รุ่นแรกที่ไม่จำกัดสินใช้ ได้แก่ สหกรณ์ท่าพยา, สหกรณ์บางลึก, สหกรณ์เขาน้อย, สหกรณ์บ้านงาม, สหกรณ์บ้านเนิน เป็นต้น ต่อมาได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทหาทุนเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งได้รับจดทะเบียนในปี พ.ศ.2492 จำนวน 26 สหกรณ์ ปี พ.ศ.2493 จำนวน 6 สหกรณ์ ปี พ.ศ.2494 จำนวน 6 สหกรณ์ ปี พ.ศ.2502 อีก 1 สหกรณ์ โดยใช้ทุนดำเนินงานรวม 1,039,100 บาท นอกจากนี้ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ร้านค้าขึ้นในปี พ.ศ.2492 จำนวน 1 สหกรณ์ สหกรณ์ประมงในปี พ.ศ.2518 จำนวน 1 สหกรณ์ รวมเป็นสหกรณ์ทั้งสิ้นจำนวน 46 สหกรณ์ นั่นเอง
คุณอุดมช์ นาคถนอม ประธานสหกรณ์การเกษตรปากพนัง จำกัด จังหวัดนครศรีธรรมราช
เมื่อพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2511 ซึ่งมีบทบัญญัติให้สหกรณ์ชนิดเดียวกันตั้งแต่ 2 สหกรณ์ขึ้นไปควบเข้าด้วยกันได้ประกาศใช้แล้วนั้น สหกรณ์ประเภทหาทุนจำนวน 44 สหกรณ์ ในอำเภอปากพนัง ได้มีมติร่วมกันกับสหกรณ์อื่นในอำเภอเดียวกันเป็นสหกรณ์การเกษตร ชนิดไม่จำกัด คือ สหกรณ์ปากพนังหนึ่ง ไม่จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ.2514 จากสหกรณ์หาทุนที่ควบเข้าด้วยกัน จำนวน 22 สหกรณ์ มีฐานะเดิมเมื่อวันควบเข้าด้วยกัน
สหกรณ์การเกษตรปากพนังสอง ไม่จำกัด จดทะเบียนเมื่อวันที่ 1 เดือนมกราคม พ.ศ.2514 จากสหกรณ์หาทุนที่ควบเข้ากันจำนวน 22 สหกรณ์ มีฐานะเดิมเมื่อวันควบเข้ากัน ต่อมาสหกรณ์ทั้งสองสหกรณ์ได้มีมติให้เปลี่ยนชนิดเป็นสหกรณ์จำกัด และนายทะเบียนสหกรณ์ได้รับจดทะเบียนพร้อมกัน เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2514 และสหกรณ์การเกษตรชนิดจำกัด จำนวน 2 สหกรณ์ ในอำเภอปากพนัง และได้มีมติควบเข้ากันเป็น “สหกรณ์การเกษตรปากพนัง จำกัด” นายทะเบียนสหกรณ์ได้รับจดทะเบียนสหกรณ์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2517
ตั้งแต่สหกรณ์ควบเข้ากันเป็นสหกรณ์การเกษตรปากพนังหนึ่งสอง จำกัด แล้ว จนกระทั่งสหกรณ์การเกษตรสองสหกรณ์นี้ควบเข้าด้วยกันเป็น “สหกรณ์การเกษตรปากพนัง จำกัด” โดยสหกรณ์ได้อาศัยสำนักงานสหกรณ์อำเภอปากพนังเป็นสำนักงานชั่วคราวตลอดมา เมื่อมีธุรกิจมากขึ้น สหกรณ์ได้เช่าซื้ออาคารพร้อมที่ดิน เนื้อที่ 15 ตารางวา มีโฉนดพร้อมของนางสมร สุชาโต ซึ่งเดิมเป็นที่สำนักงานของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด ตั้งอยู่ถนนชายน้ำ ในตลาดปากพนัง ราคา 270,000 บาท ได้ย้ายมาอยู่ในสำนักงานเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2518 สหกรณ์ได้ชำระค่าเช่าซื้อครบจำนวน และรับโอนเป็นของสหกรณ์เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2518
นอกจากนี้สหกรณ์แห่งนี้ยังมีที่ดิน 1 แปลง เนื้อที่ 5 ไร่ 70 ตารางวา ราคา 31,050 บาท ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลคลองน้อย อำเภอปากพนัง และสหกรณ์ได้ก่อตั้งฉางข้าวในที่ดินแปลงนี้ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2519 โดยสหกรณ์ได้กู้เงินหมุนเวียนจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ เงินกู้ ธกส. ระยะยาว เพื่อการลงทุนในสินทรัพย์ประจำ และสหกรณ์ใช้เป็นเงินทุนเอง
การปลูกปาล์มน้ำมัน
นอกจากนี้คุณอุดมช์ ยังได้เผยถึงความเป็นมาของพื้นที่เดิม ก่อนที่จะมีการปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนการปลูกข้าว ซึ่งเดิมทีพื้นที่บริเวณนี้เกือบทั้งหมดจะปลูกข้าว ถือได้ว่าเป็น “อู่ข้าวอู่น้ำ” ของประเทศ ช่วงหลังที่ผ่านมาได้เกิดโครงการพระราชดำริของรัชกาลที่ 9 ให้มีการสร้างเขื่อนกั้นระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็มได้มีแผนงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการทำนา
แต่ด้วยสถานการณ์ราคาข้าวที่ตกต่ำ ทำให้เกษตรกรในพื้นที่ปากพนังและสมาชิกของสหกรณ์ได้ปรับเปลี่ยนอาชีพ จากที่เคยเป็นอู่ข้าวอู่น้ำส่งข้าวสารให้ทั่วประเทศได้กินเลี้ยงปากเลี้ยงท้องกัน เปลี่ยนจากนาข้าวมาปลูกปาล์มน้ำมันเป็นส่วนใหญ่ และหากมาเที่ยวในอำเภอปากพนัง จะสังเกตเห็นปล่องไฟอิฐสูงตั้งโดดเด่นริมแม่น้ำปากพนังอยู่หลายจุด ปล่องไฟดังกล่าวคือ “ปล่องโรงสีข้าว” เก่าในอดีตปากพนังเจริญสูงสุดยุคทำนาข้าว มีความอุดมสมบูรณ์ในฐานะอู่ข้าวอู่น้ำของภาคใต้ มีโรงสีข้าว (โรงสีไฟ) จำนวนมากขยายตัวอย่างรวดเร็ว มีเรือสำเภาจีน และเรือกลไฟ จากบริษัทต่างๆ มาชุมนุมเต็มหน้าอ่าวปากพนังรอขนส่งข้าวสารไปจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
ถึงแม้วันนี้ภาพความยิ่งใหญ่ของแหล่งผลิตข้าวเพื่อการส่งออกในปากพนังจะได้จางหายไปตามกาลเวลา “ท้องทุ่งนา” ได้แปรเปลี่ยนเป็นสวน และนากุ้ง กิจการโรงสีไฟที่เคยเจริญรุ่งเรืองเหลือแค่เพียงซากปล่องไฟโรงสีที่ตั้งตระหง่าน เป็นอนุสรณ์แห่งอดีตที่ชาวปากพนังภาคภูมิใจ
“จากจุดเปลี่ยนสู่ปัจจุบัน” ตอนนี้สหกรณ์มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันประมาณ 5,000 ไร่ แต่ก็ยังคงมีการปลูกข้าวอยู่บ้างเพื่อหล่อเลี้ยงคนในครอบครัวเพียงอย่างเดียว การทำนาของสมาชิกในอำเภอปากพนังประสบกับปัญหาสร้างความเสียหายเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากไม่มีระบบน้ำชลประทานช่วยเหลือ ต้องอาศัยดินฟ้าอากาศ ทำให้ขาดแคลนน้ำ ประกอบกับพื้นที่ส่วนใหญ่น้ำเค็มขึ้นมา จึงทำให้การทำนาไม่ได้ผลผลิตเท่าที่ควร เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาอย่างเดียว เมื่อการทำนาเสียหาย สมาชิกก็มีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ทำให้สมาชิกค้างดอกเบี้ยที่จะต้องชำระให้กับสหกรณ์ รวมถึงช่วงนั้นมีโจรผู้ร้ายชุกชุมคอยเบียดเบียนอยู่เสมอ
การปลูกส้มโอ
จากการปรับเปลี่ยนอาชีพไม่เฉพาะหันมาปลูกปาล์มอย่างเดียว ยังมีสวนส้มโอ โดยหมู่บ้านชาวอิสลาม สวนมะพร้าว และผักสวนครัว แต่ปาล์มน้ำมันถือว่าเป็นพืชที่สร้างรายได้ที่ดีกว่าพืชชนิดอื่น ปลูกประมาณ 3-4ปี ก็สามารถเก็บผลผลิตส่งจำหน่ายให้กับลานเท หรือโรงหีบได้
ส่วนการรวมกลุ่มเป็นผลดีกับเกษตรกรที่เข้ามาเป็นสมาชิกกับสหกรณ์ สามารถกู้เงินกู้จากสหกรณ์ในราคาอัตราดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 70 สตางค์/เดือน เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระให้กับเกษตรกร โดยการรวมกันซื้อ รวมกันขาย มีอำนาจในการต่อรองราคาได้
แต่กว่าสหกรณ์จะเดินมาถึงทุกวันนี้ได้ก็ผ่านอุปสรรคปัญหาหลายอย่าง เช่น ช่วงแรกสมาชิกยังไม่เข้าใจระบบสหกรณ์เท่าที่ควร เจ้าหน้าที่ต้องไปประชาสัมพันธ์ตามกลุ่มต่างๆ เพื่อนัดประชุมตามโรงเรียน หรือที่วัด ให้ความรู้แก่เกษตรกร เพื่อสร้างความเข้าใจ และเข้ามาเป็นสมาชิกร่วมกับสหกรณ์ตามข้อบังคับและวัตถุประสงค์ที่รับมา เพื่อแบ่งเบาภาระช่วยเหลือเกษตรกร
ส่วนด้านเงินทุนช่วงแรกยังไม่เชื่อมั่นในระบบของสหกรณ์ ได้มีการชี้แจงถึงระบบสหกรณ์ต่างๆ และการเข้ามาเป็นสมาชิกของสหกรณ์ไม่ได้เข้ามาเป็นเพียงลูกค้าอย่างเดียว แต่เข้ามาเป็นเจ้าของถือหุ้น เปรียบเสมือนกับเป็นเจ้าของสหกรณ์ด้วย เมื่อมีกำไรจากการทำธุรกิจก็จะมีเงินปันผลเฉลี่ยให้คืนกับสมาชิกเช่นกัน
การใช้ เครื่องผสมปุ๋ย อัตโนมัติ ในสวนปาล์มน้ำมัน และสวนส้มโอ
สหกรณ์แห่งนี้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันมีกรรมการทั้งหมด 44 ชุด มีสมาชิกทั้งหมด 1,464 คน พร้อมจะเปิดรับสมาชิกสมทบในเร็วๆ นี้ คุณสมบัติของสมาชิกหรือบุคคลที่ต้องการเป็นสมาชิกต้องอยู่ในพื้นที่อำเภอปากพนัง ต้องเป็นเกษตรกรอายุไม่เกิน 60 ปี ธุรกิจในสหกรณ์การเกษตรปากพนังจะเป็นด้านสินเชื่อธุรกิจเงินฝาก และระบบการรวบรวมต่างๆ เหมือนข้าวอย่างในอดีตที่ผ่านมา
เมื่อเปลี่ยนจากทุ่งนาข้าวเป็นสวนปาล์มน้ำมัน หรือส้มโอ ประกอบกับมีการขยายแผนดำเนินงานจัดตั้ง เครื่องผสมปุ๋ย เพื่อลดต้นทุนให้แก่เกษตรกรผ่านมติสมาชิก ผ่านคณะกรรมการ และนำไปเสนอผ่านที่ประชุมใหญ่ ทำให้ได้สั่งซื้อ เครื่องผสมปุ๋ย อัตโนมัติ “TP ONE” ของ บริษัท ที.พี.เมคคานิคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
เข้ามาในช่วงปลายปีวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 ด้วยเหตุปัจจัยที่ว่าเมื่อมีการปรับเปลี่ยนอาชีพปลูกปาล์มมากขึ้น ความต้องการใช้ปุ๋ยก็มากขึ้นตาม เดิมสมาชิกจะซื้อปุ๋ยตามร้านค้าซึ่งราคาจะสูงอยู่แล้ว การมีเครื่องผสมปุ๋ย และขายปุ๋ยให้สมาชิกในราคาที่ต่ำ เป็นการลดต้นทุนในการผลิต เพิ่มกำไรให้กับเกษตรกร และได้สินค้าคุณภาพ มีคิวอาร์โค้ดสามารถตรวจสอบดูวันผลิต และสูตรต่างๆ ที่ผลิตออกมาจากเครื่อง สมาชิกส่วนใหญ่ปลูกปาล์มจะใช้สูตร 15-15-15 และ 14-7-35 ปุ๋ยที่ใช้ในสวนมะพร้าวสูตร 14-16-28 จึงกำหนดให้เป็นสูตรหลัก และตั้งล็อคไว้ในเครื่อง เพราะเกษตรกรมีความต้องการใช้มาก และยังมีเกษตรกรบางส่วนที่ปลูกข้าวหลายร้อยไร่ จะใช้ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ด้วยเช่นกัน
คุณสมบัติของ เครื่องผสมปุ๋ย TP ONE ของ บริษัท ที.พี เมคคานิคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
เปิดตัว เครื่องผสมปุ๋ย TP ONE ของ บริษัท ที.พี เมคคานิคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์2561โดย คุณสุชิน จันทร์ศรีทอง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ชนาธิปนูทริชั่น จำกัด ตัวแทนจำหน่าย เครื่องผสมปุ๋ย ไฮเทค TP ONE เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับสมาชิกในเรื่องของค่าใช้จ่าย ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต เกษตรกรได้ปุ๋ยในราคาที่ค่อนข้างถูก สร้างผลที่ดีจากการติดตั้งเครื่อง และยังกลายเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้กับสหกรณ์ด้วย
นอกจากนี้ทางคุณอุดมช์ ประธานสหกรณ์ และทีมงาน ได้ไปศึกษาดูงานที่สหกรณ์การเกษตรสุพรรณบุรี จำกัด และสหกรณ์การเกษตรขุขันธ์ จำกัด จังหวัดศรีสะเกษ นำความรู้มาถ่ายทอด ปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ แม้ภาครัฐโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์เข้ามาสนับสนุน โดยการช่วยเหลือในเรื่องของค่าใช้จ่าย 70% ยังมีทีมเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาที่ดิน หมอดิน เข้ามาดูแล มีการนำดินไปตรวจวัดหาค่าความอุดมสมบูรณ์ในดินเปรี้ยว ดินเค็ม เพื่อปรับใช้ปุ๋ยสูตรให้เข้ากับสภาพดิน และความต้องการของพืช รวมถึงนักวิชาการที่เข้ามาให้ความรู้ อบรมวิธี แนะนำวิธีการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องให้กับเกษตรกรด้วยเช่นกัน
ขอขอบคุณ
“สหกรณ์การเกษตรปากพนัง จำกัด”
30/6-8 ถนนศรีสมบูรณ์ ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80140
โทรศัพท์ : 075-370-782
สอบถามข้อมูล เครื่องผสมปุ๋ย TP ONE ได้ที่
“บริษัท ที.พี. เมคคานิคอล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด”
118 หมู่ 4 ต.บางภาษี อ.บางเลน จ.นครปฐม 73130
โทร.09-2424-2426, 034-962-311, 034-962-312, 034-962-324, 034-962-342, 034-962-344
และ บริษัท ชนาธิปนูทริชั่น จำกัด (คุณสุชิน จันทร์ศรีทอง)
69 ถนนงามวงศ์วาน ซอย 1 ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทร.02-580-5473, 02-952-5473, 081-701-7284, 086-339-3637, 086-099-8606