ชาวสวนทุเรียนอำเภอขลุง ยืนยัน “พีค รูทเตอร์” แก้ปัญหา “โรครากเน่า โคนเน่า” เห็นผลจริง
การแพร่ระบาดของโรครากเน่า โคนเน่า ในทุเรียน
ปัจจุบันผลไม้ไทยอย่างทุเรียนดังไปไกลถึงแดนมังกร นั่นเพราะว่าทุเรียนไทยของเราขึ้นชื่อในเรื่องของรสชาติความอร่อยที่ไม่เหมือนใคร อย่างที่เราทราบกันดีว่าการทำเกษตรในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะการทำสวนผลไม้นั้น มีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น อันเนื่องมาจากสภาพอากาศที่ทำให้โรคและแมลงเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ผลผลิตของเกษตรกรจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการสวนที่มีประสิทธิภาพ สภาพพื้นที่ และภูมิอากาศ ที่ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพ ส่วนราคา ผลผลิตนั้นจะขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาดด้วย
เมื่อพูดถึงสภาพอากาศหากปีใดที่ปริมาณน้ำฝนมาก จนเกิดความชื้นสะสม จะส่งผลให้ต้นทุเรียนเสี่ยงต่อการเป็น “โรคไฟท็อปธอร่า” หรือ “โรครากเน่า โคนเน่า ทุเรียน” ที่พบมีสาเหตุเกิดจากเชื้อราไฟท็อปธอร่า พาล์มิโวรา โดยราสามารถเข้าทำลายได้ทุกส่วนของต้น ได้แก่ ใบ กิ่ง ลำต้น ดอก ผล และระบบราก อีกทั้งราจะอาศัยอยู่ในดิน และสามารถแพร่ระบาดได้ทั้งในน้ำ และในอากาศ ส่งผลทำให้ต้นทุเรียนเกิดความเสียหายอย่างหนัก
คุณนันทิพร เกียรติสมัย ปลูกทุเรียนบนพื้นที่ 30 ไร่ จ.จันทบุรี
ทีมงานนิตยสารเมืองไม้ผลได้เดินทางไปที่จังหวัดจันทบุรีที่เป็นแหล่งปลูกทุเรียนมากที่สุดในประเทศไทย ได้เข้าไปพูดคุยกับชาวสวนทุเรียน คุณนันทิพร เกียรติสมัย บ้านเลขที่ 16/1 หมู่ 8 บ้านอิมั้ง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยก่อนที่จะมีการปรับพื้นที่มาปลูกทุเรียนและยางพารา พื้นที่ตรงนี้เคยเป็นสวนลองกองมาก่อน ซึ่งปัจจุบันคุณนันทิพรมีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 50 ไร่ เป็นสวนยางพารา 20 ไร่ และแบ่งปลูกทุเรียนมากกว่า 30 ไร่ มีทั้งทุเรียนที่ปลูกนานแล้ว และเพิ่งปลูกใหม่ ต้องยอมรับว่าต้นทุเรียนที่ปลูกนานแล้วค่อนข้างพบปัญหา คือ ต้นค่อนข้างโทรมมาก บางต้นยืนต้นตาย เรียกว่าผลผลิตแทบไม่ต้องหวังเลย ยิ่งถ้าช่วงไหนที่ฝนตก อากาศชื้น ยิ่งทำให้เชื้อราแพร่กระจายได้เร็วขึ้น ทำให้เกิดข้อกังวลอย่างมาก พยายามหาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยรักษา ลองผิดลองถูกมาหลายวิธี จนมารู้จักกับคุณเรไร เจ้าของร้านสามเกษตร ได้อธิบายถึงปัญหาของโรครากเน่า โคนเน่า โดยปัจจัยที่สำคัญ คือ สภาพแวดล้อม สภาพอากาศ โรคระบาด และโรคที่ติดมากับสวนอื่น
การใช้พีค รูทเตอร์ ฉีดพ่นต้นทุเรียน
การรักษาโดยใช้ผลิตภัณฑ์ “พีครูทเตอร์” ควบคู่กับการใช้ “ไตรโครเดอร์ม่า” คือ ใช้หลักเชื้อดี กินเชื้อร้าย โดย “พีค รูทเตอร์” ประกอบด้วยธาตุอาหารรองแมกนีเซียม และสารจากธรรมชาติ คือ สารซิลิคอน และสารอะมิโนจากพืช เป็นธาตุอาหารรองที่มีความจำเป็นต่อพืช สามารถใช้กับดินได้ทุกชนิด ช่วยในการฟื้นฟูรากจากเชื้อราที่เข้าทำลายราก การป่วยของโรคทุเรียนจะเกิดขึ้นที่รากก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นจะแสดงอาการทางใบ ใบร่วง ใบเหลือง กิ่งแห้ง เมื่อต้นป่วยใกล้ตาย ต้นจะสลัดใบทิ้ง กิ่งตาย จนในที่สุดต้นทุเรียนยืนต้นตาย การใช้หลักเชื้อดี กินเชื้อร้าย จะช่วยควบคุมเชื้อ และฆ่าเชื้อ เป็นการเติมเชื้อราดี อย่าง ไตรโครเดอร์ม่า นอกจากจะช่วยรักษาโรครากเน่า โคนเน่า ช่วยให้แผลตามลำต้นแห้ง เพิ่มการแตกราก และช่วยในการแตกใบใหม่ ใบเขียวขึ้น ยังสามารถช่วยในเรื่องของการบำรุงดิน ทำให้ดินร่วนซุย การใช้ “พีค รูทเตอร์” ในการดูแล โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน สามารถเห็นผลชัดเจนขึ้น สังเกตได้ชัดจากการแตกยอดของใบ นั่นแสดงให้เห็นว่ารากพืชเริ่มมีการดูดสารอาหารขึ้นมาใช้ได้
คุณนันทิพร เริ่มใช้ “พีค รูทเตอร์” เมื่อ 5 เดือนก่อน โดยต้องการฟื้นฟูสภาพต้นให้แข็งแรง อัตราการใช้ “พีค รูทเตอร์” 1 กระปุก (1,000 กรัม) ผสมกับน้ำ 2 ถัง ถัง 200 ลิตร ฉีดพ่นทุก 15 วัน ต้องคอยหมั่นสังเกต หากพบว่าต้นทุเรียนเริ่มดีขึ้น จึงปรับอัตราการใช้เป็น 1 กระปุก (1,000 กรัม) ผสมกับน้ำ 5 ถัง ถัง 200 ลิตร ซึ่งอัตราการใช้ขึ้นอยู่กับสภาพต้น และอาการที่ป่วย โดยเริ่มแรกหากพบว่าต้นป่วยมาก ต้องฉีดพ่นทุก 7 วัน พอใช้แล้ว จะสังเกตเห็นว่าต้นทุเรียนก่อนหน้านี้ที่เคยมีน้ำยางไหลตอนนี้แผลเริ่มแห้ง โดยการฉีดพ่น จะฉีดลงดิน และฉีดต้นด้วย
การบำรุงดูแลรักษาต้นทุเรียน
คุณนันทิพร บอกกับทีมงานว่า “รู้สึกดีใจ ที่เห็นต้นทุเรียนที่เคยเป็นโรคอาการดีขึ้น ต้องบอกก่อนเลยว่าเราเน้นแบบยั่งยืน เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และตัวเราด้วย อยากจะบอกกับคนที่เพิ่งเริ่มใช้ เราต้องใจเย็นๆ การรักษาโรคจะไม่ได้เห็นผลโดยทันที จะค่อยๆ รักษา ให้รากมันแข็งแรง จากนั้นจะสังเกตได้ว่าเริ่มมีการแตกใบ ต้นก็จะเริ่มดีขึ้นตามลำดับ การใช้ต้องใช้อย่างต่อเนื่อง ปีหน้านี้คาดว่าผลผลิตจะต้องเพิ่มขึ้นแน่นอน”
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คุณนันทิพร เกียรติสมัย
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือขอรับคำปรึกษาได้ที่
ร้านสามเกษตร อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โทร 088-582-8919 หรือติดต่อได้ที่
บริษัท พีคอโกรเคมี 2 จำกัด
โทร.087-977-1590, 02-598-9207, 081-533-8499
Line : @peakagrokemee2, Facebook : พีคอโกรเคมี 2, Youtube : ค้นหาคำว่า Peak Agro Channel, www.peakagro.co.th