เลี้ยงปลา “กะพงขาว” แบบพัฒนา กำไรเพิ่มกำไรเพราะใช้ อาหารปลากะพง แบบเม็ด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หากพูดถึงสัตว์น้ำมาแรงในขณะนี้ คงจะหนีไม่พ้นสัตว์เศรษฐกิจ อย่าง  “ปลากะพง”  ที่ปัจจุบันเกษตรกรได้หันมาเพาะเลี้ยงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเกษตรกรบ่อกุ้งที่หันมาเลี้ยงปลากะพงแทนการเลี้ยงกุ้งขาว ที่ราคาตกต่ำอย่างเช่นทุกวันนี้ ซึ่งข้อดีของการเลี้ยงปลากะพงขาวนั้นราคาขายที่ค่อนข้างสูง และคงที่

ในเรื่องของการบริหารจัดการฟาร์มก็ยังไม่ยุ่งยากเท่ากับการเลี้ยงกุ้งขาว เกษตรกรสามารถแบ่งเวลา และไปทำอย่างอื่นได้ ด้วยปลากะพงเป็นปลาที่มีโรคระบาดค่อนข้างน้อย ยิ่งหากฟาร์มไหนมีการบริหารจัดการที่ดี ทั้งเรื่องของลูกพันธุ์ และการดูแลฟาร์มให้สะอาดแล้ว เมื่อถึงเวลาจับปลาขาย แน่นอนว่าเกษตรกรจะต้องได้กำไรไม่มากก็น้อย

สิ่งสำคัญของการเลี้ยงปลากะพงให้ได้คุณภาพ นอกจากการดูแลฟาร์ม และการคัดเลือกลูกพันธุ์ที่ดีแล้ว เรื่อง “อาหาร” ก็ให้ความสนใจเป็นอันดับแรก เพราะในการเลี้ยงแต่ละรอบต้นทุนอาหารค่อนข้างสูง อีกทั้งอาหารที่ให้มีส่วนสำคัญที่จะทำให้ปลาสมบูรณ์ แข็งแรง เนื้อแน่น อีกด้วย

แต่ในปัจจุบัน อาหารปลากะพง มีมากมายหลายยี่ห้อวางจำหน่ายในท้องตลาด ดังนั้นเกษตรกรจะต้องมีการเลือกอาหารปลาที่มีคุณสมบัติที่ดี มีสารอาหารครบถ้วน ตรงตามความต้องการของปลากะพง และในส่วนเรื่องราคาที่จำหน่ายต้องคุ้มแก่การลงทุนเพื่อผลลัพธ์ที่ดีนั่นเอง

1.ปลากะพงที่กินอาหารเบทาโกรจะแข็งแรง-โตเร็ว-ทรงสวย-ได้มาตรฐาน
1.ปลากะพงที่กินอาหารเบทาโกรจะแข็งแรง-โตเร็ว-ทรงสวย-ได้มาตรฐาน
2.คุณวสันต์-ชาญวิชิต-เจ้าของฟาร์มปลากะพงคุณภาพ
2.คุณวสันต์-ชาญวิชิต-เจ้าของฟาร์มปลากะพงคุณภาพ

จุดเริ่มต้นเลี้ยงปลากะพง

เช่นเดียวกับเกษตรกรคุณภาพ คุณวสันต์ ชาญวิชิต เจ้าของฟาร์มปลากะพงคุณภาพ ที่อดีตนั้น คือ ลูกหลานชาวนาในจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อเติบใหญ่ได้หันมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำแทนการทำนาของบรรพบุรุษ เนื่องด้วยราคาข้าวที่ตกต่ำ ประกอบกับยุคนั้นเรียกว่าเป็นขาขึ้นของวงการกุ้งไทยที่กุ้งมีราคาค่อนข้างสูง ส่งผลให้เกษตรกรจับกุ้งขายแล้วมีเงินเหลือกิน เหลือใช้ สามารถยกระดับฐานะขึ้นได้ทันที หลังจากจับกุ้งไปเพียงไม่กี่ครอป

ซึ่งสาเหตุนี้เองทำให้คุณวสันต์หันมาสนใจเลี้ยงกุ้งเมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยได้เดินทางไปศึกษาการเลี้ยงจากบ่อในละแวกบ้าน และเริ่มลงทุนขุดที่นาทำเป็นบ่อกุ้งจำนวน 1 บ่อ พื้นที่ประมาณ 2 ไร่ เมื่อเลี้ยงไปครอปแรกได้กำไร ก็เริ่มขยายบ่อเพิ่มขึ้น จาก 1 บ่อ ก็ค่อยๆ เพิ่มเป็นทั้งหมด 12 บ่อ ในปัจจุบันคุณวสันต์เลี้ยงกุ้งกุลาดำมาเรื่อย จนมาถึงปี 2001 เกิดวิกฤตโลก ตลาดส่งออกกุ้งกุลาดำเริ่มได้รับผลกระทบ ส่งผลให้ราคากุ้งตกต่ำ คุณวสันต์จึงหันมาเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมแทน ซึ่งราคากุ้งขาวก็ไม่ค่อยดีเหมือนแต่ก่อน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ประจวบกับขณะนั้นเกษตรกรฟาร์มกุ้งในละแวกบ้านหันมาเลี้ยงปลากะพงมากขึ้น ด้วยราคาขายค่อนข้างสูงถึงกิโลกรัมละ 100 กว่าบาท ทำให้คุณวสันต์สนใจ และเริ่มศึกษาการเลี้ยงปลากะพงขาวในพื้นที่น้ำจืด

3.ทางฟาร์มจะเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อให้อากาศในช่วงเวลาเย็นถึงเช้าของอีกวัน
3.ทางฟาร์มจะเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อให้อากาศในช่วงเวลาเย็นถึงเช้าของอีกวัน

สภาพพื้นที่เลี้ยงปลากะพง

คุณวสันต์ยอมรับว่าตนศึกษาการเลี้ยงปลากะพงมาแล้วประมาณครึ่งปี จึงเริ่มนำมาทดลองเลี้ยงในบ่อกุ้งเดิม โดยนำความรู้ที่ศึกษามาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับฟาร์มของตน ซึ่งในระบบการจัดการฟาร์มแทบไม่ได้ปรับเปลี่ยนอะไรมาก เพราะใช้บ่อกุ้งเดิมที่มีอยู่นำมาทดลองเลี้ยง

เริ่มต้น 1 บ่อ ขนาดบ่อ 3 ไร่ เลือกลงลูกปลาไม่หนาแน่นเกินไป ใช้อาหารเหยื่อสดในการเลี้ยงปลากะพง เพราะคิดว่าปลากะพงเป็นปลากินเนื้อ ประจวบกับยุคนั้นอาหารเม็ดสำหรับปลากะพงยังมีไม่มาก อีกทั้งต้นทุนยังค่อนข้างสูง คุณวสันต์เลี้ยงปลากะพงครอปแรกประมาณ 5-6 เดือน ก็สามารถจับปลาขายได้น้ำหนักสูงถึง 3 ตันกว่าๆ

“ในครั้งแรกที่เริ่มเลี้ยงช่วงปีนั้นยังไม่มีการเลี้ยงแพร่หลายมากนัก ประกอบกับโรคต่างๆ ก็ยังไม่มี ทำให้จับปลาได้เยอะ และราคาดีด้วย ทำให้ลดต้นทุนตั้งแต่เลี้ยงครั้งแรกเลย” คุณวสันต์ให้ความเห็น

หลังจากที่คุณวสันต์จับปลาครอปแรกได้กำไร ก็เริ่มขยายบ่อเพิ่มขึ้น จาก 1 บ่อ เป็น 2-3 บ่อ แต่ก็ยังควบคู่กับการเลี้ยงกุ้งขาวในบ่อที่เหลือ เพื่อสร้างรายได้อีกช่องทาง คุณวสันต์เลี้ยงปลากะพงขาวเรื่อยมา จนกระทั่งมีอยู่ปีหนึ่งที่ตัวแทนจำหน่ายเหยื่อสดได้แนะนำอาหารเม็ดสำหรับเลี้ยงปลากะพงให้นำมาทดลองใช้แทนเหยื่อสด

เนื่องจากสามารถลด  ต้นทุนด้านอาหาร และง่ายต่อการจัดการ ประกอบกับละแวกพื้นที่เริ่มเลี้ยงปลากะพงโดยใช้อาหารเม็ด คุณวสันต์จึงทดลองนำมาเลี้ยง 1 บ่อ เพื่อเปรียบเทียบระหว่างปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ด และปลาที่เลี้ยงด้วยเหยื่อสด เพื่อดูการเจริญเติบโต และคุณภาพของปลา เมื่อจับขึ้นมาดูปรากฏว่าอัตราการโตของปลา และคุณภาพใกล้เคียงกัน แต่ที่แตกต่าง คือ ความสะดวกสบายในการให้อาหาร อีกทั้งคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงก็ไม่เสียง่าย ด้วยเหตุนี้คุณวสันต์จึงหันมาใช้อาหารเม็ดเลี้ยงปลากะพง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
4.อาหารปลากะพงเบทาโกรคุณภาพที่เกษตรกรไว้วางใจ
4. อาหารปลากะพง เบทาโกรคุณภาพที่เกษตรกรไว้วางใจ

การให้อาหารปลากะพง

หลังจากที่คุณวสันต์หันมาใช้อาหารเม็ดสำเร็จรูปเลี้ยงปลากะพง ยอมรับว่าตนใช้อาหารค่อนข้างหลากหลายยี่ห้อ เนื่องจากแต่ละยี่ห้อจะมีจุดเด่น จุดด้อย แตกต่างกันออกไป บางยี่ห้ออาหารค่อนข้างได้คุณภาพ  และเมื่อใช้นานเข้าความนิ่งของคุณภาพ อาการเริ่มเปลี่ยนไป การปั้นเม็ดไม่ดีบ้าง ทำให้คุณวสันต์ต้องเปลี่ยนอาหารปลาค่อนข้างบ่อย

จนกระทั่งมาเจอ อาหารปลากะพง เบทาโกรที่เปิดตลาดในพื้นที่ และเซลล์อาหารวิ่งเข้ามาแนะนำอาหารปลาถึงฟาร์มของตน ประจวบกับตนเป็นคนชอบทดลองอาหารปลาอยู่แล้ว จึงสั่งซื้ออาหารมาใช้กับปลากะพงรุ่นใหม่ที่เพิ่งลงบ่อ และนำมาเปรียบเทียบกับอาหารยี่ห้อเดิมที่เคยใช้

ปรากฏว่าผลลัพธ์ที่ได้สังเกตจากลักษณะตัวปลา การโตจะดีกว่าเดิม ตัวของอาหารมีกลิ่นที่ดึงดูดให้ปลากินได้มากกว่า อัตราการแลกเนื้อ หรือ FCR ค่อนข้างดี ตัวอาหารมีโปรตีนสูงถึง 42% เหมาะสำหรับปลากินเนื้ออย่างปลากะพงเป็นอย่างมาก อีกทั้งจำนวนอาหารที่ใช้จนถึงจับ จะกินอาหารเพียง 64 กระสอบต่อรอบการเลี้ยงเท่านั้น  ซึ่งถือว่าลดลงจากเดิมที่ปลาเคยกินอาหารสูงถึง 70  กว่ากระสอบต่อรอบการเลี้ยงเลยทีเดียว

อีกทั้งระยะเวลาในการเลี้ยงก็แตกต่างกันออกไป คือ เลี้ยงปลาเพียง 5 เดือน 20 วัน ก็ได้ขนาดน้ำหนักที่สามารถจับขายได้ ซึ่งแต่เดิมต้องเลี้ยงนานถึง 6 เดือน กว่าที่จะขึ้นปลาได้ แต่อาหารปลากะพงเบทาโกรนั้นสามารถย่นระยะเวลาในการเลี้ยงปลาได้เร็วขึ้น สามารถสร้างเม็ดเงินให้ผู้เลี้ยงได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการฟาร์มที่ดีควบคู่ด้วย

“การที่เรามีทุนในการซื้ออาหารมาลงเอง โดยไม่ต้องไปผูกมัดกับร้านค้าเป็นสิ่งที่ดี เพราะเราสามารถที่จะปรับเปลี่ยนเลือกในสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเราเอง ถ้าเราผูกมัดกับร้านค้า ที่ร้านมีอาหารแบบไหนเราก็ต้องทนกับอาหารแบบนั้น จะปรับเปลี่ยนแต่ละครั้งก็ต้องใช้เวลา นี่จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่ต้องคำนึง” คุณวสันต์เปิดเผย

5.การฝึกปลากะพงให้รู้จักที่กินอาหารในวงก่อนปล่อยสู่บ่อใหญ่
5.การฝึกปลากะพงให้รู้จักที่กินอาหารในวงก่อนปล่อยสู่บ่อใหญ่

การบริหารจัดการบ่อเลี้ยงปลากะพง

แน่นอนว่าการจัดการฟาร์มที่ดีนั้นจะส่งผลให้การดูแลปลาง่ายขึ้น ปลาไม่ป่วยง่าย โดยเฉพาะเรื่องน้ำซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะหากน้ำไม่ดีแล้ว ปลาที่เลี้ยงต่อให้ใช้อาหารดีแค่ไหน หรือให้วิตามิน อาหารเสริม แพงแค่ไหน ปลาก็ไม่สามารถนำไปเสริมบำรุงร่างกายได้ เนื่องจากน้ำไม่ดี ทำให้ปลาไม่กินอาหาร และทยอยตายนั่นเอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่สำหรับฟาร์มของคุณวสันต์จะเน้นขั้นตอนการจัดการฟาร์มให้ได้คุณภาพมากที่สุด โดยเริ่มต้นจากที่ขึ้นปลาเรียบร้อยแล้ว จะทำการไถเลนทุกๆ 2 รอบการเลี้ยง โดยสังเกตจากปริมาณเลนเป็นหลัก หากเลนไม่มากก็สามารถไปดันตอนรอบที่ 3 ได้

หลังจากนั้นจะทำการสาดปูนขาวและแร่ธาตุที่สำคัญลงพื้นบ่อ เพื่อปรับสภาพดิน และเพิ่มแร่ธาตุในดิน  ตากจนบ่อแห้งประมาณ 10-15 วัน ขึ้นอยู่กับอายุของลูกปลาที่จะลงบ่อควบคู่ด้วย แล้วจึงสูบน้ำเข้าบ่อ โดยใช้น้ำจากบ่อพักน้ำที่อยู่บริเวณรอบๆ

ซึ่งในบ่อพักน้ำนี้จะปล่อยปลานิลและปลาเบญจพรรณไว้สำหรับกรองน้ำให้สะอาดก่อนนำมาสูบเข้าบ่อเลี้ยงปลา ในการเติมน้ำจะไม่เติมครั้งเดียวจนเต็มบ่อ แต่จะค่อยๆ เติมจากครึ่งบ่อก่อน จากนั้นใส่จุลินทรีย์เพื่อปรับสภาพน้ำ และวัดค่า pH และค่าอัลคาไลน์ ให้เหมาะสม และปล่อยลูกปลาขนาด 4 นิ้ว ลงบ่อ 8,000 ตัว /บ่อ

ในวันแรกที่ปล่อยลูกปลาจะยังไม่ให้อาหาร แต่จะเริ่มให้ในวันถัดไปโดยในลูกปลาเล็กทางฟาร์มจะกั้นคอกเลี้ยงไว้ก่อน เพื่อฝึกการกินอาหาร 1 สัปดาห์ โดยให้อาหารปลาเล็กกินวันละ 2 มื้อ คือ เช้า และเย็น เมื่อครบ 1 อาทิตย์ ปลาจะเริ่มรู้ที่กิน ก็จะค่อยๆ เปิดคอกออก จากนั้นคอยดูการกินอาหารของลูกปลา

หากมีการกินอาหารที่ดี จึงค่อยๆ สูบน้ำใส่บ่อเพิ่มทุกๆ 10 วัน ครั้งละ 10-20% และจะทำการคุม pHไม่ให้เกิน 8 หากสูงเกินไปต้องสาดเกลือเพื่อช่วยลดความเป็นพิษในน้ำ ความเค็มของน้ำอยู่ที่ 8-9 ppt. เพราะเป็นพื้นที่น้ำกร่อย ความเค็มจึงไม่สูงมากนัก

ในส่วนการให้อาหารจะใช้อาหารตั้งแต่เบอร์ 3 ไปจนถึงเบอร์ 7 เพิ่มขึ้นตามขนาดของน้ำหนักปลา จะให้กินอาหารตามเปอร์เซ็นต์ฟีด นอกจากนี้ทางฟาร์มยังเปิดใช้เครื่องตีน้ำในเวลากลางคืนเพื่อช่วยเพิ่มอากาศภายในบ่อสำหรับปลาเล็ก 1 เครื่อง และบ่อปลาใหญ่ 2 เครื่อง ซึ่งจะทำให้ปลากินอาหารดีขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.ทรงปลากะพงคุณภาพ
6.ทรงปลากะพงคุณภาพ

ข้อดีของอาหารปลากะพงแบบเม็ด

ตั้งแต่ที่คุณวสันต์เริ่มใช้ อาหารปลากะพง เบทาโกร จะสังเกตได้ว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับอาหารยี่ห้ออื่นที่เคยใช้จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ปลาจะทรงสวยกว่า น้ำหนักดีกว่า  สีสวย เกล็ดแข็งแรง ไม่หลุดร่วงง่าย อัตราการแลกเนื้อค่อนข้างดี อีกทั้งยังช่วยลดระยะเวลาในการเลี้ยงให้สั้นลง

นอกจากนี้อาหารปลายังไม่ส่งผลเสียต่อน้ำที่เลี้ยง ที่สำคัญ คือ สามารถลดต้นทุนค่าอาหารจากเดิมได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากปลาที่กินอาหาร “เบทาโกร” นั้น จะโตเร็ว น้ำหนักดี ได้ไชด์ตามตลาดต้องการ ทำให้ระยะเวลาในการเลี้ยงน้อยลงนั่นเอง

นอกจากการเป็นเกษตรกรเลี้ยงปลากะพงเนื้อแล้วนั้น คุณวสันต์ยังรับ“ชำลูกปลากะพง”โดยใช้อาหารเม็ด เบทาโกร 100% สำหรับใช้ในฟาร์มของตนเอง และจำหน่ายให้กับบ่อละแวกข้างเคียง เพื่อเป็นรายได้เสริมระหว่างรอจับปลากะพงเนื้อ และยังมี “ไรน้ำจืด” ที่คุณวสันต์จะช้อนขายทุกวัน เพื่อเป็นค่ากับข้าวในแต่ละวันอีกด้วย

7.คุณอนันต์-เยาวราฤทธิ์-หรือลุงเปี๊ยก-เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง-
7.คุณอนันต์-เยาวราฤทธิ์-หรือลุงเปี๊ยก-เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง-
ปลากะพงหลังจากกินอาหารเบทาโกรแล้วสันจะหนา
ปลากะพงหลังจากกินอาหารเบทาโกรแล้วสันจะหนา

จุดเริ่มต้นการให้ อาหารปลากะพง

เช่นเดียวกับ คุณอนันต์ เยาวราฤทธิ์ หรือลุงเปี๊ยก เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง ที่ปัจจุบันหันมาใช้อาหารเม็ดในการเลี้ยงปลา ยอมรับว่า เดิมทีตนใช้เหยื่อสดในการเลี้ยงปลากะพงมาโดยตลอด เนื่องจากต้นทุนต่ำ และโปรตีนสูง แต่ก็ต้องมาต่อสู้เรื่องของคุณภาพน้ำที่มักจะเน่าเสียง่ายจากเศษอาหารที่เหลือก้นบ่อ

อีกทั้งการใช้เหยื่อสดเป็นอาหารนั้น แต่ละครั้งจะต้องใช้คนงานหลายคน และใช้เวลาในการให้ค่อนข้างนาน ที่สำคัญใช้แรงค่อนข้างมาก เพราะเหยื่อสดมีน้ำหนักค่อนข้างเยอะ และหากวันไหนใช้เหยื่อไม่หมดจะต้องเสียเงินซื้อน้ำแข็งสำหรับมาแช่เหยื่อไม่ให้เน่าเสียอีกด้วย ถือว่าการใช้เหยื่อสดในการให้อาหารปลานั้นต้นทุนสูง และมีกระบวนการใช้ที่ยุ่งยาก และเสียเวลาค่อนข้างนาน

จุดหักเหที่ทำให้ลุงเปี๊ยกหันมาใช้อาหารเม็ดในการเลี้ยงปลากะพง เริ่มต้นจากที่ราคาเหยื่อสดในท้องตลาดเริ่มหายากขึ้น และมีราคาค่อนข้างสูง เมื่อหักลบต้นทุนแล้วถือว่าไม่คุ้มค่า ประจวบกับทางร้านอาหารสัตว์ได้แนะนำอาหารเม็ดสำเร็จรูปสำหรับปลากะพง ตนจึงทดลองนำมาใช้กับบ่อของตน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งในช่วงแรกนั้นปลากินอาหารค่อนข้างดี (แต่ลูกปลาจะต้องทำการฝึกกินอาหารเม็ดมาก่อน) โตเร็ว แข็งแรง สมบูรณ์ ตนจึงใช้อาหารเม็ดเรื่อยมา  แต่เนื่องจากในท้องตลาดมีอาหารเม็ดปลากะพงหลากหลายยี่ห้อ ตนจึงเริ่มทดลองนำแต่ละยี่ห้อมาใช้เพื่อที่จะหา อาหารปลากะพง ที่ได้คุณภาพมากที่สุด

จนกระทั่งมาเจอ “ อาหารปลากะพง เบทาโกร ” ซึ่งได้รับคำแนะนำมาจากร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ ลุงเปี๊ยกจึงทดลองนำมาใช้ ในช่วงกลางครอปที่ผ่านมา ซึ่งในช่วงที่เปลี่ยนยี่ห้ออาหารโดยปกติปลาจะหยุดกินอาหารใหม่ สำหรับอาหารเบทาโกรนั้น เมื่อให้ไปแล้วปรากฏว่าปลากินอาหารได้ดีเช่นเดิม

แต่ที่เปลี่ยนไป  คือ  ปลาเข้าไซส์เร็ว  ตัวปลาจะแข็งแรง เกล็ดแข็ง ไม่หลุดง่าย โดยเฉพาะสันของปลาจะหนาเป็นพิเศษ ซึ่งพ่อค้า แม่ค้า ที่มาจับปลาจะชอบ อัตราการโตของปลาจะเร็ว ช่วยย่นระยะเวลาในการเลี้ยงได้ ซึ่งจะทำให้ประหยัดค่าอาหารที่เป็นต้นทุนหลักของเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากะพง

“ปกติเลี้ยงปลากะพงก็อยู่ที่ 5-6 เดือนเป็นอย่างต่ำ  หากว่าเกินจากนี้ก็จะทำให้เรามีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น  ตั้งแต่ใช้อาหารของเบทาโกรรู้เลยว่าต้นทุนการผลิตลดลง  ได้ปลาตรงตามที่ตลาดต้องการ  และใช้เวลาในการเลี้ยงไม่เกิน      5 เดือน อีกด้วย” ลุงเปี้ยกยืนยัน

8.คนงานกำลังลากปลาเพื่อคัดขนาด
8.คนงานกำลังลากปลาเพื่อคัดขนาด
ใช้ อาหารปลากะพง แบบเม็ดเลี้ยงจะได้ ลักษณะตัวปลาสมบูรณ์ สันหนา ตัวยาว เกล็ดไม่หลุดลอกง่าย
ใช้ อาหารปลากะพง แบบเม็ดเลี้ยงจะได้ ลักษณะตัวปลาสมบูรณ์ สันหนา ตัวยาว เกล็ดไม่หลุดลอกง่าย

การจับปลากะพง

เริ่มแรกที่ลุงเปี๊ยกนำ อาหารปลากะพง เบทาโกรมาเลี้ยงในปลาขนาด 4-5 นิ้ว โดยให้ปลากินอาหารวันละ 2 มื้อ เช้า-เย็น เลี้ยงไปจนถึง 4 เดือน ปลาจะเริ่มได้ไซส์ที่ต้องการ จึงลดอาหารลงเหลือแค่วันละ 1 มื้อ สลับให้กินเช้ากับเย็น ไปตลอดจนจับขาย

สาเหตุที่ลุงเปี๊ยกลดอาหาร เพราะเมื่อจับปลาขายแล้วจะได้ปลาที่น้ำหนักดี ทรงสวย ตรงตามที่ตลาดต้องการ ซึ่งตลอดการเลี้ยงจะทำการตีน้ำในบ่อเลี้ยงตลอด เพื่อช่วยปรับออกซิเจนในน้ำ เพื่อไม่ให้ปลาเครียด และช่วยปรับสภาพน้ำ เพราะอาหารที่โปรตีนสูงๆ จะทำให้น้ำเสียไว จึงต้องคอยดูแลเรื่องน้ำเป็นพิเศษ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
9.เจ้าหน้าที่จากบริษัท-เบทาโกร-บริการตรวจน้ำให้เกษตรกรฟรี
9.เจ้าหน้าที่จากบริษัท-เบทาโกร-บริการตรวจน้ำให้เกษตรกรฟรี

ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงปลากะพง

ซึ่งตลอดระยะเวลาในการเลี้ยงนั้น ทางบริษัทอาหารปลาเบทาโกรจะคอยส่งนักวิชาการลงมาสำรวจฟาร์มต่างๆ เพื่อบริการตรวจสอบคุณภาพให้กับเกษตรกรฟรี อีกทั้งหากเกษตรกรเจอปัญหาในระหว่างการเลี้ยงก็สามารถขอคำปรึกษากับนักวิชาการได้โดยตรงนั่นเอง เพื่อที่จะทำให้ปลาที่เลี้ยงแข็งแรง และปลอดภัยต่อโรคต่างๆ ที่จะเข้ามาในอนาคต

“จุดเด่นของ อาหารปลากะพง เบทาโกรก็คือ ช่วยลดการใช้อาหารลง อัตราการแลกเนื้อดี โปรตีนสูง อาหารไม่แตกตัวง่าย อยู่ได้นาน และไม่ส่งผลเสียต่อน้ำที่ใช้เลี้ยงอีกด้วย” เกษตรกรทั้งสองท่านยืนยัน

หากท่านใดสนใจ อาหารปลากะพง ของทางเบทาโกร สามารถติดต่อฝ่ายขายได้ที่ คุณเกรียงกมล โทร.081-707-4021 หรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการเลี้ยงปลากะพง และข้อมูลเกี่ยวกับอาหาร สามารถติดต่อได้ที่ คุณนฤมล โทร.081-294-1770