ลำไย นอกฤดู สร้างรายได้กว่า 100,000 บาท/ไร่ (ตอนที่ 1)
เริ่มด้วย การผลิต ลำไย นอกฤดู ด้วยสารโพแทสเซียมคลอเรต, การเตรียมความพร้อมของต้น ลำไย นอกฤดู การปฏิบัติในการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต เราจะมาต่อด้วย
3. ปัจจัยที่มีผลต่อการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต
3.1 อายุของใบลำไย ระยะที่เหมาะสมในการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต คือ ใบอายุประมาณ 45 วัน ต้นลำไยจะตอบสนองต่อสารได้ดีในระยะใบแก่ ส่วนใบอ่อนคาดว่าน่าจะมีสารยับยั้งการออกดอก ซึ่งเวลาใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตไปแล้วอาจได้ผลไม่ดีเท่าระยะใบแก่
3.2 ฤดูกาลในการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต ควรกำหนดปริมาณสารให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพราะฤดูกาลมีผลต่อการตอบสนองของต้นลำไยต่อสารที่ให้ ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงธันวาคมซึ่งเป็นช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น ต้นลำไยสามารถตอบสนองต่อสารได้ดีแม้ใช้สารในปริมาณที่น้อย แต่ในช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเดือนกันยายนซึ่งเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกมากที่สุด จะออกดอกได้น้อยกว่า นอกจากนี้ไม่ควรให้สารราดลำไยกับต้นลำไยที่มีอายุมากในฤดูฝน เพราะจะตอบสนองไม่ดีเท่ากับลำไยที่มีอายุน้อย
3.3 แสง ต้นลำไย ที่ให้สารโพแทสเซียมคลอเรตในสภาพที่มีแสงจะออกดอกได้ดีกว่าในสภาพครึ้มฟ้าครึ้มฝน และควรหลีกเลี่ยงการใส่สารราดลำไยในช่วงฝนตกชุก
ถึงแม้ว่าจะมีการให้สารโพแทสเซียมคลอเรตกับลำไยได้ถึง 2 วิธี ที่กล่าวมา แต่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมให้สารนี้ทางดินมากที่สุด เพราะเป็นวิธีที่ง่ายและได้ผลดี
ข้อควรพิจารณาในการผลิต ลำไย นอกฤดู
1. ต้นลำไยควรมีความสมบูรณ์ แตกใบอ่อนแล้วประมาณ 2 ครั้ง และใบแก่เต็มที่
2. ควรมีแหล่งน้ำพอเพียงตลอดช่วงออกดอก ติดผล เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพ
3. มีตลาดรองรับผลผลิต และมีเงินทุน เพราะมีต้นทุนการผลิตสูง
4. มักมีโรคและแมลงเข้าทำลายมากกว่าปกติ โดยเฉพาะเพลี้ยไฟและโรคจากเชื้อรา
5. เกษตรกรมีความรู้และประสบการณ์ในการดูแลรักษาสวนและใช้ปัจจัยการผลิต
ตลาดมีส่งให้และมารับซื้อเอง
ด้านการหาตลาดคุณวันเพ็ญจะรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรลูกไร่โดยให้ราคาตามท้องตลาดและนำไปขายให้พ่อค้าแม่ค้าที่รับซื้ออีกที
คุณวันเพ็ญเผยให้ทีมงานฟังว่าตลาดที่ส่งผลผลิตลำไยตนจะเป็นผู้หาเองและบางช่วงจะมีพ่อค้าแม่ค้ามาติดต่อขอรับซื้อในช่วงที่มีผลผลิตมากๆแต่นั่นไม่ใช่ผลดีเสมอไปเพราะบางรายซื้อขายจนเกินความเชื่อใจแต่สุดท้ายก็นำผลผลิตไปโดยที่ไม่จ่ายเงินก็มีทำให้ให้ผลผลิตลำไยตรงนั้นสูญเปล่าแต่คุณวันเพ็ญก็แสดงความรับผิดชอบโดยนำเงินส่วนที่โดนโกงมาจ่ายให้เกษตรกรลูกไร่แทนเงินส่วนนี้ก็เป็นส่วนตัวของคุณวันเพ็ญเอง
ส่วนตลาดที่นำผลผลิตของลำไยไปส่งนั้นจะเป็นตลาดใหญ่ตามจังหวัดพื้นที่ใกล้เคียงเช่นนครปฐมราชบุรีเป็นต้นโดยเกรดของลำไยที่ส่งจะมี 2 เกรด คือ ลูกใหญ่กับลูกเล็ก
ในปีนี้ราคาลำไยถือว่าตกต่ำพอสมควรอาจมีขึ้นมีลงแต่ก็ไม่สูงมากนักจนทำให้เกษตรกรผู้ปลูกลำไยมีรายได้ลดลงแต่ค่าปุ๋ย–ยาที่ใช้อาจเท่าเดิม หรือบางรายอาจเพิ่มขึ้น เพราะการผลิตลำไยในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริโภคมีความต้องการน้อย ผลผลิตที่ออกมาจึงทำให้ราคาของลำไยลดลงอยู่ที่ประมาณ 12-20 บาท (ลูกใหญ่) และ 5-8 บาท (ลูกเล็ก)
แต่ถึงอย่างไรการผลิตลำไยนอกฤดูก็ยังสามารถทำให้มีตลาดเพียงพอที่รับซื้อลำไยเพื่อไปขายให้กับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย
กำไรต้องสอดคล้องกับต้นทุน
ต้นทุนการผลิตลำไยนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ต้นทุนแปรผันและต้นทุนคงที่ โดยที่ต้นทุนแปรผันนั้นจะประกอบไปด้วยค่าแรง ค่าใช้จ่าย ค่าวัสดุทางการเกษตร และค่าเสียโอกาสเงินลงทุน ส่วนต้นทุนคงที่ จะประกอบด้วยค่าเช่าที่ดิน และค่าเสื่อมอุปกรณ์ แต่เราพบว่าต้นทุนในการผลิตลำไยส่วนใหญ่จะอยู่ในส่วนของต้นทุนแปรผัน ซึ่งจะอยู่ในส่วนของค่าแรงและค่าปุ๋ย–ยา ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการบำรุงหรือเสริมสร้างให้ผลผลิตมีความสมบูรณ์มากที่สุด
“ราคาลำไยในปีนี้มีหลายราคาแล้วแต่ช่วงฤดูกาล ถ้าแพงก็แพงเลย แต่ถ้าถูกก็ถูกเลย ลูกไร่บางคนลงทุน 40,000-50,000 บาท/ไร่ แต่ผลผลิตบางช่วงได้น้อย บางช่วงได้มาก อย่างบางต้นอายุประมาณ 10 ปี จะได้น้ำหนักประมาณ 30-50 กิโลกรัม/ต้น 1 ไร่ จะได้ประมาณ 7-8 ต้น ถ้าลำไยกิโลกรัมละ 15 บาท ก็จะได้ 100,000 กว่าบาท แต่ถ้าลำไยได้ราคาสูง ลูกไร่ก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้นไปอีก” คุณวันเพ็ญกล่าวถึงรายได้ที่เกษตรกรลูกไร่จะได้รับ
สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ คุณวันเพ็ญ ขันธ์สุวรรณ 32 ม.1 ต.น้ำพุ อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
โทร.08-6162-2829
และขอขอบคุณ ภาพจากสวนลำไยจาก คุณสำเริง กิตติภัทเมธา 189 ม. 10 อ. จอมบึง จ. ราชบุรี 70150
tags: ลำไย นอกฤดู ทำยังไง ( ตอนที่2 ) การปลูกลำไยนอกฤดู วิธีปลูกลำไยนอกฤดู ต้นลำไย น้ำลำไย ลำไย บ้านน้ำพุ ลำไย นอกฤดู การปลูกลำไยนอกฤดู วิธีปลูกลำไยนอกฤดู ต้นลำไย
[wpdevart_like_box profile_id=”108666299214543″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]