ปัญหาและอุปสรรคในการเลี้ยงกุ้งขาว
ปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยง “กุ้งขาว” มักประสบกับปัญหาในการเลี้ยงดูแลกุ้งมาโดยตลอด โดยเฉพาะ “ โรคขี้ขาว และโรค EMS” สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาโรคต่างๆ ในกุ้งออกมาจำหน่ายมากมายหลากหลายยี่ห้อ
สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้กุ้งป่วยเป็นโรค “ขี้ขาว” ได้นั้น ส่วนใหญ่มาจากบ่อเลี้ยง ที่เน้นการปล่อยกุ้งแบบหนาแน่น ซึ่งการปล่อยกุ้งลักษณะนี้ หากมีการบริหารจัดการฟาร์มไม่ดี จะส่งผลให้น้ำในบ่อเลี้ยงขุ่น และเสียง่าย
โดยเฉพาะบ่อระบบปิดหรือกึ่งปิด ที่ไม่มีการถ่ายเทน้ำหรือบำบัดคุณภาพน้ำที่ดี เพราะจากการตรวจสอบพบว่าสาเหตุหลักของการเกิด โรคขี้ขาว มาจากการอักเสบของลำไส้ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
เนื่องจากการดูดซึมอาหารในลำไส้ของกุ้งไม่ดีพอ ส่งผลให้กุ้งโตช้า และทยอยตายอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อลำไส้ของกุ้งไม่สามารถย่อยอาหารและขับถ่ายออกมาได้ จะทำให้กุ้งเกิดความอ่อนแอ สามารถติดเชื้อได้ง่าย และเมื่อกุ้งติดเชื้อโรคแล้วจะเริ่มทยอยตายลอยขึ้นในบ่อ
ส่วนใหญ่มักพบในช่วงระหว่างการลอกคราบ เนื่องจากกุ้งอ่อนแอจากการที่ไม่ได้รับสารอาหาร เนื่องจากการอักเสบของระบบทางเดินอาหารนั่นเอง
สภาพพื้นที่เลี้ยงกุ้ง
ทีมงานจึงได้ลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่แต่ก่อนเคยพบปัญหาเจอโรคขี้ขาวจนเกือบจะเลิกเลี้ยงกุ้งอย่างถาวร อย่าง “คุณทรรศนะ อานุภาเวนะวัฒน์” หรือ “คุณเบิร์ด” ที่ได้ให้เกียรติกับทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำได้เข้าพูดคุยถึงแนวทางการแก้ปัญหาและการป้องกันโรคขี้ขาวในกุ้งขาวให้ได้ผลอย่างชัดเจน
คุณทรรศนะยอมรับว่าแต่ก่อนเดิมทีก่อนที่ตนจะหันมาเลี้ยงกุ้งขาวอย่างทุกวันนี้นั้น ทางครอบครัวได้เปิดฟาร์มเลี้ยงสุกรมาก่อน โดยมีคุณพ่อเป็นคนดูแล จนมาถึงยุคที่กุ้งกุลาดำมีราคาแพง เกษตรกรในละแวกบ้านหันมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำเป็นจำนวนมาก
คุณพ่อจึงปรับเปลี่ยนจากฟาร์มหมูมาเป็นบ่อเลี้ยงกุ้งแทนเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จากบ่อกุ้งเพียง 1 บ่อ และขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพราะขณะนั้นการเลี้ยงกุ้งสามารถสร้างเม็ดเงินและผลกำไรได้เป็นอย่างดี
จนกระทั่งเมื่อปี 2541 ยุคต้มยำกุ้ง ตลาดกุ้งกุลาดำตาย ผลผลิตไม่สามารถส่งออกได้ คุณพ่อจึงหันมาเลี้ยงกุ้งขาว และขณะนั้นเองคุณทรรศนะตัดสินใจลาออกจากงานประจำ และหันมาช่วยครอบครัวเลี้ยงกุ้งอย่างเป็นจริงเป็นจัง
“ด้วยตัวผมเองไม่ได้จบตรงสายการเลี้ยงกุ้งมาโดยเฉพาะ ช่วงแรกๆ ก็ต้องเริ่มจากการถามและพูดคุยกับผู้เลี้ยงกุ้งด้วยกัน ขอความรู้จากเกษตรกรรอบๆ ข้าง เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับฟาร์ม การพูดคุย ค้นคว้าข้อมูล เป็นสิ่งที่ช่วยพัฒนาตัวเองเสมอ”
เมื่อคุณทรรศนะเข้ามาดูแลบ่อกุ้งช่วยคุณพ่อ ก็เริ่มนำนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาปรับปรุงฟาร์มของตนให้ดีมากขึ้น โดยการนำองค์ความรู้ที่ศึกษาจากฟาร์มต่างๆ มาปรับใช้ในบ่อกุ้งของตน
“แต่ก่อนบ่อกุ้งยังคงเป็นบ่อพื้นดินเหมือนทั่วไป แต่สังเกตเห็นว่า กุ้งที่เลี้ยงโตค่อนข้างช้า อีกทั้งพอขึ้นกุ้งแล้วเห็นว่าก้นบ่อมีเลนค่อนข้างมาก ซึ่งในเลนนั้นเอง คือ แหล่งสะสมของเชื้อโรค ส่งผลให้กุ้งที่เลี้ยงในแต่ละครอปได้ผลผลิตค่อนข้างน้อย ไม่เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
อีกทั้งโรคยังคงอยู่ในบ่อ โดยเฉพาะโรคขี้ขาว ที่ไม่ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรก็กำจัดไม่ได้สักที จนกระทั่งมีเกษตรกรแนะนำให้ตนปูพลาสติก PE ที่บ่อกุ้ง ซึ่งจะช่วยในเรื่องการกำจัดเลนก้นบ่อ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ซึ่งตนทดลองนำ PE มาปูพื้นบ่อ ผลปรากฏว่าเมื่อจับกุ้งขาย ได้ปริมาณกุ้งเพิ่มขึ้น 3-4 เท่าตัว
จากนั้นตนจึงนำพลาสติก PE มาปูบ่อทุกบ่อ และติดตั้งเครื่องดูดเลน โดยต่อท่อจากด้านบนลงไปดูดเลนกลางบ่อ โดยใช้มอเตอร์บังคับให้เครื่องดูดเลนทุกๆ ชั่วโมง นานครั้งละ 4-5 นาที
ฟาร์มกุ้งของคุณทรรศนะ จะเน้นเลี้ยงกุ้งหนาแน่น 150,000 ตัว/บ่อ/ไร่ เมื่อลงลูกกุ้งแล้วจะทำการสาดจุลินทรีย์เพื่อช่วยย่อยเศษอาหาร จะทำการสาดทุกวัน เพื่อช่วยย่อยสารอินทรีย์ที่ตกค้างบริเวณพื้นบ่อและในน้ำ อีกทั้งช่วยปรับสภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งให้ได้คุณภาพ
การบริหารจัดการบ่อเลี้ยงกุ้ง
ขั้นตอนการเตรียมน้ำ และเตรียมบ่อกุ้งขาว เริ่มจากการสูบน้ำเข้าบ่อพักน้ำ หลังจากนั้นใส่ด่างทับทิม และตีน้ำไว้เป็นเวลา 7 วัน แล้วจึงใส่ยาฆ่าหอย และศัตรูต่างๆ ของลูกกุ้ง ทิ้งไว้อีก 7 วัน จึงสูบเข้าบ่อเลี้ยงใส่สูงประมาณ 80 เซนติเมตร
จากนั้นปล่อยลูกกุ้งขนาดกุ้ง P หนาแน่น 150,000 ตัว/ไร่ แล้วจึงให้อาหารกุ้งในวันถัดไป เมื่อครบ 20 วัน จะค่อยๆ เติมน้ำเข้าบ่อครั้งละ 10 เซนติเมตร รักษาความเค็มของน้ำ โดยการใช้น้ำบาดาลเติมเข้าบ่อ และซื้อน้ำเค็มจากทะเลมาเสริมเพื่อให้ได้แร่ธาตุ จนความเค็มของน้ำสูงถึง 14 ppt.
“สาเหตุที่เริ่มแรกปล่อยน้ำเข้าบ่อเลี้ยงในปริมาณน้อย เนื่องจากเมื่อปล่อยลูกกุ้งลงบ่อแล้ว ลูกกุ้งจะได้จับกินอาหารง่าย และกินทันที หากเติมน้ำเต็มทั้งบ่อลูกกุ้งจะไม่ยอมจับอาหาร หรืออาจจะหาอาหารไม่เจอ จนทำให้อาหารเหลือก้นบ่อ ทำให้เป็นของเสียก้นบ่อ และสิ้นเปลืองต้นทุนด้านอาหารอีกด้วย” คุณทรรศนะกล่าว
การใช้ผลิตภัณฑ์ ในบ่อกุ้งขาว
สาเหตุที่ต้องสาดจุลินทรีย์บ่อยๆ เนื่องจากก่อนหน้านี้เคยเกิดปัญหากุ้งเป็น โรคขี้ขาว จนทำให้กุ้งในบ่อตายไปหลายตัน ส่งผลให้ในตอนนั้นเกือบจะเลิกเลี้ยงกุ้งไปแล้ว แต่ความไม่ท้อของคุณทรรศนะหาวิธีการเพื่อจะมารักษากุ้ง
เมื่อกุ้งเริ่มเป็นคุณทรรศนะเลือกที่จะซื้อผลิตภัณฑ์มารักษา แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง การรักษาไม่ใช่ทางเลือกที่ถูกต้อง แถมยังหมดไปกับค่ายารักษาอีกมากมาย แต่โรคก็ไม่หายไปจากกุ้งสักที คุณทรรศนะเป็นคนติดตามข่าวสารผ่านอินเตอร์เน็ตอยู่สม่ำเสมอ จึงลองหาวิธีอื่น
จนวันนึงได้มาเจอกับผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ซีแพค เอเชีย อิมเมจิง โปรดักส์ จำกัด ลองติดต่อพูดคุยกับฝ่ายขาย ขอข้อมูล และซื้อสินค้ามาลองใช้ หลังจากได้ใช้ไปแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้น่าตกใจ กุ้งขาวที่เลี้ยงในบ่อไม่พบอาการของ โรคขี้ขาว เลย เปอร์เซ็นต์ของโรคหายไปอย่างเห็นได้ชัดเจน สังเกตจากผลผลิตกุ้งเพิ่มขึ้น
ขั้นตอนการใช้ไม่ยุ่งยาก นำผลิตภัณฑ์ของทางบริษัท 1 ซอง เติมน้ำ 200 ลิตร และอาหารเลี้ยงเชื้อลงไป ไม่ต้องให้ออกซิเจน ปิดปากถังด้วยกระสอบ ทิ้งไว้ 36-48 ชั่วโมง (แต่ถ้าเติมออกซิเจนก็จะเพิ่มประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น) ก็สามารถนำมาใช้สาดลงบ่อเลี้ยงได้ทันที ผลิตภัณฑ์ของ บริษัท ซีแพค เอเชีย อิมเมจิง โปรดักส์ จำกัด ช่วยในเรื่องกำจัดของเสีย และเบียดเชื้อที่ก่อให้เกิดโรค คุณทรรศนะใช้ตั้งแต่ก่อนลงลูกกุ้งเพื่อเตรียมน้ำ และเน้นการป้องกันตั้งแต่แรก
ในระหว่างการเลี้ยงคุณทรรศนะให้ข้อมูลว่าจะมีการคลุกเคล้าสารต้านจุลชีพลงในอาหาร เพื่อให้ไปช่วยลดเชื้อในลำไส้ของกุ้ง โดยสารต้านจุลชีพที่ใช้จะเป็นตัว “เซ็นทร็อก-โอเอเอ็ม เจล” ของ บริษัท ซีแพค เอเชีย อิมเมจิง โปรดักส์ จำกัด ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ออกฤทธิ์เป็นกรด ช่วยปรับสมดุลในลำไส้ ทำให้กุ้งขับถ่ายดี ขับพวกเชื้อต่างๆ ออกมาเป็นอุจจาระ ส่งผลให้ไม่มีของเสียสะสมในลำไส้ จะทำการคลุกกับอาหารกินมื้อ ตลอดการเลี้ยง จนถึงจับ
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เลี้ยงกุ้งขาวแล้วไม่เจอ โรคขี้ขาว นั้น
1.ป้องกันไม่ให้เชื้อต่างๆ เกิดขึ้นภายในบ่อ
2.ควบคุมคุณภาพน้ำให้คงที่
3.ดูแลไม่ให้เกิดของเสียในบ่อ แค่นี้ก็ป้องกัน โรคขี้ขาว ได้แล้ว
4.ผลิตภัณฑ์คุณภาพดีๆ ที่คอยปกป้องดูแลป้องกันไม่ให้กุ้งป่วยเป็นโรคได้ง่าย
สนใจสินค้าสารต้านจุลชีพและโปรไบโอติก ดูแลสัตว์น้ำ ติดต่อได้ที่
บริษัท ซีแพค เอเชีย อิมเมจิง โปรดักส์ จำกัด โทร.08-6822-9650, 038-554-237
[email protected] , www.cpacanimalhealth.com
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณทรรศนะ อานุภาเวนะวัฒน์