การเลี้ยงปลาในกระชัง
การเลี้ยง ปลาในกระชัง เป็นวิธีการเลี้ยงปลาอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความนิยมกันอย่างแพร่หลายในแม่น้ำ หรือแหล่งน้ำทั่วไปตามธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ลำคลอง แอ่งน้ำ แม้แต่ในบ่อที่มีการขุดจนพบตาน้ำ การเลี้ยง ปลาในกระชัง เป็นวิธีการเลี้ยงอย่างหนึ่งที่เหมาะสม ทั้งทางเศรษฐกิจ และการปฏิบัติ นอกจากนี้อาจจะนำไปใช้ในแหล่งน้ำกร่อย หรือทะเล ก็ได้
การเลี้ยง ปลาในกระชัง สามารถควบคุมอัตราความหนาแน่นของการปล่อยปลาได้ และยังสามารถให้อาหารเสริมต่างๆ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของปลา ให้ได้ผลผลิตในระยะเวลาอันสั้นได้อีกด้วย
สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการเลี้ยง ปลาในกระชัง หนีไม่พ้นสภาพน้ำที่ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะเป็นการเลี้ยงแบบเปิด ซึ่งน้ำที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบที่ครบถ้วน กว้างขวางพอที่จะมีพื้นที่ให้กระแสน้ำหมุนเวียนผ่านกระชังได้ คุณสมบัติของน้ำต้องห่างไกลจากแหล่งน้ำเสีย สารพิษ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งชุมชน
ในละแวกแหล่งน้ำนั้นจะต้องมีความพร้อมด้านคมนาคมที่สะดวก เหมาะแก่การขนย้าย ขนถ่ายปลาไปยังตลาดได้ ทางทีมงาน นิตยสารสัตว์น้ำจึงขอนำเสนอข้อมูลการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังที่เลี้ยงในแหล่งน้ำที่ดี ตามคุณสมบัติของการเลี้ยง ปลาในกระชัง ครบทุกประการ
จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีการเพาะเลี้ยงปลากระชังเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะในพื้นที่ลำน้ำ “แควน้อย”, “แควใหญ่” และ “แม่น้ำแม่กลอง” ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ปราศจากโรงงานอุตสาหกรรม
ส่งผลให้มีการเลี้ยงปลากระชังเกือบจะตลอดลำน้ำกันเลยโดยเฉพาะการเลี้ยงปลาน้ำจืด อย่าง ปลาทับทิม และปลานิลกระชัง ทำให้จังหวัดกาญจนบุรีขึ้นแท่นผู้ผลิตปลาทับทิม และปลานิล เป็นอันดับ 1 ของประเทศไปโดยปริยาย
จุดเริ่มต้นการเลี้ยงปลาทับทิม
ด้วยเหตุนี้ทีมงาน “นิตยสารสัตว์น้ำ” จึงลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาทับทิมกระชังคุณภาพ ที่ปัจจุบันหันมารวมกลุ่มเพื่อเพิ่มอำนาจในการช่วยกันต่อรองราคาของปลาทับทิมในตลาด ณ ปัจจุบัน จุดเด่นในการเลี้ยงปลาของสมาชิกแต่ละท่านที่สามารถผลิตปลาทับทิมออกสู่ตลาดได้วันละไม่ต่ำกว่า 20 ตัน ทุกวันนั้น เขาทำได้อย่างไร และอะไรคือเทคนิคที่ทำให้สมาชิกประสบความสำเร็จในอาชีพได้จนถึงทุกวันนี้
เริ่มต้นด้วยพี่ใหญ่ของกลุ่มกับ คุณคมเพชร รอดปรีชาหรือ “คุณเป้” ประธานชมรมผู้เลี้ยงปลากระชังลุ่มน้ำภาคกลาง ที่อดีตนั้น คือ พนักงานส่งเสริมการขายอาหารในธุรกิจสัตว์น้ำ ที่เมื่อวันหนึ่งถึงจุดอิ่มตัวในหน้าที่ แต่ด้วยความผูกพันกับสายงานอาชีพ จึงผันตัวมาเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาทับทิมกระชังแทน
โดยนำองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าฟาร์ม พูดคุยกับเกษตรกร จนรู้จักเทคนิคและวิธีการเลี้ยงมากมาย นำมาปรับแต่งใช้ในฟาร์มที่พี่สาวเป็นผู้ริเริ่มและเลี้ยงมาตั้งแต่แรก
คุณเป้ได้เล่าประสบการณ์ของการทำงาน เมื่อก่อนเป็นพนักงานส่งเสริมการเลี้ยงปลาของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ทำอยู่หลายปีจนมาถึงจุดอิ่มตัว จึงออกมาเปิดฟาร์มเลี้ยงปลา แต่ก่อนหน้านั้นในขณะที่ตัวคุณเป้ทำงานอยู่บริษัท ก็ได้ชักชวนพี่สาวให้หันมาทดลองเลี้ยงปลาทับทิมกระชัง เนื่องจากตนคิดว่าธุรกิจเลี้ยงปลาทับทิมกระชังเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ จึงชักชวนพี่สาวมาทำธุรกิจนี้ ปลาในกระชัง ปลาในกระชัง ปลาในกระชัง ปลาในกระชัง ปลาในกระชัง
โดยสร้างกระชังเลี้ยงปลาที่จังหวัดกาญจนบุรี จำนวนกว่า 80 กระชังโดยคุณเป้จะเป็นคนคอยให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษา ในการเลี้ยงปลาทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ผลผลิตปลาที่ดี มีคุณภาพ “ผมเดินถอยออกมาจากบริษัทในปี 2558 และมาสร้างกระชังเลี้ยงปลาเพิ่มอีกจำนวน 120 กระชัง ขยายไปตามลำน้ำเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของตลาด พร้อมทั้งตั้งชื่อฟาร์มว่า “มีนกาญฟาร์ม”
จุดเริ่มต้นของ “มีนกาญฟาร์ม” เกิดขึ้นมาได้เพราะพี่สาวของคุณเป้ คือ พี่ปลา และพี่เขย จากเริ่มต้นเพียงแค่สิบกว่ากระชัง จนปัจจุบันขยายเพิ่มมาเกือบร้อยกว่ากระชัง เมื่อคุณเป้ก้าวเข้ามาดูแลก็เพิ่มพื้นที่ในการวางกระชังออกไปอีกร้อยกว่ากระชัง โดยกำลังการผลิตและการจัดการทั้งหมดจะเป็นการดูแลร่วมกัน
“ในสมัยนั้นฟาร์มเราเลี้ยงปลาในระบบ “คอนแทรคฟาร์มมิ่ง” ผูกกับบริษัท จำหน่ายลูกพันธุ์และอาหาร ซึ่งเมื่อปลาสามารถจับได้ ทางบริษัทก็จะมารับซื้อปลาในราคาที่บริษัทเป็นคนตั้ง เมื่อตนคำนวณต้นทุน และผลกำไรที่ได้ เมื่อนำมาเฉลี่ยดูปรากฏว่าเกษตรกรได้ผลกำไรที่ค่อนข้างน้อย ไม่คุ้มค่ากับต้นทุนที่เสียไป และที่สำคัญ คือ ตนไม่สามารถกำหนดราคาขายของปลาได้เลย เมื่อบริษัทตั้งราคามาเท่าไร ตนก็ต้องขายเท่านั้น ส่งผลให้ในรอบการเลี้ยงบางครั้งตนต้องยอมขาดทุนทรัพย์ เพื่อที่จะสามารถขายผลผลิตได้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ตนจึงเริ่มมองหาตลาดนอก เริ่มหันมาทำตลาดขายปลาเอง และเมื่อฟาร์มเริ่มเดินเองได้ จึงออกจากระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง และหันมาผลิตปลาขายเองอย่างเต็มตัว”
ในช่วงแรกที่ฟาร์มก้าวออกมาจากระบบ “คอนแทรคฟาร์มมิ่ง” ก็เริ่มแบ่งหน้าที่ เพราะทำกันเองภายในครอบครัว ตัวคุณเป้จะดูแลในส่วนของผลผลิตและการหาตลาดกับแม่ค้าทั้งในและนอกจังหวัดกาญจนบุรี ส่วนพี่สาวและพี่เขยจะดูในส่วนของการวางแผนผลิตและการดูแล ปลาในกระชัง ทั้งหมด
และนอกจากนี้ได้หลานสาวและหลานเขยมาช่วยดูส่วนของบัญชีและตัวเลขต่างๆ ซึ่งปัจจุบันทางฟาร์มได้ทำตลาดขายปลากับแม่ค้าโดยตรง ไม่ผ่านตัวแทนจากบริษัทใดๆ โดยคุณเป้ยอมรับว่ากว่าจะผ่านจุดนี้ไปได้ก็ใช้เวลาเป็นปีเหมือนกันกว่าจะลงตัวได้อย่างทุกวันนี้
การวางแผนการผลิตของทางฟาร์ม จะต้องผลิตปลาเนื้อออกสู่ตลาดให้ได้ 2 ตัน/วัน จึงจำเป็นที่จะต้องคัดสรรลูกพันธุ์ปลาที่ดีในการเลี้ยง โดยทางฟาร์มจะลงลูกปลาทุกๆ 10 วัน หมุนเวียนในแต่ละกระชัง ขนาดลูกปลาที่ใช้จะเป็น 20-25 ตัว/กิโลกรัม
ซึ่งฟาร์มจะรับลูกพันธุ์มาจากฟาร์มที่ได้คุณภาพขนาดเท่าใบมะขามมาเพาะชำ ที่ฟาร์มที่ไว้วางใจ โดยมีฟาร์มขุนสรรค์ จ.ชัยนาท เป็นฟาร์มผลิตปลารุ่นที่มีนกาญฟาร์มเลือกใช้ในปัจจุบัน
เทคนิคการเลี้ยงปลาทับทิม
ในส่วนของเทคนิคการเลี้ยงของทางฟาร์มนั้น จะเริ่มต้นโดยการปล่อยลูกปลาแบบหนาแน่น 60-65ตัว/ลบ.ม. (กระชังทั่วไปขนาด 5ม.x5ม.xลึก 2 ม.) จำนวนมื้ออาหารที่ให้ 4 มื้อ/วัน ต่อมาเมื่อทำการเลี้ยงไปได้ประมาณ 2 เดือน จะทำการคัดขนาดและแยกปลาให้เหลือความหนาแน่นที่ 30 ตัว/ลบ.ม.
พร้อมทั้งปรับลดมื้ออาหารลงเหลือ 3 มื้อ/วัน โดยจะเริ่มให้อาหารมื้อแรกเวลา 7-8โมงเช้า มื้อสุดท้ายเวลา 4-5 โมงเย็น แต่ถ้าในช่วงที่อากาศเย็นมากๆ ก็จะทำการเลื่อนเวลาให้อาหารมื้อเช้ามาเป็นประมาณ 8-9 โมงเช้า เพื่อกระตุ้นให้ปลาสามารถกินอาหารได้ดีขึ้น (เนื่องจากปลาเป็นสัตว์เลือดเย็น
ในช่วงหน้าหนาวน้ำจะมีอุณหภูมิต่ำมากตอนเช้า จึงจำเป็นต้องให้มีแสงแดดส่องเพื่อเพิ่มอุณหภูมิน้ำ จึงจะทำให้ปลาสามารถกินอาหารได้ดีขึ้น) บางช่วงที่น้ำไหลช้าหรือหยุดนิ่ง ทางฟาร์มจะมีการใช้เครื่องตีน้ำเข้ามาช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำให้กับปลาที่เลี้ยงด้วย เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย โดยหลังจากคัดแยกแล้วจะทำการเลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 2.5-3 เดือน ก็จะได้ปลาที่มีคุณภาพดี และแข็งแรง ออกตลาดสู่ผู้บริโภค
“สาเหตุที่ฟาร์มเราลงปลาหนาแน่นในตอนแรกเพราะอยากจะคัดขนาดของปลา ซึ่งจะทำให้คนงานทำงานง่าย การดูแล การจัดการ ก็ง่ายไปด้วย อีกอย่างทางฟาร์มต้องการเพิ่มรอบการผลิต และเพิ่มศักยภาพในการใช้กระชังด้วย จากเดิมที่กระชัง 1 หลุม ใช้ระยะเวลาเลี้ยงจนกระทั่งจับเป็นเวลาประมาณ 5 เดือน ฟาร์มสามารถทำให้กระชัง 1 หลุม เลี้ยงแค่ 3 เดือน ก็ผลัดเปลี่ยนปลาชุดใหม่เข้ามาได้ จึงทำให้ในแต่ละกระชังหมุนเวียนเลี้ยงปลาได้ถึง 4 รุ่น/ปี” คุณเป้เผยข้อมูล
โรคที่พบมากในการเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ซึ่งวิธีแก้ของทางฟาร์มจะเน้นไปที่การป้องกันตั้งแต่เริ่มต้นมากกว่าการรักษา ตั้งแต่ลูกปลายังเล็ก โดยคุณเป้จะนำโปรไบโอติกคลุกผสมกับอาหารให้ปลากินตั้งแต่ช่วงปลาเล็ก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อร้ายต่างๆ ที่จะเข้ามา ทำให้ปลาเสียหาย เนื่องจากเป็นการเลี้ยงปลาในแม่น้ำ การรักษาปลายเหตุเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะจะทำให้แหล่งน้ำที่เลี้ยงไม่ดีไปด้วย
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายปลาทับทิม
ปัจจุบัน “มีนกาญฟาร์ม” มีกำลังการผลิตปลาทับทิมกว่า 50 ตัน/เดือน ซึ่งทางฟาร์มได้ทำรอบให้มีผลผลิตออกได้ทุกวัน วันละกว่า 2 ตันโดยจะมีเหล่าแม่ค้าเข้ามาซื้อปลาภายในฟาร์ม และส่วนหนึ่งคุณเป้จะนำปลาไปส่งที่ตลาดเองโดยจะมีแม่ค้าประจำที่รับซื้อปลาทุกวัน ซึ่งผลผลิตปลาของทางฟาร์มนั้นจะมีเจ้าของจองปลาตั้งแต่ยังไม่ขึ้นปลา เนื่องจากปลาทับทิมและปลานิลของทางฟาร์มนั้นจะเป็นปลาที่ดี มีคุณภาพ สีสวย สันหนา แข็งแรง ตัวใหญ่ ได้น้ำหนัก และลักษณะตัวตามที่ตลาดต้องการ
การให้อาหารปลาทับทิม
ซึ่งการผลิตปลาให้ได้คุณภาพอย่างเช่นในปัจจุบันได้นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ คุณภาพของ “อาหารปลา” ดังนั้นการคัดเลือกอาหารปลาของทางฟาร์มนั้นจะเน้นอาหารปลาที่ได้คุณภาพ เหมาะสมสำหรับปลากระชังที่ตนเลี้ยง
โดยคุณเป้เลือกใช้อาหารปลา ของ บริษัท เอพีเอ็ม อะโกร จำกัด เป็นหลัก เพราะว่าคุณภาพของอาหารดี นิ่งสม่ำเสมอ ซึ่งต่างจากแต่ก่อนที่เคยใช้ยี่ห้ออื่นแล้วคุณภาพตอนแรกก็ถือว่าโอเค แต่เมื่อใช้ไปนานๆ แล้วกลับไม่ดี ลองผิดลองถูก จนมาเจอกับ “โมโม่” ตั้งแต่ใช้มาคุณภาพของอาหารไม่ตก FCR คงที่ ปลาตัวอ้วนสวย สันหนา
นอกจากนี้เมื่อช่วงหน้าฝนที่ผ่านมา ทางฟาร์มประสบปัญหากระชังปลาเสียหายจากน้ำไหลหลาก เสียหายหลายกระชัง ซึ่งทางบริษัทอาหารปลา ตรา “โมโม่” ยังเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกร โดยการแจกกระชังปลาให้กับทางฟาร์มอีกด้วย ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทอาหารปลาที่ดูแลเกษตรกร ดูแลลูกค้า เป็นอย่างดี ไม่เอาเปรียบ และดูแลเกษตรกรเป็นอย่างดี
การบริหารจัดการบ่อเลี้ยงปลาทับทิม
นอกจากคุณเป้แล้ว ยังมีเกษตรกรมืออาชีพที่นำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการจัดการฟาร์มให้ได้ผลผลิตปลาที่มีคุณภาพ สามารถลดจำนวนปลาตายลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ซึ่งเกษตรกรท่านนี้ก็คือ คุณไพชยนต์ สิทธิกูล เจ้าของฟาร์มปลาทับทิมและปลานิล ที่มีชื่อฟาร์มว่า “แสนล้านฟาร์ม”
คุณไพชยนต์ สิทธิกูล หรือคุณตั้ม เกษตรกรผู้มากความสามารถ ที่มีแนวคิดการเลี้ยงปลากระชังไม่เหมือนใคร โดยการใช้เครื่องตีน้ำมาเปิดบริเวณกระชังเลี้ยงปลา พร้อมใช้เครื่องให้อาหารแบบอัตโนมัติเหมือนบ่อกุ้ง เพื่อลดการใช้แรงงานของคนงานภายในฟาร์มอีกด้วย
จากพนักงานขายอาหารสัตว์น้ำ จนสามารถสร้างตัวเป็นเจ้าของฟาร์มปลาที่ประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย คุณตั้มได้เปิดเผยเส้นทางชีวิตของตนเองกับทีมงานว่า เดิมทีตนเป็นพนักงานขายอาหารสัตว์น้ำของบริษัทยักษ์ใหญ่มานาน 5-6 ปี แต่ด้วยความจำเจของอาชีพ และความสุขในการทำงานเริ่มลดน้อยลง
คุณตั้มจึงเริ่มมองหาอาชีพเสริมที่สามารถสร้างรายได้ที่ดี เทียบเท่าหรือมากกว่างานประจำที่ตนทำอยู่ โดยขณะนั้นอาชีพการเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชัง คือ 1 ในอาชีพที่คุณตั้มสนใจ เนื่องจากตนมีความรู้ที่สั่งสมมานานจากการเป็นเซลล์ขายอาหารปลา เมื่อตัดสินใจลาออกจากงานประจำ จึงเลือกที่จะหันมาเลี้ยงปลาทับทิมและปลานิลในพื้นที่ลำน้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี โดยใช้ชื่อฟาร์มว่า “แสนล้านฟาร์ม”
เมื่อออกมาจากบริษัทเอกชนแล้ว คุณตั้มก็พุ่งเป้าหมายมาที่จังหวัดกาญจนบุรีทันที คุณตั้มให้เหตุผลที่มาเลี้ยงปลาที่นี่เป็นเพราะแหล่งน้ำในบรรดาแม่น้ำใหญ่ๆ ที่ผ่านแต่ละจังหวัดมาในละแวกลุ่มน้ำภาคกลางนั้น จังหวัดกาญจนบุรีมีแหล่งน้ำดีที่สุด เนื่องจากไม่มีโรงงานอุตสาหกรรม ไม่มีแหล่งปล่อยน้ำเสีย แหล่งน้ำมีความอุดมสมบูรณ์สูง ปริมาณน้ำไหลผ่านมากที่สุดในลุ่มน้ำภาคกลาง เหมาะแก่การเลี้ยงปลาเป็นอย่างมาก เลยเลือกมาอยู่ที่นี่
มาเริ่มตั้งกระชังในปี 2555 เช่าพื้นที่บริเวณแม่น้ำแควน้อยเพื่อวางกระชัง และขอเอกสารรับรอง เริ่มแรกมีกระชังเพียง 20 กระชัง จนปัจจุบันได้ขยายกระชังเพิ่มขึ้นเป็น 200 กระชัง แต่ละกระชังจะเน้นปล่อยปลา 1,500 ตัว น้ำหนักปลารวมที่จับได้อยู่ที่ 1 ตันกว่าๆ
ปัญหาและอุปสรรคในบ่อเลี้ยง ปลาในกระชัง
แนวคิดนี้มาจากสิ่งแวดล้อมโดยรอบของการเลี้ยงปลากระชังในแม่น้ำ แม่น้ำไม่สามารถควบคุมคุณภาพน้ำ หรือ สิ่งแวดล้อมรอบข้างได้ สิ่งที่เราทำได้และคิดว่าน่าจะได้ผลดีที่สุด คือ การสร้างออกซิเจนในน้ำ และลดการตกกระทบของแสงด้วยการสร้างน้ำให้เป็นคลื่นเพื่อให้อุณหภูมิลดลง
เนื่องจากบริเวณที่คุณตั้มวางกระชังเป็นจุดที่มีแสงแดดส่องถึงโดยตรง ทำให้อุณหภูมิในน้ำและบริเวณผิวน้ำค่อนข้างร้อน ส่งผลให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงปลา คือ ปลาจะไม่ค่อยกินอาหาร และมีการตายทุกวัน วันละหลายสิบตัว เสียหายต่อปีไม่ต่ำกว่า 15 ตัน หรือบางปีอาจมากกว่า และในปี 2558 เคยเสียหายไปถึง 30 ตัน ด้วยเหตุนี้คุณตั้มจึงมองหาวิธีการเพื่อลดการสูญเสียของปลา จึงได้รวบรวมองค์ความรู้ที่สะสมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
โดยนำเครื่องตีน้ำมาติดตั้งบริเวณหลังกระชัง เป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ และเพิ่มการเคลื่อนที่ของมวลน้ำให้ไหลผ่านตัวกระชังเลี้ยงปลา ทำให้ของเสียที่เกิดในบริเวณกระชังเลี้ยงปลาเคลื่อนที่ออกสู่ด้านนอกกระชัง.ไม่เกิดการหมักหมม
อีกทั้งยังช่วยให้เกิดคลื่นน้ำขนาดเล็กๆ ถี่ๆ จำนวนมาก คลื่นน้ำนี้จะช่วยพรางแสงแดดได้ ทำให้ปลาไม่เครียด เมื่อวันใดที่แสงแดดจัด คลื่นน้ำจากเครื่องตีน้ำจะช่วยพรางแสงแดดที่ส่องสู่กระชังเลี้ยงปลา และยังช่วยปรับอุณหภูมิน้ำบริเวณผิวน้ำให้ลดลงอีกด้วย
หลังจากติดตั้งเครื่องตีน้ำในเดือนแรก อัตราการตายของปลาลดลงอย่างเห็นได้ชัด ด้วยทางฟาร์มจะทำการบันทึกข้อมูลการเลี้ยงตลอดเวลา จึงทำให้รู้ว่ายอดการตายของปลาอยู่ที่เท่าไหร่/วัน ซึ่งหลังจากที่ทางฟาร์มได้ติดตั้งเครื่องตีน้ำไปแล้ว ผลเฉลี่ยในการเลี้ยงครอปแรกพบว่าอัตราการตายของปลาลดลงเหลือเพียงไม่ถึง 5 ตัน จากเดิมที่ปลาเคยตายหลาย 10 ตัน/ครอป
นอกจากช่วยลดอัตราการตายของปลาแล้ว การติดตั้งเครื่องตีน้ำยังช่วยให้ปลาไม่เครียด กินอาหารดี และโตไวอีกด้วย โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงหน้าร้อน น้ำจะร้อนมากเป็นพิเศษ ส่งผลให้ช่วงนี้เลี้ยงปลาได้ค่อนข้างลำบาก
ซึ่งเครื่องตีน้ำก็เป็นตัวช่วยที่ดี ที่สามารถช่วยลดความร้อนจากแสงแดดที่กระทบลงผิวน้ำ ทำให้อุณหภูมิในน้ำคงที่ไม่ร้อนมากจนเกินไป ส่งผลให้ปลาที่เลี้ยงมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี ได้ ผลผลิตที่ตรงตามเป้าเหมือนเดิม
“การเพิ่มเครื่องตีน้ำเข้ามาอาจจะเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิต แต่เมื่อคิดคำนวณต้นทุนออกมาเป็นค่าไฟฟ้า ค่าพลังงาน ในแต่ละเดือน แล้วนำไปหารกับผลผลิตปลาต่อเดือนของฟาร์ม ต้นทุนจะเฉลี่ยอยู่ที่ .50 สตางค์ ต่อปลา 1 กก. ถือว่าเป็นที่พอใจเป็นอย่างมาก และยังช่วยให้ปลาแข็งแรง กินอาหารเก่ง โตไวด้วย”
“แนวคิดนี้ใครๆ ก็สามารถทำได้ แต่อยู่ที่ทำเลที่ตั้งของฟาร์ม หากมีไฟฟ้าเข้าถึงก็สามารถทำได้ แต่ส่วนมากเขาไม่ทำกัน เพราะมันเพิ่มต้นทุนการเลี้ยงเข้าไป แต่ถ้ามองกลับกัน ผลลัพธ์ที่ได้ก็คุ้มกับการลงทุน”
การให้อาหารปลาด้วยการใช้เครื่องออโต้ฟีด
ในส่วนของการให้อาหารปลา ทางฟาร์มเลือกใช้เครื่องออโต้ฟีดในการให้อาหารปลาเป็นหลัก เนื่องจาก จำนวนกระชังปลาที่ฟาร์มมีค่อนข้างมาก อีกทั้งทางฟาร์มยังมีการจำหน่ายปลาสดที่หน้าฟาร์มอีกด้วย ทำให้ในแต่ละวันคนงานจะต้องดูแลฟาร์มหลากหลายหน้าที่
ดังนั้นการใช้เครื่องออโต้ฟีดในการให้อาหารปลาก็จะช่วยให้ประหยัดแรงงาน คนงานก็สามารถทำหน้าที่อื่นๆ ภายในฟาร์มได้ อีกทั้งเครื่องออโต้ฟีดยังสามารถควบคุมปริมาณอาหารที่ให้ในแต่ละมื้อได้อย่างสม่ำเสมอ จะไม่เกินการให้อาหารมากเกินไป ทำให้สูญเสียต้นทุนค่าอาหารมากขึ้น
“เครื่องให้อาหารกึ่งอัตโนมัติสามารถช่วยลดการใช้แรงงานคน และยังเป็นการให้อาหารที่สามารถควบคุมปริมาณการให้ในแต่ละวันได้แม่นยำทั้งหมดเป็นอย่างดี ต่างจากแรงงานคนบางครั้งให้มาก ให้น้อย แตกต่างกัน ทำให้เกิดความคาดเคลื่อนเรื่องปริมาณการให้อาหารสูง”
การป้องกันกำจัดโรคระบาด
ปัญหาในการเลี้ยงปลาของ “แสนล้านฟาร์ม” ที่มักพบเจอ คือ เรื่องของอุณหภูมิของน้ำที่ไม่สามารถควบคุมได้เพราะเป็นแม่น้ำใหญ่ แต่เมื่อนำเครื่องตีน้ำเข้ามาใช้ภายในฟาร์มก็สามารถช่วยลดปัญหานี้ไปได้ค่อนข้างมาก
ในส่วนของโรคและศัตรูของปลาที่มักพบเจอ คือ ปรสิตที่เข้ามาเกาะติดตัวปลา โดยเฉพาะปรสิตซึ่งทางฟาร์มจะแก้ปัญหาโดยการเลี้ยงดูแลปลาให้แข็งแรงมากที่สุด นอกจากนี้จะเป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรียเป็นหลัก และจะเห็นว่าตัวปลามีการตกเลือด และเหงือกเน่า ซึ่งมักพบเจอในช่วงที่น้ำเปลี่ยนกะทันหัน
ซึ่งทางฟาร์มจะแก้ปัญหาโดยการดูแลปลาให้แข็งแรงมากที่สุด ตั้งแต่กระบวนการคัดเลือกลูกพันธุ์ การอนุบาลปลา โดยจะเน้นนำปลาไซซ์ใบมะขามมาชำเองในบ่อดิน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความแข็งแรง ให้กับลูกปลามากที่สุด เมื่อได้ขนาดที่ต้องการก็จะนำมาปล่อยลงสู่กระชัง
การบำรุงดูแลรักษาลูกพันธุ์ปลาทับทิม
ลูกพันธุ์ปลาทับทิมที่ฟาร์มนั้นจะไม่มีการผูกติดกับที่ไหนเป็นหลัก แต่จะดูจากลูกพันธุ์ในแต่ละรอบที่รับมาจะเป็นลูกปลาขนาดเท่าใบมะขาม นำมาชำเองในบ่อดิน ดูแลให้ลูกพันธุ์แข็งแรงมากที่สุด เพื่อให้ลูกพันธุ์ขนาด 25-30 ตัว/กิโล หลังจากนั้นก็จะนำปล่อยลงสู่กระชังความหนาแน่นอยู่ที่ 1,500 ตัว/กระชัง เลี้ยง 5-6 เดือน แล้วจับขาย
อาหารจะให้ตามเปอร์เซ็นต์ฟีดที่คำนวณตั้งไว้ คอยดูแลเช็คปลาตาย และวัดอุณหภูมิของน้ำ หากอุณหภูมิสูงจะรีบเปิดเครื่องตีน้ำทันที และเอาสแลนปิดบางกระชังเพื่อลดแสงที่ตกลงมากระทบกับน้ำ และดูการกินอาหารของปลา อาหารที่ใช้ต้องมีโปรตีนที่เหมาะสม
ทางฟาร์มใช้อาหารของทาง “แม็กน่าฟีด” เพราะว่ามีโปรตีนที่เหมาะสม ปลาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หมด ปลากินดี แข็งแรง โตไว อัตราการแลกเนื้อดี การดูแลจากทางบริษัทมีการดูแลที่ดี และด้วยราคาอาหารที่ไม่สูง แต่คุณภาพโอเค จึงใช้ยี่ห้อนี้มาตลอด
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายลูกปลาทับทิม
ปัจจุบัน “แสนล้านฟาร์ม” มีกำลังการผลิตปลาอยู่ที่ 30 ตันต่อเดือน ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ทางฟาร์มจึงได้ตั้งเป้าหมายขยายกำลังผลิตเพิ่มขึ้น โดยการกระจายรายได้แก่เกษตรกรท่านอื่นๆ ที่สนใจเลี้ยงปลา ร่วมกับทางแสนล้านฟาร์ม ทางแสนล้านฟาร์มจะทำการส่งลูกปลาให้แก่เกษตรกรทำการเลี้ยง
เมื่อได้ขนาดทางฟาร์มจะเข้าไปรับซื้อผลผลิตปลาจากเกษตรกรคืนทุกตัว และบริหารส่งต่อให้แก่พ่อค้า แม่ค้า และช่องทางในตลาดต่างๆ ของแสนล้านฟาร์มต่อไป ทำให้เกษตรกรสามารถยึดอาชีพเลี้ยงปลาโดยไม่ต้องกลัวว่าจะไม่มีที่ขาย และสามารถยึดเป็นอาชีพที่มั่นคงได้
การเลี้ยงปลานิลและปลาทับทิมในกระชัง
มาต่อที่สมาชิกท่านที่ 3 ของชมรม คือ คุณจารุวัฒน์ สระน้อย หรือคุณโก้ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลากระชังแห่งลุ่มลำน้ำแควน้อยตัวจริง ที่คลุกคลีอยู่ในวงการปลามานานร่วม 10 ปี เห็นทุกช่วงจังหวะชีวิตของคนเลี้ยงปลา ทั้งขาขึ้น และขาลง ปัจจุบันคุณโก้เป็นสมาชิกของชมรมผู้เลี้ยงปลาทับทิมกระชังลุ่มน้ำภาคกลาง
เส้นทางชีวิตของคุณโก้ในวงการปลากระชังก็ไม่ธรรมดา เพราะเขา คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาตัวจริง เติบโตจากอาชีพเกษตรกร อดีตที่เคยร่วมหุ้นเลี้ยงปลากับเพื่อนจนสามารถประสบความสำเร็จ มีเงินทุน และสามารถสร้างฟาร์มเป็นของตนเองได้
จากการเลี้ยงปลากับเพื่อนเพียง 5 ปีเท่านั้น แน่นอนว่าด้วยระยะเวลาเพียง 5 ปี แต่คุณโก้สามารถสร้างตัว และเก็บเงินทุนในการขยายกระชังปลาเป็นของตนเองกว่า 30 กระชัง ได้นั้น เป็นเรื่องไม่ธรรมดา เพราะต้องใช้เงินทุนที่ค่อนข้างสูง
สภาพพื้นที่เลี้ยงปลานิลและปลาทับทิมในกระชัง
จนเมื่อปี 2560 คุณโก้สามารถสร้างกระชังปลาเป็นของตนเองได้ เริ่มต้นจาก 30 กระชัง จากนั้นจึงขยายเพิ่มขึ้น จนปัจจุบันคุณโก้ดูแลปลานิลและปลาทับทิมกระชังร่วม 300 กระชัง (รวมของเพื่อนด้วย) ซึ่งในแต่ละกระชังจะลงปลาหนาแน่นประมาณ 1,500 ตัว ซึ่งเป็นอัตราที่ไม่หนาแน่นมากเกินไป ทำให้ปลาไม่เครียด เหมาะสมกับการเลี้ยงในกระชัง
เมื่อเปรียบเทียบกับความหนาแน่นที่มากกว่านี้ ระยะเวลาการเลี้ยงเท่ากัน แต่ได้น้ำหนักปลาที่เท่ากัน แต่การเลี้ยงอัตราที่หนาแน่นกว่านี้ ปริมาณอาหารเพิ่มขึ้นมาก ปลาตายเยอะกว่า จึงเลือกปล่อยลูกปลาปริมาณเท่านี้
ขั้นตอนการลงลูก ปลาในกระชัง
ขั้นตอนการลงปลา ทางฟาร์มจะใช้ลูกปลาขนาด 50 กรัม มาลงกระชังประมาณ 75,000 ตัว วิธีการจะทำคล้ายกับคุณเป้ โดยจะนำลูกปลามาปล่อยรวมกันในกระชังที่เตรียมไว้ 10 กระชัง เพื่อพักให้ลูกปลาแข็งแรง ให้ลูกปลาได้กินอาหารเสริมเป็นวิตามินอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์
เมื่อลูกปลาแข็งแรงดีแล้วทำการคัดขนาดลูกปลาที่มีขนาดใกล้เคียงกันให้มาอยู่ในกระชังเดียวกัน ความหนาแน่น 1,500 ตัว/กระชัง หลังจากนั้นให้อาหารวันละ 3 มื้อ อาหารที่ใช้จะเป็น “แม็กน่าฟีด” สาเหตุที่ใช้เพราะว่าปลากินแล้วโตดี รูปร่างสวย โปรตีนเหมาะสมกับที่ปลานำไปใช้ FCR อยู่ที่ 1.5 เหมาะสมที่สุด จึงเลือกใช้ตัวนี้มาตลอด
ข้อดีของการเลี้ยงปลาต้นน้ำ ด้วยกระแสน้ำตรงนี้มีความแรง มักไม่พบปัญหาอะไรมากนัก ข้อดีหลักๆ ออกซิเจนในน้ำมีความคงที่ อุณหภูมิไม่สูง เนื่องจากน้ำไหลแรง ต้นไม้ปกคลุมตลอดแนว อัตราการตายของปลามักพบน้อยมาก นี่จึงเป็นสาเหตุที่เลือกมาเลี้ยงปลาตรงนี้
ข้อดีของการรวมกลุ่มผู้เลี้ยงปลากระชัง
“ผมมองว่าการที่รวมกลุ่มกันแบบนี้เป็นทางเลือกที่ดี เพราะกลุ่มไม่ได้ผูกมัดกับปัจจัยการผลิตบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ทำให้สมาชิกทุกคนมีทางเลือกที่จะใช้ผลิตภัณฑ์อะไรก็ได้ที่เราพึงพอใจ และยังไม่คอนแทรคกับบริษัทไหนอีกด้วย” คุณเป้กล่าว
“การรวมกลุ่มผู้เลี้ยงปลากระชังเป็นสิ่งที่ดี เวลาเจอปัญหาก็มีคนช่วยหาทางแก้ไข หาแนวทาง หาทางออก และการรวมกลุ่มกันแบบนี้ยังช่วยในเรื่องราคาการซื้อขายปลาได้อีกด้วย” คุณตั้มกล่าว ปลาในกระชัง ปลาในกระชัง ปลาในกระชัง ปลาในกระชัง ปลาในกระชัง
“เกษตรกรทุกคนมีทางเลือกเป็นของตัวเอง การรวมกลุ่มจึงเป็นแนวทางที่จะช่วยเหลือเราได้ ช่วงปลาล้น ปลาขาด เราก็ดูแลกัน หยิบยื่นปลาให้กัน ช่วยเหลือกันตลอด นี่เป็นสิ่งที่ดีของการรวมกลุ่มกัน” คุณโก้กล่าว
ขอขอบคุณข้อมูล
ชมรมผู้เลี้ยงปลากระชังลุ่มน้ำภาคกลาง
เกษตรกรท่านใดสนใจปรึกษาธุรกิจ
ติดต่อได้ที่ แสนล้านฟาร์ม 086-478-7978, 086-735-2223
เพสเฟสบุ๊ค : ชมรมผู้เลี้ยงปลากระชังลุ่มน้ำภาคกลาง