ไผ่บงหวาน เพชรน้ำผึ้ง พืชทางเลือกใหม่ ดูแลง่าย ขาย 70 บาท/กก. ผลตอบแทน 6 หมื่นบาท/ไร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกไผ่บงหวาน

ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง นับเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าสนใจของเกษตรกร เนื่องจากปลูกครั้งเดียวสามารถให้ผลผลิตได้ทั้งปี หากมีน้ำเพียงพอ อีกทั้ง “ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง” ยังสามารถ “ทานสด” ได้ทันที หรือนำไปประกอบอาหารแทนเมนูมะพร้าวได้ทุกเมนู โดยไม่ต้องนำมาต้มเพื่อให้รสขมของหน่อไม้หายไป ซึ่งถือว่าเป็นจุดเด่นที่เป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของไผ่สายพันธุ์นี้อย่างแท้จริง

ที่สำคัญไผ่สายพันธุ์นี้ยังตอบโจทย์ได้ดีสำหรับผู้ที่เป็น “โรคเกาต์” ที่ชอบรับประทานไผ่ เนื่องจากผลการตรวจสอบทางเคมีพบว่า ไผ่บงหวานไม่มีสารยูริก และไม่มีสารไซยาไนด์ ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคเกาต์แต่อย่างใด นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถผลิตไผ่สายพันธุ์นี้ใน “ระบบอินทรีย์” ได้ง่ายขึ้น เนื่องจากไม่มีโรคและแมลงรบกวน ประกอบกับราคาผลผลิตในขณะนี้ยังเป็นที่จูงใจอย่างมาก หรือมีราคาขายผลผลิตอยู่ที่กิโลกรัมละ 70 บาท เลยทีเดียว

1.คุณธีรวัจน์เจ้าของสวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี
1.คุณธีรวัจน์เจ้าของสวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี
2.สวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งนอกฤดู-แปลงสาธิตของตำบลป่าสัก-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี
2.สวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งนอกฤดู-แปลงสาธิตของตำบลป่าสัก-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี

จุดเริ่มต้นการปลูกไผ่

สืบเนื่องจากการลงพื้นที่ของ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ (สศท.1) เพื่อศึกษาพืชทางเลือกในพื้นที่ ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูน ได้พบว่า ปัจจุบันได้มีเกษตรกรต้นแบบที่ “ปลูกไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง” เพื่อสร้างอาชีพ สร้างรายได้ มาอย่างต่อเนื่อง แต่ทว่าการปลูกพืชชนิดนี้ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเกษตรกรไม่มีความมั่นใจด้านราคา อีกทั้งยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ด้านการผลิตและการตลาดเชิงลึก ดังนั้นสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ (สศท.1) จึงขอนำพาทุกท่านไปรู้จักกับเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการ “ปลูกไผ่บงหวาน” นั่นก็คือ

นายธีรวัจน์ จักรแก้วรังสี ได้บอกเล่าถึงประสบการณ์ในการริเริ่มเพาะปลูกไผ่บงหวานเพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับตนเองว่า เดิมทีประกอบธุรกิจค้าขาย แต่ยังมีนาซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำอยู่ จนกระทั่งคิดอยากจะกลับมาอยู่บ้าน จึงมีแนวคิดที่อยากจะปลูกพืชทดแทนนาข้าวที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ปลูกง่าย ดูแลง่าย ไม่ต้องใช้สารเคมี สิ่งแรกที่คิดได้วันนั้นก็คือ การปลูกไผ่เชิงการค้า ซึ่งไม่ใช่ไผ่ป่า เพื่อ “ทำไผ่นอกฤดู” หวังเก็บหน่อขาย สร้างรายได้ที่ดีกว่าไผ่ป่า

หลังจากนั้นคุณธีรวัจน์ก็เริ่มเสาะหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ซึ่งได้พบว่ามีไผ่สายพันธุ์หนึ่งที่ “กินดิบได้” จึงได้แสวงหาสายพันธุ์เพื่อนำมาปลูก จนได้พบว่ามีแหล่งผลิตไผ่สายพันธุ์นี้ นั่นก็คือ “ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง” อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ ก่อนจะติดต่อขอซื้อต้นพันธุ์มาปลูกในราคาต้นละ 100 บาท/เหง้า เมื่อวันที่ 5 ธันวาคมพ.ศ.2554 บนพื้นที่ทั้งหมด 2 ไร่ จำนวน 350 ต้น เพราะเห็นว่าเป็นพืชทางเลือกที่น่าสนใจ ปลูกครั้งเดียว ให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสูง การดูแลรักษาง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน หรือเข้าทำลาย จึงไม่ต้องใช้สารเคมี อีกทั้งยังได้ผลผลิตที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค

3.การให้ปุ๋ยคอก-2-ครั้งต่อปี-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี
3.การให้ปุ๋ยคอก-2-ครั้งต่อปี-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี
การบำรุงรักษาต้นไผ่บงหวานฯ-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี
การบำรุงรักษาต้นไผ่บงหวานฯ-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี
การตัดแต่งกอไผ่บงหวานฯ-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี
การตัดแต่งกอไผ่บงหวานฯ-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี

การปลูกและบำรุงดูแลรักษาไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง

คุณธีรวัจน์ยืนยันว่าในช่วงแรกของการปลูก “ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง” นั้น ต้องเตรียมพื้นที่ด้วยการไถเตรียมดินก่อน ประกอบกับเป็นที่นาลุ่มต่ำ จึงจำเป็นต้องยกร่องให้สูงขึ้นมาประมาณ 50 ซม. เพื่อปลูกไผ่ในระยะ 2×4 เมตร โดยไม่ต้องรองก้นหลุม การให้น้ำในช่วงแรกอาจจะต้องตักน้ำราดที่ต้นไผ่ก่อน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่เมื่อต้นไผ่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป ก็จะเริ่มต้นวางระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์เพื่อให้น้ำอย่างต่อเนื่อง หากเป็นช่วงหน้าแล้งจะให้น้ำประมาณ 2 ครั้ง/สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยคอกประมาณ 2 ครั้ง/ปี ซึ่งข้อดีของการปลูกไผ่ คือ ไม่มีโรคและแมลงรบกวน ยกเว้น “หนูนา” ที่มักจะเข้ามาเจาะทำลายหน่อไผ่ให้เสียหายเท่านั้น  ดังนั้นจึงต้องตัดหญ้ากำจัดวัชพืช  เพื่อทำพื้นที่สวนไผ่ให้โล่งเตียนอย่างสม่ำเสมอ

แต่ต้องยอมรับว่าการลงทุนปลูกไผ่ในครั้งแรกมีต้นทุนสูงประมาณ 28,693 บาท/ไร่ ซึ่งนับว่าเป็นการลงทุนที่ค่อนข้างสูงสำหรับเกษตรกร เนื่องจากการลงทุนในระยะแรกต้องซื้อต้นพันธุ์ และต้องสร้างแหล่งน้ำขึ้นมารองรับ เพื่อให้ต้นไผ่มีการเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ภายใต้การดูแลรักษาสวนไผ่อย่างสม่ำเสมอ

4.สวน ไผ่บงหวาน พื้นที่ 5 ไร่ จำนวน 1000 ต้น
4.สวน ไผ่บงหวาน พื้นที่ 5 ไร่ จำนวน 1000 ต้น

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายไผ่

ฉะนั้นการปลูกไผ่สายพันธุ์นี้จะเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกได้ตั้งแต่อายุ 8-12 เดือน แต่ผลผลิตที่ได้จะค่อนข้างน้อย แต่เมื่อต้นไผ่มีอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ก็จะเริ่มให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่  ปัจจุบันคุณธีรวัจน์มีสวนไผ่ทั้งหมด 5 ไร่ จำนวน 1,000 ต้น มีอายุเฉลี่ยประมาณ 6 ปี ที่สำคัญต้นไผ่สามารถให้ผลผลิตได้ทั้งหมด

ดังนั้นการจำหน่ายผลผลิตในวันนี้จะเน้นความต้องการของลูกค้าเป็นหลักสำคัญ ประกอบกับพื้นที่สวนไผ่แห่งนี้อยู่ติดถนนใหญ่ซึ่งเป็นเส้นทางสายหลักในการสัญจร ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบที่ทำให้มีลูกค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งเจ้าของร้านอาหาร และบุคคลทั่วไป ที่สนใจแวะเวียนเข้ามาสอบถามเรื่องไผ่ก่อนจะตัดสินใจซื้อผลผลิตกลับไปบริโภคเป็นประจำ หรือมีราคารับซื้อที่หน้าสวนอยู่ที่ 70 บาท/กก.

5.หน่อไผ่บงหวานทานดิบได้-เป็นโรคเก๊าต์ก็ทานได้-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี
5.หน่อไผ่บงหวานทานดิบได้-เป็นโรคเก๊าต์ก็ทานได้-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี

การเก็บเกี่ยวผลผลิตหน่อไผ่

หากเป็นลูกค้าปลีกทั่วไปก็จะขุดหน่อขายให้ได้ตลอดขึ้นอยู่กับความต้องการ แต่ถ้าหากมีลูกค้าหรือแม่ค้าสั่งจองผลผลิตเข้ามาก็จะขุดเก็บหน่อขายได้ประมาณ 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรือพื้นที่สวนไผ่ 1 ไร่ จำนวน 200 กอนี้ จะสามารถขุดเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 25-30 กก./ครั้ง/สัปดาห์

คุณธีรวัจน์จึงมีรายได้จากสวนไผ่ทั้งหมด  91,000 บาท/ไร่/ปี เมื่อหักลบต้นทุนการผลิต ทั้งค่าพลังงานในการให้น้ำ ค่าปุ๋ย และค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปแล้ว จะมีรายได้หลักอยู่ที่ 62,307 บาท/ไร่/ปี นับว่าเป็นพืชทางเลือก เป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับตนเองได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ที่สำคัญ “ไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้ง” เป็นไผ่ขนาดกลาง ใช้ประกอบเป็นอาหารได้หลายประเภท อาทิ แกง ผัด ต้ม ทำส้มตำ โดยลำต้นเมื่อโตเต็มที่จะสูง 7-12 เมตร หน่อจากต้นที่โตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ย 200 กรัม หรือ 4-5 หน่อ/กิโลกรัม มีสีเขียว

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์สามารถทำได้ด้วยวิธีการ “เพาะเมล็ด” และปลูกด้วย “เหง้า” และเพื่อให้การปลูกไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งมีประสิทธิภาพสูงสุด เก็บเกี่ยวได้ทั้งปี ควรมีความพร้อมในเรื่องแหล่งน้ำหรือมีระบบน้ำเข้ามารองรับ เพราะในช่วงฤดูแล้งไผ่จะขาดน้ำไม่ได้ ที่จะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีได้ตลอดทั้งปีนั่นเอง นอกจากนี้เกษตรกรยังสามารถทำการผลิต ไผ่บงหวาน เพชรน้ำผึ้งใน “ระบบชีวภาพ” โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีใดๆ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับคนรักสุขภาพได้อีกด้วย

6.ผลิตกิ่งพันธุ์และเน้นทำตลาดต้นพันธุ์ก่อนขาย-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี
6.ผลิตกิ่งพันธุ์และเน้นทำตลาดต้นพันธุ์ก่อนขาย-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี

ด้านตลาดต้นพันธุ์ไผ่

ดังนั้นแผนการผลิตของคุณธีรวัจน์ในวันนี้ยังมุ่งเน้นการผลิตต้นพันธุ์ และต้องการทำ “ตลาดต้นพันธุ์” เป็นหลักก่อน ยังไม่เน้นไปที่ “ตลาดหน่อไผ่” เนื่องจากตลาดต้นพันธุ์ยังไปได้ดี หรือมีราคาขายอยู่ที่ต้นละ 100 บาท คาดว่ามีพื้นที่สวนไผ่บงหวานเพชรน้ำผึ้งทั่วประเทศไม่ถึง 5,000 ไร่เลย ในวันนี้ แต่ในอนาคตหากตลาดต้นพันธุ์เริ่มซาลง ก็จะหันมาทำ “ตลาดหน่อไผ่” เป็นหลัก เพราะเป็นพืชอาหาร และเป็นไผ่เพื่อสุขภาพ ทานดิบได้อยู่แล้ว หรือสามารถนำไปทำ “ส้มตำ” ได้อร่อยมาก

คุณธีรวัจน์ได้สรุปในช่วงท้ายว่ากระแส ไผ่บงหวาน เพชรน้ำผึ้งเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การผลิตหน่อไผ่จำหน่ายในบางพื้นที่ที่คนไม่รู้จักอาจจะทำตลาดหน่อยากบ้าง แต่ถ้าหากลูกค้าท่านใดมีโอกาสได้ลิ้มลองแล้วก็จะติดใจในรสชาติที่ไม่เหมือนใครอย่างแน่นอน

7.จุดสาธิตการผลิตไผ่บงหวาน-ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี
7.จุดสาธิตการผลิต ไผ่บงหวาน -ที่มา.Facebook-ธีรวัจน์-จักรแก้วรังสี

ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจปลูก ไผ่บงหวาน เพชรน้ำผึ้ง

ดังนั้นหากเกษตรกรคิดจะปลูกไผ่สายพันธุ์นี้ อันดับแรกต้องมีระบบน้ำรองรับ การให้น้ำในฤดูแล้งเพื่อทำไผ่นอกฤดู เพื่อให้ต้นไผ่สามารถตัดหน่อขายได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-มิถุนายนของทุกปี ปลูกได้ทุกพื้นที่ แต่สภาพดินที่เหมาะสมที่สุด คือ ดินร่วนปนทราย อย่าง ภาคอีสาน

แต่ถ้าหากดินไม่อุ้มน้ำสามารถใส่ปุ๋ยคอกเพื่อเพิ่มการอุ้มน้ำในดินให้ดีขึ้นได้ นอกจากการปลูก ไผ่บงหวาน เพชรน้ำผึ้งนอกฤดูเป็นอาชีพหลัก  และสร้างรายได้แล้ว   คุณธีรวัจน์ยังปลูกพืชผัก  ทั้ง  ผักหวาน กล้วย และไก่ไข่ ไว้บริโภค เหลือค่อยขายสร้างรายได้ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับเกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อได้ที่  สวนสาธิตเทศบาลป่าสัก  “สวน ไผ่บงหวาน พชรน้ำผึ้งนอกฤดู”    นายธีรวัจน์ จักรแก้วรังสี ที่อยู่ 111 ม.8 ต.ป่าสัก อ.เมือง จ.ลำพูนโทร.094-757-4299 หรือ “Facebook ธีรวัจน์ จักรแก้วรังสี”  ที่ยินดีให้คำปรึกษาแก่เกษตรกร  และผู้สนใจทุกท่าน นอกจากนี้ต้องขอขอบคุณส่วนประชาสัมพันธ์สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่