โรคของกบ รวมและแนะเทคนิคการป้องกันและกำจัด ตั้งแต่ระยะลูกอ๊อด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กบ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่กำลังได้รับความนิยม ทั้งเป็นอาชีพเสริมและความต้องการของผู้บริโภค

ฤดูฝน กบธรรมชาติออกมาสู่ตลาด มาเป็นตัวเลือก ตัดราคากบเลี้ยง เรื่องของราคาอาจจะต่ำกว่าช่วงเดือน มกราคม-เมษายน และค่อยๆ ลดต่ำลง และสิ่งที่มาพร้อมกับน้ำ คือ   เชื้อโรค

เชื้อโรค ในสายน้ำธรรมชาติ และน้ำฝน สำหรับมือใหม่อยากเลี้ยงต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า ช่วงหน้าฝนนี้แหล่งที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว แต่อัตรารอดต่ำ น้ำถือเป็นความสำคัญปัจจัยแรกที่ต้องเตรียมให้พร้อมก่อนใช้

การเพาะเลี้ยงกบ

1.คุณจักรกฤษณ์-กลิ่นสุคนธ์-กับแม่พันธุ์กบ
คุณจักรกฤษณ์-กลิ่นสุคนธ์-กับแม่พันธุ์กบ

ทีมงานนสัตว์น้ำ มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม “ฟาร์มกบพลอยไพลิน” ของ   คุณจักรกฤษณ์ กลิ่นสุคนธ์ หรือ คุณเอก ปรมาจารย์ด้านการเพาะเลี้ยงกบ อดีต นายช่างบริษัทเอกชน ผันตัวเองมาทำฟาร์มกบเมื่อ 6 ปีที่แล้ว เหตุผลเพราะการเลี้ยงกบใช้พื้นที่น้อย ดูแลง่ายกว่าปลา เพราะปลามันอยู่ในน้ำได้หรือเปล่าไม่รู้ กบนี้ถ้าตายมองเห็น คุณเอกเริ่มต้นทดลองทำบ่อ 4 บ่อ ขนาด 3×4 ปล่อยลูกอ๊อดลงเลี้ยง 3,000 ตัว

2.พ่อพันธุ์กบ
พ่อพันธุ์กบ
แม่กบอายุ-1-ปี-พร้อมผสมพันธุ์
แม่กบอายุ-1-ปี-พร้อมผสมพันธุ์

การป้องกันและกำจัด โรคของกบ

โรคของกบ หลักๆ มักจะเกิดจากแบคทีเรียที่มากับน้ำ ถ้ากบอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคต่ำ น้ำสกปรก หรือไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ โรคของกบ ก็จะเข้าโจมตีได้ หลักๆ แล้วแบ่งออกเป็น

1.โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระยะลูกอ๊อด


อาการ 
ลูกอ๊อดจะมีลำตัวด่าง คล้ายโรคตัวด่างในปลาดุก จากนั้นจะเริ่มพบอาการท้องบวม และตกเลือดตามครีบ หรือรยางค์ต่างๆ
สาเหตุของการเกิดโรค ติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม Flexibacteris
การรักษา

1.ใช้เกลือแกงแช่ในอัตรา 0.5% (5 กิโลกรัม/น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร) นาน 3-5 วัน
2.ใช้ยาออกซีเตตร้าซัยคลินแช่ในอัตรา 10-20 กรัม/น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร ติดต่อกันทุกวันนาน 3-5 วัน
การป้องกัน
1.อนุบาลลูกอ๊อดในความหนาแน่นที่เหมาะสม ตารางเมตรละ 1,000 ตัว
2.คัดไซส์ทุกๆ 2-3 วันต่อครั้ง จนกระทั่งเป็นลูกกบ แล้วอนุบาลให้ได้ขนาด 1-1.5 อัตราความหนาแน่น 250 ตัว/ตารางเมตร จากนั้นจึงปล่อยลูกกบลงเลี้ยงในอัตราตารางเมตรละ 100 ตัว
3. มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ และรักษาความสะอาดของบ่ออนุบาล

2.โรคติดเชื้อแบคทีเรียในระหว่างเลี้ยงเป็นกบเนื้อ

อาการ มีลักษณะเป็นจุดแดงๆ ตามขาและผิวตัว โดยเฉพาะด้านท้องจนถึงแผลเน่าเปื่อยบริเวณปาก ลำตัว และขา ตับมีขนาดใหญ่ขึ้น และมีจุดสีเหลืองซ้อนๆ กระจายอยู่ทั่วไป ไตขยายใหญ่ บางครั้งพบตุ่มสีขาวกระจายอยู่
สาเหตุของการเกิดโรค สภาพบ่อสกปรก ไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ
การรักษา ใช้ออกซีเตตร้าซัยคลินผสมอาหารให้กบกินในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัมต่อวัน กินติดต่อกันจนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือให้กินไม่น้อยกว่าครั้งละ 5-7 วัน

2.1 โรคกบขาแดง


อาการ
 เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผิวหนังสีผิดปกติ เสียการทรงตัว มีจุดเลือดออกตามตัว และมีแผลเกิดขึ้น ขาชักกระตุก และมีผื่นแดงบริเวณโคนขาหลัง เม็ดเลือดมีอาการของโลหิตจาง เลือดแข็งตัวช้า และมีเลือดออกบริเวณอวัยวะภายใน
สาเหตุของการเกิดโรค การติดเชื้อ bact. A. hydrophila, Haemophilus piscium
การรักษา ใช้ยาเตรทตร้าไซคลิน 50-100 mg./น้ำหนักกบ 1 กิโลกรัม (ป้อน) อาจผสมอาหารหรือแช่ก็ได้ (ปริมาณเพิ่มขึ้น)
1.การรักษาความสะอาด
2.ฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ และแยกกบออกจากกัน
3.ฆ่าเชื้อในน้ำด้วยคลอรีน 0.5-1 ppm.

2.2 โรคตาขาว คอเอียง กระแตเวียน บวมน้ำ


สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ฟลาโวแบคทีเรียม เมนิงโกเซพติคุ่ม (Flavobacterium meningosepticum)
อาการ ลักษณะตาขาว ขุ่น บอด เกิดการอักเสบที่ตา มีหนองในช่องหน้าตา มีอาการทางประสาท โดยกบจะนอนหงายท้อง แสดงอาการควงสว่าน คอเอียง กบบางตัวจะบวมน้ำ พบน้ำคั่งใต้ผิวหนัง และมีน้ำในช่องท้อง

การรักษา โรคนี้การรักษามักไม่ค่อยได้ผล โดยเฉพาะในตัวที่ป่วยหนัก ทำได้โดยลดความรุนแรงของโรค โดยแยกตัวป่วยออก และฆ่าเชื้อโรคในบ่อ หรือใช้ยาฆ่าเชื้อ เช่น ไอโอดีน เป็นต้น หรืออาจใช้ด่างทับทิม 5-8 กรัม/น้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร สาดให้ทั่วบ่อติดต่อกัน 3 วัน จากนั้นผสมยาปฏิชีวนะ เช่น เอ็นโรฟล็อคซาซิน กับอาหาร เพื่อป้องกันการติดเชื้อในกบที่เหลือ เลี้ยงกบต่อให้ปริมาณน้อยลงจากเดิม
การรักษาที่แนะนำ ไม่ต้องรักษาให้เปลืองยา เพราะมักจะไม่หาย ต้องยอมขาดทุนบ้าง อย่าเสียดาย โดยให้นำกบทุกตัวในฟาร์มที่ติดโรคไปทำลายทิ้ง จากนั้นให้หยุดเลี้ยงเพื่อตากบ่อไว้สัก 1 เดือน แล้วจึงเริ่มต้นเลี้ยงใหม่อีกครั้ง

การป้องกัน ไม่เลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป มีการพักน้ำและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ ก่อนนำมาใช้ด้วยคลอรีน เปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ

2.3 วัณโรคกบ

สาเหตุ เกิดเชื้อไมโครแบคทีเรีย เมื่อพบการเป็นโรคนี้จะรักษาไม่ค่อยหาย

อาการ กบจะซึม ไม่กินอาหาร พบการตายยกบ่อ 

การรักษา ใช้ยาไรแฟม ผสมในอาหารให้กินติดต่อกัน 3-5 วัน หรือถ้าอาการไม่ดีต้องกำจัดทิ้งยกบ่อ และใช้ยาฆ่าเชื้อล้างทำความสะอาด ก่อนกลับมาเลี้ยงอีกครั้ง

ลักษณะความสากข้างต้วกบตัวเมียพร้อมผสมพันธู์ ปลอด โรคของกบ
ลักษณะความสากข้างต้วกบตัวเมียพร้อมผสมพันธู์ ปลอด โรคของกบ

การเพาะพันธุ์กบ

คุณเอกใช้ความใหม่ เรียนรู้พฤติกรรมของกบตามที่ได้ศึกษาจากญาติๆ ที่เลี้ยงอยู่ก่อนแล้ว เมื่อกบโตได้ขนาดก็จัดหาตลาดเอง โดยการสอบถามความต้องการจากเจ้าของร้านอาหารแนะนำให้ ปีแรกถือว่าประสบความสำเร็จได้กำไรหลายหมื่นบาท คุณเอกใช้ทุนกำไรที่ได้ในรอบแรกมาต่อเติมและขยายบ่อเลี้ยง จาก 4 บ่อ เป็น 7 บ่อ ในเวลา 1 ปี ที่เลี้ยงกบ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณเอกจะคัดเลือกกบตัวเมีย กบที่มีอายุ 1 ปี กบตัวผู้อายุ 8 เดือน หรือที่สังเกตเห็นว่าตัวโต สมบูรณ์กว่าพวก เลี้ยงแยกไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ใช้เองในฟาร์ม การดูแม่พันธุ์ที่พร้อมจะดูบริเวณข้างๆ ท้องจะสากเหมือนกระดาษทราย นั่นคือกบพร้อมแล้ว พอตกเย็นก็เติมน้ำเข้าบ่อประมาณ 5-7 เซนติเมตร แล้วปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้ผสมพันธุ์กันเอง รุ่งเช้าจึงจับพ่อแม่พันธุ์แยกออกจากไข่ในบ่อเพาะ เขี่ยไข่ให้กระจายทั่วบ่อ ป้องกันไข่ฝ่อ ไข่ที่ฟักจะต้องใช้แสงแดดประมาณ 24 วัน ก็ฟักออกเป็นตัว

3.อาหารที่ใช้ปั้นก้อนอนุบาลลูกอ๊อด
3.อาหารที่ใช้ปั้นก้อนอนุบาลลูกอ๊อด
ลูกอ๊อด
ลูกอ๊อด

การให้อาหารลูกอ๊อด

อาหารแล้วแต่ความชอบ ในส่วนของคุณเอกจะใช้อาหารเม็ดเล็กไฮเกรดของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ผสมกับน้ำ แล้วนำมาบดปั้นเป็นก้อน โยนใส่กระเบื้อง แผ่นละหนึ่งก้อน ให้กินเช้า-เย็น เทคนิคนี้จะให้ลูกอ๊อดกินอาหารปั้นก้อน 4 วัน แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารเม็ดขนาดใหญ่ขึ้น ตามขนาดปากของกบ จากลูกอ๊อดถ้าอนุบาลในบ่อปูนจะใช้เวลาประมาณ 19 วัน เริ่มออกขา

4.กบอายุ-2-เดือน
กบอายุ-2-เดือน

การบริหารจัดการบ่อเลี้ยงกบ

น้ำ สำหรับเกษตรกรมือใหม่อาจจะยังขาดประสบการณ์ จากที่ตั้งฟาร์มของคุณเอกเคยทำสวนมาก่อน แหล่งน้ำธรรมชาติที่ดึงมาใช้จะมีช่วงเวลาน้ำทะเลหนุน กบไม่ถูกกับน้ำเค็ม เจอปัญหาการตาย แต่ถ้าเป็นน้ำธรรมชาติจำเป็นต้องผ่านการฆ่าเชื้อก่อนใช้น้ำ ส่วนน้ำบาดาลจะต้องนำขึ้นมาพักอย่างน้อย 2 วัน เหตุผลเพราะน้ำบาดาลไม่มีออกซิเจน ถ้าใช้น้ำบาดาลลูกอ๊อดหรือกบที่เลี้ยงจะเจอโรคท้องบวม น้ำบาดาลบางที่ความเป็นกรด-ด่างสูง ต้องปรับสภาพน้ำ ฆ่าเชื้อก่อนนำไปใช้

5.บ่อเลี้ยงกบ
บ่อเลี้ยงกบ

สภาพพื้นที่เลี้ยงกบ

การเลี้ยงกบไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงกบบ่อปูน บ่อดิน หรือกระชัง จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของ เงินลงทุน บ่อปูนต้นทุนจะสูง แต่สะดวกและง่ายในเรื่องการจัดการ ส่วนบ่อดินในกระชังจะได้เปรียบในเรื่องการโต ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละราย เมื่อบ่อพร้อม น้ำพร้อม อัตราปล่อยที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 100 ตัว/ตารางเมตร ให้อาหารทุกวัน เช้า-เย็น ระหว่างการเลี้ยงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ รักษาความสะอาดในบ่อ

6.ยาปฏิชีวนะที่ใช้เพื่อป้องกันโรค
ยาปฏิชีวนะที่ใช้เพื่อป้องกัน โรคของกบ โรคของกบ โรคของกบ โรคของกบ โรคของกบ โรคของกบ โรคของกบ

 

สำหรับเกษตรกร หรือผู้สนใจ ที่ประสบปัญหากบที่เลี้ยงเป็น โรคของกบ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณจักรกฤษณ์ กลิ่นสุคนธ์ ได้ที่ 24/2 หมู่ 10 ต.ลำผักชี เขตหนองจอก กรุงเทพฯ