การปลูกผักกูด …พืชดาวรุ่ง เก็บขายทุกวัน ทำกำไรสูง 40,000 บาท ต่อเดือน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ประเทศไทยมีความหลากหลายทางพันธุ์พืชสูงมาก คนไทยในอดีตจึงรู้จักใช้ประโยชน์จากพืชพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วไปรอบๆ ถิ่นที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะการนำมาใช้รับประทานเป็นผัก และยารักษาโรค ความรู้เรื่องการลองผิดลองถูก ได้สะสมและถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังกลายเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น พืชผักที่นำมารับประทานจึงนิยมเรียกว่า “ผักพื้นบ้าน” ซึ่งมีมากมายหลายชนิด มีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพท้องถิ่น

“ผักพื้นบ้าน” หมายถึง พืชผักที่มีตามธรรมชาติ ขึ้นตามที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ตามเนินขา และรอบๆ ที่อยู่อาศัย เป็นผักที่หาง่าย และราคาถูก แต่ในปัจจุบันเกษตรกรเริ่มหันมาปลูกผักพื้นบ้านเป็นพืชเศรษฐกิจกันมากขึ้น เพราะดูแลง่าย และมีผู้บริโภคต้องการกันเป็นจำนวนมาก ด้วยคุณค่าทางโภชนาการเป็นยารักษาโรค ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อได้รับประทานเข้าไป

1.ต้นผักกูด
1.ต้นผักกูด

ลักษณะของต้นผักกูด

เมื่อกล่าวถึง “ผักกูด” คนรุ่นใหม่น้อยคนนักที่จะคุ้นเคยและรู้จัก หรือได้รับประทานผักชนิดนี้กัน แต่ก็ยังเป็นที่รู้จักในหมู่ผู้ที่รักสุขภาพนิยมนำมารับประทานเพื่อให้ประโยชน์ต่อร่างกาย

“ผักกูด” เป็นชื่อของผักพื้นบ้านที่อยู่ในตระกูลเฟิน ซึ่งสามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้ นิยมนำยอดอ่อนและใบอ่อนมาปรุงอาหาร หรือลวกจิ้มน้ำพริก โดยมีสรรพคุณแก้ไข้ ตัวร้อน พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต และความดันโลหิตสูง เป็นต้น

ลักษณะใบจะเป็นแผงรูปขนนกคู่ขนานกัน ใบอ่อนปลายยอดจะม้วนงอแบบก้นหอย ส่วนตรงที่เป็นสปอร์ซึ่งอยู่ด้านหลังใบที่แก่จัด จะทำให้ต้นผักกูดมีการขยายพันธุ์รวดเร็ว โดยการแตกกอใหม่

2.คุณธนพร-เอี่ยมสมัย-และคุณพูนผล-ศรีสุขแก้ว-เจ้าของสวนผักกูด
2.คุณธนพร-เอี่ยมสมัย-และคุณพูนผล-ศรีสุขแก้ว-เจ้าของสวนผักกูด

สภาพพื้นที่การปลูกผักกูด

ปัจจุบัน การปลูกผักกูด ยังไม่แพร่หลายมากนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผักชนิดนี้จะเจริญเติบโตได้ดีและสมบูรณ์เฉพาะบริเวณที่ขึ้นริมน้ำ รวมถึงด้านการขนส่งที่ต้องเก็บความชื้นอย่างดี เพื่อให้ผักมีสภาพสมบูรณ์ สด ใหม่ เมื่อถึงมือลูกค้า ฉะนั้นน้อยคนนักที่จะรู้จักและเคยรับประทานผักชนิดนี้ เพราะตามท้องตลาดทั่วไปมักพบเห็นเป็นจำนวนน้อย นอกจากแหล่งที่มีการปลูกที่สามารถหาซื้อได้ง่าย เพราะมีผู้บริโภคที่รู้จักและนิยมรับประทาน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แหล่งปลูกผักกูดที่สำคัญในประเทศไทย คือ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยเฉพาะริมแม่น้ำเพชรบุรีเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ชาวบ้านหันมายึดอาชีพปลูกผักกูดจำหน่าย

คุณธนพร เอี่ยมสมัย และคุณพูนผล ศรีสุขแก้ว สองสามี-ภรรยา เจ้าของสวนผักกูดในพื้นที่ 7 ไร่ ซึ่งถือว่าเป็นเกษตรกรผู้ปลูกผักกูดรายใหญ่ในอำเภอแก่งกระจานเลยก็ว่าได้ แต่กว่าจะได้มาเป็นสวนผักกูดในทุกวันนี้ ทั้งสองต้องลองผิดลองถูกในการนำผักกูดจากป่ามาปลูกในพื้นที่ของตน จนสามารถเก็บผลผลิตจำหน่ายได้เป็นกอบเป็นกำ สร้างอาชีพเกษตรกรรมให้ยั่งยืนต่อไปได้

คุณธนพรผู้เป็นภรรยาเล่าให้ ทีมงานพืชสุขภาพ ฟังว่า เดิมทีไม่คิดจะปลูกผักกูดเป็นอาชีพ แต่ด้วยความชอบรับประทานผักกูด เพราะมีเพื่อนบ้านนำมาให้ทดลองรับประทาน และติดใจในรสชาติ สมัยก่อนไม่มีใครปลูก ต้องไปเก็บตามริมแม่น้ำเพชรบุรีมาขาย

เมื่อซื้อรับประทานบ่อยๆ เข้า จึงคิดไปหาต้นผักกูดในป่าเพื่อมาปลูกเองบ้าง ตอนนั้นได้ต้นพันธุ์มาประมาณ 2-3 ถุงปุ๋ย แล้วนำมาลงปลูกภายในสวนของตน แต่ช่วงนั้นไม่ได้ดูแลเอาใจใส่ผักกูดอะไรมากนัก เพราะในสวนที่ต้องดูแลหลักๆ จะเป็นมะนาว และกล้วย แต่ต่อมาภายหลังมีปัญหาเรื่องของการทำสวนมะนาวหลายอย่าง จนต้องเลิกปลูกแล้วหันกลับมาปลูกผักกูดแทน

เนื่องด้วยภายในครอบครัวชอบรับประทานผักกูด แต่เวลาบริโภคจะต้องไปหาซื้อตามตลาด พอได้พันธุ์ผักกูดจากป่ามาปลูกจึงประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักกูดมารับประทาน ซึ่งตอนแรกสองสามี-ภรรยาตั้งใจปลูกผักชนิดนี้ไว้เพื่อรับประทานในครัวเรือน

แต่พอผักกูดมีจำนวนมาก รับประทานกันในครอบครัวไม่ทัน จึงนำผักกูดมาฝากเพื่อนบ้านขายกำละ 5 บาท ช่วงนั้นอาทิตย์ละ 2 วัน ได้วันละประมาณ 100 บาท บวกกับมีรีสอร์ทเข้ามาติดต่อขอซื้อเพื่อไปประกอบอาหารให้กับลูกค้าที่เข้ามาพัก จึงทำให้มีรายได้เข้ามามากขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จนต้องปลูกขยายเพิ่ม และหาฐานตลาดเพื่อมารองรับผลผลิตที่จะเกิดขึ้นมาอีกด้วย ตั้งแต่นั้นมานับเป็นเวลา 7 ปี ที่คุณธนพรและคุณพูนผลยึด การปลูกผักกูด เป็นอาชีพเกษตรกรรมเรื่อยมา

“ทดลองทีแรกไม่คิดว่าจะปลูกเป็นอาชีพหรอก เพราะชอบกิน ตอนที่เพื่อนบ้านเอามาให้ลองตอนนั้นไม่มีใครปลูกหรอก เขาไปเก็บตามแม่น้ำเพชรบุรี เมื่อก่อนจะขึ้นเยอะ พอเพื่อนบ้านเก็บมาขายก็ไปซื้อมาทำยำ ผัดกระเพรา กิน พอซื้อบ่อยๆ เข้าก็เลยคิดอยากนำมาปลูกเพื่อเอาไว้กินในครอบครัว พอปลูกไว้ประมาณ 1 ปี ก็ปล่อยทิ้งปล่อยขว้างไม่ได้ดูแล เพราะดูมะนาวกับกล้วยเป็นหลัก

แต่ผักกูดจะแตกหน่ออยู่ตลอด พอเหลือจากที่กินก็ฝากเพื่อนบ้านไปขายบ้าง ตอนนั้นที่แก่งกระจานมีรีสอร์ทเกิดขึ้นมาเยอะ มีติดต่อมาซื้อผักกูดของเราประมาณ 4-5 เจ้า จึงทำการขยายปลูกเพิ่มเพราะขายดี จนยึดอาชีพปลูกผักกูดขายมาโดยตลอด” คุณธนพรกล่าว

3.การให้น้ำระบบสปริงเกลอร์
3.การให้น้ำระบบสปริงเกลอร์

การปลูกและบำรุงดูแลผักกูด

ถ้าต้องการปลูกให้ได้ปริมาณมากเพื่อการค้าจะสามารถทำได้ง่ายๆ โดยใช้สปอร์และเหง้ามาปลูก เช่นเดียวกับการปลูกต้นเฟิน ดินที่เหมาะสมใน การปลูกผักกูด คือ ดินทราย หรือดินร่วนปนทราย ก็ได้ แต่ถ้าเป็นดินเหนียวผักกูดจะเจริญเติบโตช้า เพราะรากจะชอนไชได้ยาก ไม่เหมือนดินทรายที่มีความโปร่ง รากผักกูดจึงเจริญเติบโตดี และหาอาหารได้ง่าย

ส่วนดินที่ไม่ควรนำมาปลูกผักกูด คือ ดินลูกรัง ดินชนิดนี้จะมีหินปะปนผสมอยู่ด้านใน เมื่อปลูกผักกูดดินจะร้อนกว่าดินชนิดอื่น ถึงจะรดน้ำอย่างไรก็ไม่เป็นผล จะทำให้ผักกูดไม่เจริญเติบโต หรือตายไปในที่สุด

การเตรียมดิน ควรใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก เช่น ขี้วัว ขี้ไก่แกลบ มาผสมดินที่ใช้ปลูก หรืออาจนำมาหว่านบริเวณที่ต้อง การปลูกผักกูด นำพันธุ์ผักกูดที่เตรียมไว้มาปลูก โดยนำดินมากลบพอมิด จากนั้นรดน้ำให้ชุ่มมากๆ ห้ามปลูกต้นผักกูดลึกจนเกินไป เพราะจะทำให้รากออกยาก หรือไม่ออกเลย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ผักกูดจะเป็นผักที่มีการเจริญเติบโตที่ดี แตกต้นอ่อนง่าย เมื่อปลูกใหม่ๆ ควรรดน้ำทุกวัน ก็จะทำให้ต้นผักกูดแตกต้นอ่อนดียิ่งขึ้น และควรเว้นระยะระหว่างต้นไว้ประมาณ 1 ศอก และไม่ควรปลูกถี่มากเกินไปนัก เพราะต้นจะเบียดกันเกินไปเวลาที่ผักกูดแตกกอออกมา

ระบบน้ำ สิ่งที่สำคัญที่สุดใน การปลูกผักกูด และขาดไม่ได้นอกจากสภาพพื้นดินที่มีความร่วนซุยแล้วคงจะหนีไม่พ้นการให้น้ำ เพราะผักกูดเป็นพืชที่ชอบขึ้นตามแหล่งน้ำ ดังนั้นเมื่อเรานำมาปลูกการให้น้ำต้องเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ ถ้าพื้นที่ใดขาดน้ำหรือมีแหล่งน้ำไม่เพียงพอ ก็ไม่เหมาะสมสำหรับ การปลูกผักกูด เพื่อการค้า เพราะนอกจากผักกูดจะไม่เจริญเติบโตแล้ว การลงทุนอาจจะเสียเปล่าได้

ส่วนผักกูด คุณธนพรจะใช้ระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ โดยวางระยะห่างกว้าง 4 เมตร ยาว 4 เมตร 1 ไร่ จะเสียค่าใช้จ่ายในการทำระบบน้ำแบบสปริงเกลอร์ประมาณไม่เกิน 4,000 บาท ส่วนการรดน้ำควรรดวันละครั้ง เพราะผักกูดจะขาดน้ำไม่ได้ ต้องมีความชื้นอยู่ตลอดเวลา ถึงจะมีการแตกยอดกับใบอ่อนเพื่อให้เก็บผลผลิต

การให้ปุ๋ย เนื่องจากมี การปลูกผักกูด จำนวนมาก และเพื่อความปลอดภัยและใส่ใจกับผู้บริโภค คุณธนพรและคุณพูนผลจึงใช้แต่ปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอกจากขี้วัว ขี้ไก่ โดยใช้วิธีหว่านให้ทั่วพื้นที่ปลูกผักกูด แล้วพ่นน้ำตาม เพื่อให้รากผักกูดดูดสารอาหารได้เร็วขึ้น

“การดูแลผักกูดไม่มีอะไรมาก มันเป็นผักอยู่กับธรรมชาติ ปลูกง่าย รอดง่าย แต่สิ่งสำคัญก็คือ “น้ำ” เพราะผักกูดชอบความชื้น ยิ่งได้น้ำเยอะก็จะยิ่งแตกยอดเยอะตามไปด้วย ดินก็มีส่วนสำคัญตามมา ผักกูดจะชอบดินทรายถึง 70% ไม่ชอบดินเหนียว

ถ้าเป็นดินลูกรังยิ่งปลูกยาก เพราะเป็นดินร้อน มีหินปน ถึงจะรดน้ำอย่างไรก็ไม่เกิดประโยชน์ นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก จะทำให้ผักกูดปลอดจากสารพิษ คนกินก็ปลอดภัย แถมผักกูดยังมีประโยชน์หลายอย่างอีกด้วย” คุณธนพรเล่าถึงการดูแลผักกูด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โรคและแมลงในผักกูด ตั้งแต่คุณธนพรปลูกผักกูด แมลงศัตรูพืชที่พบ และสร้างความเสียหาย ส่วนใหญ่จะเป็นเพลี้ยไฟ ซึ่งจะเจอเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง แต่ไม่ได้สร้างความ เสียหายมากมายเพียงใดนัก เมื่อพบเจอจึงนำสารกำจัดแมลงมาฉีดพ่นบริเวณนั้น หรือฉีดคุมป้องกันเพื่อไม่ให้แพร่ขยายพันธุ์ต่อไป

4.ต้นพันธุ์มีจำหน่ายพร้อมส่งทางไปรษณีย์
4.ต้นพันธุ์มีจำหน่ายพร้อมส่งทางไปรษณีย์

การขยายพันธุ์ผักกูด

ผักกูดเป็นชื่อของผักชนิดหนึ่งที่อยู่ในตระกูลเฟิน อยู่ในวงศ์ Athyriaceae และมีชื่อที่ใช้เรียกเป็นต่างประเทศว่า Small Vegetable ferm มีลำต้นเป็นเหง้า แบบตั้งตรง ก้านใบ และใบปกคลุมด้วยเกล็ด สีน้ำตาลดำ ก้านใบมีสีออกดำ ใบมีสีเขียวอ่อน

เมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม ขอบใบหยักฟันเลื่อย โดยใบจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามอายุของต้น ต้นที่มีอายุน้อยมักพบใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว ขณะที่ต้นที่มีอายุมากสามารถพบใบประกอบแบบขนนกสองชั้น

สายพันธุ์ของผักกูดที่ถูกค้นพบนั้นมี 3 ชนิด แตกต่างกัน เพียงสีของต้นและลักษณะใบแค่เล็กน้อยเท่านั้น แต่สามารถรับประทานได้ทั้ง 3 ชนิด ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าผักกูดเป็นผักบอกสภาวะแวดล้อมให้คนรู้ว่าบริเวณไหนอากาศดี หรือไม่ดี ลักษณะดินตรงบริเวณนั้นความสมบูรณ์หรือไม่ ถ้ามีสารเคมีเจือปนอยู่ผักกูดจะไม่ยอมขึ้น หรือแตกต้น ในบริเวณนั้นเด็ดขาด ผักกูดจึงถือได้ว่าเป็น “อาหารพิเศษ” อย่างหนึ่งจากธรรมชาติ

ส่วนไหนของผักกูดที่นำไปปรุงอาหารได้? คำตอบก็คือ ส่วนของ “ฟรอนด์” (Frond) แล้วฟรอนด์คืออะไร ฟรอนด์ คือ ก้านใบใหม่ที่โผล่จากลำต้น มีส่วนปลายม้วนงอ และปลายจะค่อยพัฒนาไปเป็นใบอ่อนและใบแก่ตามลำดับ ดังนั้นผักกูดที่ขายตามท้องตลาดก็คือ ฟรอนด์ หรือที่เราเรียกว่า ยอด นั่นเอง

สำหรับการขยายพันธุ์ของผักกูดจะสามารถขยายพันธุ์ได้ทั้งสปอร์และการแยกเหง้า

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สปอร์ จะเป็นส่วนที่สร้างขึ้นบริเวณด้านหลังใบ ตามแนวเส้นใบเกิดขึ้นเกือบตลอดความยาวของเส้นใบย่อย เมื่อสปอร์ยังอ่อนจะมีสีขาว แต่เมื่อเริ่มแก่จะมีสีน้ำตาล หรือดำ จากนั้นสปอร์ที่แก่เต็มที่แล้วจะแตกฟูปลิวตามลมเพราะมีน้ำหนักเบา เมื่อสปอร์ตกลงสู่ดินและสภาพแวดล้อมเหมาะสม เช่น มีความชื้น ก็จะทำให้เกิดต้นอ่อนของผักกูดขึ้นมาพร้อมที่จะเจริญเติบโตต่อไป

เหง้า หรือเรียกว่า รากฝอย ของต้นที่เกิดใหม่จากต้นแม่ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ๆ สามารถแยกต้นใหม่มาปลูกขยายพันธุ์ต่อไปได้ และเป็นวิธีที่เกษตรกรผู้ปลูกผักกูดนิยมขยายพันธุ์กัน เพราะจะได้ผลผลิตเร็วกว่าการใช้สปอร์ และง่ายต่อการปลูกต้นพันธุ์

“ผักกูดเป็นตระกูลเดียวกับต้นเฟิน ซึ่งจะมีหน่อหรือเหง้าแยกออกเยอะแยะมาก เราก็นำตรงนั้นแหละมาขยายพันธุ์ต่อ ตรงนี้จะปลูกทุกปี ตรงไหนมีพื้นที่ว่างก็จะนำผักกูดมาปลูกขยายพันธุ์ไปเรื่อยๆ ตอนช่วงเวลาเย็นๆ มีเวลาว่างซัก 1-2 ชั่วโมง ก็ใช้เวลาช่วงนั้นปลูกกัน” คุณธนพรกล่าว

เมื่อมีการปลูกเพิ่มเติมควรดูแลเอาใจใส่บริเวณที่ปลูก ต้องคอยหมั่นดูแลและดึงวัชพืชทิ้ง แต่ห้ามใช้มีดฟัน เพราะอาจไปโดนต้นอ่อนที่กำลังแตกออกมา ทั้งนี้ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งสามารถเก็บผลผลิตได้ก็อยู่ที่ประมาณ 4-6 เดือน

นอกจากจะมีต้นพันธุ์เพื่อมาขยายพันธุ์ภายในสวนของตนแล้ว ต้นพันธุ์ที่ขึ้นอยู่ตลอดเวลายังสามารถนำมาจำหน่ายให้กับผู้ที่สนใจปลูกได้อีกด้วย โดยจำหน่ายต้นละ 5 บาท แถมยังมีวิธีการแนะนำการปลูกให้อีกด้วย โดยที่ลูกค้าที่ซื้อต้นพันธุ์ไปก็สามารถโทรมาปรึกษาปัญหาได้ตลอดเวลา

5.ทำสแลนเพื่อเอาไว้ให้ร่มเงากับต้นผักกูด
5.ทำสแลนเพื่อเอาไว้ให้ร่มเงากับต้นผักกูด

การบริหารจัดการสวนผักกูด

ผักกูดต้องการความชื้นค่อนข้างสูงสำหรับการเจริญเติบโต และการแพร่กระจายพันธุ์ในสภาพธรรมชาติ จึงพบผักกูดได้ตามที่ชื้นแฉะของทุกภาคในประเทศไทย การนำผักกูดมาปลูกเป็นการค้าจึงต้องจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต ก็จะสามารถปลูกได้ทุกภูมิภาคของประเทศไทย คือ สภาพแปลงปลูกควรมีแสงแดดรำไร หรือมีการพรางแสง และมีแหล่งน้ำตลอดฤดูกาลเพาะปลูก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

รูปแบบของการพรางแสงสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1.การปลูกร่วมกับพืชชนิดอื่น เพื่อช่วยพรางแสงให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของผักกูด โดยพืชที่นำมาปลูกร่วมกับผักกูดควรเป็นพืชที่ชอบน้ำ การให้น้ำไม่มีผลกระทบต่อการออกดอกและการติดผลของพืชชนิดนั้น เช่น กล้วย และไม้ผลยืนต้น เป็นต้น

“ที่สวนผักกูดจะปลูกกล้วยเล็บมือนาง ปาล์มน้ำมัน และทำสแลนเพื่อเอาไว้ให้ร่มเงากับต้นผักกูด เพราะผักกูดปลูกเอาไว้กลางแจ้งไม่ได้ แถมยังมีรายได้จากกล้วยเล็บมือนางไปขายได้อีกด้วย ปาล์มน้ำมันก็กำลังจะเก็บผลผลิตได้ ฉะนั้นพืชต่างๆ ที่ปลูกภายในสวนก็สามารถเก็บผลผลิตทำเงินได้ทั้งนั้น และยังเอื้อประโยชน์ต่อกันได้อีก แต่รายได้หลักส่วนใหญ่จะเป็นผักกูด เพราะเก็บได้ทุกวัน” คุณธนพรเล่าถึงประโยชน์ของการปลูกพืชพรางแสง

2.การใช้สแลน การปลูกภายใต้ร่มเงาตาข่ายพรางแสง หรือสแลน ควรเลือกสแลนที่สามารถพรางแสงได้ตั้งแต่ 50-80% หากต่ำกว่านี้จะทำให้การเจริญเติบโตและผลผลิตไม่ดี หรืออาจทำให้เกิดใบไหม้ได้ในช่วงที่แสงแดดร้อนจัด แต่ถ้าหากพรางแสงมากเกินไปจะทำให้มีผลกระทบต่อการให้ผลผลิต

ผักชนิดนี้สามารถปลูกได้ในหลายพื้นที่ แต่สิ่งสำคัญควรให้น้ำอย่างเต็มที่ และควรหาร่มเงาให้ด้วย ส่วนความสมบูรณ์ของดินที่มีความเหมาะสมนั้นควรเป็นบริเวณพื้นที่เป็นดินทรายสัก 70% และช่วงหน้าฝนเป็นช่วงที่มีผักกูดมาก เมื่อผักกูดถูกฝนจะแตกยอดอ่อนกันอย่างสะพรั่ง เพราะเป็นช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูงมาก ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของผักชนิดนี้

6.การปลูกผักกูด และ การเก็บผักกูด
6.การปลูกผักกูด และ การเก็บผักกูด

การเก็บเกี่ยวผลผลิตผักกูด

เกณฑ์การเก็บผักกูด จะต้องเลือกเก็บยอดอ่อนๆ ถ้ามีใบแก่หรือใบที่ไม่สวยก็นำมารูดหรือเด็ดทิ้ง การเก็บผักกูดต่อครั้งไม่ควรเก็บเยอะ ให้เก็บสักประมาณ 1-2 กิโลกรัม ต่อกำมือ เพื่อไม่ให้ยอดของผักกูดที่เก็บช้ำ เด็ดยอดให้ความยาวจากปลายถึงโคนประมาณ 30-40 เซนติเมตร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลังจากเก็บผักกูดจากต้นแล้วให้มัดเป็นมัดๆ แล้วนำมาแช่น้ำทันที จากนั้นใช้ผ้ามาคลุมไว้ ควรแช่น้ำประมาณ 5 นาที ห้ามแช่นานเกินเพราะผักจะสุก มีสีแดง จากนั้นให้นำขึ้นมาวางเรียงกัน อาจใช้ผ้าชุบน้ำบิดพอหมาดคลุมผักกูดไว้อีกที เพื่อไม่ให้ผักกูดเหี่ยวเฉา ทำให้ขายไม่ได้

คุณธนพรอธิบายให้ทีมงานฟังว่า แต่ละต้นที่เก็บยอดอ่อนที่ใช้งานออกไปแล้ว ยอดที่อยู่ติดกันซึ่งมีลักษณะโค้งงอจะเป็นยอดที่จะสามารถเก็บได้ในครั้งต่อไปอีกราว 3-4 วัน ดังนั้นผักกูดแต่ละยอดในแต่ละต้นจะเก็บเว้นระยะเวลา 3-4 วัน แต่ไม่ควรเลยวันที่ 5 เพราะจะบาน รับประทานไม่ได้ แต่ละต้นจะมีใบประมาณ 5 ใบ ถ้าพบใบแก่หลายใบ เช่น มีจำนวนถึง 10 ใบ

ควรตัดหรือหักทิ้ง การตัดใบแก่ทิ้งเพื่อปล่อยให้ยอดอ่อนที่กำลังงอกออกมาเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ตัดใบแก่ทิ้งจะทำให้ยอดแตกช้า และมีขนาดเล็ก ทำให้เก็บจำหน่ายไม่ได้

ในแต่ละอาทิตย์ คุณธนพรและคุณพูนผลจะเก็บยอดผักกูดได้อาทิตย์ละ 200-300 กิโลกรัม หรือมากกว่านั้น แล้วแต่ช่วงฤดูกาล หรือตามออเดอร์ที่แม่ค้า พ่อค้า สั่ง โดยจะขายอยู่หน้าสวนประมาณ 50-80 บาท ต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับว่าผักกูดมีปริมาณมากน้อยเพียงใด ซึ่งการเก็บผักกูดของที่นี่ก็จะสามารถเก็บได้ทุกวัน เพราะปริมาณของต้นผักกูดมีจำนวนมาก จึงทำให้ผลัดเปลี่ยนการงอกของยอดมีปริมาณที่มากขึ้นด้วย

7.ขายกำละ-50-บาทต่อ-1-กิโลกรัม
7.ขายกำละ-50-บาทต่อ-1-กิโลกรัม

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผักกูด

สำหรับตลาดจำหน่ายผักกูดของคุณธนพรจะมี 3 แหล่ง ด้วยกัน คือ ร้านอาหารรีสอร์ท แม่ค้า พ่อค้า ในตลาด และตลาดในกรุงเทพฯ ซึ่งรวมผลผลิตของผักกูดที่เก็บได้นั้นไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 250 กิโลกรัม หรือเดือนละไม่ต่ำกว่า 1 ตัน ทำให้มีรายได้เข้ากระเป๋าไม่น้อยกว่า 40,000 บาท ต่อเดือน

ราคาจำหน่ายจากสวนไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงเท่าใดนัก ราคาจะทรงตัวเท่าเดิมประมาณ 40-50 บาท ต่อกิโลกรัม แต่อาจมีการปรับขึ้นบ้างในช่วงอากาศหนาว เพราะผักกูดจะแตกยอดช้ามาก ส่วนราคาจำหน่ายตามท้องตลาดจะอยู่ที่ประมาณ 80-100 บาท ต่อกิโลกรัม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในช่วงแรกที่ทำการขายผักกูดเพราะผลผลิตที่ออกมามีจำนวนมากเกินที่จะรับประทานได้หมด จึงนำมาฝากเพื่อนบ้านขายกำละ 5 บาท หลังจากนั้นราคาก็ขึ้นมาเรื่อยๆ อยู่ 25 บาท 30 บาท จนถึงปัจจุบัน 50 บาท ต่อกิโลกรัม สมัยก่อนคุณธนพรยังมีผลผลิตของผักกูดน้อย จึงไม่กล้ารับออเดอร์มาก ก็แค่ส่งละแวกแถวอำเภอแก่งกระจานเท่านั้น แต่ภายหลังที่ได้มีการขยายพื้นที่ปลูกแล้วสามารถเพิ่มจำนวนต้นขึ้นมาอีก จึงเริ่มรับออเดอร์การสั่งซื้อผักกูดจากพ่อค้า แม่ค้า ในกรุงเทพฯ ซึ่งผลตอบรับก็ดีเกินคาด ทำให้ต้องมีการเก็บผลผลิตทุกวัน เพราะมีออเดอร์สั่งซื้อ ทั้งในรีสอร์ท พ่อค้า แม่ค้า มารับซื้ออยู่ตลอด ดังนั้นจึงมีรายได้จากการเก็บผักกูดขายทุกวัน

แต่ภายหลังที่ได้มีการขยายพื้นที่ปลูกแล้วสามารถเพิ่มจำนวนต้นขึ้นมาอีก จึงเริ่มรับออเดอร์การสั่งซื้อผักกูดจากพ่อค้า แม่ค้า ในกรุงเทพฯ ซึ่งผลตอบรับก็ดีเกินคาด ทำให้ต้องมีการเก็บผลผลิตทุกวัน เพราะมีออเดอร์สั่งซื้อ ทั้งในรีสอร์ท พ่อค้า แม่ค้า มารับซื้ออยู่ตลอด ดังนั้นจึงมีรายได้จากการเก็บผักกูดขายทุกวัน

นอกจากคุณธนพรและคุณพูนผลที่ปลูกสวนผักกูดแล้ว ยังมีเกษตรกรที่ปลูกผักชนิดนี้อีกนับ 10 ราย ในพื้นที่แก่งกระจาน แต่ของคุณธนพรนับเป็นรายใหญ่ระดับต้นๆ เพราะมีพื้นที่ปลูกผักกูดเยอะที่สุดในละแวกนั้นประมาณ 7 ไร่ ทำให้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่พ่อค้า แม่ค้า ที่มารับซื้อผลผลิต ไม่ว่าช่วงไหนก็ตามจะมีผลผลิตผักกูดให้จำหน่ายอยู่เสมอ

8.รสจืดอมหวาน-กรอบ-นุ่ม-มีเส้นใยกากมาก
8.รสจืดอมหวาน-กรอบ-นุ่ม-มีเส้นใยกากมาก

คุณค่าทางโภชนาการของผักกูด

ในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม จะให้พลังงาน 19 กิโลแคลอรี มีเส้นใย 14 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม เหล็ก 36.3 มิลลิกรัม นอกจากนี้ยังมีวิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี และไนอาซิน ค่อนข้างสูง

ผักกูดจะมีรสจืดอมหวาน กรอบ นุ่ม เป็นผักที่มีเส้นใยกากมาก ทำให้ระบบขับถ่ายดี เก็บยอดอ่อนและใบอ่อนนำมาลวกหรือต้มให้สุก ใช้เป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริกตาแดง น้ำพริกต่างๆ หรือแม้กระทั่งจะนำไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง เช่น ยำ ผัด ต้มกะทิ แกงจืด แกงเลียง แกงส้ม รวมกับผักชนิดต่างๆ เมนูอาหารผักกูดที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ ยำผักกูด ผักกูดผัดน้ำมันหอย ไข่เจียวผักกูด แกงจืดผักกูดหมูสับ เป็นต้น สามารถทำรับประทานได้ง่าย หรือจะลองดัดแปลงเป็นเมนูอื่นๆ อีกก็ได้ตามใจชอบของผู้บริโภคได้เลย

ชาวบ้านส่วนใหญ่จะนำใบอ่อน ยอดอ่อน มาแกงกับปลาน้ำจืด หรือลวกจิ้มน้ำพริกชนิดต่างๆ นำมาทำยำผักกูด หรือผัดน้ำมันหอย แกงกะทิกับปลาย่าง ลวกกะทิ ไม่นิยมกินสดๆ เพราะจะมียางเป็นเมือกๆ อยู่ที่ก้าน แม้จะเก็บใบสดไว้ในตู้เย็นเก็บได้ 2-3 วัน ก็จะเป็นเมือก ควรเก็บใบสดมารับประทานวันต่อวัน จะดีกว่าเก็บมามากๆ และเหลือเอารับประทานในครั้งต่อไป อีกทั้งจะทำให้รสชาติของผักกูดเสียไปอีกด้วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ข้อระวังของผักกูด คือ ไม่ควรรับประทานดิบ เพราะในผักกูดจะมีสารออกซาเลตสูง สารชนิดนี้มีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญหลายชนิดในกระแสเลือด มีผลเสียต่อร่างกาย คือ หากรับประทานเป็นประจำทุกวันในปริมาณมาก ออกซาเลตจะเข้าไปตกผลึกสะสมในไตและกระเพาะปัสสาวะทำให้เป็นนิ่ว ดังนั้นเมื่อจะรับประทานผักกูดควรต้มหรือปรุงให้สุกก่อนเพื่อความปลอดภัยในการรับประทาน

9.เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง-เพิ่มภูมิคุ้มกัน
9.เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง-เพิ่มภูมิคุ้มกัน

สรรพคุณของผักกูด

1.ช่วยเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ

2.ผักกูดอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก และบีตาแคโรทีน การรับประทานผักกูดร่วมกับเนื้อสัตว์จะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ได้ดีขึ้น และยังช่วยบำรุงร่างกายอีกด้วย

3.ใบผักกูดนำมาเป็นต้มน้ำดื่ม จะช่วยแก้ไข้ ตัวร้อน ได้

4.ผักกูดเป็นผักที่มีคุณสมบัติช่วยดับร้อน ทำให้ร่างกายปรับสภาพอุณหภูมิให้เข้ากับฤดูได้

5.ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเม็ดเลือด

โฆษณา
AP Chemical Thailand

6.ช่วยบำรุงโลหิต เนื่องจากผักกูดเป็นผักที่ธาตุเหล็กมากที่สุดเป็นอันดับ 1

7.ช่วยแก้โรคโลหิตจาง

8.ช่วยบำรุงสายตา

9.ช่วยลดความดันโลหิตสูง

10.ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟันได้

11.ผักกูดเป็นผักที่มีเส้นใยอาหารสูงมาก จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นอย่างดี

โฆษณา
AP Chemical Thailand

12.ช่วยขับปัสสาวะ

13.ช่วยแก้พิษอักเสบ

หลายคนอาจจะเห็นแล้วว่าเจ้าผักชนิดนี้มีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย ทั้งคนปลูก และคนบริโภค   หากท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติม หรือสนใจซื้อต้นพันธุ์ไปปลูก ติดต่อได้ที่ คุณธนพร เอี่ยมสมัย และคุณพูนผล ศรีสุขแก้ว 14 หมู่ 6 ต.แก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี 76170 โทร.08-1433-8310

การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด การปลูกผักกูด