การปลูกกุหลาบ ให้งาม รวมเทคนิคการปลูก,พันธุ์.โรค,แมลง และการดูแลรักษา

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกกุหลาบ

กระถางต้นไม้ P&U 336x280

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า “กุหลาบ” คือ ดอกไม้ที่คนทั่วไปนิยมชมชอบอย่างลึกซึ้งจนถึงก้นบึ้งของหัวใจ เป็นดอกไม้ที่แทนความรักให้กับคนวัยหนุ่มสาวได้อย่างแท้จริง เป็นการให้โดยไม่ต้องบอกว่าว่ารักเธอก็ประจักษ์เห็น เพื่อไม่เป็นการตกขบวน ฉบับปฐมฤกษ์ “นิตยสารพลังเกษตร” ขอนำเสนอวิธี การปลูกกุหลาบ

สำหรับท่านเกษตรกรที่สนใจที่จะปลูกในปีนี้ อย่างน้อยก็เพื่อเป็นการรองตลาดที่มีอยู่ในเขตพื้นที่ของแต่ละคนนั่นเอง ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณ  “จีระ โรส เนิสเซอรี่” บริหารโดย คุณจีระ ดวงพัตรา ที่สืบทอดการทำสวนกุหลาบมาจากคุณพ่อที่เสียชีวิตไปเมื่อปีที่ผ่านมา

1.กุหลาบเป็นดอกไม้ที่มีคุณค่าทางจิตใจ
1.กุหลาบเป็นดอกไม้ที่มีคุณค่าทางจิตใจ
2.กุหลาบคือไม้ดอกที่มีสีสันสวยงาม-แตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์
2.กุหลาบคือไม้ดอกที่มีสีสันสวยงาม-แตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์

สภาพพื้นที่ปลูกกุหลาบ

ก่อนอื่นคุณจีระอธิบายถึงวิธีการปลูกว่า การปลูกกุหลาบ ควรยกร่องขุดยกคันดินให้สูงประมาณ 10-12 นิ้ว เพื่อช่วยการระบายน้ำ และช่วยกักเก็บน้ำให้ซึมลงถึงรากง่ายขึ้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญใน การปลูกกุหลาบ ให้งามกุหลาบสามารถปลูกได้ทั้งในดินที่เป็นกรดและด่าง แต่เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ค่อนข้างเป็นกรดเล็กน้อย คือ มี pH อยู่ระหว่าง 6.0-6.5 และควรเป็นดินที่ไม่เคยปลูกกุหลาบมาก่อน 2-3 ส่วน ผสมด้วยปุ๋ยอินทรีย์หมักที่แน่ใจว่าเก่าแล้ว คือ เริ่มสลายแล้ว

ถ้าดินเป็นกรดมาก หรือต่ำกว่า 6.0 ให้เติมธาตุปูน เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมออกไซด์ แคลเซียมไฮดรอกไซด์ หรือโดโลไมท์ หรือใช้ปุ๋ยเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง เช่น แคลเซียมไนเตรท (15-0-0) เป็นต้น ไม่แนะนำให้ใช้แคลเซียมซัลเฟต หรือยิปซั่ม ปรับความเป็นกรดของดิน

เพราะยิปซั่มมีความเป็นกรดอยู่แล้ว ถ้าดินเป็นด่าง มี pH เกิน 7.0 แก้ไขโดยใช้ซัลเฟอร์ หรือ Iron Sulfate หรือ Alumium Sulfate อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือใช้ปุ๋ยเคมีอยู่ในรูปซัลเฟตอื่นๆ แทนก็ได้

เมื่อเตรียมแปลงปลูกแล้ว ขุดหลุมให้ลึกและกว้างไม่น้อยกว่า 12×24 นิ้ว ต่อ 1 ต้น และปลูกห่างกันต้นละ 12-24 นิ้ว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สำหรับกุหลาบกลุ่ม Modern Rose จากนั้นใส่ปุ๋ยกระดูกป่น หรือซุปเปอร์ฟอสเฟต (0-20-0) รองก้นหลุม 1 ช้อนโต๊ะ/ต้น หรือคลุกในแปลงปลูก ถ้าพื้นที่เป็นดินเหนียวจัดควรเพิ่มทรายหยาบอีก 1 ส่วน เพื่อช่วยการระบายน้ำ แล้วพรมน้ำพอชื้น คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้ว จึงนำกิ่งพันธุ์กุหลาบต้นติดตาลงปลูก โดยจัดให้รอยติดตาอยู่เหนือระดับพื้นแปลงปลูกประมาณ 1-2 นิ้ว กลบดินที่โคลนต้นให้กระชับ และรดน้ำให้ชุ่ม

3.สีของดอกกุหลาบสื่อถึงความหมายด้านความรักที่แตกต่างกัน
3.สีของดอกกุหลาบสื่อถึงความหมายด้านความรักที่แตกต่างกัน

การบำรุงดูแลรักษากุหลาบ

ทางด้าน การปลูกกุหลาบ เชื่อว่าเกษตรกรแต่ละท่านย่อมมีความชำนาญที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางด้านภูมิอากาศ และสภาพดินในแต่ละพื้นที่ แต่สิ่งที่สำคัญเพื่อให้ตอบสนองทางด้านการตลาดจะต้องเลือกสายพันธุ์ที่เกษตรแต่ละคนชอบเสียก่อนว่าชอบกุหลาบแบบไหน กุหลาบแต่ละสายพันธุ์มีวิธีการดูแลที่ต่างกัน หากต้องการซื้อสายพันธุ์ที่ตรงตามสายพันธุ์ต่างประเทศ ก็ต้องซื้อจากสวนที่ไว้ใจได้นั่นเอง

4.การปลูกกุหลาบ ในเชิงการค้า
4.การปลูกกุหลาบ ในเชิงการค้า

การให้น้ำและปุ๋ยกุหลาบ

สำหรับวิธีการปลูกต้องปลูกในดินที่ดี พร้อมทั้งมีการระบายน้ำที่ดีด้วย ทำการรดน้ำ ใส่ปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยคอกหรือเคมีอย่างต่อเนื่อง ทางด้านการใส่ปุ๋ยเกษตรกรบางคนจะเน้นใส่ปุ๋ยเคมี เพราะเชื่อว่าปุ๋ยเคมีเป็นอาหารบำรุงต้นกุหลาบอย่างแน่นอน หรือบางคนสามารถใส่ปุ๋ยอินทรีย์ควบคู่กันไปด้วย ก็สามารถให้ผลผลิตได้ดีเช่นกัน ซึ่งอยู่กับความเข้าใจในสภาพดินอย่างแท้จริง

การให้น้ำ กุหลาบเป็นพืชที่ต้องการความชื้นสูง ควรรดน้ำให้ชุ่ม ในช่วงเวลาที่ดีที่สุด ก็คือ ช่วงเช้า และไม่จำเป็นต้องรดน้ำทุกวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพดินที่ปลูกด้วยเช่นกัน พยายามรดน้ำให้โดนใบ เนื่องจากเชื้อโรคที่อยู่ตามใบหรือกิ่งจะแพร่ระบาดได้ง่าย ถ้าจำเป็นจะต้องรดน้ำให้เปียกใบควรจะรดในตอนเช้า

การใส่ปุ๋ย  สูตรที่มี N-P-K ครบ เช่น 15-15-15 หรือ 12-12-27 สลับกับ 15-0-0 เดือนละ 1 ครั้ง สลับกันทุก ๆ 15-20 วัน ต้นละประมาณ 10-15 กรัม (1 ช้อนโต๊ะ) ธาตุรอง ใส่แมกนีเซียมซัลเฟต (Mg) Epsom salt ต้นละ 1 ช้อนโต๊ะ ทุกๆ 2-3 เดือน ธาตุเสริม หรือจุลธาตุ (Trace Element) เช่น เฟอร์ติล่อน คอมบี เมตาโรเสท หรือโซลูท อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้นละ 1 ช้อนชา ปีละ 2 ครั้ง (6 เดือนครั้ง) ส่วนการใช้ปุ๋ยชีวภาพ เช่น ปุ๋ยปลาหมึก ปุ๋ยหอยเชอรี่หมัก และปุ๋ยเลือดสัตว์ เป็นปุ๋ยที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดิน (Humus Forming) ควรใส่ปีละ 2-3 ครั้ง โดยเฉพาะหลังตัดแต่งกุหลาบควรใส่ 1 ครั้ง สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ก่อนอื่นต้องทำให้ดินร่วนซุยเสียก่อน การระบายน้ำที่ดีควรทำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ในลักษณะเครื่องคลุมดิน (Mulching) หลังตัดแต่งครั้งที่หนึ่ง และก่อนเข้าฤดูฝนอีกครั้งหนึ่งหนา 2-3 นิ้ว

5.หัวใจหลักของการผลิตกุหลาบ-ผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากที่สุด
5.หัวใจหลักของการผลิตกุหลาบ-ผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากที่สุด

การป้องกันกำจัดโรคและแมลงให้กุหลาบ

โรคและแมลง กุหลาบมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงมากพอสมควร ดังนั้นเกษตรกรต้องหมั่นสังเกตและทำการป้องกันไว้ก่อน เพราะถ้ามีโรคเกิดขึ้นจะทำให้แก้ไขหรือรักษาได้ยากขึ้น ส่วนศัตรูตัวร้ายของกุหลาบ ก็คือ “เพลี้ยไฟ” ซึ่งใช้วิธีการป้องกันและกำจัดกำจัดด้วย “อิมิดาคลอพริด” หรือ “โปรวาโด” ส่วน “ไรแดง” จะเริ่มระบาดในฤดูร้อนตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงต้นฤดูหนาว ในกรณีที่มีการระบาดไม่รุนแรงให้ฉีดน้ำแบบแรงๆ ใต้ใบกุหลาบทุกๆ เช้า ก็สามารถช่วยให้การระบาดน้อยลงได้ หรือถ้าจำเป็นต้องใช้สารกำจัดด้วยสารเคมี เช่น “โอไมท์ ทอคออทูช” ฉีดพ่นใต้ใบต่อเนื่อง 2 ครั้ง หลังจากฉีดน้ำใต้ใบทุกเช้า

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.กุหลาบเป็นดอกไม้ที่สื่อถึงความรักที่ผู้คนส่วนใหญ่มักแสดงออกต่อกัน
6.กุหลาบเป็นดอกไม้ที่สื่อถึงความรักที่ผู้คนส่วนใหญ่มักแสดงออกต่อกัน

การตัดแต่งกิ่งกุหลาบ

การตัดแต่ง กุหลาบเมื่อปลูกครบรอบ 1 ปี ควรทำการตัดแต่งกิ่ง 1 ครั้ง ช่วงที่เหมาะแก่การตัดแต่ง คือ หลังหมดฤดูฝนต้นฤดูหนาว หรือในช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคมของทุกปี ถ้าผู้ปลูกไม่ได้ทำการตัดแต่งกิ่งจะทำให้กุหลาบเจริญเติบโตอย่างอิสระ ทำให้กิ่งแตกงอกออกมาสะเปะสะปะมากเกินไป ส่งผลทำให้ดอกมีขนาดเล็ก เพราะอาหารส่งเลี้ยงไม่เพียงพอ

การตัดแต่งกุหลาบชนิดพุ่ม (Bush) แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ

1.ตัดแต่งแบบเบา (Light Pruning) หมายถึง ตัดส่วนยอดหรือส่วนบนทิ้ง 1/3 หรือ 1/4 ของความสูงต้น

2.ตัดแต่งแบบกลาง (Moderate Pruning) หมายถึง ตัดส่วนบนทิ้งประมาณครึ่งหนึ่งของความสูงของต้น หรือ ตัดทิ้งครึ่งต้น

3.ตัดแต่งแบบหนัก (Hard Pruning) หมายถึง ตัดส่วนบนทิ้งประมาณ 3/4 ของความสูง หรือตัดทิ้ง 3 ส่วน เหลืออยู่กับต้นเพียง 1 ส่วน การตัดแต่งแบบหนักไม่เหมาะกับประเทศเขตเมืองร้อน เพราะกุหลาบจะสูญเสียอาหารสะสมมาก จนทำให้กุหลาบตายได้

ทุกครั้งที่ทำการตัดแต่งกิ่งจะต้องใช้เครื่องมือที่คมและสะอาด หลังทำการตัดแต่งจะต้องฉีดพ่นยาป้องกันโรคพืชภายใน 24 ชม. มิฉะนั้นอาจจะทำให้กุหลาบตายได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ปูนทากิ่งที่ถูกตัดแต่อย่างใด นับจากวันตัดแต่งกิ่งประมาณ 5-7 วัน กุหลาบจะเริ่มแตกใบอ่อนออกมา และจะเริ่มออกดอกรอบแรกโดยใช้เวลาประมาณ 40-45 วัน แต่ถ้าต้องการเร่งให้ออกดอกเร็วขึ้นในหน้าหนาวควรใช้แสงหลอดไฟช่วยส่องให้ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงและเพิ่มความอุ่นมากยิ่งขึ้น อันเป็นปฏิกิริยาทำให้กุหลาบแตกใบเร็วขึ้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.กุหลาบไม้ดอกที่มากด้วยคุณค่าและมูลค่า
7.กุหลาบไม้ดอกที่มากด้วยคุณค่าและมูลค่า

การบริหารจัดการโรงเรือนกุหลาบ

สำหรับหลอดไฟฟ้าที่นำมาใช้ควรเป็นหลอด HPS (High Pressure Sodiumvapor lamp) หรือ HID (High intersitive Discharge lamp) เปิดในเวลากลางคืน จะช่วยเพิ่มผลผลิต และทำให้ดอกมีคุณภาพดีขึ้น อย่างไรก็ตามเกษตรกรไม่ควรเปิดไฟส่องเกินกว่าวันละ 18 ชั่วโมง ส่วน การปลูกกุหลาบ ตัดดอกในโรงเรือนของเกษตรกรในต่างประเทศที่มีอากาศหนาว เขาจะใช้ไฟ “HID” ส่องให้ พร้อมทั้งยังให้ “คาร์บอนไดออกไซด์” อีกด้วย

8.ผลผลิตที่นำมาซึ่งรายได้และอาชีพที่มั่นคง
8.ผลผลิตที่นำมาซึ่งรายได้และอาชีพที่มั่นคง

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายกุหลาบ

ทางด้านการตลาดในปีนี้ คุณจีระกล่าวว่า เนื่องจากสวนกุหลาบ “จีระโรส” เป็นสวนที่เกษตรกรหรือพ่อค้ารับซื้อรู้จักกันมาก่อนตั้งแต่สมัยที่พ่อยังมีชีวิต และยังเป็นผู้บุกเบิกการทำสวนกุหลาบตั้งแต่แรกเริ่มของจังหวัด ส่งผลทำให้เป็นที่รู้จักของลูกค้าเป็นอย่างดี ดังนั้นตลาดในปีนี้ถือว่าดีพอสมควรที่ลูกค้าเข้ามาหาใช้บริการอยู่ตลอด ก็ไม่ต้องแปลกใจว่า “กุหลาบ” เป็นไม้ดอกที่มีการซื้อขายมากที่สุด

เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่นๆ ที่มียอดขายสูงสุดในต่างประเทศต่างๆ ถึง 300 ล้านต้น/ปี ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพที่น่าสนใจเลยทีเดียว สำหรับรายละเอียดที่มากไปกว่านี้ “พลังเกษตร” จะนำมาเสนอในครั้งต่อไป

ขอขอบคุณ :

คุณจีระ ดวงพัตรา จาก “ไร่กุหลาบ จีระโรส เนิสเซอรี่”

215 ม.10 ต.สะเมิงใต้ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ 50250 โทร : 081-883-6617 และ 081-998-7230

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การปลูกกุหลาบ การปลูกกุหลาบ การปลูกกุหลาบ การปลูกกุหลาบ การปลูกกุหลาบ การปลูกกุหลาบ