กรมประมงได้มีการริเริ่มเลี้ยงสาหร่ายชนิดนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 โดยสถานีวิจัยประมง ชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรี ในขณะนั้นรับพันธุ์สาหร่ายพวงองุ่นจากอาจารย์กาญจนภาชน์ ลิ่วมโนมนต์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาเพื่อปรับสภาพน้ำด้วยวิธีทางชีวภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์น้ำ
ต่อมาในปี พ.ศ.2557 ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งเพชรบุรี ได้รับมอบหมายให้พัฒนาเทคนิคการเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นเพื่อการขยายผลเชิงพาณิชย์ ศูนย์ฯ จึงได้นำองค์ความรู้ที่สั่งสมมามากกว่า 10 ปี พัฒนารูปแบบการผลิตสาหร่ายพวงองุ่นแบบครบวงจร
จนในปัจจุบันสามารถเลี้ยงให้มีปริมาณมาก และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้สม่ำเสมอ คุณภาพดี สะอาด พร้อมที่จะขยายผลเชิงพาณิชย์สู่เกษตรกร และผู้ประกอบการ เพื่อนำไปเพาะเลี้ยง สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ ที่มั่นคงต่อไป
รูปแบบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น
การเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นในปัจจุบันเป็นการเลี้ยงในบ่อเพาะเลี้ยง โดยสามารถเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นได้ 3 รูปแบบ ได้แก่
1.ระบบการเลี้ยงในบ่อดิน
2.ระบบการเลี้ยงในบ่อคอนกรีต
3.ระบบการเลี้ยงในบ่อพักน้ำแบบธรรมชาติ
โดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เป็นระยะๆ ประมาณเดือนละ 1-2 ครั้ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโต ทั้งนี้สาหร่ายที่เลี้ยงหากมีความหนาแน่นมากเกินไป อาจเกิดการบังแสงกัน ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสง อีกทั้งปริมาณสารอาหารในน้ำไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของสาหร่าย ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของสาหร่ายพวงองุ่นต่ำลงได้
การเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่นในบ่อดิน
1.การปลูกสาหร่าย ปลูกได้ทั้งแบบหว่าน และแบบปักชำ โดยในช่วงเริ่มต้นปลูกครั้งแรก เติมน้ำความเค็ม 27-30 ส่วนในพัน ประมาณ 40 เซนติเมตร เมื่อปลูกแล้วประมาณ 1 สัปดาห์ จึงค่อยเพิ่มระดับน้ำให้อยู่ในระดับที่แสงส่องถึง ขึ้นกับความโปร่งแสงของน้ำ
โดยส่วนมากรักษาระดับน้ำให้มีความลึกประมาณ 60-100 ซม. แบบปักชำมีข้อดีกว่าแบบหว่าน เนื่องจากสาหร่ายจะมีอัตราความหนาแน่นที่ใกล้เคียงกัน และควบคุมความหนาแน่นได้ ทำให้สาหร่ายที่โตมีแขนงที่ยาว และมีขนาดสม่ำเสมอ นอกจากนี้สามารถปลูกสาหร่ายบนแผงอวนหรือตาข่ายได้ ทำให้สาหร่ายมีความสะอาด และมีคุณลักษณะดี
2.หลังจากการปลูกประมาณ 1-2 เดือน จะสามารถเก็บเกี่ยวสาหร่ายได้ และความถี่ในการเก็บเกี่ยว 2 สัปดาห์ต่อครั้ง
3.การจัดการระบบน้ำ ควรมีการสูบน้ำเข้าบ่อเลี้ยงประมาณ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือดัดแปลงบ่อด้วยการติดตั้งท่อน้ำเข้า-ออก แบบมีลิ้นปิด-เปิดตามระดับน้ำธรรมชาติ
นอกจากนี้ความถี่ในการสูบน้ำเข้ายังขึ้นกับอายุการเลี้ยง และความหนาแน่นของสาหร่าย เพื่อเพิ่มสารอาหารธรรมชาติ การหมุนเวียนน้ำ และการรักษาระดับน้ำในบ่อเลี้ยง
4.อาจติดตั้งเครื่องตีน้ำรอบช้าหรือระบบยกน้ำ เพื่อเพิ่มการหมุนเวียนน้ำ และป้องกันการแบ่งชั้นของน้ำ และติดตั้งท่อระบายน้ำผิวบนออก ในฤดูฝน
5.เพื่อป้องกันการบังแสงและแก่งแย่งสารอาหาร ควรสุ่มตรวจความหนาแน่นของสาหร่าย โดยอัตราความหนาแน่นที่เหมาะสมประมาณ 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ทยอยเก็บเกี่ยวทุก 2 สัปดาห์ และคงปริมาณไว้ประมาณ 25% ของปริมาณตั้งต้น หากสาหร่ายแน่นเกินไป ให้นำไปหว่านบริเวณอื่น
6.การกำจัดและป้องกันศัตรูของสาหร่าย หมั่นเก็บสาหร่ายชนิดอื่น หรือ epiphyte ที่เกิดขึ้นในบ่อเมื่อน้ำตื้นเกินไป ดังนั้นการรักษาระดับน้ำเพื่อให้แสงส่องถึงในระดับที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
การเก็บสาหร่ายพวงองุ่น ทั้งในบ่อดินและบ่อคอนกรีต
ในระบบการเลี้ยงในบ่อดิน และปลูกบนแผงตาข่าย ขนาด 0.1 ตร.ม. มีปริมาณสาหร่ายเริ่มต้น 2.5 กิโลกรัม สามารถเลี้ยงให้มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น 45% ของน้ำหนักตั้งต้น หรือ 1.25 กิโลกรัมต่อแผงต่อ 2 สัปดาห์ เทียบเท่าผลผลิต 12.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตรต่อ 2 สัปดาห์
โดยน้ำเลี้ยงควรมีสารอาหารและคุณสมบัติ ดังนี้ แอมโมเนียรวมไม่น้อยกว่า 0.05 ppm. pH ช่วงกว้าง 8-9, แอลคาไลนิตี้ 120-140 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเค็ม 27-33 ส่วนในพัน อุณหภูมิประมาณ 25-30 องศาเซลเซียส
ในระบบการเลี้ยงในบ่อคอนกรีต และปลูกบนแผงตาข่ายขนาด 0.1 ตร.ม. มีปริมาณสาหร่ายเริ่มต้น 2.5 กิโลกรัม มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 30% ของน้ำหนักตั้งต้น หรือ 750 กรัมต่อแผงต่อ 2 สัปดาห์ เทียบเท่า 7.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตรต่อ 2 สัปดาห์
ผลผลิตในบ่อคอนกรีตน้อยกว่าบ่อดิน เนื่องจากมีข้อจำกัดของสารอาหาร โดยปริมาณแอมโมเนียไม่ควร 0.05 ppm. และควรมีการเติมน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ส่วนคุณภาพน้ำอื่นๆ เช่นเดียวกับในบ่อคอนกรีต
เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น เพาะเลี้ยงสาหร่ายพวงองุ่น