ก
เรื่องของผักสีเขียวๆ…ที่เดี๋ยวนี้กลายเป็นตลาดใหญ่..มีคนหันมาสนใจกันมากขึ้น….นับตั้งแต่เทรนด์สุขภาพมาแรง หลายคนก็แสวงหาของกินที่ปลอดภัย ที่สำคัญต้องให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ พื้นฐานเรื่องนี้ก็ต้องหนีไม่พ้น “ผัก” ที่นับวันแนวทางของการทำผักยุคใหม่ต้องห่างไกลสารเคมีให้มากที่สุด
แต่เชื่อหรือไม่ว่าเดี๋ยวนี้ผักไม่ใช่แค่เกษตรกรรมที่ทำเพื่อฆ่าเวลาไปวันๆ มีคนที่เอาเรื่องของผักไปเชื่อมโยงกับชุมชนสร้างรากฐานวิถีชีวิตให้คนในชุมชน อยู่ดี กินดี ที่สำคัญผลผลิตผักที่ได้มาไม่ใช่แค่ส่งขายพ่อค้าตลาด แต่มีการส่งเสริมพัฒนา จนเดี๋ยวนี้ผักออกจากแปลงไม่ได้ไปขึ้นอยู่ที่แผง แต่เดี๋ยวนี้ออกจากแปลงแล้วขึ้นห้างเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ซึ่งทุกอย่างต้องมีระบบ ระเบียบ และความเป็นมา ไม่ใช่ว่าใครจะทำก็ได้ ทุกอย่างต้องมีรากฐานก่อนมาถึงจุดนี้ แน่นอนว่าถ้าเป็นการปลูกผักแบบตัวใครตัวมันเรื่องนี้คงเกิดขึ้นไม่ได้ แต่ถ้ารวมพลังคนในชุมชนก่อเกิดเป็นสหกรณ์ขึ้นมา การตลาดที่มองดูว่ายากก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาทันตาเห็นทีเดียว
การจัดตั้งโครงการ “คนซำสูงไม่ทอดทิ้งกัน”
วันนี้ทีมงานพืชสุขภาพจะนำพาท่านผู้อ่านไปที่อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น พูดคุยกับ “สหกรณ์การเกษตรผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ อำเภอซำสูง จำกัด” ถึงแนวทางการดำเนินงานถึงที่มาที่ไป และเพราะเหตุใดจึงเอาผักมาเชื่อมโยงกับชุมชน แล้วมีวิธีการอย่างไรที่ทำให้ผลการดำเนินงานออกมาได้ดี และมีผลงานชัดเจนขนาดนี้
งานนี้เราได้ข้อมูลทั้งในแง่มุมของชาวบ้านจากผู้จัดการสหกรณ์ คุณขบวน อาษาสนา และในแง่ของการริเริ่มโครงการสร้างรากฐานมั่นคงให้ชุมชน จากส่วนราชการ เป็นข้อมูลจาก เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลห้วยเตย (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ) คุณประจัญ ขันพิมล ที่วันนี้ทั้ง 2 ท่าน สละเวลามาให้รายละเอียดเรื่องนี้กันอย่างเต็มที่ครับ
อ.ซำสูง อยู่ห่างตัวเมือง จ.ขอนแก่น ราว 35 กิโลเมตร ยกระดับขึ้นมาเป็นอำเภอได้เพียง 6 ปี ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำนาเป็นอาชีพหลัก มีรายได้เฉลี่ย 40,293 บาท/คน/ปี จากการสำรวจจากข้อมูลขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลการลงทะเบียนแก้ปัญหาความยากจน (สย.) คุณไกรสร กองฉลาก นายอำเภอคนแรกของซำสูง พบว่าชาวบ้านถือครองที่ดินเฉลี่ยครอบครัวละ 5 ไร่ ทำนาได้กำไร 400 บาทต่อไร่
เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น และไม่มีเวลาไปมั่วสุมอบายมุข จึงคิดวางกลยุทธ์สลายความยากจน ภายใต้โครงการ “คนซำสูงไม่ทอดทิ้งกัน” เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยท่านนายอำเภอไกรสร กองฉลาก ที่ต้องการพัฒนาชุมชนให้กลายเป็นชุมชนสีขาวที่ทุกคนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข
โดยที่ทุกคนมีรายได้ มีงานทำ ไม่เป็นภาระสังคม อันจะนำไปสู่ปัญหาต่างๆไม่ว่าจะการพนัน หรือยาเสพติด รวมถึงต้องการสร้างระบบครอบครัว ลดช่องว่างทางอายุ ให้คนสูงวัยรู้สึกว่าตัวเองยังมีคุณค่ายัง สามารถทำประโยชน์ให้สังคมได้ แต่การจะทำเรื่องนี้จำเป็นต้องมี “เครื่องมือ” ที่นำพา “โครงการ” เข้าไปเชื่อมโยงกับ “ชุมชน” ซึ่งจากการพิจารณามองแล้วว่าคนที่ซำสูงส่วนมากเป็นเกษตรกร
พืชหลักๆ ที่ปลูกกันเป็นประจำก็จะมีข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และยางพารา ซึ่งการปลูกพืชเหล่านี้จะมีรอบการปลูกที่เหลือเวลาว่าง คำว่าเวลาว่างนี้เองที่เป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้คนในชุมชนหันเหไปทำอย่างอื่นได้ “ถ้าไม่มีงานให้ทำ”
การส่งเสริมปลูกผักปลอดสาร
ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่มาของการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกผักเพื่อสร้างรายได้ในระหว่างที่มีเวลาว่าง แต่การปลูกผักนั้นจะคิดให้ปลูกใครปลูกมันก็ไม่เกิดผลอะไร นอกจากไม่เป็นการสร้างรายได้ที่ดี ชุมชนก็ยังไม่ได้ประโยชน์อะไร ตัวเกษตรกรเองปลูกเอง ขายเอง ก็ไม่มีอำนาจต่อรอง
ที่สำคัญ “ทำการตลาดยาก” สูตรสำเร็จในขณะนั้นตามที่คุณประจัญ ขันพิมล เจ้าหน้าที่เกษตรตำบลห้วยเตย (นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ) บอกกับทีมงานเรา คือ “ไม่ต้องการสร้างแค่ผัก แต่จะต้องสร้างคน สร้างงาน สร้างความยั่งยืน สร้างสิ่งแวดล้อม” ได้ด้วย
คำว่า ปลูกผัก ตามนิยามของ “โครงการคนซำสูงไม่ทอดทิ้งกัน” คือ “ถ้าคุณปลูกผักได้ คุณก็ต้องกินเองได้ด้วย” ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อเป็นการสร้างรากฐานทางจิตสำนึกให้คนในชุมชนได้มองเห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ไม่ใช่แค่คิดหวังทำกำไรในครั้งเดียว ทั้งหมดนี้จึงเริ่มเป็นที่มาของการรวมกลุ่มเพื่อปลูกผักปลอดสารพิษในอำเภอซำสูง
ปัจจุบันโครงการนี้ก็ยังดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจาก ท่านยุทธพร พิรุณสาร นายอำเภอคนปัจจุบันของอำเภอซำสูง ที่สานต่อเรื่องดีๆ แบบนี้ให้มีอยู่ในชุมชนในตำบลต่อไป การรวมกลุ่มภายใต้โครงการ “คนซำสูงไม่ทอดทิ้งกัน” เริ่มมีแนวความคิดมาตั้งแต่ปี 2551 แล้ว มาจดทะเบียนเป็น “สหกรณ์ผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษอำเภอซำสูง จำกัด”
สภาพพื้นที่ปลูกผักปลอดสาร
เมื่อปี 2552 มีประธานสหกรณ์ คือ คุณ อุดม แสนบุตร สมาชิกชุดแรกที่รวมกลุ่มกันมี 35 คน เน้นการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษเป็นหลัก ภายใต้พื้นที่เริ่มแรกประมาณ 3 ไร่ จนปัจจุบันมีพื้นที่ด้วยกันทั้งหมด 2 แปลง คือ บริเวณที่ตั้งสหกรณ์เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน และอีกประมาณ 40 ไร่ ที่วัดป่าศิริธรรมมาวาส จำนวนสมาชิกปัจจุบัน 305 ราย ในพื้นที่ทั้งสองแปลงของสหกรณ์ไม่ใช่พื้นที่ทั้งหมดที่ทำการ ปลูกผักปลอดสาร พิษ เพียงแต่เป็นแหล่งไว้ให้เกษตรกรผู้ที่ไม่มีที่เพาะปลูกได้เข้ามาเพาะปลูกในแปลงของสหกรณ์
รวมถึงเป็นแปลงสาธิตสำหรับการศึกษาดูงานจากผู้ที่สนใจ ซึ่งสมาชิกส่วนมากจะปลูกผักในพื้นที่ของตนเอง รวมๆ แล้วก็มีหลายร้อยไร่ ที่ทำการ ปลูกผักปลอดสาร พิษเพื่อส่งจำหน่ายผ่านทางสหกรณ์ก่อนออกสู่ท้องตลาดต่อไป
การดำเนินงานในลักษณะของสหกรณ์แบบนี้ ในขอนแก่นมีอีกแห่ง คือ บ้านโนน กับบ้านหม้อ ถ้ารวมที่ซำสูงในขอนแก่นก็จะมีสหกรณ์ที่ปลูกผักปลอดสารพิษทั้งหมด 3 ที่ด้วยกัน ซึ่งแต่ละที่ก็จะมีแหล่งตลาดที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน
ด้านตลาดผักปลอดสารพิษ
หลังจากที่ในปีแรกๆ ของการรวมกลุ่ม มีผลผลิตออกมาในช่วงนั้นก็เอาผลผลิตที่ได้ออกแสดงตามงานสินค้าต่างๆ ทั้งใน และนอกจังหวัด ด้วยคุณภาพของผักปลอดสารพิษ ของซำสูงที่เป็นผักที่ปลอดภัยเพื่อสุขภาพอย่างแท้จริง มีผู้สนใจสินค้าเป็นจำนวนมาก หนึ่งในนั้นก็คือ “ห้างเซนทรัล” ที่สนใจ และขอเข้ามาดูกรรมวิธีการปลูกของเกษตรกรในสหกรณ์
จนนำมาซึ่งการร่วมมือเป็นพันธมิตรกันระหว่าง “ห้างเซนทรัล” กับ “สหกรณ์ผู้ปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษอำเภอซำสูง จำกัด” ในปี 2553 สิ่งที่ทางเซนทรัลให้การสนับสนุน คือ เรื่องงบประมาณการปลูกสร้างอาคารโรงเรือน การเจาะบ่อน้ำบาดาล อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ในการบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการจัดพาไปดูงานตามสถานที่ต่างๆ ภายใต้งบประมาณของเซนทรัล
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในสัญญาก็ไม่ได้ระบุว่าห้างเซนทรัลจะเป็นผู้ผูกขาดการตลาดกับทางสหกรณ์ เพียงแต่ลงนามเป็นคู่ค้าต่อกัน ถ้าสหกรณ์มีตลาดที่ให้ราคาดีกว่าก็สามารถเอาผักที่มีไปจำหน่ายได้ แต่นับถึงตอนนี้ทางสหกรณ์เองก็บอกว่าไม่ได้ส่งผักไปขายที่ไหน นอกจากส่งเข้าเซนทรัล ทั้งในขอนแก่น และกรุงเทพฯ เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
การจำหน่ายผักปลอดสารพิษ
ปัจจุบันทางสหกรณ์มีออเดอร์ในการจัดส่งผักเข้าห้างเซนทรัลสาขาขอนแก่นไม่ต่ำกว่าวันละ 500 กิโลกรัม ส่วนที่ส่งเข้ากรุงเทพฯ อีกประมาณ 12 สาขา จะจัดส่งกันทุกวันพุธ ครั้งละประมาณ 300 ตะกร้า ไม่ต่ำกว่า 1,200 ตะกร้า/เดือน ส่วนราคาขายก็ตามแต่ราคาตลาดในขณะนั้น ถ้าตลาดสูงก็ติดราคาสูงขึ้น เพราะทางสหกรณ์สามารถกำหนดราคาเองได้
โดยอ้างอิงจากราคาผักที่มีอยู่ทั่วไป ประเภทของผักหลักๆ ก็มีคะน้า ผักบุ้งจีน ขึ้นฉ่าย ผักชี ตำลึง กะหล่ำ ฯลฯ และอย่างอื่นอีกมากมาย ทั้งพวกผักหัวก็ส่งได้ เช่น แครอท ไชเท้า มะเขือต่างๆ เรียกว่ามีอะไรก็ส่งขายได้ เพียงแต่สินค้าทุกอย่างต้องอยู่ภายใต้กรอบคุณภาพ คือ “ปลอดสารพิษ”
ส่วนรายได้ที่ย้อนกลับมาที่สหกรณ์ก็จะคืนให้กับสมาชิกในรูปแบบเงินปันผล สมาชิกก็จะมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งการขายผักให้สหกรณ์ และเงินปันผลปลายปีร้อยละ 3 บาท การขายผักให้กับสหกรณ์นั้นสมาชิกสามารถเลือกได้ว่าจะรับเงินอย่างไร เป็นรายวัน หรือจะราย 15 วัน หรือจะฝากเป็นออมทรัพย์ไว้ที่สหกรณ์ก็ได้ทั้งนั้น ระบบนี้นอกจากดีในเรื่องรายได้ ที่สำคัญสมาชิกที่ปลูกผักมีตลาดรองรับชัดเจน แค่ปลูกให้ดี ให้มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ ยังไงก็ขายได้ราคาดี มีเงินเป็นกอบเป็นกำ
คุณประจัญยังกล่าวต่อท้ายว่าก่อนที่ชาวบ้านจะหันมา ปลูกผักปลอดสาร พิษเป็นอาชีพเสริมนั้น ต้องโน้มน้าวใจโดยชี้ให้เห็นถึงข้อดีที่จะได้รับจากการปลูกผัก เช่น ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปีมีแต่หนี้กับซัง แต่ ปลูกผักปลอดสาร พิษสร้างรายได้ปีละ 100-200 ครั้ง เช่น ผักบุ้ง ปลูกไม่เกิน 20 วัน ก็สามารถเก็บขายได้แล้ว
แต่ปลูกข้าวสร้างรายได้แค่ปีละครั้งเท่านั้น ปัจจุบันหลังจากที่ชาวบ้านเข้าร่วมโครงการนี้ และนำผักปลอดสารพิษมาขายให้ทางสหกรณ์ ชาวบ้านแต่ละครัวเรือนมีรายได้มากขึ้นเฉลี่ย 3,000 บาทต่อเดือนต่อครัวเรือน อาจจะไม่ถึงขั้นลืมตาอ้าปาก แต่ก็เรียกว่าสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำในระยะยาวได้อย่างดีทีเดียว
การบริหารจัดการสมาชิกภายในสหกรณ์
ด้วยสมาชิกที่ค่อนข้างเยอะทำให้ทางสหกรณ์เองก็ต้องมีระบบการบริหารจัดการเพื่อให้ทุกแปลงผลิตผักที่มีคุณภาพได้อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ในรายที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่แรกๆ ก็ต้องมีการตรวจแปลง ตรวจสภาพดินว่าเป็นอย่างไร เหมาะสมจะปลูกผักมากแค่ไหน จะมีคณะกรรมการไปให้คำแนะนำว่าควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงอย่างไร
เพื่อให้ ปลูกผักปลอดสาร พิษได้อย่างมีคุณภาพ หรืออย่างในรายที่เป็นสมาชิกอยู่แล้วก็จะมีความรู้ในเรื่องการป้องกันโรคและแมลงดีพอสมควร เพราะทางสหกรณ์เองก็มีเปิดอบรมเรื่องสูตรการทำปุ๋ยหมัก การไล่แมลงด้วยน้ำหมักต่างๆ ซึ่งสมาชิกหลังจากที่ได้เรียนรู้ก็สามารถเอาไปทำเองได้ที่บ้าน หรือถ้าในรายที่มีแมลงใหม่ๆ โรคใหม่ๆ ก็ต้องมาศึกษาหารือกันว่าจะทำอย่างไรเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายได้
ข้อดีของการทำปุ๋ยหมักใช้เองใช้สิ่งที่มาจากธรรมชาติเป็นตัวหมัก ไม่ว่าจะหอยเชอรี่ เศษอาหาร อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา รกหมู ผลไม้สุกสามารถช่วยลดต้นทุนได้ถึง 200% ถ้าซื้อปุ๋ยเคมีก็เฉลี่ยกระสอบละ 1,000 บาท แต่พอเป็นปุ๋ยหมักที่ทางสหกรณ์สอนชาวบ้านให้ทำ ให้ใช้ มีต้นทุนเฉลี่ยแค่ 300 บาท เท่านั้น จึงเป็นข้อดีที่เรียกว่าโดดเด่นมากๆ
อีกทั้งถ้าสงสัยว่าผักซำสูงปลอดภัยจากสารพิษจริงหรือเปล่า เราๆท่านๆ อาจดูได้ด้วยตาเปล่าจะเห็น “คอนโดไส้เดือน” โผล่พ้นดินออกมาเป็นจำนวนมาก สิ่งนี้การันตีได้ดีกว่าใครมาบอก เพราะธรรมชาติเป็นตัวบอกเองว่าแปลงผักที่ซำสูงนี้มีความปลอดภัยจากสารพิษมากเพียงใด
ส่วนเรื่องเมล็ดพันธุ์ ทางสหกรณ์จะคอยเสนอแนะว่าช่วงไหนควรปลูกอะไร หรือช่วงไหนไม่ควรปลูกอะไร เพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าซ้ำๆ กันจนล้นตลาดแล้วราคาก็ตก ทางสหกรณ์เองพยายามจะกระจายให้สมาชิกได้ปลูกผักหลากหลายชนิด เพื่อให้มีผลผลิตที่หลากหลายออกสู่ตลาด เพื่อผลดีกับสมาชิกเองในระยะยาวด้วย
ทั้งนี้ทั้งนั้นทางสหกรณ์จะปลูกฝังเรื่องจิตสำนึกเป็นสำคัญ ที่ต้องการให้ทุกคนเห็นว่า “สหกรณ์นี้เป็นของทุกคน” เพื่อให้มีแรงบันดาลใจในการผลิตผักที่ดี ที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษอย่างแท้จริง
จุดเริ่มต้นโครงการ “คนซำสูงไม่ทอดทิ้งกัน”
การเริ่มต้นของโครงการ “คนซำสูงไม่ทอดทิ้งกัน” สุดท้ายก็นำมาซึ่งความสำเร็จในรูปของสหกรณ์ ที่มีภาคเอกชน อย่าง เซนทรัล เข้ามาให้การสนับสนุน มองในภาพรวมเหมือนว่าโครงการนี้จะสำเร็จเป็นรูปธรรมแล้ว แต่ในความเป็นจริงเรื่องนี้ยังมีบทพิสูจน์อีกยาวไกล สิ่งที่เกิดในขณะนี้เรียกว่า เป็นแนวทางที่น่าพอใจมากกว่า
เนื่องจากจุดประสงค์หลักจริงๆ คือ “การสร้างงาน สร้างคน สร้างชุมชน สร้างสิ่งแวดล้อม” ยังมีอีกหลายอย่างที่รอการพิสูจน์ ยังมีอีกหลายเรื่องที่พัฒนา เพราะงานสร้างคนไม่ได้มีรูปธรรมที่ชัดเจน เหมือนการสร้างตึกรามบ้านช่องที่มองเห็นและจับต้องได้ ปัจจัยโดยรอบของการสร้างคนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ทุกวันนี้ต้องพยายามสร้างให้ชุมชนอยู่ได้อย่างเข้มแข็ง ในอนาคตถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดก็ตาม ชุมชนต้องอยู่ได้ด้วยระบบและการจัดการที่ได้วางไว้ในเบื้องต้น
คุณประจัญบอกว่า “ฐานะของเกษตรตำบล คือ ตัวเชื่อมจากชุมชนสู่ราชการ ตัวจักรจริงๆ ก็คือ ชุมชน ทุกอย่างอยู่ได้ ไม่ได้ ก็อยู่ที่ชุมชน บางที่มีกลุ่ม มีสมาชิก แต่ไม่มีผลงาน แต่สหกรณ์ของเราไม่ได้เป็นแบบนั้น เราปลูกฝังให้คนในชุมชนรู้สึกว่านี่คืออาชีพของเรา ที่นี่คือบ้านของเรา ที่นี่คือธุรกิจของเรา เอาคนของชุมชนบริหารชุมชน”
ปัจจุบันเครือข่ายของสหกรณ์มี 35 หมู่บ้าน 5 ตำบล จำนวนคนมากกว่า 1,000 คน เป็นการนำเสนอโครงการนี้ให้ทุกคนได้รู้อย่างโปร่งใส ใครต้องการเข้ามาร่วมก็ต้องมีคุณภาพตามแบบที่กำหนด อยู่ภายใต้มาตรฐาน GAP ถ้าทำได้ก็มาได้
“มองผักซำสูงต้องมองไปที่ผักคุณภาพ เน้นปลอดภัย สด สะอาด กินเองได้ เมื่อสินค้าดี ขายได้ดี คุณภาพของคนก็ดี ชุมชนก็เข้มแข็ง มันก็หมุนเวียนเป็นลูกโซ่กันอยู่อย่างนี้” คุณประจัญกล่าวสรุปสุดท้ายให้ทีมงานเราได้ฟัง
สนใจข้อมูลเรื่องการเพาะปลูก ติดต่อ คุณประจัญ ขันพิมล โทร.08-1975-4282 สำนักงานเกษตรอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น 40170
ปลูกผักปลอดสาร ปลูกผักปลอดสาร ปลูกผักปลอดสาร ปลูกผักปลอดสาร ปลูกผักปลอดสาร ปลูกผักปลอดสาร ปลูกผักปลอดสาร ปลูกผักปลอดสาร ปลูกผักปลอดสาร