เลี้ยงสุกร ระบบอีแวป (EVAP) มาตรฐาน Biosecurity ฉบับคนรุ่นใหม่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเลี้ยงหมู ระบบอีแวป

แวดวงการทำเกษตร รวมไปถึงวงการปศุสัตว์ไทยในวันนี้ เหลียวซ้ายแลขวา มองไปทางไหนก็พบเจอแต่ Young Smart Farmer (YSF) หรือกลุ่ม“คนรุ่นใหม่” ที่หันมาทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์กันมากขึ้นอย่างคึกคัก

โดยทายาทเจ้าของฟาร์มรายใหญ่-รายย่อย สำหรับ “นิวเจนเนอเรชัน” รุ่นลูก-รุ่นหลาน บางราย การศึกษาไม่ธรรมดา ทั้งจบต่างประเทศ จบสายธุรกิจการบิน หรือระดับวิศวกรรม ฯลฯ แต่ก็มีให้เห็นมาแล้วมากมายที่เลือกที่จะหันหลังให้กับวิชาชีพที่เรียนมา หันมาสวมหมวกฟาง ใส่รองเท้าบูท จับจอบ เสียม แบกกระสอบปุ๋ย/กระบะอาหารสัตว์ เดินเข้าไร่ทุ่งหรือเข้าฟาร์ม คลุกกลิ่นขี้หมู ขี้วัว ขี้ไก่ เป็นต้น

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ “ชีวิตต้องสู้ เพราะกู้มาเยอะ” หรือเพราะ “อายุน้อย (หนี้) ร้อยล้าน” หรือด้วยเหตุผลกลใดก็ตามแต่ ไม่สำคัญไปกว่า “ใจรักในสิ่งที่ทำ” ซึ่งในที่นี้หมายถึง การทำเกษตร และฟาร์มปศุสัตว์ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคนรุ่นเก่า หรือคนรุ่นใหม่ หากขาดใจรักที่จะทำ คงถามหาความสำเร็จและใจที่เป็นสุขได้ยากยิ่ง

1.โรงเรือนหมู
1.โรงเรือนหมู
2.คุณอารีย์นุช-พระลักษณ์-หรือคุณน้อง-เจ้าของพี่น้องฟาร์ม
2.คุณอารีย์นุช-พระลักษณ์-หรือคุณน้อง-เจ้าของพี่น้องฟาร์ม

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงหมู

นิตยสารสัตว์บก ฉบับนี้ บุกตะลุยแวะเยี่ยมเยียน บริษัท พีเอ็น พี่น้องฟาร์ม จำกัด หรือฟาร์มเลี้ยงสุกร ในนาม “พี่น้องฟาร์ม” บริหารโดยคนรุ่นใหม่ “คุณน้อง” หรือคุณอารีย์นุช พระลักษณ์ โดยครอบครัวสมัยรุ่นคุณพ่อ คุณแม่ ของคุณน้อง ประกอบกิจการฟาร์มสุกรมาเกือบ 20 ปี ก่อนถึงปัจจุบัน คุณน้องจะเข้ามาบริหารกิจการของครอบครัวอย่างเต็มตัว โดยที่“ไม่มีความรู้ด้านการทำฟาร์มปศุสัตว์และการเลี้ยงหมูเลยแม้แต่น้อย”

ทว่าคุณน้องถือเป็นคนรุ่นใหม่อีกคนที่พิสูจน์ให้เห็นว่าการทำงานไม่ตรงสายกับที่เรียนไม่ใช่อุปสรรคของชีวิต แต่อุปสรรคที่สำคัญ คือ “ความกล้าตัดสินใจ และใจรักที่จะลงมือทำมากกว่า”

คุณน้องเจ้าของฟาร์มสุกรคนรุ่นใหม่ ดีกรีการศึกษาไม่ธรรมดา อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้น โดยศึกษาเรียนจบระดับ ป.ตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.ธรรมศาสตร์ และศึกษาจบระดับ ป.โท คณะบริหารธุรกิจ ม.มหิดล จากนั้นกลับมาช่วยบริหารฟาร์มสุกรของครอบครัวหลังเรียนจบ ด้วยเหตุผลที่ว่าเป็นลูกคนโต พ่อ-แม่มีความคาดหวังที่ต้องการให้สืบสานธุรกิจของครอบครัวต่อไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

คุณน้องเล่าให้ทีมงานฟังว่า การไม่มีความรู้อะไรเลย เรื่องการเลี้ยงสัตว์ แต่ต้องก้าวเข้ามาบริหาร คือ ความท้าทายของชีวิตมากๆ โดยตนเองนั้นใช้เวลาศึกษาเรียนรู้นานพอสมควรประมาณ 1 ปี ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนตัวเองในทุกๆ ด้าน อาทิ ปรับเรื่องการทำงานกับคนหมู่มาก ปรับเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน ปรับเปลี่ยนนิสัยและบุคลิก จากที่เป็นผู้หญิงสายหวาน สุภาพเรียบร้อย ก็ต้องสลัดคราบผู้หญิงจ๋า สวมมาดเจ้าของฟาร์มสายลุยบ้าง เป็นต้น

3.คอกหมู
3.คอกหมู

สภาพพื้นที่เลี้ยงหมูระบบอีแวป

ด้านข้อมูลพี่น้องฟาร์ม มีพื้นที่ประมาณ 120 ไร่ เลี้ยงสุกร ระบบอีแวป (EVAP) มาตรฐาน Biosecurity มีการจัดทำบ่อไบโอแก๊สจากขี้หมูผลิตเป็นไฟฟ้าใช้ภายในฟาร์ม ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าไฟได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้พี่น้องฟาร์มแรกเริ่มเดิมทีเลี้ยงสุกรขุน โดยใช้วิธีจับลูกหมูจากฟาร์ม/บริษัทอื่นๆ นำเข้ามาขุน และส่งขายให้กับตลาด, พ่อค้าคนกลาง/ลูกค้าต่างๆ  จนกระทั่งเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา จึงเริ่มนำเข้าแม่พันธุ์เพื่อนำมาขยายพันธุ์เอง โดยใช้สายพันธุ์ที่มีคุณภาพ “ไทย-เดนมาร์ค” ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนกว่า 3,000 แม่พันธุ์ ในส่วนพ่อพันธุ์มีประมาณ 40-50 ตัว และในส่วนอุปกรณ์ฟาร์มส่วนใหญ่เลือกใช้ของ บริษัท การุณบราเธอร์ส จำกัด

4.บรรยากาศในฟาร์มหมู
4.บรรยากาศในฟาร์มหมู
การผสมเทียมหมู
การผสมเทียมหมู

การบริหารจัดการฟาร์มหมู

ด้านการบริหารจัดการเรื่องแรงงาน ปัจจุบันมีคนงานกว่า 100 คน ทั้งคนไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งดำเนินการเรื่องเอกสารการทำงานในประเทศไทย ตลอดจนสวัสดิการต่างๆ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีทีมสัตวบาลจำนวนกว่า 15 คน และสัตวแพทย์ที่เป็นที่ปรึกษาประจำพี่น้องฟาร์ม ช่วยตรวจสอบดูแลเรื่องความสะอาดและโรคภายในฟาร์มอย่างใกล้ชิด

ในส่วนกิจวัตรแต่ละวันสำหรับการจัดการสุกรภายในฟาร์ม คุณน้องอธิบายว่าจะมีการแบ่งการดูแล เช่น ดูแลพ่อแม่พันธุ์ ดูแลสุกรท้อง (ก่อนคลอด/หลังคลอด) ดูแลลูกหมูอนุบาล เป็นต้น โดยมีการจำแนกสุกรแบ่งออกเป็นรุ่นๆ แบ่งตามขนาดหรือสเปค กล่าวโดยสรุป คือ เลี้ยงครบวงจรด้วยระบบปิดที่ได้มาตรฐาน ยกเว้นแต่ไม่มีโรงเชือดของตัวเองเท่านั้น

 “การดูแลสุกรภายในฟาร์ม ยกตัวอย่าง ช่วงหลังจากผสมไปแล้ว คือ เรื่องอาหาร ที่ต้องคำนึงและอ้างอิงตามหลักการ Body Score ของสุกร ยกตัวอย่าง ช่วงอายุในการอุ้มท้องของแม่พันธุ์ การให้อาหารจะแตกต่างกัน เช่น ช่วงแรกจะให้อาหารปริมาณเท่ากันไปก่อน เช่น 1 เดือนแรก ให้อาหาร 2 กก./วัน/ตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

หลังจากนั้นจะเป็นช่วงปรับหุ่นและโครงสร้าง กล่าวคือ ต้องให้แม่กินแต่พอดี เปรียบเทียบเหมือนกับคน ถ้าเป็นคนอ้วนตั้งท้องจะคลอดลูกยาก ซึ่งเรื่องของอาหารสุกรเป็นสิ่งสำคัญมากของทุกฟาร์ม ที่ต้องให้ความสำคัญในการให้อาหารแต่ละช่วงของสุกรอย่างเหมาะสมและถูกต้อง” คุณน้องกล่าว

5.คุณน้องกำลังให้อาหารหมูที่ผสมถั่วอบฟูลแฟต แบบ ระบบอีแวป
5.คุณน้องกำลังให้อาหารหมูที่ผสมถั่วอบฟูลแฟต แบบ ระบบอีแวป
ลูกหมูแข็งแรงที่กินถั่วอบฟูลแฟต
ลูกหมูแข็งแรงที่กินถั่วอบฟูลแฟต

การให้อาหารหมู

ทั้งนี้อาหารสุกรที่ใช้ภายในพี่น้องฟาร์ม เป็นการผสมอาหารเองทั้งหมด  ซึ่งคุณน้องบอกว่าจะเลือกซื้อวัตถุดิบ เช่น ข้าวโม่ รำโม่ มันสำปะหลัง กากถั่ว ถั่วอบ ฯลฯ มาผสมอาหารเอง ซึ่งคัดสรรแหล่งวัตถุดิบที่ได้คุณภาพหรือจากตัวแทนจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง เป็นต้น

โดยคุณน้องยกตัวอย่างการให้อาหาร ได้แก่ กรณีสูตรอาหารบำรุงลูกสุกรที่อยู่ในท้องแม่ จะเน้นเรื่องปริมาณการให้อาหาร ถ้าแม่พันธุ์ใกล้คลอด จะสามารถกินอาหารได้ถึง 4-5 กก./วัน ผลลัพธ์ที่ได้ คือ ลูกหมูคลอดออกมาตัวใหญ่ สมบูรณ์ แข็งแรง

อย่างไรก็ดีวิธีการให้อาหารหมูภายในฟาร์มฯ จะขึ้นอยู่กับช่วงอายุของหมู เช่น ถ้าแม่พันธุ์ จะให้วันละ 3 มื้อ ถ้าลูกหมูอนุบาลให้วันละ 8-9 มื้อ เพราะต้องขุนลูกหมูให้เจริญเติบโต ได้น้ำหนัก เป็นต้น

6.กากถั่ว
6.กากถั่ว
ถั่วเหลืองอบ
ถั่วเหลืองอบ

ข้อดีของถั่วอบฟูลแฟต

สำหรับเคล็ดลับสุกรสมบูรณ์ แข็งแรง ได้น้ำหนักตรงตามสเปคของตลาด ขายได้กำไรงามนั้น คุณน้องเปิดเผยว่าเลือกใช้อาหารสัตว์ (สุกร)  ในเครือบริษัทนานาพรรณ ได้แก่  “ถั่วอบ” ภายใต้ตรา “ฟูลแฟต” (Full Fat) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์คุณภาพ เรียกได้ว่า “ของดี ราคาถูก มีอยู่จริง”

 “ส่วนตัวรู้จัก บจก.นานาพรรณ โดยได้ยินชื่อมานานแล้ว และได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทถั่วอบฟูลแฟตมาได้สักระยะจนถึงปัจจุบัน ต้องบอกเลยว่าด้วยราคาที่จับต้องได้ ทำให้ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายผลิตอาหารสัตว์ในฟาร์มลงไปได้มาก เพราะต้องใช้ในปริมาณที่เยอะ สำหรับผลิต/ผสมสูตรอาหารสุกร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ซึ่งผลลัพธ์หลังจากใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว สังเกตหมูในฟาร์มกินเก่ง โตไว ได้น้ำหนัก เนื่องจากถั่วอบดังกล่าวมีกลิ่นหอม กระตุ้นให้หมูอยากกิน อีกทั้งเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพ ผ่านมาตรฐานการตรวจสอบ ไม่มีเชื้อรา สรรพคุณย่อยง่าย และมีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุกรประสิทธิภาพสูง

นอกจากนี้ในเรื่อง Service Mind หรือบริการหลังการขาย บจก.นานาพรรณ ให้การสนับสนุนเรื่องการดูแลและจัดส่งผลิตภัณฑ์อย่างรวดเร็วทันท่วงที ทำให้มีวัตถุดิบอาหารผลิตและป้อนให้สุกรในฟาร์มอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ ซึ่งผู้บริหาร ตลอดจนพี่ๆ ทีมงาน บจก.นานาพรรณ คอยติดต่อสอบถามเรา และดูแลให้คำปรึกษาเป็นอย่างดีตั้งแต่ครั้งแรก ซึ่งโดยรวมประทับใจในสินค้าและการให้บริการ และตัดสินใจจะใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต่อไป”

7.โรงงานผสมอาหารสัตว์
7.โรงงานผสมอาหารสัตว์

การผลิตอาหารหมู

เมื่อถามถึงเรื่องการ “ผลิตและสต็อกอาหาร” ภายในฟาร์ม คุณน้องกล่าวอธิบายว่ามีการแบ่งอาหารเป็นหมวดหมู่ประมาณ 6-8 สูตรอาหาร เป็นอาหารชนิดผง ได้แก่ สูตรอุ้มท้อง สูตรเลี้ยงลูก สูตรเลียราง สูตรอนุบาล 1-2  สูตรสุกรเล็ก สุกรรุ่น สุกรขุน เป็นต้น ทั้งนี้สัดส่วนการใช้ย่อมแตกต่างกันออกไป  

โดยในฟาร์มจะมีการสต็อกอาหารในตอนเย็น และให้อาหารสุกรกินในตอนเช้า กล่าวคือ มีการผลิตอาหารทุกวัน โดยมีคนงานแผนกผลิตอาหาร หลังจากนั้นจะนำเก็บที่โกดัง จัดเก็บในลักษณะ “จัดเก็บในไซโล” ซึ่งจะระบายอาหารชุดเก่าให้หมูกินก่อน แล้วจึงจัดเก็บอาหารชุดใหม่ที่เพิ่งผลิตเสร็จเป็นสต็อกเอาไว้แทนที่ เป็นต้น

8.คุณน้องกำลังตรวจสุขภาพลูกหมู
8.คุณน้องกำลังตรวจสุขภาพลูกหมู

การบำรุงดูแลรักษาหมู

ในส่วนการให้ความสำคัญเรื่องบริหารจัดการฟาร์ม คุณน้องกล่าวเสริมว่าเน้นเรื่องมาตรฐานระบบ Biosecurity (ความปลอดภัยทางชีวภาพ) เรื่องการกักกันโรคจากปัจจัยภายนอก รวมถึงสภาพแวดล้อม/อุณหภูมิในฟาร์ม ฯลฯ

ส่วนเรื่องการดูแลสุกรจะเน้นดูแลแม่พันธุ์ ทั้งเรื่องสุขภาพ และอาหารการกิน ทั้งก่อนและหลังคลอดทั้งหมด ซึ่งหากพบแม่สุกรมีอาการป่วยก่อนคลอด ทางฟาร์มจะมีวิธีการดูแล เช่น ตามยา กล่าวคือ ฉีดยาปฏิชีวนะ อะม็อกซีซิลลิน และจะเปลี่ยนลดปริมาณการให้อาหารให้น้อยลง แต่เพิ่มรอบการให้ถี่ขึ้น กล่าวคือจะดูแลโดยประเมินอาการแบบ Case By Case และที่สำคัญ คือ จะพยายามไม่เคลื่อนย้ายแม่หมูที่ป่วย เพราะเลี้ยงแบบ “ยืนซอง” แต่จะแก้ปัญหาด้วยการให้ทีมสัตวบาลเข้าไปดูแลแต่ละจุดๆ โดยการทำสัญลักษณ์หมูที่ป่วยเอาไว้ เป็นต้น

โฆษณา
AP Chemical Thailand
9.คอกแม่หมูหลังคลอด
9.คอกแม่หมูหลังคลอด

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายหมู

สำหรับผลประกอบการ การบริหารฟาร์มสุกร ณ ปัจจุบัน คุณน้องบอกว่าฟาร์มฯ จะมีแม่หมูคลอดทุกวัน ซึ่งจะเป็นชุดๆ ในแต่ละสัปดาห์ เฉลี่ยอายุประมาณ 900-1,000 ตัว/รอบการคลอด เพราะฉะนั้นทำให้มีหมูจำหน่ายให้ลูกค้าทุกๆ สัปดาห์ หรือเฉลี่ยมียอดจำหน่ายหมู 2,000-3,000 ตัว/เดือน

 “อย่างที่ทราบกันดีว่าราคาสุกรปัจจุบันยังไม่สู้ดีนัก แม้ราคาตลาดจะปรับดีขึ้นกว่าเดิม เมื่อเปรียบเทียบกับ 3 เดือนที่ผ่านมา ขณะนี้ราคาเฉลี่ยกว่า 60 บาท/กก. แต่เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนการเลี้ยงสุกรสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว  ต้นทุนหลักๆ คือ ต้นทุนอาหารสัตว์ ต้นทุนค่ายา/วัคซีน ฯลฯ

ซึ่งทุกวันนี้โรคติดต่อที่กระทบต่อสุกรมีจำนวนโรคที่เกิดขึ้น และแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก เพราะฉะนั้นสิ่งที่เจ้าของฟาร์มสุกรสามารถทำได้ คือ ให้ความสำคัญด้านมาตรการป้องกัน, การผลิตอาหารสัตว์เองเพื่อลดต้นทุน และพยายามหาช่องทางการระบายหมู เช่น ขยายตลาด หรือแปรรูปเนื้อหมู เพื่อเพิ่มมูลค่า

อย่างไรก็ดีเป้าหมายต่อไปที่ตั้งใจไว้  คือ มุ่งเน้นการทำตลาด การสร้างลูกค้า โดยปัจจุบันเรามีลูกค้าประจำ 4-5 ราย จะสั่งจองหรือเข้ามารับหมูในฟาร์มทุกๆ สัปดาห์ เฉลี่ยรับซื้อครั้งละ 200-300 ตัว/ราย รวมถึงที่ฟาร์มขายหมูให้กับลูกค้าที่เป็นโรงเชือดด้วย เช่น แถว จ.นครปฐม ตลอดจนบริษัทที่ส่งหมูจำหน่ายให้กับห้างสรรพสินค้าแม็คโคร   

10.คอกลูกหมู
10.คอกลูกหมู ระบบอีแวป ระบบอีแวป ระบบอีแวป ระบบอีแวป ระบบอีแวป ระบบอีแวป ระบบอีแวป ระบบอีแวป

แนวโน้มในอนาคต

ซึ่งอนาคตมองในเรื่องขยับขยายและแตกไลน์ธุรกิจ เช่น

1.ลงทุนเปิด Shop หน้าร้าน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.การพัฒนาระบบการจัดการ ทั้งในฟาร์ม และ Shop ให้ทันสมัย

3.ศึกษาคู่แข่ง เพราะปัจจุบันฟาร์มสุกรเกิดขึ้นจำนวนมาก และรายใหญ่หันไปเปิด Shop หน้าร้านมากขึ้นด้วย

4.เรื่องการรักษาและการระบายผลิตภัณฑ์ต้องสดใหม่ ได้มาตรฐาน เพราะเนื้อสุกรเป็นของสด ควรต้องจำหน่ายวัน/วัน

11.ลูกหมูแข็งแรง-สมบูรณ์
11.ลูกหมูแข็งแรง-สมบูรณ์ ระบบอีแวป ระบบอีแวป ระบบอีแวป ระบบอีแวป ระบบอีแวป ระบบอีแวป ระบบอีแวป

ฝากถึงผู้ที่สนใจเลี้ยงหมู

ในตอนท้ายคุณน้องในฐานะผู้ประกอบการคนรุ่นใหม่ ได้กล่าวฝากถึง Young Smart Farmer เช่นกันว่า เป็นเรื่องน่าดีใจ ที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญและหันมาทำเกษตร/เลี้ยงสัตว์กันมากขึ้น และส่วนมากก็จบไม่ตรงสายที่เรียนมาอีกด้วย

เพราะฉะนั้นการก้าวเข้ามาครั้งแรกโดยที่ไม่มีองค์ความรู้และประสบการณ์เลยนั้นย่อมยากเสมอ แต่วิชาความรู้ เราสามารถหาเรียนเสริมได้ตามหน่วยงาน/บริษัทต่างๆ ที่จัดเปิดอบรมซึ่งมีตลอดทุกปี และแสวงหาจากช่องทางการสื่อสาร รวมทั้งถามผู้รู้ นักวิชาการ หรือเกษตรกรตัวจริง ที่เป็นครูของเราได้เสมอ

 “สิ่งสำคัญอยากฝากบอกให้กำลังใจคนรุ่นใหม่ว่า ต้องมีใจรักที่จะทำ หมั่นศึกษาหาความรู้ควบคู่กันไป ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ ส่วนตัวสมัยก่อนไม่อยากเข้าฟาร์มเลย ไม่เคยจับหมูเลยด้วยซ้ำ และเพราะกลัวร้อน ห่วงผิวจะไม่สวย แต่พอมองย้อนกลับไป ถ้าเราไม่เข้าไปดูฟาร์มด้วยตัวเอง เราจะไม่รู้เลยว่าอาหารการกิน และสุขภาพหมู เป็นอย่างไร ก็

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เหมือนเราไม่ทำงาน เหมือนบกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ซื่อสัตย์กับตัวเอง ถามตัวเองก่อนว่ามีใจรักที่จะทำหรือเปล่า จากนั้นขอให้เชื่อมั่นว่าต้องทำได้ และเราก็จะทำได้ และศึกษาให้เยอะ ดูให้เยอะ เรียนรู้ให้เยอะ และลงมือปฏิบัติ อายุน้อยร้อยล้าน ก็จะไม่ใช่แค่เพียงความฝันอีกต่อไป”

ขอขอบคุณ “คุณน้อง” บริษัท พีเอ็น พี่น้องฟาร์ม จำกัด ที่อยู่ติดต่อเลขที่ 80 หมู่ 3 ตำบลน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000