การใส่ปุ๋ยยางพารา หน้าฝน ป้องกันโรคเปลือกเน่า / โรคเส้นดำ
เข้าสู่เดือนพฤษภาคม ถือเป็นการเข้าสู่ “ ฤดูกรีดยาง ” หลังจากเกษตรกรชาวสวนยางปิดกรีดมาไม่ต่ำกว่า 2 เดือน แต่สำหรับสวนยางต้นใหญ่หรือยางแก่ ในบางพื้นที่เปิดกรีดได้ตั้งแต่หลังสงกรานต์เป็นต้นมา เพราะต้องเข้าใจว่า “ เงิน ” จำเป็นต้องใช้ทุกวัน หยุดไม่ได้ อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของชาวสวนยางที่ไม่มีทางเลือกมากนัก ถ้ามีน้ำยางอย่างน้อยก็มีเงิน
เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูเปิดกรีดเชื้อว่าหลายพื้นที่คงจะมี “ น้ำฝน ” หล่นลงมาโปรยปรายสร้างความชุ่มชื่นชุ่มฉ่ำให้สวนยางได้มีชีวิต พร้อมที่จะผลิต “น้ำยาง” ให้ชาวสวนยาง
แต่น้ำอย่างเดียวคงจะไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำยางของต้นยาง จำเป็นต้องมีอาหารทางตรงเพิ่มเข้าไป ทั้งที่เป็น “เคมี” และ “อินทรีย์” ซึ่งการทำสวนยางขาดอาหารชนิดนี้ไม่ได้เลย
รวมถึงต้องมีกระบวนการจัดการสวนยางให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เพราะช่วงหน้าฝน ว่ากันว่า เป็นช่วงที่โรคร้ายในสวนยางเจริญเติบโตดีนักแล
ส่วนเทคนิคและวิธีการทำอย่างไรบ้าง ยางเศรษฐกิจมีคำแนะนำ
เทคนิคการ การใส่ปุ๋ยยางพารา ช่วงเปิดฤดูกรีด
ช่วงต้นฤดูฝน เป็นช่วงที่เหมาะแก่ การใส่ปุ๋ยต้นยาง มากที่สุด เพราะน้ำจะเป็นตัวช่วยละลายปุ๋ย ให้รากยางได้ดูดกิน นำไปบำรุงต้น ไม่ว่ายางเล็กหรือยางใหญ่ การใส่ปุ๋ยยางพารา การใส่ปุ๋ยยางพารา
เพราะปุ๋ยคือ ธาตุอาหารสำคัญทำให้ต้นยางเติบโตเร็วและช่วยเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นได้
แต่เกษตรกรจะต้องใช้ปุ๋ยให้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ โดยเลือกใช้ปุ๋ย ให้ตรงตามความต้องการ ของอายุต้นยาง ชนิดของดิน และแหล่งปลูก
สูตรปุ๋ยยางตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร มี 3 สูตร ได้แก่
ปุ๋ยสูตร 20-8-20 เป็นสูตรที่เหมาะสำหรับยางก่อนเปิดกรีดในเขตปลูกยางเดิม คือ ภาคใต้และภาคตะวันออก
ปุ๋ยสูตร 20-10-12 เหมาะสำหรับยางก่อนเปิดกรีดในเขตปลูกยางใหม่ คือ ภาคอีสานและภาคเหนือ และ ปุ๋ยสูตร 30-5-18 เหมาะสำหรับยางเปิดกรีดแล้วในทุกเขตปลูกยาง
ปริมาณการ ใส่อย่าง ปุ๋ยสูตร 30-5-18 สำหรับหรับยางเปิดกรีด แนะนำให้ใส่อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี โดยการแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งละ 0.5 กิโลกรัม/ต้น ในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน
แต่ก็มีเกษตรกรหัวก้าวหน้าที่นิยม ใส่ปุ๋ยมากกว่าที่กรมวิชาการเกษตร แนะนำ อาจจะใส่ 2 ครั้งๆ ละ 1 กก.ก็มี เพื่อต้องการ ให้ต้นยางสมบูรณ์ผลิตน้ำยางได้เต็มที่ หรือจะใส่ต้นละครึ่งกิโลกรัม ตามที่แนะนำ แต่ใส่ถี่ขึ้น เป็น 3 ครั้ง เป็นต้น
แต่อีกแนวทางหนึ่ง ที่กรมวิชาการเกษตร และ สกย.พยายามส่งเสริมคือ การผสมปุ๋ยใช้เอง หรือเรียกว่า “ปุ๋ยสั่งตัด” คือเกษตรกรซื้อแม่ปุ๋ยมาผสมใช้เอง ซึ่งจะได้เนื้อปุ๋ยล้วนๆ ประหยัดทั้งต้นทุน และต้นยางได้อาหารเต็มที่
การใส่ปุ๋ยยางพารา ตรงไหน จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด
ปุ๋ยดีมีคุณภาพสูงอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ ถ้าใส่ปุ๋ยไม่ถูกที่ถูกจุด…???
โดยหลักของการให้ปุ๋ย เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยบริเวณที่มีรากดูดกินอาหารหนาแน่น ดังนั้นอายุของต้นยางจึงมีความสำคัญ อย่าง ต้นยางเล็ก ควรให้ใส่ปุ๋ยเป็นวงกลมรอบลำต้น
แต่ถ้าต้นยาง 17 เดือนขึ้นไป ควรใช้วิธีหว่านปุ๋ยกระจายสม่ำเสมอเป็นแถบยาวไปตามแถวของต้นยางในร่องที่เซาะไว้ห่างจากโคนต้นข้างละ 1 เมตร
ส่วน ต้นยางอายุ 5 ปีขึ้นไป ให้หว่านปุ๋ยเป็นแถบกว้าง ห่างจากโคนต้นยางอย่างน้อย 50 เซนติเมตร และขยายออกไปถึง 3 เมตร และต้นยางที่เปิดกรีดแล้ว ให้หว่านปุ๋ยทั่วแปลง ห่างจากโคนต้นยางข้างละ 1 เมตร
ทั้งนี้การให้ปุ๋ยด้วยวิธีการหว่าน เหมาะกับสวนยางพื้นที่ราบและมีการกำจัดวัชพืชแล้ว ยิ่งมีเศษซากพืชที่เหลือจะช่วยป้องกันการชะล้างปุ๋ยในช่วงฝนตกได้ดี
แต่ถ้าเป็นเป็นสวนยางพื้นที่ราบมีการไถจนเรียบ อาจจะใช้วิธีคราดให้ปุ๋ยเข้ากับดินเพื่อป้องกันน้ำฝนชะล้างปุ๋ย
สำหรับพื้นที่ดอน หรือลาดเท พื้นที่เขา ไม่ควรใช้วิธีการหว่านเด็ดขาด เพราะโอกาสที่จะถูกชะล้างจากน้ำฝนสูง เมื่อฝนตกเม็ดปุ๋ยจะละลายและไหลไปตามน้ำ ต้นยางได้กินน้อยมาก เป็นการสิ้นเปลืองปุ๋ยอย่างรุนแรง
ดังนั้นจึงต้องใช้ วิธีใส่ปุ๋ยยางพารา ด้วยการฝังกลบ โดยทำได้ 2 วิธีคือ ไถหรือขุดเป็นแถบทางยาว ใส่ปุ๋ยและไถกลบ หรือขุดหลุมประมาณ 2-4 หลุม/ต้น แล้วใส่ปุ๋ยลงในหลุมและกลบก็ได้ แล้วแต่ความสะดวกของเกษตรกร
อย่างไรก็ตามแนะนำว่าเกษตรกรไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว เพื่อเป็นการบำรุงดิน ให้สมบูรณ์ และลดต้นทุนปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ร่วมด้วย จะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอยู่ในท้องตลาด หรือปุ๋ยขี้ไก่ ขี้วัว ก็แล้วแต่ทุนทรัพย์ และความสะดวก
หน้าฝนควรระวังเรื่อง “โรค” ในสวนยาง โดยเฉพาะหน้ากรีด
แม้ว่าฝนจะเป็นปัจจัยจำเป็นของการทำสวนยาง แต่ถ้ามากเกินไปก็อาจจะสร้างผลกระทบเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนที่ตกติดต่อกันหลายวัน ทำให้ความชื้นในสวนยางสูง เหมาะแก่การเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของเชื้อราที่ก่อโรคกับต้นยาง
ยิ่งต้นยางต้องผ่านการกรีด เกิดแผล ยิ่งง่ายต่อการเกิดโรค
โรคที่มักพบในสวนยางช่วงหน้าฝน เช่น โรคใบร่วง โรคไฟทอปธอรา โรคเปลือกเน่า และโรคเส้นดำ เป็นต้น
โรคที่มักจะเกิดกับหน้ายางมากที่สุดคือ คือ โรคเปลือกเน่าและโรคเส้นดำ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ควรหยุดกรีดยางในช่วงฝนตกชุก หรือตกติดต่อกันหลายวัน โดยเฉพาะเดือนสิงหาคม-กันยายน จะมีปริมาณฝนตกมากที่สุด
การกรีดยางในวันที่มีฝนตก จึงไม่ควรกรีดหักโหม หรือหยุดกรีดในช่วงที่ฝนตกไปเลย
ขณะเดียวกันหลังการกรีดเกษตรกรควรใช้ทารักษาหน้ายางเป็นประจำ เช่น ยาเมทาแลคซิล หรือ ออกซาไดซิล+แมนโคเซบ พ่นหรือทาทุกๆ 7 วัน เพื่อป้องกันโรคจากเชื้อรา
แต่ถ้าต้นยางเป็นโรคแล้วก็ควรให้ใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราทาหน้ากรีดยาง โดยขูดเอาส่วนที่เป็นโรคออกแล้วทาสารเคมีจนกว่าหน้ากรีดยางจะแห้งเป็นปกติ
สารเคมีที่ใช้ เช่น เบโนมิล(benomyl) (ชื่อการค้า เบนเลท 50% WP) โดยใช้ในอัตรา 20 กรัม/น้ำ 1 ลิตร พ่นหรือทาหน้ากรีดยาง
ออกซาไดซิล+ แมนโคเชบ(oxadixyl+ mancozeb) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ทุก 7 วัน อย่างน้อย 4 ครั้ง
ไธอะเบนดาโซล(thiabendazole) โดยใช้ในอัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร
ขณะเดียวกันต้องมีการดูแลรักษาสวนยางให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น จนเป็นแหล่งกำเนินและสะสมของโรค เช่น คอยหมั่นตัดแต่งกิ่งก้านและกำจัดวัชพืชในสวนยางให้โล่งเตียน เพื่อลดความชื้นและความรุนแรงของโรค เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีเกษตรกรควรดูแลป้องกัน เป็นดีที่สุด อย่าปล่อยให้เป็นหรือลุกลาม เพราะอาจจะสายเกินไปก็เป็นได้ นั่นอาจหมายถึงความสูญเสียทั้งต้นยางและรายได้
tags: การใส่ปุ๋ยยางพารา หน้าฝน ป้องกันโรค ปุ๋ยยางพารา สูตรปุ๋ยยางพารา ใส่ปุ๋ยยางพารา วิธีใส่ปุ๋ยยางพารา การใส่ปุ๋ยยางพารา ปุ๋ยยางพารา สูตรปุ๋ยยางพารา ใส่ปุ๋ยยาง
[wpdevart_like_box profile_id=”112152085551102″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]