ต้นหอม ถ้าให้พูดหลายๆ ท่านคงจะรู้จัก มีไว้ใช้สำหรับโรยตกแต่งบนจานอาหารบ้าง หรือนำไปผัดกับข้าวบ้าง และก็จะชินกับคำว่า ต้นหอม ผักชี เป็นของคู่กัน แต่หลายๆ คนอาจจะมองข้ามไปว่า จริงๆ แล้วต้นหอมมีสรรพคุณที่คาดไม่ถึงอยู่ อย่ามองเพียงว่าต้นหอมเป็นพืชที่ตกแต่งเฉพาะบนจาน บางทีอาจจะมีอะไรมากกว่าที่คิดก็เป็นได้
ถ้าพูดถึงพืชผักที่สามารถนำไปประกอบอาหารได้ โรยประดับตกแต่งบนจานอาหารได้นั้น เมื่อพูดมาขนาดนี้แล้ว สิ่งนั้นก็คือ ต้นหอม พืชของไทยที่ใช้คู่กับพืชผักหลายชนิด เช่น ผักชี ตะไคร้ ฯลฯ ต้นหอมนิยมนำมาผัดในข้าวผัด หรือเมนูประเภทต้ม มีกลิ่นที่ฉุน สามารถเพาะปลูกได้แถบทุกภูมิภาคของประเทศไทย มีการนิยมปลูกกันมาก พอๆ กับพืชอื่นๆ เพราะเป็นพืชที่มีระยะเวลาในการเจริญเติบโตไม่นาน ทำให้เก็บผลผลิตได้รวดเร็ว พร้อมจำหน่ายได้รวดเร็ว
ลักษณะทั่วไปของต้นหอม
ต้นหอมเป็นพืชล้มลุก มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบตะวันออกกลาง โดยพืชชนิดนี้สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี เป็นพืชที่มีความคงทนต่อสภาพอากาศพอสมควร ในเมืองไทยมี การปลูกต้นหอม เป็นจำนวนมาก จนเป็นพืชส่งออกเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศ เพราะการเพาะปลูกต้นหอมในประเทศนั้นมีการเพาะปลูกเป็นจำนวนมาก โดยต้นหอมจะอยู่ในจำพวกประเภทเดียวกับพวกกระเทียม
ต้นหอมยังเป็นพืชที่เด็กๆ ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญน้อย ถึงขั้นไม่ชอบเลย เพราะเด็กเล็กจะมองว่าเป็นผักเขียวๆ เล็กๆ จะเขี่ยออก เลยทำให้ไม่เห็นถึงคุณประโยชน์ของต้นหอมมากนัก นอกจากประเภทต้ม ผัด แล้วนั้น ต้นหอมยังอยู่ในส่วนประกอบของเมนูไข่ ไม่ว่าจะเป็นไข่เจียว ตุ๋น น้ำ ฯลฯ หลายๆ ฝ่ายมองเห็นว่าความจริงแล้วต้นหอมเองก็มีคุณประโยชน์อยู่ไม่น้อย จึงมีการพัฒนาและวิจัยอย่างมากมาย ทั้งสรรพคุณทางยา การศึกษา ถึงจะเป็นต้นเล็กๆ แต่ก็มีคุณประโยชน์ที่เหมาะสมกับร่างกายไม่น้อยเลยทีเดียว
ต้นหอมเป็นพืชล้มลุกจัดอยู่ในประเภทเดียวกับกระเทียม ส่วนหัวจะอยู่ใต้ดินเพื่อใช้ในการสะสมอาหาร ตัวใบมีลักษณะยาว ทั้งต้นจะมีกลิ่นหอมฉุนและรสซ่าเล็กน้อย ใบและหัวของต้นหอมกินเป็นผักเคียงกับอาหารหลากหลายชนิด เช่น เปาะเปี๊ยะสด หรือข้าวหมูแดง หรือนำไปโรยบนโจ๊ก ยำ ก๋วยเตี๋ยว ยิ่งช่วยเพิ่มให้อาหารบนจานดูน่ารับประทานยิ่งขึ้น แถมยังช่วยเพิ่มคุณค่าทางอาหารอีกต่างหาก โดยในต้นหอม 100 กรัม จะมีเส้นใยอาหารประมาณ 1.1 กรัม ช่วยป้องกันอาการท้องผูก และลดคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือดด้วย แถมยังมีสรรพคุณทางยาช่วยในการต้านการเกิดมะเร็ง ช่วยขับเหงื่อ บำรุงหัวใจ ลดไข้ แก้คัดจมูก ฯลฯ จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของต้นหอมมีมากมายเกินขนาดตัวเลยทีเดียว
เป็นพืชล้มลุกอยู่ในตระกูลเดียวกับพวกกระเทียม โดยลักษณะของหัวนั้นจะมีลักษณะเป็นสีขาวบ้าง หรือสีม่วงปนอยู่บ้าง โดยส่วนหัวจะอยู่ในดิน ทำหน้าที่ในการสะสมอาหาร ใบเป็นลักษณะท่อยาว ปลายแหลม ภายในใบจะกลวง เมื่อบานช่อดอกจะมีลักษณะคล้ายกับร่ม และมีดอกย่อยเป็นจำนวนมาก โดยทางพฤกษศาสตร์ของต้นหอมแล้วสามารถรับประทานได้ ทั้งใบ ดอก และหัว โดยส่วนใหญ่แล้วจะนำไปเป็นผักเครื่องเคียง และใช้โรยตกแต่งบนจานอาหาร
การปลูกและบำรุงดูแลต้นหอม
การปลูกต้นหอม จะแบ่งเป็นการปลูกแบบไว้บริโภคในครัวเรือน กับการปลูกในแปลงเพื่อจำหน่าย ถ้าเน้นปลูกไว้บริโภคภายในครัวเรือนใช้กระถางเพียงหนึ่งใบ เป็นขนาดกลาง-ใหญ่ หรือใช้พื้นที่เล็กๆ ก็สามารถปลูกต้นหอมได้แล้ว แต่ถ้าจะเริ่มลองปลูกเพื่อศึกษา และเพื่อแบ่งขายในเชิงการค้า ก็ต้องเริ่มศึกษาวิธีการปลูก เตรียมแปลง ใช้พื้นที่ประมาณไหน เท่าไหร่ เสียก่อน ที่จะทำการปลูกในแปลงใหญ่ แต่ทั้ง 2 วิธี ก็จะมีกรณีศึกษาที่ไม่ต่างกันมากนัก เพียงแค่การวัดขนาดพื้นที่ และเตรียมดินให้พร้อม ก็สามารถที่จะพร้อมปลูกต้นหอมได้
เริ่มจากไถดินให้ลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อไถดินเสร็จให้ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน เพื่อเป็นการกำจัดโรคพืช และศัตรูพืช ภายในแปลงออกให้หมด หลังจากนั้นทำการปรับสภาพดินด้วยปูนขาว ในกรณีที่ดินมีกรดมากถึงต้องใช้มากหน่อย แต่ถ้าไม่เยอะมากก็เน้นประมาณที่พอดี โดยโรยบางๆ ให้ทั่วบริเวณแปลง
หลังจากทำการปรับสภาพดินเรียบร้อยให้ทำการเสริมธาตุอาหารในดินด้วยปุ๋ยหมักชีวภาพ โดยใช้ประมาณ 1-2 ตัน และใส่เศษพืช เช่น ใบไม้แห้ง หญ้าแห้ง ประมาณ 3-4 คลุกเคล้าในดินให้เรียบร้อย การทำแบบนี้จะใช้ต่อพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ หลังจากนั้นยกร่องแปลงกว้าง 1 เมตร ปรับหน้าดินให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม หมักทิ้งไว้ 5-7 วัน ก่อนนำต้นพันธุ์มาปลูก และทำการจัดระยะการปลูกให้พอดี โดยระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 10-15 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 10-15 เซนติเมตร หลังจากเตรียมแปลงแล้วให้รดน้ำในแปลงให้ชุ่ม ระวังอย่ารดจนแฉะเกินไป
การเพาะปลูกต้นหอมนั้นทำได้ 2 วิธี คือ การใช้หัวปลูก กับใช้เมล็ดหว่าน แต่การใช้เมล็ดจะประหยัดกว่า โดยใช้ระยะเวลาในการปลูกประมาณ 45 วัน แต่ที่นิยมปลูกนั้นจะใช้วิธีการปลูกแบบหัวปลูก เพราะใช้ระยะเวลาในการปลูกน้อยกว่า และใช้เวลาเก็บเกี่ยวประมาณ 1 เดือน จากนั้นต้องหมั่นรดน้ำเช้า-เย็น จนเมื่อต้นเริ่มมีใบยื่นยาว ให้ลดการรดน้ำเหลือวันละ 1 ครั้ง โดยเคล็ดลับ การปลูกต้นหอม ให้งอกงามนั้นอยู่ที่การคลุมดินให้คงความชื้นไว้ตลอด แต่จะต้องระบายน้ำได้ดี
โดยการนำเอาฟางแห้ง หญ้าแห้ง แกลบดิน มาคลุมหน้าดินไว้ ต้นหอมจะโตเต็มที่สามารถนำมาใช้งานได้ โดยความสูงจะอยู่ที่ 1 ฟุตกว่า ก็สามารถที่จะถอนออกมาได้เลย ส่วนแมลงที่เป็นศัตรูกับต้นหอมนั้น คือ เพลี้ยไฟ การกำจัดจะใช้แลนเนท 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 10 ลิตร แล้วฉีดพ่นวันละ 7-10 ครั้งต่อวัน เพื่อป้องกันการเกิดเพลี้ยไฟระบาด การปลูกต้นหอม จะแบ่งเป็นตามสายพันธุ์ โดยแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปในเรื่องของการทนต่อสภาพภูมิอากาศ ความชื้น มีความสัมพันธ์กัน
การให้น้ำเป็นระบบสปริงเกลอร์หัวปกติ และทำการรดน้ำในช่วงเช้าและช่วงเย็น ในตอนเช้านั้นใช้ระยะเวลาในการรดประมาณ 5 นาที ในส่วนของตอนเย็นใช้ระยะเวลาในการรดประมาณ 2 นาที เมื่อต้นหอมเจริญเติบโตขึ้นมาประมาณ 1 นิ้ว ให้พักการรดน้ำ โดยเปลี่ยนเป็นการรดวันเว้นวันแทน หากรดทุกวันตาจะไหม้ ทำให้ต้นหอมเน่าได้
ส่วนการใส่ปุ๋ยนั้นให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในการใส่ลงแปลงประมาณ 1-2 ตัน ต่อไร่ของพื้นที่ปลูก ส่วนปุ๋ยเคมีใช้สูตร 20-10-10 หรือ 46-0-0 อัตราเฉลี่ยประมาณ 20-25 กรัม ต่อไร่ โดยทำการแบ่งใส่ 2 ครั้ง ก่อนปลูก และหลังปลูก 20 วัน หรือเมื่อต้นหอมมีอายุได้ประมาณ 20-25 วัน ให้ใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร พร้อมใส่ปุ๋ยน้ำชีวภาพเล็กน้อย
ในส่วนของน้ำหมักชีวภาพนั้นจะมีส่วนผสม คือ ปุ๋ยชีวภาพ 10 กิโลกรัม ปุ๋ยคอกแห้ง 3 กิโลกรัม และใบของพืชตระกูลถั่ว 5 กิโลกรัม และผสมคลุกเคล้าในภาชนะ ใส่น้ำเปล่า 100-200 ลิตร หรือใส่น้ำเปล่าจนท่วมสูงประมาณ 10 เซนติเมตร หมักทิ้งไว้ 1 คืน และจากนั้นจึงนำไปฉีดพ่นทุกๆ 7 วันต่อครั้ง
การบริหารจัดการในแปลงต้นหอม
หากต้นหอมเกิดโรคจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการตัดทิ้ง และนำไปทำลายในทันที ถ้าเกิดโรค เช่น โรคใบไหม้ ให้นำน้ำปูนใสมารดราดใส่ลงในแปลงที่เกิดโรคในช่วงที่โรคกำลังระบาด เพื่อเป็นการป้องกันและไม่ให้ลามไปติดแปลงอื่น รวมทั้งปลูกต้นผักชีแซม ก็จะสามารถช่วยป้องกันหนอนหลอดได้เช่นกัน หรือทำการฉีดน้ำหมักชีวภาพเพื่อเป็นเกราะป้องกัน และเสริมให้ต้นหอมมีคุณภาพแข็งแรงมากขึ้น ทั้งยังช่วยในการลดการระบาดของโรคที่เกี่ยวกับต้นหอม
ในการเก็บเกี่ยวต้นหอมนั้นจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในระยะเวลา 1 ครึ่ง-2 เดือน สามารถเก็บเกี่ยวเพื่อนำมาบริโภค ถ้าหากปลูกในควรเรือน หรือเตรียมจะจำหน่าย ซึ่งในการเก็บเกี่ยวนั้นก่อนที่จะเก็บควรรดน้ำในแปลงต้นหอมให้ชุ่มเสียก่อน จากนั้นใช้มือจับบริเวณโคนต้นโดยการดึงขึ้นมาเบาๆ และในการดึงจะต้องดึงให้รากติดมาด้วยทุกครั้ง หลังจากนั้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด พอเสร็จแล้วจึงนำไปผึ่งให้แห้ง โดยการผึ่งจะต้องผึ่งในที่ร่มเท่านั้นห้ามนำไปผึ่งกลางแจ้งโดยเด็ดขาด จะทำให้ใบไหม้และเหี่ยวเฉาก่อนถึงมือผู้บริโภค
วิธี การปลูกต้นหอม
- วัสดุและอุปกรณ์
-กระถางต้นไม้ที่มีรูระบาย
-ดินร่วน
-เปลือกถั่วลิสง
-เมล็ดต้นหอม
-รากต้นหอม
วิธีทำ
เตรียมดินด้วยการพรวนดินให้ร่วน และทำการทุบเปลือกถั่วลิสงให้เป็นชิ้นเล็ก ไม่ต้องถึงกับละเอียดจนเกินไป หลังจากนั้นนำถั่วลิสงมาผสมเข้ากับดินคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วตักดินที่ทำการผสมแล้วเรียบร้อยใส่กระถาง โดยไม่ต้องกดให้ดินแน่นจนเกินไป
ถ้าทำการปลูกแบบปักชำให้ใช้กรรไกรหรือมีดที่มีความคมพอสมควรตัดต้นหอมให้เหนือรากขึ้นมาพอประมาณ หลังจากนั้นทำการปักชำลง โดยให้ระยะห่างแต่ละต้นนั้นห่างกันประมาณ 2 นิ้ว และรดน้ำพอชุ่ม ห้ามแฉะเกินไป สามารถปลูกแบบการโรยเมล็ดลงหน้าดินได้ โดยกะปริมาณการโรยลงกระถางให้พอดี เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการเบียดกันจนเกินไป ถ้าโรยลงกระถางเยอะเกินไปจะทำให้ตัวรากของต้นหอมติดและพันกัน เวลาถอนจะทำให้ดึงรากต้นอื่นมาด้วย จะทำให้รากขาดได้ ทำการรดน้ำทั้งตอนเช้าและตอนเย็นตากปกติ ถ้าใบมีสีเขียวแล้วให้ลดการรดน้ำลงให้เหลือแค่วันละ 1 ครั้ง
การปลูกต้นหอม ในกระถางนั้นไม่จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเพื่อการดูแลก็ได้ ให้ใช้เปลือกถั่วลิสงทุบให้ละเอียด หรือ ทำเศษเปลือกไข่ที่แตกไปโรยหน้าดินก็เพียงพอแล้วในการที่จะรักษาความชื้น แต่ถ้าใครจะใส่ก็สามารถทำได้แต่ใส่ในประมาณที่พอดี ไม่จำเป็นต้นใส่เยอะจนเกินไป
ต้นหอมที่ปลูกด้วยเมล็ดจะมีอายุประมาณ 45 วัน ส่วนที่แบบปักชำจะใช้รากในการปลูก จะสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อครบ 1 เดือน ถ้าไม่สะดวกนับวันให้สังเกตจากความสูงของต้นหอม ถ้าต้นหอมมีความยาวเกือบถึง 1 ฟุต สามารถถอนและตัดใบนำไปบริโภคได้เลย
ประโยชน์และสรรพคุณของต้นหอม
ต้นหอมมีสรรพคุณในการรักษาโรคและช่วยบรรเทาอาการโรคต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันหอมระเหยที่ช่วยบรรเทาอาการหวัด มีสารฟลาโวนอยด์ช่วยในการต้านมะเร็ง ช่วยป้องกันอาการท้องผูก และลดคลอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ช่วยต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย ลดความเสี่ยงจากอาการโรคกระดูกพรุน เพราะมีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ป้องกันโรคโลหิตจาง ขับเหงื่อแก้อาหารบวมแดงได้ดี มีสารเคอร์ซิดิน ช่วยในการบรรเทาอาการอักเสบ ป้องกันแบคทีเรีย และไวรัส
การเพาะปลูกสามารถทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก การดูแลก็ง่าย ปลูกไว้กิน ไว้ใช้ หรือนำไปจำหน่ายก็สามารถทำได้ เพราะต้นหอมเป็นพืชที่ดูแลได้ง่าย สามารถปลูกได้ เพียงแค่ตั้งใจจริง ต้นหอมไม่ใช่แค่พืชประดับบนจานอาหาร แต่คุณประโยชน์ของต้นหอมนั้นถ้าให้พูดก็เหมือนกับคำว่า เล็กพริกขี้หนู ถึงแม้จะเป็นต้นเล็กๆ ที่หลายคนอาจจะมองข้าม แต่กับมีประโยชน์ครอบคลุมหลายด้าน การปลูกต้นหอม เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่ถ้ามีคนสนใจก็สามารถนำมาปลูกได้ เพราะไม่ยากเลยที่จะเริ่มปลูก เพื่อแค่ลงมือและศึกษาอย่างจริงจัง จะรู้ว่า การปลูกต้นหอม นั้นไม่ยากอย่างที่หลายๆ คนยังไม่เคยปลูกคิด ถ้าสนใจลองศึกษา และลองถามผู้ที่มีประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญดู ก็สามารถที่จะเริ่มลงมือทำได้แล้ว
อย่างที่บอกไปต้นหอมถึงแม้จะเป็นพืชตัวเล็ก มองภายนอกก็แค่กินๆ ไปก็หมดแล้ว อาจจะไม่ได้อะไรมากมาย แต่หารู้ไม่ต้นหอมนั้นมีสรรพคุณต่างๆ มากมาย ที่หลายๆ คนอาจจะคาดไม่ถึง ที่กล่าวแบบนี้เพราะว่า พืชผักหลายชนิดที่ทุกคนบริโภคกันอยู่ทุกวันนั้นล้วนแล้วแต่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแทบทั้งสิ้น จงอย่ามองข้ามคุณประโยชน์ในพืชผักที่รับประทานกันอยู่ทุกวันเลย ต้นหอมก็เป็นอีกหนึ่งชนิดที่มีคุณประโยชน์ ทั้งสามารถนำไปปรุงเป็นยา วิจัยพัฒนาเพื่อการรักษา ประกอบอาหาร ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำกัน ถ้าหลายคนมองเห็นถึงคุณประโยชน์ของต้นหอมจะรู้ว่าพืชชนิดนี้น่าสนใจมากจริงๆ