น้ําหมักชีวภาพ เพื่อใช้เอง แจก! 4 สูตร วิธีและขั้นตอนการทำ ทำง่าย ใครก็ทำได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

น้ำชีวภาพ คือ จุลินทรีย์ที่เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก สามารถพบได้ทุกแห่งของธรรมชาติ ซึ่งตัวจุลินทรีย์นี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างมาก อาจจะเป็นทั้งทางตรงและทางอ้อม สิ่งมีชีวิตทั้งหมดล้วนแล้วแต่ต้องการและมีความจำเป็นต้องมีจุลินทรีย์ทั้งสิ้น นอกจากนี้ในทางการเกษตรเอง จุลินทรีย์ก็ยังมีหน้าที่ช่วยให้เกิดกระบวนการหมักของผลผลิตที่จะได้ในการหมักนั้น ส่วนสิ่งที่ได้จากการหมักนี้เราจะเรียกว่า “ น้ําหมักชีวภาพ ”

1.น้ำหมักชีวภาพ
1.น้ำหมักชีวภาพ

คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพ              

น้ำหมักชีวภาพเกิดจากกระบวนการหมักของเศษซากพืช ซากสัตว์ และสารอินทรีย์ต่างๆ ที่สามารถหาได้ทั่วไปตามบ้านและในพื้นที่ ซึ่งจะเกิดจากการหมักร่วมกับกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และหมักทิ้งไว้จนทำให้เกิดเป็นน้ำหมักชีวภาพ หรือที่เรียกว่า น้ำชีวภาพ หรือน้ำอีเอ็ม ซึ่งก็จะมีการจำแนกออกไปอีกว่าน้ำหมักชีวภาพแต่ละชนิดนั้นเกิดจากการหมักของวัสดุประเภทใด ไม่ว่าจะเป็นเศษพืช ก็จะเรียกว่า น้ำหมักชีวภาพจากพืช หรือจากเศษซากสัตว์ ก็จะเรียกว่า น้ำหมักชีวภาพจากซากสัตว์

ซึ่งกระบวนการทำน้ำหมักชีวภาพนั้นก็จะแตกต่างกัน และใช้ระยะเวลาในการหมักไม่เท่ากัน เพราะการย่อยจุลินทรีย์นั้นจะกินเวลาต่างกัน แต่คุณภาพที่ได้ก็ไม่ต่างกันมากนัก เพราะเป็นวัตถุจากธรรมชาติ จะมั่นใจได้ว่าปลอดสารเคมีอย่างแน่นอน

น้ำชีวภาพหรือน้ำอีเอ็มเกิดจากกระบวนการที่ผ่านการหมักด้วยกรรมวิธีที่ใช้จุลินทรีย์เป็นตัวกระตุ้นในการหมัก ทำให้เกิดเป็นน้ำชีวภาพที่สามารถนำไปใช้ได้หลากหลาย อาทิ เช่น การนำไปรดในแปลงพืชผัก การนำไปปรับสภาพน้ำคูคลองให้มีความเป็นกลาง เป็นต้น

โดยลักษณะทั่วไปของน้ำชีวภาพนั้นจะมีสีน้ำตาล หรือสีน้ำตาลเข้มใส และมีการตกตะกอนแยกชั้นระหว่างน้ำหมักและกากอย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังมีกลิ่นที่เปรี้ยว ไม่เหม็น คุณประโยชน์ของน้ำชีวภาพนั้นสามารถช่วยให้พืชพันธุ์ทางการเกษตรนั้นมีคุณภาพที่ดีขึ้น ถ้าอยากรู้ต้องลองศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำชีวภาพให้มากขึ้น โดยสามารถทำเองได้ เรียนรู้ด้วยตนเองได้ ถ้าสนใจก็ลองศึกษาดูได้ว่ามันไม่ยากเลยถ้าเราลองทำ

2.น้ำหมักชีวภาพจากพืช-สัตว์-ผลไม้
2.น้ำหมักชีวภาพจากพืช-สัตว์-ผลไม้

การทำน้ำหมักชีวภาพ

การทำการเกษตรในปัจจุบันมีความก้าวหน้ามากขึ้น จากแต่ก่อนที่เราพึ่งพาสารเคมีปริมาณมากในการทำเกษตรกรรม ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศของเราเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสุขภาพของผู้ใช้งานเอง จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการหันมาทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

น้ำหมักชีวภาพนี้เกิดจากกระบวนการหมักของจุลินทรีย์ คือ การนําเอาพืช ผักผลไม้ เศษอาหาร หรือมูลสัตว์ มาหมักกับกากน้ำตาล ทำให้เกิดจุลินทรีย์จำนวนมาก จุลินทรีย์เหล่านี้ได้ทำหน้าที่ย่อยสลายธาตุอาหารต่างๆ ในผัก ผลไม้ หรือมูลสัตว์ ที่เราหมัก และผลที่ได้จากกระบวนการหมักนี้ คือ น้ำหมักชีวภาพซึ่งอุดมไปด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น โปรตีน กรดอะมิโน ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง เป็นต้น

น้ำหมักทางชีวภาพ มี 4 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

1.น้ำหมักทางชีวภาพจากพืช ซึ่งได้จากการนำพืชผัก หรือผลไม้ มาผสมกับกากน้ำตาลทิ้งไว้ 3-7 วัน

2.น้ำหมักทางชีวภาพจากสัตว์ เป็นการนำเอาวัตถุดิบจากสัตว์มาใช้ในการหมัก เช่น มูลสัตว์ ซากสัตว์ เป็นต้น โดยใช้วิธีการเดียวกันกับน้ำหมักชีวภาพที่ทำจากพืช

3.น้ำหมักชีวภาพจากเศษปลา

4.น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะเฟือง

3.นำพืชผัก-ผลไม้-เศษอาหาร หรือมูลสัตว์ มาหมักกับกากน้ำตาล
3.นำพืชผัก-ผลไม้-เศษอาหาร หรือมูลสัตว์ มาหมักกับกากน้ำตาล

ขั้นตอนของการทำน้ำหมักชีวภาพ

วัตถุดิบที่ใช้ในการทำน้ำหมักชีวภาพ

-เศษพืชผัก ผลไม้ เศษอาหาร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

-น้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด อาทิเช่น น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง กากน้ำตาล ฯลฯ โดยเฉพาะกากน้ำตาล ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำตาลชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากอุตสาหกรรมน้ำตาล

-ถังสำหรับหมัก ควรเป็นถังพลาสติก หรือกระเบื้องเคลือบ ที่มีฝาปิดมิดชิด ไม่ควรใช้ถังประเภทโลหะ หรือปูนซีเมนต์เพราะน้ำหมักจะเข้าไปกัดกร่อนภาชนะ

-น้ำสะอาด

ขั้นตอนในการทำน้ำหมักชีวภาพนั้นทำไม่ยากอย่างที่หลายๆ คนคิด โดยการนำเศษผัก ผลไม้ หรือเศษอาหาร มา 3 ส่วน หั่นเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาผสมกับน้ำตาล 1 ส่วน และใส่น้ำอีก 10 ส่วน นำส่วนผสมทั้งหมดเทลงในถังที่เตรียมไว้ แล้วคลุกเคล้าส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิท อย่าให้อากาศเข้าไป แล้วตั้งทิ้งไว้ในที่ร่มเป็นเวลา 3 เดือน ช่วงเวลาตลอด 3 เดือนนี้ ภายในถังจะเกิดกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์เกิดขึ้น

กระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ด้วยจุลินทรีย์ โดยใช้กากน้ำตาล และน้ำตาลจากสารอินทรีย์ เป็นแหล่งพลังงาน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ

1.การหมักแบบต้องการออกซิเจน เป็นการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่ต้องการออกซิเจนสำหรับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ เพื่อสร้างเป็นพลังงาน และเป็นอาหารให้แก่เซลล์ การหมักชนิดนี้จะเกิดน้อยในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ และเกิดเฉพาะในช่วงแรกของการหมักเท่านั้น แต่เมื่อออกซิเจนในน้ำ และอากาศ เริ่มหมด จุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจนจะเริ่มลดจำนวนลง และหมดไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand

2.การหมักแบบไม่ต้องการออกซิเจน เป็นการหมักด้วยจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ต้องการออกซิเจนสำหรับกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ การหมักชนิดนี้จะเกิดขึ้นมากในกระบวนการหมักน้ำหมักชีวภาพ ผลิตภัณฑ์ที่ได้ คือ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ส่วนพวกเมอเคปเทนและก๊าซซัลไฟด์ปล่อยออกมาเล็กน้อย

หลังจาก 3 เดือน เราก็จะได้น้ำหมักชีวภาพ โดยสังเกตได้จากภายในถังจะเกิดของเหลวสีน้ำตาลเกิดขึ้น ซึ่งของเหลวนั้นเองที่เป็นผลจากการหมัก เราสามารถนำมาใช้ได้เลย

4.กากน้ำตาลและน้ำตาลจากสารอินทรีย์
4.กากน้ำตาลและน้ำตาลจากสารอินทรีย์

เคล็ดลับในการหมักน้ำหมักชีวภาพ

นอกจากนี้เรายังมีเคล็ดลับในการหมักเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้ได้ผลดีมากขึ้นมาฝากกันด้วย

1.ไม่ควรเลือกใช้พืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหาร ที่บูดเน่ามาใช้ในการหมัก ควรหั่นเศษผัก ผลไม้ ให้มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้กระบวนการย่อยสลายง่ายขึ้น

2.หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วควรเทผสมลงไปแล้วลดปริมาณน้ำตาลลง

3.ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม เพราะพืชจำพวกนี้บริเวณผิวจะมีน้ำมันเคลือบอยู่ ทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถย่อยสลายได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ยังมีน้ำหมักชีวภาพชนิดอื่นๆ อีก ซึ่งเราคงจะคุ้นกับน้ำหมักที่ทำจากซากพืช กากน้ำตาล หรือพวกมูลสัตว์ กันดีอยู่แล้ว แต่ใครจะรู้ว่านอกจากสิ่งเหล่านั้นแล้วยังมีอย่างอื่นที่น่าสนใจไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นน้ำหมักจากทะเล คือ การเอาพวกเศษปลาต่างๆ หรือสัตว์ทะเล พวกปู กุ้ง มาทำเป็นน้ำหมัก หรือแม้กระทั่งน้ำหมักจากผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว อย่าง มะเฟือง ก็สามารถนำมาทำ น้ําหมักชีวภาพ ได้เช่นกัน เรามาดูกันดีกว่าว่าทำอย่างไรจึงจะได้น้ำหมักทั้ง 2 ชนิด เพิ่มกันดีกว่า

การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลา

เป็นที่บอกกันปากต่อปากในกลุ่มเกษตรกรผู้ที่ปลูกผักปลอดสารพิษ หรือผู้ที่ไม่ใช้สารเคมีในการทำการเกษตรว่า  น้ําหมักชีวภาพ จากปลานั้นถือเป็นน้ำหมักอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณภาพไม่น้อยกว่าสูตรที่ใช้กันอยู่แม้แต่น้อย เพราะเป็นการเอาวัตถุดิบจากปลาตามชุมชนที่มีอยู่มากมายหลายที่มาใช้เป็นส่วนในการทำน้ำหมัก แต่ไม่ใช่แค่เฉพาะจากปลาเพียงเท่านั้น

นอกจากนี้ยังนำส่วนอื่นๆ ของตัวปลามาทำน้ำหมักได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นก้างปลา หรือเศษปลา ที่เหลือจากการจำหน่าย หรือเหลือจากการนำไปใช้ ก็สามารถนำมาทำได้เช่นกัน น้ำหมักจากปลานั้นสามารถใช้งานได้หลากหลายไม่น้อยไปกว่าน้ำหมักสูตรปกติเลย ช่วยให้ผลไม้มีความดกและใหญ่มากเหมือนกัน ถ้ามีการนำไปใช้ในนาข้าวจะช่วยให้ข้าวเติบโตแข็งแรงได้ดี แถมยังได้รวงข้าวที่ใหญ่ขึ้นด้วย เพราะจะเข้าไปช่วยเพิ่มฮอร์โมนในข้าวนั่นเอง

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษปลา

เพียงนำเศษปลา และผัก ผลไม้ ต่างๆ มาหั่นให้มีขนาดเล็กพอประมาณ จากนั้นก็นำไปใส่ลงในถังเพื่อทำการหมัก แล้วนำกากน้ำตาลประมาณ 25 ลิตร มาใส่ลงไป ตามด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์ EM 1 ลิตร และปิดท้ายด้วยน้ำเปล่า ประมาณ 50 ลิตร คนให้เข้ากัน จากนั้นนำส่วนผสมที่นำมาเทลงในถังหมักที่มีปลาและเศษผลไม้ไว้อยู่ก่อนแล้ว คนให้เข้ากัน พอเสร็จก็ปิดฝาไม่ต้องสนิทมาก นำไปไว้ในที่ร่มไว้ 3 เดือน ก็สามารถนำออกมาใช้ในภาคการเกษตร และอื่นๆ ได้แล้ว

การทำน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้รสเปรี้ยว

น้ำหมักจากผลไม้รสเปรี้ยวนั้นยังไม่ค่อยเป็นที่คุ้นหูในภาคการเกษตรมากนัก แต่ถ้าในเรื่องของความสะอาดจะค่อนข้างรู้จักกันอยู่บ้าง เนื่องจากเป็นการนำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวมาทำเป็นน้ำหมัก จึงทำให้มีความเป็นกรดค่อนข้างสูง จึงเหมาะกับการทำความสะอาดบริเวณต่างๆ มากกว่า

ซึ่งการทำน้ำหมักจากผลไม้รสเปรี้ยวนี้ควรเลือกวัสดุที่ค่อนข้างสะอาด และไม่สกปรกมาก จะเหมาะสมมากที่สุด ซึ่งน้ำหมักที่ได้จากผลไม้รสเปรี้ยวนี้จะมีค่า pH อยู่ที่ 3-3.5 ซึ่งกรดที่ได้นี้จะมีคุณสมบัติในการช่วยสลายไขมัน หรือขจัดคาบสกปรกต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีน้ำมันหอมระเหยจากผลไม้เองช่วยให้ผ่อนคลายในการทำความสะอาดไปในตัว

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้จุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ (EM) ที่อยู่ในน้ำหมักนั้นจะช่วยยับยั้งการทำงานของจุลินทรีย์ ช่วยลดปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยประหยัดเงินได้อีกด้วย เพราะไม่ต้องเสียค่ากำจัดขยะมากนัก

ในการทำน้ำหมักที่มาจากผลไม้รสเปรี้ยวนั้น สิ่งสำคัญอันดับแรกเลย คือ ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว (ไม่ว่าจะเป็น มะนาว มะเฟือง สับปะรด มะกรูด ฯลฯ) โดยการเอามาทำนั้นอาจจะเอามาทั้งแบบแก่จัดหรือใช้ได้ทั้งเปลือกก็ได้ โดยจะใช้อยู่ที่ 3 กิโลกรัม หรือมากกว่านั้น ตามด้วยน้ำตาลทรายธรรมชาติ 1 กิโลกรัม น้ำสะอาด 10 ลิตร หัวเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ อีเอ็ม ชนิดน้ำ ในปริมาณเล็กน้อย

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้รสเปรี้ยว

เริ่มจากนำน้ำตาลทรายกับน้ำสะอาดใส่ลงถังพลาสติก คนจนให้น้ำตาลนั้นละลาย และให้ทำการหั่นผลไม้ตามแนวขวางเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงในถังที่ละลายน้ำตาลไว้ ควรเลือกใช้ถังที่ใส่วัตถุดิบทั้งหมด แล้วยังมีเหลือให้อากาศเพียงเล็กน้อย แล้วปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ประมาณ 1-3 เดือน ขึ้นอยู่กับว่าจะนำมาใช้ประโยชน์กับอะไร

ถ้าในระยะ 1-2 สัปดาห์แรก จะมีการเกิดฝ้าขาวขึ้นที่ผิวด้านบนน้ำหมัก และมีกลิ่นหอมคล้ายไวน์นั้น จะถือว่าน้ำหมักนั้นได้ผลดี แต่หากเป็นสีดำปน และมีกลิ่นเน่า แสดงว่ามีการปนเปื้อนจากเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ดีปนมา ให้นำไปทำลายโดยการเทลงพื้นปูนซีเมนต์ ให้โดนแดดส่องตลอดจะช่วยให้ระเหยเร็วขึ้น เนื่องจากเป็นน้ำหมักที่ใช้ไม่ได้ และมีกลิ่นเหม็นรุนแรง การให้แสงแดดช่วยถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

5.น้ำหมักชีวภาพ นำไปใช้สำหรับพืชผัก ผลไม้ และสัตว์
5.น้ำหมักชีวภาพ นำไปใช้สำหรับพืชผัก ผลไม้ และสัตว์

ประโยชน์ของ น้ําหมักชีวภาพ

1.ด้านการเกษตร ใช้ฉีดพ่นในดินหรือน้ำ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด-ด่าง ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี ช่วยเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในดินและน้ำ ช่วยเพิ่มอัตราการย่อยสลายสารอินทรีย์ในดิน ใช้รดต้นพืชเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืช ใช้ฉีดพ่นในแปลงเกษตร เพื่อช่วยต้านและลดจำนวนแมลงศัตรูพืช นอกจากนี้ยังเป็นสารที่ทำหน้าที่เหมือนฮอร์โมนพืช กระตุ้นการเกิดราก และการเจริญเติบโต ทำให้ผลผลิต และคุณภาพสูงขึ้น

2.ด้านปศุสัตว์ ใช้ฉีดพ่นตามพื้นดินในฟาร์มเพื่อลดกลิ่นเหม็นของมูลสัตว์ ซากพืช ซากสัตว์ ในฟาร์ม เพื่อป้องกันและลดจำนวนของจุลินทรีย์ก่อโรค ช่วยป้องกันแมลงวัน และการเจริญเติบโตของหนอนแมลงต่างๆ นอกจากนี้ยังใช้ผสมอาหารสัตว์จำพวกหญ้าเพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง รวมไปถึงการหมักหญ้าและฟางข้าวเพื่อให้ง่ายต่อการย่อย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

3.ด้านการประมง มักใช้ น้ําหมักชีวภาพ เติมในบ่อเลี้ยงปลาเพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ คือ เพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง เพิ่มจำนวนจุลินทรีย์สำหรับการย่อยสลายสิ่งสกปรกในบ่อ ลดจำนวนเชื้อโรคที่ก่อโรคเพื่อรักษาแผลของสัตว์น้ำ และช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ด้วยการช่วยย่อยสลายสิ่งเน่าเสียด้านล่างบ่อ

4.ด้านสิ่งแวดล้อม เราใช้น้ำหมักเติมในระบบบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชน ในบ่อขยะ เพื่อช่วยย่อยสลายขยะ และกำจัดกลิ่นเหม็น และใช้ปรับสภาพของเสียจากครัวเรือนก่อนนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตร

น้ําหมักชีวภาพ จัดเป็นตัวเลือกที่ดีในการทำการเกษตร ดังนั้นหากเราสามารถทำขึ้นมาใช้เองได้ก็จะเป็นทางเลือกที่ดี เพราะจะสามารถลดการใช้สารเคมีลง และเป็นการหันมาใช้ธรรมชาติรับมือกับธรรมชาติอย่างแท้จริงเลย วิธีการทำ น้ําหมักชีวภาพ นั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี และมีหลายขั้นตอนให้เลือกทำ อีกทั้งยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ไปได้อย่างดี ซึ่งบทความนี้ทางผู้เขียนอยากจะให้เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจลองหันมาศึกษาและลองทำ น้ําหมักชีวภาพ ชนิดต่างๆ ใช้เองดู จะช่วยลดปริมาณขยะ และช่วยฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี อยากให้ลองได้ศึกษากันดู

ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง

-บทความทางวิชาการ เรื่อง การทำ น้ําหมักชีวภาพ และสมุนไพร โดย  คุณพิณซอ กรมรัตนาพร นักวิชาการเกษตร ชํานาญการ ระดับ 8 สถานีฟาร์มฝึกนักศึกษา คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,http://www3.oae.go.th/rdpcc/images/filesdownload/km/Knowledge/productions/2.6.pdf,http://www.banrainarao.com/knowledge/biofer_10,http://oknation.nationtv.tv/blog/sonorwut/2013/11/02/entry-2