ตามหลักการทั่วไปแล้วในพืชทุกชนิดจะมีหน้าที่อยู่อย่างหนึ่งเพื่อเป็นการระบายและควบคุมอุณหภูมิของตัวเอง เรียกว่า “ การคายน้ําของพืช ” โดยการคายน้ำก็เหมือนกับการที่พืชนำอาหารไปเลี้ยงในรูปแบบของการละลาย ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิของใบนั้นลดลงได้ โดยการคายนั้นจะมีลักษณะที่หลากหลาย เป็นปัจจัยของพืชที่ทำหน้าที่อยู่ตลอดเวลา
การคายน้ำของพืช คือ กระบวนการที่พืชทำการเปิดปากใบ และส่วนอื่นๆ ตามช่วงเวลา เพื่อที่จะทำการคายน้ำ ในส่วนที่คายน้ำออกมามากที่สุดนั้นจะพบบริเวณปากใบของพืช ซึ่งพืชจะกำจัดน้ำออกมาในรูปแบบของไอน้ำ และขับออกจากส่วนอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งการคายน้ำของพืชนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดในช่วงเวลากลางวัน หรือสภาพอากาศที่มีความชื้นอยู่น้อย การคายน้ำก็เพื่อช่วยในการลดอุณหภูมิที่ใบ แต่ในกรณีที่พืชมีการคายน้ำมากเกินไปอาจจะทำให้พืชชนิดนั้นมีการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าเดิม
การคายน้ำในพืชนั้นส่วนใหญ่แล้วพืชจะใช้ช่วงเวลากลางวันในวันที่มีอากาศร้อน หรือสภาพความชื้นในอากาศนั้นมีน้อย เพื่อระบายน้ำในต้นให้มาช่วยรักษาความชื้นที่ตัวใบ ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นต์นั้นพืชจะเน้นการคายน้ำที่ใบเป็นหลัก นอกจากนี้พืชบางชนิดก็สามารถที่จะทนความร้อนได้เป็นอย่างดี การคายน้ำจึงมีความจำเป็นต่อพืชในบางชนิดเท่านั้น อย่างที่บอกว่าพืชนั้นถ้าคายน้ำมากเกินไปจะทำให้เกิดผลเสียต่อตัวพืชเอง ฉะนั้นถ้าสังเกตว่าใบพืชเริ่มเปลี่ยนสี หรือการเจริญเติบโตเริ่มช้า ก็หันมาใส่หรือพ่นน้ำให้กับใบในช่วงเวลาเย็น จะทำให้พืชนั้นสามารถรักษาอุณหภูมิในตัวได้
การคายน้ำของพืช
การคายน้ำของพืช คือ การแพร่น้ำของพืชออกจากใบ โดยการแพร่น้ำของพืชนั้นจะแพร่ออกทางปากใบเป็นส่วนใหญ่ ตามหลักทั่วไปแล้วพืชจะปิดปากใบในช่วงเวลากลางคืน และเปิดปากใบในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งการคายน้ำมีความสำคัญต่อพืชเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะเป็นการควบคุมปริมาณและการเคลื่อนไหวของน้ำภายในพืชชนิดนั้นๆ ซึ่งการคายน้ำนั้นพืชจะดูดขึ้นไปเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงบางส่วนเท่านั้น และอีกส่วนก็จะระเหยออกมาเป็นไอ เรียกว่า การคายน้ำของพืช
โดยส่วนใหญ่แล้วนั้นน้ำในพืชแต่ละชนิดนั้นจะระเหยออกมาทางปากใบของพืชชนิดนั้นๆ โดยจะเรียกว่า สโตมาทอลทรานสพิเรชัน นอกจากนี้อาจสูญเสียน้ำไปในทางส่วนอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นทางผิวใบ ส่วนของลำต้น ทางรอยแตกเล็กๆ ที่บริเวณลำต้น โดยหลักทั่วไปแล้วการคายน้ำทางผิวใบนั้นจะพบได้น้อยมาก เมื่อเทียบกับทางปากใบ แต่ถ้าพืชชนิดนั้นมีการขาดน้ำ ปากใบของพืชจะปิด ดังนั้นการคายน้ำทางผิวใบจะช่วยลดอุณหภูมิให้กับพืชชนิดนั้นๆ ไม่ให้พืชมีความร้อนที่สูงเกินไป
ประเภทการคายน้ำของปากใบ
การจำแนกของการคายน้ำนั้นโดยปกติแล้วจะเป็นการคายน้ำแบบธรรมดาทั่วไปที่รู้จักกัน นอกจากนี้ปากใบของพืชแต่ละชนิดยังมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพืชชนิดนั้นขึ้นอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน โดยทั่วไปแล้วชนิดของปากใบจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- การคายน้ำปากใบแบบธรรมดา ซึ่งเป็นปากใบแบบปกติของพืชทั่วไป โดยมีเซลล์คุมอยู่ในระดับเดียวกับเซลล์เอพิเดอร์มิส พืชที่มีปากใบชนิดนี้จะเป็นพืชที่อยู่ในที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของน้ำพอสมควร
- การคายน้ำปากใบแบบจม เป็นปากใบที่อยู่ลึกเข้าไปใบเนื้อใบของเซลล์ โดยอยู่ลึกกว่าหรือต่ำกว่าชั้นเซลล์แบบ
ธรรมดา โดยพืชที่มีปากใบชนิดนี้มักจะอยู่ในพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งเป็นอย่างมาก เช่น พืชทะเลทราย จำพวกกระบองเพชร พืชจำพวกแถบป่าชายเลน เช่น โกงกาง แสม ลำพู เป็นต้น
- การคายน้ำปากใบแบบยกสูง ปากใบชนิดนี้จะเป็นปากใบที่เซลล์จะอยู่สูงกว่าระดับทั่วไป เพราะจะช่วยให้การ
ระเหยของน้ำนั้นออกจากปากใบได้เร็วขึ้น โดยลักษณะของปากใบชนิดนี้จะสามารถพบได้กับพืชที่อยู่ในน้ำ หรือพืชที่ชอบความชื้นแฉะ อีกทั้งยังสามารถพบได้ในพืชที่มีใบเลี้ยงเดียวด้วย
การปิด-เปิดปากใบของพืช
การปิด-เปิดของปากใบขึ้นกับเซลล์คุมที่อยู่ข้างปากใบ เมื่อมีแสงสว่าง โพแทสเซียมไอออนในเซลล์คุมมากขึ้น ทำให้มีความเข้มข้นของสารละลายมากขึ้น น้ำจากเซลล์ที่อยู่ติดกันจึงออสโมซิส (Osmosis) เข้าสู่เซลล์คุม ทำให้เกิดแรงดันเต่งในเซลล์คุมไปดันผนังเซลล์ทำให้เกิดช่องว่างขึ้น เรียกว่า ปากใบเปิด ยิ่งเซลล์คุมมีแรงดันเต่งมาก ปากใบยิ่งเปิดกว้าง นอกจากนี้การปิด-เปิดของปากใบนั้นยังขึ้นอยู่กับแสงสว่าง และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย ดังนี้
–แสงสว่าง เนื่องจากเซลล์คุมมีคลอโรพลาสต์ ทำให้เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง ปริมาณน้ำตาลในเซลล์คุมเพิ่มความเข้มข้นของไซโทพลาซึม น้ำจากเซลล์ข้างเคียงจึงเกิดการออสโมซิสเข้ามา ทำให้เซลล์คุมเต่ง ปากใบจึงเปิด สำหรับเวลากลางคืนหรือเวลาไม่มีแสงไม่มีการสังเคราะห์ด้วยแสง น้ำตาลในเซลล์คุมถูกส่งออกไปนอกเซลล์คุมแล้ว หรือถ้ามีอยู่ในเซลล์คุมบางส่วนจะเปลี่ยนเป็นแป้งซึ่งไม่ละลายน้ำ ความเข้มข้นของเซลล์คุมลดลง น้ำจึงออสโมซิสออกสู่เซลล์ข้างเคียง แรงดันเต่งของเซลล์คุมลดลง ปากใบจึงปิด
–ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่าปากใบจะปิดเมื่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น เช่น ในอากาศปกติมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ 300 ส่วนในล้านส่วน ปากใบจะเปิด แต่ถ้าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มเป็น1,000 ส่วนในล้านส่วน ปากใบจะปิด อาจอธิบายการปิดปากใบตอนกลางคืนได้ว่าเนื่องจากปริมาณการสะสมคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการหายใจของเซลล์ในใบมาก
–อุณหภูมิที่เหมาะสม อุณหภูมิไม่ต่ำและไม่สูงจนเกินไป (25-30 องศาเซลเซียส) ทำให้ปากใบเปิด ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้ปากใบจะปิดแคบลง และถ้าอุณหภูมิต่ำมากๆ ปากใบก็จะปิดด้วย
–ปริมาณน้ำภายในใบ หากใบคายน้ำออกมาก เช่น ในเวลาบ่ายทำให้เซลล์ในใบขาดน้ำ แรงดันเต่งในเซลล์ของใบลดลงทำให้ปากใบปิด
–ฮอร์โมนบางชนิด ฮอร์โมนบางชนิดของพืชช่วยให้ปากใบปิดได้ เช่น กรดแอบไซซิก (Abscisic acid) ซึ่งพบว่ามีมากในใบแก่ หรือในใบที่ขาดแคลนน้ำ จึงทำให้การคายน้ำลดลง พืชทะเลทรายประเภทกระบองเพชร ปากใบจะอยู่บริเวณลำต้น พืชบกหลายชนิดมีเลนทิเซล (Lenticel) ซึ่งมีลักษณะคล้ายรอยแตกของลำต้นมีกระจายอยู่ทั่วไป อากาศจะผ่านเข้าออกทางเลนทิเซลได้เช่นเดียวกับไอน้ำ
–ความกดดันของบรรยากาศ ในที่ที่มีความกดดันของบรรยากาศต่ำ อากาศจะบางลง และความแน่นน้อย เป็นโอกาสให้ไอน้ำแพร่ออกไปจากใบได้ง่าย อัตราของการคายน้ำก็สูง แต่ถ้าความดันของบรรยากาศสูง ใบก็จะคายน้ำได้น้อยลง
ลักษณะการคายน้ำของพืช
ในการคายน้ำของพืชนั้นจะเกิดขึ้นในลักษณะของการระเหยหรือแพร่ไปในอากาศ ซึ่งการคายน้ำของพืชที่เราจะรู้จักนั้นส่วนใหญ่ก็จะเน้นแค่เปิดปากใบในช่วงกลางวัน และปิดปากใบในช่วงเย็นหรือกลางคืน แต่ความจริงแล้วการคายน้ำของพืชนั้นมีการแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1.Stomatal Transpiration การคายน้ำประเภทนี้จะเป็นการคายน้ำของพืชแบบการกำจัดไอน้ำ โดยจะออกมาทางผิวใบที่มีอยู่มากมายตามผิวใบของพืชชนิดนั้น ซึ่งทางปากใบนั้นจะเป็นทางที่มีการคายน้ำออกมามากที่สุด
2.Cuticular Transpiration เป็นการคายน้ำที่มีการคายน้ำแบบเป็นไอน้ำ และมีหนังกำพร้าฉาบอยู่ข้างนอกสุด แต่เนื่องจากการคายน้ำแบบนี้จะมีสารที่มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งฉาบอยู่ ทำให้การคายน้ำในลักษณะนี้ค่อนข้างคายน้ำได้ยาก ถ้าหากพืชชนิดใดที่มีหนังกำพร้าอยู่มาก หรือค่อนข้างหนา ซึ่งจะทำให้การคายน้ำออกมานั้นทำได้ยากมากขึ้น ซึ่งการคลายน้ำในแบบแรกและแบบนี้จะเหมือนกันตรงที่ 90 เปอร์เซ็นต์ จะมีการคายน้ำออกมาทางปากใบ และเป็นการคายน้ำแบบไอทั้งคู่
3.Lenticular Transpiration การคายน้ำประเภทนี้จะเป็นการคายน้ำออกมาเป็นไอโดยผ่านทางรอยแตกเล็กๆ ตามลำต้นของพืชชนิดนั้นๆ ซึ่งการคายน้ำของประเภทนี้นั้นจะเกิดขึ้นได้ค่อนข้างน้อยมาก เมื่อเทียบกับ 2 ประเภทแรก เพราะส่วนใหญ่แล้วรอยแตกที่จะเกิดขึ้นภายในพืชนั้นค่อนข้างน้อยมาก จึงทำให้มีไอน้ำที่จะระเหยออกมานั้นน้อยตามไปด้วย
นอกจากนี้ยังมีการคายน้ำในรูปแบบของหยดน้ำ ซึ่งเป็นการคายน้ำเป็นรูปหยดน้ำเล็กๆ ซึ่งจะออกมาทางรูที่เปิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยรูที่เปิดนั้นจะเปิดตามปลายเส้นของพืชหรือใบไม้ตามขอบใบพืชชนิดนั้นๆ การคายน้ำแบบนี้จะเรียกเป็นภาษาอังกฤษหรือทางวิทยาศาสตร์ว่า กัตเตชัน (Guttation) ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วงที่อากาศนั้นมีความชื้นมากๆและช่วงอุณหภูมินั้นต่ำลง และช่วงลมจะสงบ จะสามารถพบหยดน้ำได้ตามใบไม้หรือพืชที่มีใบ
สภาพพื้นที่ต่อ การคายน้ําของพืช
หลักการทั่วไปของการคายน้ำของพืชนั้นจะมีหลายๆ ปัจจัยที่เป็นตัวส่งผลให้พืชแต่ละชนิดนั้นมีการคายน้ำออกมาเพื่อที่จะลดอุณหภูมิในตัวของพืชไม่ให้มีความร้อนจนเกินไป ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลนั้นก็มีดังนี้
-จะขึ้นอยู่กับชนิดของพืช โดยพืชที่มีปากใบมากหน่อยนั้นก็จะมีการคายน้ำที่ค่อนข้างมากพอสมควร แต่ถ้าในพืชชนิดไหนมีปากใบน้อยก็จะทำให้การคายน้ำนั้นออกมาได้น้อยตามเช่นกัน
-อุณหภูมิหรือสภาพอากาศ ในช่วงที่อากาศร้อนหรืออุณหภูมินั้นสูงขึ้น จะทำให้พืชนั้นเกิดการคายน้ำออกมาได้ดี และถ้ามีความชื้นที่เหมาะสมก็จะทำให้พืชคายน้ำได้ดีเช่นกัน แต่ถ้าเป็นช่วงเวลาที่สภาพอากาศไม่ได้ร้อนมากหรืออุณหภูมิต่ำ พืชก็จะคายน้ำได้น้อยเช่นกัน
-แสง ซึ่งแสงก็เหมือนเป็นตัวกระตุ้นให้พืชนั้นเกิดการคายน้ำออกมาเพื่อปรับอุณหภูมิในตัวของพืช ถ้าแสงมีมากพืชก็จะคายน้ำได้มาก แต่ในช่วงเวลาเย็นหรือช่วงที่ไม่มีแสงพืชก็จะปิดปากใบและไม่มีการคายน้ำเกิดขึ้น
-สภาพลม เนื่องจากสภาพลมที่มีการพัดผ่านพืชนั้นจะทำให้การคายน้ำแพร่ออกสู่อากาศได้มากขึ้น ซึ่งถ้ามีลมพัดผ่านนั้นจะทำให้เกิดความกดอากาศที่บริเวณผิวใบลดลงด้วย ซึ่งเมื่อมีลมเคลื่อนผ่านผิวใบจะทำให้มีความชื้นไปกับอากาศด้วย ไอน้ำที่ระเหยออกมาจากใบจะกระจายไปในอากาศได้ง่ายมากขึ้นเช่นกัน แต่ถ้าลมที่พัดนั้นมีความแรงมากเกินไปจะทำให้ปากใบของพืชหรือต้นไม้นั้นปิดตัวได้
ประโยชน์ของการคายน้ำจากพืช
บทความเบื้องต้นนี้เป็นข้อมูลความรู้เบื้องต้น ไม่ได้มีเจตนาที่จะบิดเบือนข้อมูลต่างๆ แต่อย่างใด เป็นเพียงการนำเสนอความรู้ที่ให้ความเข้าใจได้ง่ายขึ้นกับผู้ที่ได้เข้ามาศึกษาหรือค้นหาความรู้เท่านั้น เป็นบทความเกี่ยวกับ การคายน้ําของพืช ซึ่งผู้เขียนอยากจะแชร์ข้อมูลอันเป็นประโยชน์มากที่สุดให้กับผู้ที่เข้ามาศึกษาในบทความครั้งนี้ ถ้าหากมีข้อผิดพลาดเกี่ยวกับเนื้อหาในเรื่องข้างต้นต้องขออภัยมาอย่างสูง
การคายน้ําของพืช นั้น คือ การที่พืชจะใช้ประโยชน์ในการลดอุณหภูมิในตัวเองเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตให้กับตัวเอง จะเห็นได้ว่า การคายน้ําของพืช มีหลายประเภท รวมไปถึงชนิดของปากใบของพืช ซึ่ง การคายน้ําของพืช แต่ละชนิดนั้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพภูมิอากาศของแต่ละพื้นที่นั้นๆ จะทำให้พืชแต่ละชนิดมีการปรับตัวรวมถึงปัจจัยสภาพแวดล้อม ก็ส่งผลกระทบให้พืชแต่ละชนิดต้องมีการคายน้ำที่เปลี่ยนไป เพราะสภาพอากาศที่แปรปรวน อย่างที่กล่าวมาว่า การคายน้ําของพืช ช่วยลดอุณหภูมิได้
แต่ถ้าพืชมีการคายน้ำมากเกินไปก็จะทำให้พืชมีผลข้างเคียงได้เช่นกัน ฉะนั้นการปลูกพืชแต่ละชนิดก็ต้องคอยสังเกตพืชดีๆว่ามีการคายน้ำมากเกินไปหรือไม่ แต่ไม่ก็ไม่จำเป็นจะต้องดูทุกครั้งหรือทุกวัน เพียงแต่สังเกตความผิดปกติของพืชชนิดนั้นๆ ก็เพียงพอแล้ว
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://salinee2509762.blogspot.com/,http://119.46.166.126/self_all/selfaccess11/m5/biology5_2/unit1/4-5.php,https://anisahcheana.wordpress.com/2015/11/11/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A/,https://adilahchapakiya.wordpress.com/2015/12/12/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B8%8A/