สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารพลังเกษตร
การประชุมคณะทำงานลดใช้พลังงานของ สศก. ครั้งที่ 2/2562
วันที่ 12 มิถุนายน 2562 ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นประธานการประชุมคณะทำงานลดใช้พลังงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ครั้งที่ 2/2562 เพื่อติดตามผลการใช้พลังงาน และพิจารณาปริมาณการใช้ไฟฟ้าน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำประปา ในภาพรวมของ สศก. และรายหน่วยงาน สำนัก กอง ศูนย์ และ สศท.1-12 เป็นรายเดือนและรายปีต่อไป และจากนั้นได้มีการประชุมคณะกรรมการติดตามและรายงานสถานภาพการใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรครั้งที่ 1/2562 เพื่อพิจารณาและทบทวนแบบติดตามการดำเนินงานการประหยัดการใช้สาธารณูปโภคฯ ณ ห้องประชุม AEOC ชั้น 3 อาคารศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สถานการณ์ข่าว
ราคารายวัน ณ ตลาดกลาง หรือ ตลาดสำคัญ ประจำวันที่ 12 มิถุนายน 2562
- ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ 105
-โรงสีสหพัฒนา อ.สะตึก จ.บุรีรัมย์ 15,000 บาท/ตัน
- ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมล็ด ความชื้น 14.5%
-หจก. สยามโปรดักซ์ (ช.กังวาล) อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ 8.00 บาท/กก.
- หัวมันสำปะหลังสด (แป้ง 25%)
-บริษัท สงวนวงษ์อุตสาหกรรม จำกัด อ.เมือง จ.นครราชสีมา 2.10 บาท/กก.
- ปาล์มน้ำมัน เปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์ม 17%
-ชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนปาล์มน้ำมันกระบี่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ 2.90 บาท/กก. ราคาเพิ่มขึ้นจากวันที่ 11 มิถุนายน 2562 ที่ราคา 2.80 บาท/กก.
-บริษัท แสงศิริน้ำมันปาล์ม จำกัด อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี 3.10 บาท/กก. ราคาเพิ่มขึ้นจากวันที่ 11 มิถุนายน 2562 ที่ราคา 3.00 บาท/กก.
- ยางพาราแผ่นดิบชั้น 3
-ตลาดกลางยางพารา อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 55.55 บาท/กก. ราคาเพิ่มขึ้นจากวันที่ 11 มิถุนายน 2562 ที่ราคา 55.20 บาท/กก.
- น้ำยางพาราสด
-ร้านแสงตะวันการยาง จ.สุราษฎร์ธานี 49.00 บาท/กก.
- เงาะโรงเรียน
-ตลาดผลไม้แสนตุ้ง อ.เขาสมิง จ.คราด 28.00 บาท/กก.
- ลิ้นจี่ฮงฮวยเกรด AA
-บริษัท ซินฮั้ว จำกัด อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 70.00 บาท/กก.
- ลิ้นจี่ฮงฮวยเกรด A
-บริษัท ซินฮั้ว จำกัด อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 50.00 บาท/กก.
- ลิ้นจี่จักรพรรดิ์เกรด AA
-บริษัท ซินฮั้ว จำกัด อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 80.00 บาท/กก.
- ลิ้นจี่จักรพรรดิ์เกรด AA
-บริษัท ซินฮั้ว จำกัด อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 70.00 บาท/กก.
- สับปะรดโรงงาน
-บริษัท สามร้อยยอด จำกัด (เอส.อาร์.วาย.) อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ 8.40 บาท/กก.
- มะพร้าวผลแห้งขนาดใหญ่
-แหล่งรับซื้อ ผู้ใหญ่วิโรจน์ สว่างงาม อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม 700.00 บาท/ร้อยผล
-แหล่งรับซื้อ มะพร้าวทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 700.00 บาท/ร้อยผล
- มะพร้าวผลแห้งขนาดกลาง
-แหล่งรับซื้อ มะพร้าวทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 400.00 บาท/กก.
- มะพร้าวผลแห้งขนาดเล็ก
-แหล่งรับซื้อ มะพร้าวทับสะแก อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ 200.00 บาท/ร้อยผล
สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์บก
ซีพีเอฟ ส่งมอบศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะขนส่งสินค้าปศุสัตว์
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในพิธีเปิดและส่งมอบศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะขนส่งสินค้าปศุสัตว์ แห่งที่ 3 ณ สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต) อ.เมือง จังหวัดมุกดาหาร ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในจังหวัดชายแดนไทย
นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่า ศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะขนส่งสินค้าปศุสัตว์ ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างกรมปศุสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และภาคเอกชน ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) เข้าประเทศไทย
โดยศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะขนส่งสินค้าปศุสัตว์ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงใน 5 จังหวัดชายแดน ประกอบด้วย สระแก้ว หนองคาย มุกดาหาร นครพนม และเชียงราย ซึ่งศูนย์ที่จังหวัดมุกดาหารได้รับการสนับสนุนงบประมาณการก่อสร้างจาก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เพื่อช่วยให้การฆ่าเชื้อโรคพาหนะขนส่งทุกสัตว์ ที่ด่านกักกันสัตว์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
“แม้ว่าเชื้อโรค ASF จะไม่ติดต่อหรือส่งผลกระทบต่อมนุษย์ แต่เป็นโรคระบาดรุนแรงในสุกร ที่ยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกัน ดังนั้นศูนย์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะขนส่งสินค้าปศุสัตว์ จะเป็นปราการปัองกันความเสียหายกับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ตลอดจนช่วยดูแลเรื่องความปลอดภัยของอาหารให้กับผู้บริโภคได้อีกด้วย” อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว
นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนา “เครือข่ายสัตว์พันธุ์ดี วิถี 4.0 เพิ่มพูนประสิทธิภาพผู้ปฏิบัติงาน” ประจำปี 2562
นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์มีนโยบายขับเคลื่อนยุทธศาสตร์รายชนิดสัตว์ เพื่อให้การพัฒนาปศุสัตว์เป็นรูปแบบชัดเจนยิ่งขึ้น การสร้างเครือข่ายสัตว์พันธุ์ดีกรมปศุสัตว์เป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญและสามารถตอบสนองนโยบายของกรมปศุสัตว์ได้ โดยเกษตรกรฟาร์มเครือข่ายเป็นผู้ผลิตสัตว์พันธุ์ดีแทนกรมปศุสัตว์ ซึ่งสัตว์ที่เกษตรกรผลิตได้จะเป็นสัตว์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพการเลี้ยงของเกษตรกร และสภาพพื้นที่ของประเทศ ลดปัญหาด้านการจัดการเลี้ยงดูและปัญหาด้านสุขภาพ
อีกทั้งเกษตรกรสมาชิกเครือข่ายจะลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสัตว์จากแหล่งผลิตไปสู่ฟาร์มของตนเองอีกด้วย นอกจากนี้เครือข่ายสัตว์พันธุ์ดียังเป็นแหล่งเรียนรู้และเป็นฟาร์มตัวอย่างของเกษตรกรรายอื่นๆ ในพื้นที่ สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีจากเกษตรกรสู่เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น การปฏิบัติงานของเครือข่ายบางชนิดสัตว์ก้าวหน้าไปมาก สามารถสร้างเครือข่ายจนเป็นอาชีพได้อย่างกว้างขวางเป็นที่ประจักษ์ ได้รับรางวัล เป็นที่ยอมรับของประชาชน เช่น ไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ สามารถผลิตลูกไก่จำหน่ายให้สมาชิก และสามารถชำแหละชิ้นส่วนจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าเช่นเดียวกับสินค้ามาตรฐานอื่นๆ
แต่อย่างไรก็ตามยังมีอีกหลายชนิดสัตว์ที่จะต้องพัฒนาและสร้างเครือข่ายให้เข้มแข็ง เป็นหน่วยผลิตสัตว์แทนกรมปศุสัตว์ได้อย่างแท้จริง เพื่อช่วยแก้ปัญหาการผลิตสัตว์พันธุ์ดีให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกร และการสร้างฟาร์มเกษตรกรต้นแบบ ตลอดจนพัฒนาพันธุ์สัตว์ให้ได้มาตรฐาน นำไปสู่การรับรองพันธุ์สัตว์ต่อไป
สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์น้ำ
กรมประมง ยันกฎหมาย IUU ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบย้อนกลับ สร้างจุดแข็งสินค้าประมงไทย
นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กล่าวยืนยันว่า การออกพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และแก้ไข ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปฏิรูปการประมงเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับภาคการประมงของไทย โดยทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องต้องมีความโปร่งใส และเป็นธรรม สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดสายการผลิต ซึ่งในบางเรื่องเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น การที่ชาวประมงและผู้ประกอบการต้องมีการจัดทำเอกสารเพื่อให้ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าตั้งแต่จับสัตว์น้ำจนถึงส่งออก เพื่อให้ผู้ซื้อปลายทางมั่นใจได้ว่าสินค้าเหล่านั้นมีแหล่งที่มาที่ถูกต้อง
ทั้งนี้เพื่อลดภาระผู้ประกอบการและเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบย้อนกลับ กรมประมงจึงได้มีการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกการส่งออกสินค้าประมง (FSW) ซึ่งผู้ส่งออกเพียงแค่ระบุเฉพาะเลขที่หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (Marines Catch Purchasing Document : MCPD) หรือใบรับรองการจับสัตว์น้ำของวัตถุดิบที่มีการซื้อและนำมาผลิต โดยหมายเลขดังกล่าวจะทำให้สามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้ารุ่นนี้ผลิตมาจากวัตถุดิบที่ได้มาจากการจับของเรือประมงลำไหน จับที่ไหน /เมื่อไหร่ /มีแรงงานกี่คน /ชื่ออะไร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคปลายทางว่าสินค้าสัตว์น้ำนั้นไม่มาจากการทำประมงที่ผิดกฎหมายหรือเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ภายใต้นโยบายที่มุ่งไปสู่ความยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นจุดแข็งของสินค้าประมงไทยที่ผู้ซื้อปลายทางมั่นใจและยังคงซื้อสินค้าไทย
“ภายใต้กรอบการค้าเสรี ทุกประเทศได้มีความพยายามร่วมกันในการที่จะอำนวยความสะดวกและลดเงื่อนไขที่จะก่อให้เกิดภาระในการนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นจำนวนมาก”อธิบดีกรมประมง กล่าว
กรมประมงแจงข่าว…หลังถูกชาวประมงโวย!! กฎหมาย IUU ทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าสัตว์น้ำในประเทศป่วน
นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า การออกพระราชกำหนด การประมง พ.ศ.2558 และแก้ไข ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปฏิรูปการประมงเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับภาคการประมงของไทย โดยทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องต้องมีความโปร่งใส และเป็นธรรม สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดสายการผลิต ซึ่งในบางเรื่องเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน
ภายใต้กรอบการค้าเสรี ทุกประเทศได้มีความพยายามร่วมกันในการที่จะอำนวยความสะดวกและลดเงื่อนไขที่จะก่อให้เกิดภาระในการนำเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งกรมประมงได้มีการติดตามสถานการณ์การนำเข้าโดยตลอด พบว่าปริมาณสินค้าสัตว์น้ำเพื่อ การบริโภคในประเทศที่ได้จากการทำการประมงทะเลจากประเทศเพื่อนบ้านที่ยังติดปัญหา IUU อยู่นั้น จากข้อมูลการนำเข้าของด่านตรวจสัตว์น้ำกรมประมง พบว่ามีปริมาณการนำเข้าเพียง 9,000 ตัน/ปี เมื่อเปรียบเทียบกับผลผลิตภายในประเทศถือได้ว่าเป็นปริมาณที่น้อยมาก เพียงร้อยละ0.6 แต่อย่างไรก็ตามกรมประมงก็ได้มีมาตรการที่เข้มงวดในการควบคุมการนำเข้าเช่นเดียวกับมาตรการที่ไทยใช้ในการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำในประเทศ กล่าวคือ ผู้นำเข้าจะต้องแสดงเอกสารที่รัฐบาลประเทศที่นำสินค้าเข้าออกให้เพื่อแสดงว่าสัตว์น้ำที่นำเข้ามานั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำประมงที่ผิดกฎหมาย โดยต้องแสดงรายชื่อของเรือประมงที่ทำการจับสัตว์น้ำ เลขที่ใบอนุญาต วันที่ทำการประมง ตลอดจนน้ำหนักสัตว์น้ำที่จับได้ ของสินค้าที่นำเข้าทั้งหมด นอกจากนี้กรมฯ ยังมีการกำหนดมาตรการด้านสุขอนามัย โดยดำเนินการเฝ้าระวังสุ่มตรวจตัวอย่างสัตว์น้ำที่นำเข้า ณ ด่านตรวจสัตว์น้ำ เพื่อตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามกรมประมงจะได้ดำเนินการติดตาม เฝ้าระวัง สถานการณ์ดังกล่าว เพื่อกำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว