สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ ประจำวันที่ 17/06/2562-21/06/2562

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารพลังเกษตร

สศก. ศึกษาระบบโซ่ความเย็น วางแนวทางพัฒนาระบบจัดเก็บ คงคุณภาพสินค้าเกษตรสู่ปลายทาง

ในปีงบประมาณปี 2562  สศก. ร่วมกับสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ได้ร่วมกันศึกษารูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารจัดการโซ่ความเย็น (Cold Chain) ในสินค้าพืชผักและผลไม้ (อาทิ เงาะ ทุเรียน มังคุด ขนุน กะเพรา แตงกวา หน่อไม้ฝรั่ง และเห็ด) ของสถาบันเกษตรกรในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และพื้นที่ใกล้เคียง รวม 5 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี และตราด

1.สศก.

จากการศึกษาพบว่า การบริหารจัดการโซ่ความเย็นที่มีประสิทธิภาพ สามารถรักษาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้เป็นอย่างดี  ซึ่งกระบวนการจัดการโซ่ความเย็นที่มีประสิทธิภาพจะเริ่มจากการจัดการผลผลิตของเกษตรกร และจัดส่งมายังสถาบันเกษตรกร เพื่อจัดการส่งต่อไปยังตลาดปลายทาง ตัวอย่างเช่น การจัดการโซ่ความเย็นในสินค้าทุเรียน ของสหกรณ์การเกษตรเขาคิชฌกูฏ จำกัด จ.จันทบุรี ซึ่งเป็นสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจรวบรวมผลไม้เพื่อกระจายสู่ตลาด ทั้งในและต่างประเทศ แต่ละปีรวบรวมผลผลิตได้ประมาณ 5,800 ตัน โดยเป็นทุเรียนประมาณ 1,000 ตัน ซึ่งปีที่ผ่านมาสหกรณ์ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโครงการไทยนิยมยั่งยืนจำนวนกว่า 29 ล้านบาท และสหกรณ์สบทบเพิ่มอีก 12 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารห้องเย็น พร้อมอุปกรณ์แปรรูปผลไม้ เริ่มก่อสร้างตั้งแต่กลางปี 2561 และเสร็จสิ้นในเดือนเมษายน 2562

กระบวนการคัดแยกผลผลิต เกษตรกรสมาชิกจะตัดทุเรียนที่ระดับความสุกร้อยละ 70 และนำส่งสหกรณ์เพื่อทำการคัดแยกเกรด โดย เกรด A และ B จะจำหน่ายเป็นผลสด ซึ่งร้อยละ 90 ส่งไปจำหน่ายที่ประเทศจีน ที่เหลือร้อยละ 10 จำหน่ายตลาดในประเทศ

กระบวนการแกะเปลือก เริ่มจากการเข็นตะกร้าทุเรียนสุกมาสู่กระบวนการผลิตแกะขั้ว ตัดเปลือกแยกเป็นพู แกะเนื้อวางบนถาด ซึ่งถาดจะรองด้วยพลาสติกบาง และด้านล่างของถาดจะเป็นรูเพื่อช่วยถ่ายเทความเย็น เนื้อทุเรียนที่ได้คิดเป็นร้อยละ 30 ของน้ำหนักทุเรียนทั้งลูก แบ่งเป็น 4 เกรด ได้แก่ A B เนื้อดิบ และเนื้อเละ

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ที่มาของภาพ http.www.oae.go.th
2.นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ที่มาของภาพ http.www.oae.go.th

ส่งเสริมเครื่องจักรกลเกษตรทดแทนแรงงาน ตัวช่วยเกษตรกรลดต้นทุน

นางอัญชนา  ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลติดตามหลังการดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรทดแทนแรงงาน ปี 2561 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรทดแทนแรงงาน สามารถลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสถาบันเกษตรกร และให้บริการสมาชิกและประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง โครงการดังกล่าวมีกรมส่งเสริมสหกรณ์เป็นเจ้าภาพ มีการดำเนินการสนับสนุนเครื่องจักรกลฯ ในปี 2561 รวม 27 จังหวัด โดยสนับสนุนอุปกรณ์ให้แก่สหกรณ์ แบ่งเป็นอุปกรณ์ประเภทปศุสัตว์ 32 แห่ง อุปกรณ์ประเภทพืช 21 แห่ง และอุปกรณ์ประเภทประมง 3 แห่ง รวม 56 แห่ง โดยสนับสนุนเงินอุดหนุนสำหรับจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรไม่เกินร้อยละ 70 และสหกรณ์จ่ายสมทบในส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 30

ด้านการลดต้นทุนค่ารถเกี่ยวนวดข้าวของสมาชิกสหกรณ์/เกษตรกรทั่วไป พบว่า สหกรณ์คิดอัตราค่าใช้บริการเฉลี่ยไร่ละประมาณ 435 บาท ขณะที่ผู้ประกอบการเอกชนคิดอัตราค่าใช้บริการเฉลี่ยไร่ละประมาณ 528 บาท ซึ่งช่วยลดต้นทุนค่ารถเกี่ยวนวดข้าวไร่ละ 93 บาท คิดเป็นมูลค่าต้นทุนที่ลดลงรวมทั้งสิ้น 1.13 ล้านบาท โดยผู้ใช้บริการเห็นว่าการใช้บริการรถเกี่ยวข้าวของสหกรณ์ถูกกว่าผู้ประกอบการเอกชน ซึ่งนอกจากช่วยลดต้นทุนแล้ว ผลผลิตยังมีคุณภาพ เกิดความเสียหายต่อผลผลิตน้อย และสามารถเก็บเกี่ยวได้ทันเวลา

3.สำนักงานปศุสัตว์เขต 4

สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์บก

ตรวจประเมินให้การรับรองการผลิตพืชอาหารสัตว์อินทรีย์

สำนักงานปศุสัตว์เขต 4 ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกาฬสินธุ์ ออกตรวจประเมินเพื่อพิจารณาให้การรับรองการผลิตพืชอาหารสัตว์อินทรีย์ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์กาฬสินธุ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีความรู้ ความเข้าใจ ข้อกำหนดและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการผลิตเกษตรอินทรีย์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ติดตามการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่สำหรับปลูกพืชอาหารสัตว์

สำนักงานปศุสัตว์เขต 4 มอบหมายให้ส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 4 ออกปฏิบัติงานติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่สำหรับปลูกพืชอาหารสัตว์ ประจำปีงบประมาณ 2562 เพื่อตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรที่ผ่านการพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น สอบถามปัญหาอุปสรรคต่างๆ และต้นทุนการผลิต ตลอดจนแนะนำส่งเสริมการปลูกพืชอาหารสัตว์ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์

4.กรมประมง

สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์น้ำ

กรมประมงขันนอต จนท.เตรียมรับอุทกภัย

รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า กรมประมงสั่งการทุกหน่วยงานในสังกัดดำเนินการตามแผนรับสถานการณ์อุทกภัยปี 2562 เตรียมความพร้อมช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประสบอุทกภัย ทั่วประเทศ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ดำเนินการก่อนเกิดภัย การเตรียมความพร้อม กรมขึ้นทะเบียน และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตรวจสอบสถานที่เลี้ยงจระเข้ให้แข็งแรง จำนวนจัดทำบัญชีฟาร์มเลี้ยง ทำบัญชีทรัพยากร เช่น เครื่องสูบน้ำ อวน กระชัง เรือตรวจการประมง รถยนต์ สำหรับเกษตรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรเตรียมป้องกันล่วงหน้าเมื่อเกิดอุทกภัยดังนี้

  • ควบคุมการใช้น้ำและรักษาปริมาณน้ำในที่เลี้ยงสัตว์น้ำให้ปริมาณพอเหมาะ หรือ 2 ใน 3 ส่วนของน้ำที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ
  • จัดทำร่องระบายน้ำ และขุดลอกตะกอนดินที่จะทำให้น้ำไหลเข้า-ออกได้สะดวก
  • ปรับปรุงคันบ่อและเสริมคันบ่อให้สูงพอกับปริมาณน้ำที่เคยท่วมในปีที่ผ่านมา
  • จัดเตรียมอุปกรณ์จำเป็นให้พร้อม
  • เตรียมปูนขาวสำหรับพื้นที่ดินกรด ดินเปรี้ยว เพื่อปรับสภาพน้ำในบ่อหลังน้ำท่วมประมาณ 50-60 กิโลกรัม
  • วางแผนการเลี้ยงสัตว์น้ำให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ และฤดูกาล เพื่อให้จับได้ก่อนฤดูน้ำหลาก

ทั้งนี้จะประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนภัยแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทราบภาวะภัยที่จะมาถึง เพื่อเตรียมตัวรับสถานการณ์ เพื่อหาวิธีป้องกันหลีกเลี่ยงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นให้มากที่สุด และขอให้เกษตรกรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

5.ไอยูยู

ยันกม.ไอยูยูจำเป็นมุ่งปฏิรูปประมง

อธิบดีกรมประมงชี้แจงถึงการออกพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และแก้ไข ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการปฏิรูปการประมง โดยทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องต้องโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดสายการผลิต บางเรื่องไม่เคยมีมาก่อน เช่น ชาวประมง และผู้ประกอบการ  ต้องทำเอกสารเพื่อให้ผู้ซื้อตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าตั้งแต่จับสัตว์น้ำจนถึงส่งออก ให้ผู้ซื้อปลายทางมั่นใจว่าสินค้าเหล่านั้นมีแหล่งที่มาถูกต้อง เพื่อลดภาระผู้ประกอบการ และเพิ่มประสิทธิภาพตรวจสอบย้อนกลับ กรมฯ จึงพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์รองรับและอำนวยความสะดวกการส่งออกสินค้าประมง (FSW) ซึ่งผู้ส่งออกเพียงระบุเลขที่หนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (Marines Catch Purchasing Document : MC PD) หรือใบรับรองการจับสัตว์น้ำของวัตถุดิบที่ซื้อและนำมาผลิต จะตรวจสอบได้ว่าสินค้ารุ่นนี้ผลิตมาจากวัตถุดิบที่ได้มาจากการจับของเรือประมงลำไหน จับที่ไหน เมื่อไหร่ มีแรงงานกี่คน ชื่ออะไร เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคปลายทางว่าสินค้าสัตว์น้ำนั้นไม่มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย หรือเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นจุดแข็งของสินค้าประมงไทยที่ผู้ซื้อปลายทางมั่นใจและยังซื้อสินค้าไทย

6.FAO

ไทยร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติจัดงานวันสากลในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม

เมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๖๒ รัฐบาลไทย โดยกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations-FAO) จัดงานวันสากลในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (International Day for the Fight Against Illegal, Unreported and Unregulated Fishing-IUU DAY) ณ กรมประมง

การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับสากล และแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของรัฐบาลไทยในการแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU ซึ่งมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องจนสามารถยกระดับอุตสาหกรรมการประมงของไทยทั้งระบบให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน โดยผู้เข้าร่วมงานฯ ประกอบด้วย คณะทูตานุทูตจากประเทศต่างๆ ผู้แทนองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการประมง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม

อนึ่งตลอดช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้ผลักดันการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมายจนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ อาทิ การผลักดันนโยบายประมงร่วมอาเซียน (ASEAN General Fisheries Policy) การเข้าร่วมเป็นภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศ เช่น ข้อตกลงว่าด้วยการปฏิบัติตามบทบัญญัติของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลเกี่ยวกับการอนุรักษ์และการบริหารจัดการมวลปลาที่ย้ายถิ่น (United Nations Fish Stock Agreement-UNFSA) ข้อตกลงว่าด้วยการทำประมงในมหาสมุทรอินเดียตอนใต้ (Southern Indian Ocean Fisheries Agreement-SIOFA) รวมถึงการลงนามความร่วมมือในการต่อต้านปัญหาการทำประมง IUU กับประเทศต่างๆ เช่น ฟิลิปปินส์ และญี่ปุ่น เป็นต้น ทั้งนี้โดยมีเป้าหมายสำคัญเพื่อวางรากฐานการทำประมงอย่างยั่งยืน และยืนยันความพร้อมของไทยที่จะร่วมกับประชาคมโลกในการรักษาทรัพยากรทางทะเล และนำพาการประมงของประเทศและโลกไปสู่ความยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหารให้แก่ประชากรของโลกต่อไป

โฆษณา
AP Chemical Thailand