ระบบน้ําในสวน เทคนิคการวางระบบ การติดตั้ง เครื่องปั้มน้ำในสวน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ระบบน้ำสำหรับภาคการเกษตรนั้นถือเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะอะไร เพราะว่าการวางระบบน้ำให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูก หรือการวางระบบน้ำด้วยวิธีที่ถูกต้อง จะทำให้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ซึ่งระบบน้ำที่ดี ควรใช้ให้เหมาะสมกับขนาดของสวน หรือพื้นที่ที่ทำการวางระบบน้ำ จะต้องสอดคล้องกันกับปริมาณความกว้างในแต่ละไร่ การวางระบบน้ําในสวน

อีกทั้งยังต้องเลือกเครื่องสูบน้ำที่มีขนาดเหมาะสม ความแรงในการสูบน้ำ เพื่อที่เครื่องสูบน้ำนั้นจะไม่ทำงานจนหนักเกินไป ซึ่งการเลือกเครื่องปั๊มน้ำหรือสูบน้ำก็มีเทคนิคในการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งานภายในไร่ได้

1.การวางระบบน้ำในแปลงผัก
1.การวางระบบน้ำในแปลงผัก

การวางระบบน้ําในสวน

การวางระบบน้ำภายในสวนนั้นอาจจะเป็นปัญหาเบื้องต้นสำหรับใครหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นตัวเกษตรกร หรือแม้แต่การทำสวนภายในครัวเรือน ก็ต้องเจอกับการวางแนวท่อหรือการออกแบบระบบน้ำไม่ให้เกิดความเสียหายหรือมีปัญหาตามมาในภายหลัง

ซึ่งหลายคนโดยเฉพาะเกษตรกรก็เลือกที่จะไว้ใจในทีมงานจากช่างที่มีประสบการณ์และมีความชำนาญมาดำเนินการติดตั้งให้ แต่หลายคนก็เลือกที่จะซื้ออุปกรณ์มาติดตั้งด้วยตนเอง ซึ่งการทำแต่ละวิธีนั้นก็ไม่ได้มีความผิดแต่อย่างใด เพียงแต่ว่าการติดตั้งด้วยตัวเองนั้นอาจจะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของสภาพพื้นที่ภายในไร่หรือสวนด้วย และจะต้องรู้วิธีการติดตั้งให้ถูกวิธีด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจจะเสียเวลา แต่ก็ได้ความรู้ไปในตัว

และการวางระบบน้ำภายในสวนนั้นก็มีหลากหลายรูปแบบวิธีการ ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ว่าเราจะใช้ในสวนอะไร รูปแบบไหน ซึ่งต่างก็มีวิธีและแนวคิดเป็นของตนเอง ทำให้การติดตั้งระบบน้ำนั้นอาจจะไม่ยากมาก แต่ก็ไม่ได้ง่ายเกินไปนัก

การวางระบบน้ำนั้นมีหลากหลายวิธี หลากหลายขั้นตอน ซึ่งการวางระบบน้ำก็สามารถวางได้ทั้งในสวนพืชผัก และสวนผลไม้ รวมไปถึง การวางระบบน้ำในสวน บริเวณที่อยู่อาศัย ซึ่งขั้นตอนการทำต่างๆ ก็ไม่ยุ่งยากมากนัก ถ้าเป็นช่างที่มีประสบการณ์ในการติดตั้งมาก่อนแล้ว ซึ่ง การวางระบบน้ำในสวน แต่ละประเภทนั้นก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ตามขนาดความกว้างของสวนแต่ละที่ อาจจะกว้างหลายไร่ก็เป็นได้ ซึ่งการวางระบบน้ำที่ดีก็ควรจะต้องเลือกใช้เครื่องสูบน้ำหรือปั๊มน้ำที่เหมาะสมกับขนาดความกว้างของจำนวนไร่ด้วยเช่นกัน จึงจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.ใช้ท่อที่มีขนาดเหมาะสมกับตัวปั๊มน้ำ
2.ใช้ท่อที่มีขนาดเหมาะสมกับตัวปั๊มน้ำ

การติดตั้งระบบน้ำภายในสวน

การติดตั้งวางระบบน้ำนั้นจะมีการกำหนดหลักการวางว่าควรทำอย่างไร และใช้ปริมาณท่อขนาดไหนที่เหมาะสมกับการวาง เพื่อให้ใช้งานได้อย่างราบรื่นไม่มีปัญหา ซึ่งการวางระบบน้ำนั้น ท่อหลักหรือท่อเมนควรจะเป็นท่อที่มีขนาดใหญ่กว่าท่ออื่นๆ เพราะว่ายิ่งท่อเมนหลักใหญ่เท่าไหร่ การกระจายน้ำไปยังท่อย่อยอื่นๆ ก็จะทำได้ดียิ่งขึ้น

แต่โดยปกติแล้วนั้นเกษตรกรจะใช้ท่อที่มีขนาดเหมาะสมกับตัวปั๊มน้ำเสียมากกว่า เช่น ปั๊มน้ำขนาด 1 แรงม้า อาจจะใช้ท่อที่มีขนาด 1 นิ้ว มาเป็นตัวหลัก หรือถ้าปั๊มน้ำที่มีขนาด 2-3 แรงม้า ก็จะใช้ท่อเป็นเมนหลัก เพื่อกระจายน้ำขนาด 2-3 นิ้ว เป็นต้น แต่ปั๊มน้ำที่ใช้ในภาคการเกษตรส่วนใหญ่นั้นจะนิยมใช้ท่อที่มีขนาดไม่เกิน 3 นิ้ว จะมีอยู่ประมาณ 2 ประเภท คือ ปั๊มน้ำที่เป็นแรงดันสูงส่งน้ำได้ไกล กับปั๊มน้ำที่มีขนาดปานกลางส่งน้ำในปริมาณที่มากเช่นกัน แต่ก็จะมีปั๊มน้ำที่มีขนาด 4-6 นิ้ว ที่เหมาะกับการใช้สูบน้ำเข้านาหรือดูดน้ำเป็นหลักอยู่ด้วยเช่นกัน

3.เครื่องปั๊มน้ำแบบความดันคงที่
3.เครื่องปั๊มน้ำแบบความดันคงที่

ประเภทของเครื่องปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเป็นอย่างมากในภาคการเกษตร ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งน้ำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยเป็นการเพิ่มแรงดันของน้ำให้ส่งไปยังปลายทาง ซึ่งจะมีทั้งแบบที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้า และแบบที่ใช้เครื่องยนต์ ซึ่งเครื่องปั๊มน้ำส่วนใหญ่ที่มีการใช้ในภาคการเกษตรนั้นจะนิยมใช้ในรูปแบบหอยโข่ง หรือตามความเหมาะสมของสวนแต่ละที่ เช่น

1.ปั๊มน้ำมอเตอร์ไฟฟ้า ขนาด 2 แรงม้า ให้น้ำเฉลี่ย 25,000-30,000 ลิตร/ชั่วโมง

2.ปั๊มน้ำแบบเครื่องยนต์ ขนาด 5 แรงม้า จะให้น้ำเฉลี่ย 20,000-50,000 ลิตร/ชั่วโมง ซึ่งอาจจะขึ้นอยู่กับปริมาณ

อัตราการเร่งด้วยเช่นกัน ในการเลือกปั๊มน้ำควรให้ความสำคัญในเรื่องของปริมาณการจ่ายน้ำ กับแรงดันน้ำ ซึ่งในแต่ละพื้นที่อาจจะมีปริมาณการใช้แรงดันน้ำที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความกว้างของพื้นที่ด้วยเช่นกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในการเลือกซื้อปั๊มน้ำแต่ละประเภทนั้นสิ่งที่สำคัญที่ขาดไม่ได้เลยในการเลือกซื้อหรือเลือกใช้ปั๊มน้ำ คือ

  • ควรจะรู้เรื่องของรายละเอียดการใช้น้ำของเครื่องปั๊มน้ำแต่ละประเภท เช่น ถ้าเราจะลองทำการติดตั้งระบบน้ำ หรือ

สปริงเกลอร์ ต้องรู้ปริมาณน้ำและแรงดันน้ำที่จะใช้ หรือของสปริงเกลอร์ชนิดนั้นๆ ด้วย

  • เลือกปั๊มน้ำให้เหมาะกับการนำไปใช้งาน เช่น ปั๊มน้ำทะเล เหมาะกับการสูบน้ำทะเลหรือเคมี ปั๊มน้ำหอยโข่ง เหมาะ

กับการใช้งานในภาคการเกษตร งานประปาหมู่บ้าน หรือดับเพลิง

  • การเลือกขนาดของปั๊มน้ำต้องดูด้วยว่าเครื่องปั๊มน้ำชนิดนั้นสามารถทำการจ่ายน้ำได้มากแค่ไหน เพียงพอกับการใช้

งานในแต่ละไร่หรือไม่ ในการเลือกปั๊มน้ำสำหรับภาคการเกษตร และแรงดันน้ำที่ต้องการนั้น ปริมาณน้ำควรอยู่ที่ 280 ลิตร/นาที หรือ 30 ลูกบาศก์เมตร/ชั่วโมง แรงดันน้ำควรอยู่ที่ 5 บาร์ ระยะทางส่ง 50 เมตร ขนาดมอเตอร์ 220 โวลต์ หรือ 380 โวลต์ กำลังไฟในการใช้งานควรอยู่ที่ 400 วัตต์ ซึ่งจะเหมาะตั้ง 1-5 ไร่ แต่ไม่เกิน 10 ไร่

4.การวางระบบน้ำในสวน แปลงผักและผลไม้
4.การวางระบบน้ำในสวน แปลงผักและผลไม้

วิธีการติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำ

ในการติดตั้งเครื่องสูบน้ำหรือปั๊มน้ำนั้น สิ่งที่ต้องรู้เลย คือ เราต้องศึกษารายละเอียด  รวมไปถึงวิธีการใช้ ราคา ของเครื่องปั๊มน้ำแต่ละชนิดให้ดีเสียก่อน ซึ่งเมื่อเราได้เครื่องปั๊มน้ำมาแล้วก็ต้องไม่ลืมดูสถานที่ด้วยว่ามีความสะดวก ปลอดภัย และสามารถทนทานได้นานหรือไม่ อีกทั้งก่อนการติดตั้งเราจะต้องเข้าใจในส่วนประกอบอื่นๆ ให้ดีเสียก่อน เพื่อที่ปั๊มน้ำของเรานั้นจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เราจึงควรจะทราบดังนี้

  • ควรศึกษาข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ของเครื่องปั๊มน้ำให้ถี่ถ้วนเสียก่อน
  • การติดตั้งในแต่ละครั้งถ้าเราไม่มีความชำนาญในเรื่องนี้ควรให้ช่างที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เข้ามาทำการติดตั้งให้

จะดีที่สุด

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • ควรตัดไฟฟ้าทุกชนิด โดยการสับคัทเอาท์ไฟฟ้าให้เรียบร้อยเสียก่อนที่จะทำการเริ่มติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำ
  • ติดตั้งชุดควบคุมการทำงานหรือเบรกเกอร์ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานและการซ่อมบำรุง
  • ขนาดของสายไฟจะต้องรองรับกระแสไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องปั๊มน้ำแต่ละชนิดได้ เพราะว่าเครื่องปั๊มน้ำบางรุ่นอาจจะ

มีการใช้กำลังไฟค่อนข้างมาก จึงจำเป็นที่จะต้องใช้สายไฟที่รองรับกระแสไฟได้จริงๆ

  • ต้องติดตั้งไว้ในที่ๆ เป็นแหล่งน้ำ หรือใกล้ถังเก็บน้ำ เพื่อให้ง่ายต่อการสูบน้ำ อีกทั้งยังสามารถปั๊มน้ำจากใต้ดินมา

ใช้ได้อย่างเกิดประโยชน์เต็มที่

  • ควรติดตั้งในที่ร่มหรือมีหลังคาคลุมเครื่องปั๊มน้ำ และไม่ควรติดตั้งให้ชิดกับผนังจนเกินไป ควรติดตั้งให้ห่าง

อย่างน้อย 10 เซนติเมตร หรือมากกว่านี้ก็ได้ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และง่ายต่อการซ่อมบำรุง

  • ไม่ควรติดตั้งในที่ๆ มีสิ่งแปลกปลอม หรือมีเศษหิน  เพราะอาจจะทำให้พวกเศษหินเล็กเข้าไปอุดตัน  ทำให้เครื่อง

ปั๊มน้ำเกิดความเสียหายได้ อีกทั้งควรจะติดตั้งให้อยู่สูงกว่าพื้นดินเล็กน้อยได้เช่นกัน

ข้อควรระวังของการติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำ

การติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำในภาคการเกษตรนั้นย่อมเกิดเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่เฉพาะการติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำเพียงอย่างเดียว แต่การติดตั้งอุปกรณ์อะไรก็แล้วแต่ ล้วนแล้วแต่จะต้องระวังในเรื่องของการเกิดอุบัติเหตุ หรือสิ่งไม่คาดคิดเกิดขึ้นเช่นกัน ซึ่งข้อควรระวังก็มีดังนี้

  • ในการยกหรือเคลื่อนย้ายปั๊มน้ำต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยการเคลื่อนย้ายจะต้องไม่ให้ไปโดนสายไฟของเครื่อง

ปั๊มน้ำ เพื่อป้องกันการเหนี่ยวรั้งจนทำให้เครื่องปั๊มน้ำหล่นหรือร่วงลงจนเกิดความเสียหายได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
  • ในการติดตั้งเครื่องปั๊มน้ำนั้นการใช้ไฟฟ้าในการจ่ายไปยังเครื่องปั๊มน้ำควรจะเป็นระบบเดียวกัน และควรที่จะติดตั้ง

อุปกรณ์ในการตัดไฟ รวมไปถึงการต่อสายดินทุกครั้งในการติดตั้ง

  • ควรใช้ท่อเหล็กหรือท่อที่สามารถจะทนต่อแรงดันของเครื่องได้ เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายที่จะตามมาในการ

ใช้งาน และไม่ควรที่จะใช้ท่ออ่อนหรือสายยางสำหรับดูดท่อ เพื่อไม่ให้เกิดการบิดงอ หรือท่อเกิดอาการตีบได้

  • ไม่ควรใช้เครื่องปั๊มน้ำเกินประสิทธิภาพในการทำงาน เพราะอาจจะทำให้เกิดความเสียหายที่ตัวปั๊มน้ำได้ อีกทั้งไม่

ควรที่ให้โดนน้ำหรือฝนสาดนานๆ เพราะจะทำให้ตัวเครื่องปั๊มน้ำนั้นมีสภาพการใช้งานสั้นลงกว่าอายุการใช้งานจริง

5.เครื่องปั๊มน้ำหอยโข่ง
5.เครื่องปั๊มน้ำหอยโข่ง

ประเภทเครื่องปั๊มน้ำที่ใช้ในการเกษตร

เครื่องปั๊มน้ำที่เหมาะสมกับการใช้งานในภาคการเกษตรนั้นจะเป็นเครื่องปั๊มน้ำประเภทหอยโข่ง ซึ่งเครื่องปั๊มน้ำหอยโข่งนั้นก็จะมีหลากหลายยี่ห้อ หลายรุ่น และหลายขนาด ให้เลือกใช้ ซึ่งเราจะยกตัวอย่างเครื่องปั๊มน้ำหอยโข่งแต่ละขนาดมาให้ได้ทราบกันว่าเหมาะกับการใช้งานในขนาดกี่ไร่ ซึ่ง

  • เครื่องปั๊มน้ำหอยโข่งขนาด 1 แรงม้า จะสามารถสูบน้ำได้ประมาณ 200-300 ลิตร/นาที
  • เครื่องปั๊มน้ำหอยโข่งขนาด 2 แรงม้า จะสามารถสูบน้ำได้ประมาณ 500-600 ลิตร/นาที
  • เครื่องปั๊มน้ำหอยโข่งขนาด 3 แรงม้า จะสามารถสูบน้ำได้ประมาณ 900-1,100 ลิตร/นาที

โดยเครื่องปั๊มน้ำหอยโข่งนี้จะมี 3 ขนาด 3 แรงม้า ซึ่งเราจะยกตัวอย่างการใช้ปั๊มน้ำหอยโข่งชนิด 2 แรงม้า ซึ่งตัว 2 แรงม้านี้ จะเหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ที่มีขนาดสวนตั้งแต่ 1-5 ไร่ แต่ไม่เกิน 10 ไร่ โดยการสูบน้ำนั้นสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยคิดเป็นนาทีก็จะอยู่ที่ 500-600 ลิตร/นาที หรือคิดเป็นชั่วโมงก็จะตกอยู่ที่ 3,000-3,600 ลิตร/ชั่วโมง คิดเป็นไร่ก็จะอยู่ที่ 720 ลิตร/ไร่ ซึ่งต่อไร่นี้จะอยู่ที่ประมาณ 5 ไร่ ในการใช้ปั๊มน้ำชนิดนี้ ในการเพิ่มแรงปั๊มน้ำของตัวเครื่องปั๊มน้ำอาจจะเพิ่มเป็น 5 แรง ก็ได้เช่นกัน เพื่อให้การใช้งานปั๊มน้ำนั้นสามารถทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งการวางท่อน้ำควรจะวางให้เสมอกันมากที่สุด โดยการวางท่อจะต้องคำนึงถึงพื้นที่และท่อเมนย่อยเป็นหลัก เพราะว่าขนาดของท่อย่อยจะต้องมีขนาดที่พอดี ไม่เล็กเกินไป โดยอาจจะใช้ท่อประมาณ 1 นิ้ว ความยาวต่อกันก็จะเท่าๆ กันทุกด้าน เพื่อเป็นการรักษาแรงดันในท่อให้ดียิ่งขึ้น และอาจจะใช้เป็นท่อพีวีซีเป็นท่อหลัก และ ท่อย่อย เพราะว่าตัวท่อพีวีซีจะมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างทนและยาวนานกว่าท่อประเภทอื่นๆ ด้วย

6.เครื่องปั๊มน้ำแบบจุ่ม
6.เครื่องปั๊มน้ำแบบจุ่ม

การบำรุงดูแลรักษาเครื่องปั๊มน้ำ

ในการดูแลเครื่องปั๊มน้ำหรือเครื่องสูบน้ำให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ยาวนานนั้น เราไม่จำเป็นเลยที่จะต้องดูแลแค่เฉพาะตัวปั๊มน้ำเพียงอย่างเดียว แต่เราต้องดูแลในหลายๆ ส่วนที่มาด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบคุณภาพน้ำ การควบคุม ตรวจสอบถังน้ำ ระบบท่อ และส่วนอื่นๆ ที่มีความสำคัญ เพราะทุกส่วนของเครื่องปั๊มน้ำนั้นสำคัญหมดทุกส่วน และจะมีเหตุผลนอกเหนือจากนี้อีก

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเลือกปั๊มน้ำที่มีถังความดันประกอบสำเร็จเป็นชุด เพราะจะมีผลต่อการรักษาความดันของน้ำในการใช้งานและช่วยประหยัดพลังงาน และควรติดตั้งระบบของปั๊มน้ำให้สามารถเก็บน้ำและจ่ายน้ำได้ตามแรงโน้มถ่วงจะดีที่สุด อีกทั้งเครื่องสูบน้ำทุกประเภทจะต้องมีสมุดประวัติการใช้งาน และจะต้องมีกำหนดการเวลาสำหรับตรวจสอบ พร้อมด้วยทำนุบำรุงที่แน่นอน

ในการตรวจสอบจะต้องตรวจสอบต้องจำแนกการบำรุงรักษาออกเป็นส่วนๆ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจทุกวัน การตรวจสอบทุกๆ 6 เดือน พร้อมด้วยการตรวจประจำปี ในการทำงานในแต่ละครั้งนั้นอาจจะเริ่มตรวจสอบก่อนการใช้งานห้องเครื่องในแต่ละครั้งว่ามีอุณหภูมิและความร้อนมากน้อยเพียงใด เช็คแรงดันทั้งด้านดูดและด้านจ่าย โดยอาจจะใช้เครื่องมือในการวัดความดันและแรงดันลม พร้อมด้วยการซ่อมแซมแก้ไขอุปกรณ์วัดชนิดอื่นๆ ที่ใช้วัดน้ำพร้อมด้วยกระแสไฟฟ้า

เครื่องปั๊มน้ำหอยโข่งที่มีสภาพดีนั้นเราควรจะตรวจสอบการใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของท่อ เพลา อะไหล่ต่างๆ ของตัวปั๊มน้ำให้มีสภาพที่ดี ไม่ใช่ว่าเจอรอยรั่วนิดหน่อยก็ยังนำมาใช้นี่เป็นข้อเสียอย่างมาก หากเราพบรอยรั่วตรงจุดไหน ควรรีบซ่อมแซมเสียก่อนที่จะนำกลับมาใช้งาน รวมไปถึงการตรวจสภาพการสึกกร่อนของตัวปั๊มน้ำในส่วนที่โดนน้ำบ่อยๆ และต้องเปลี่ยนแปลงน้ำมันหล่อลื่นอยู่ตลอดเวลาการใช้งาน

นอกจากนี้ควรอัดจาระบีที่เพลาปั๊มน้ำทุกครั้งในการใช้งาน ทุกๆ 1-2 วัน หรือ 50-60 ชั่วโมงต่อการใช้งาน รวมไปถึงควรตรวจน้ำมันเกียร์ที่ตัวปั๊มทุกครั้ง อย่าให้อยู่ในระดับต่ำกว่าที่กำหนดไว้ เพราะจะทำให้ตัวปั๊มน้ำเกิดความเสียหายได้ในภายหลัง ควรเปลี่ยนอะไหล่ทุกครั้งเมื่อพบว่าอุปกรณ์ในตัวเครื่องปั๊มน้ำเริ่มเสื่อมสภาพ ไม่ควรฝืนใช้ต่อเพราะจะทำให้เกิดอันตรายตามมาได้

นอกจากนี้ต้องไม่ให้ปลายท่อที่ดูดนั้นหล่นลงไปใกล้กับพื้นทรายมากจนเกินไป เพราะทำให้ตัวใบพัดของเครื่องปั๊มน้ำสึกหรอเร็วกว่าอายุการใช้งานที่ควรจะเป็น และที่สำคัญเลยเราต้องดูสายพานหรือโซหรือยอยางไม่ให้หลวม หรือตึงมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ตัวเครื่องปั๊มน้ำเสื่อมสภาพและเสียหายได้อย่างรวดเร็วเลยทีเดียว

ในการใช้ไฟฟ้าในแต่ละครั้งอาจจะมีปริมาณการใช้จ่ายค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนที่ไม่เท่ากัน โดยค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อเดือน ในการใช้งานปริมาณ 5 ไร่ จะตกอยู่ที่ 2,500 กว่าบาท คิดเป็นต่อไร่ จะตกไร่ละ 480 กว่าบาทต่อไร่ ซึ่งเป็นราคาที่ใกล้จ่ายในปริมาณแค่ 5 ไร่เท่านั้น แต่การคำนวณค่าไฟฟ้าในครั้งนี้เป็นการคาดคะเนเกี่ยวกับค่าไฟฟ้า เพราะแต่ละสวนนั้นอาจจะใช้ปริมาณไฟฟ้าไม่เท่ากัน การเปิดใช้งานเครื่องสูบน้ำก็อาจจะใช้ระยะเวลาในการสูบน้ำที่ไม่เท่ากัน ค่าไฟฟ้าอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ได้เช่นกัน

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.เครื่องปั๊มน้ำอัตโนมัติ
7.เครื่องปั๊มน้ำอัตโนมัติ

เทคนิคการเลือกใช้เครื่องปั๊มน้ำ 

การวางระบบน้ำในสวน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยในเรื่องของการรดน้ำในสวนได้เป็นอย่างดี ซึ่งในภาคการเกษตรเองก็มีการทำการวางระบบน้ำอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงการใช้เครื่องสูบน้ำหรือปั๊มน้ำเข้ามาช่วยทุ่นแรงในการลดน้ำของสวนที่มีขนาดใหญ่

ซึ่งการเลือกใช้เครื่องสูบน้ำหรือปั๊มน้ำนั้นก็ควรจะเลือกให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ เพราะว่าถ้าเรานำไปใช้ผิดประเภทก็อาจจะทำให้เครื่องสูบน้ำอยู่กับเราได้ไม่ยาวนานเท่าที่ควร หรืออาจจะทำให้เกิดการซ่อมแซมอยู่บ่อยครั้งมากขึ้น จึงเป็นเรื่องต้องทำความเข้าใจเสียก่อน แต่การติดตั้งก็สามารถทำได้เองก็ได้เช่นกัน แต่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องการวางระบบน้ำด้วย ไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังจากการติดตั้งเสร็จแล้ว ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจอีกเรื่องเลยทีเดียว

บทความนี้เป็นการแนะนำวิธีและเทคนิคในการเลือกการใช้เครื่องสูบน้ำเพื่อการนำไปติดตั้งในสวน เป็นการวางระบบน้ำที่ใช้ในภาคการเกษตร ซึ่งถ้าเป็นภาคการเกษตรเครื่องปั๊มน้ำที่เหมาะสมที่สุดจะเป็นเครื่องสูญน้ำประเภทหอยโข่ง เพราะเป็นเครื่องที่สามารถใช้งานในภาคการเกษตรได้ทนทานที่สุดแล้ว จึงเป็นการนำเสนอในเรื่องของเครื่องสูบน้ำประเภทนี้ไปในตัว ซึ่งเป็นบทความที่อ้างอิงข้อมูลจากหลายฝ่าย ไม่ได้เป็นการนำไปเผยแพร่ในเชิงพาณิชย์ แต่เป็นการนำเสนอการให้ความรู้และความเข้าใจแก่ผู้ที่สนใจเสียมากกว่า หากข้อมูลเบื้องต้นผิดพลาดหรือมีข้อแก้ไขขอน้อมรับด้วยความยินดี

ข้อมูลอ้างอิง

www.kanokproduct.com , www.kasetkawna.com,http://baansunkoo-organic.over-blog.com, www.sti-inter.com,www.baanlaesuan.com,https://www.ktw.co.th