สภาพพื้นที่ ปลูกลองกอง
ทางทีมงานเมืองไม้ผลได้เดินทางเก็บข้อมูลมาฝากในครั้งนี้เกี่ยวกับทำสวนลองกองของ คุณธนัส กิตติมณีมาศ ผู้นำชุมชนดีเด่น หรือที่รู้จักกันดีของคนในชมรมนั้นในนาม ผู้ใหญ่ธนัส ที่นำลูกบ้านทำสวนเกษตรดี เหมาะสม และนำเคล็ดลับความสำเร็จใหม่ๆ มาแนะนำเพื่อนบ้าน ลูกบ้าน ให้ทำสวน และได้ผลผลิตดี ในการ ปลูกลองกอง
เดิมเป็นคนจังหวัดนครปฐม และได้ขยับขยายตัวมาทำสวนไม้ผลที่จังหวัดตราด ภายในสวนได้ปลูกผลไม้หลายชนิด เช่น มังคุด
การปรับสภาพพื้นที่และเตรียมต้นกล้า
การเตรียมต้นกล้าที่นำมาปลูกลงแปลงควรมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป อยู่ในสภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ และจะต้องมีใบยอดคู่สุดท้ายแก่เต็มที่แล้ว ไม่ควรนำต้นที่กำลังแตกใบอ่อนไปปลูก และก่อนปลูกควรเตรียมต้นกล้าให้พร้อมกับสภาพแวดล้อมในแปลงปลูก โดยค่อยๆ รดน้ำและปุ๋ย พร้อมกับค่อยๆ เพิ่มแสงให้มากขึ้นทีละน้อย ขึ้นกับสภาพของดิน และการวางระบบน้ำ
โดยหลังจากที่ปรับสภาพพื้นที่ วางแนวกำหนดระยะปลูก และวางระบบน้ำเสร็จแล้ว นำต้นกล้าออกจากถุงพลาสติก โดยระวังอย่าให้ดินแตก ทำได้โดยกรีดก้นถุงออกก่อนแล้วนำไปวางตรงตำแหน่งที่ปลูก กรีดถุงพลาสติกให้ขาดจากล่างขึ้นบน แล้วค่อยๆ ดึงถุงพลาสติกออกเบาๆ ถากดินข้างๆ ขึ้นมาพูนกลบ ระวังอย่ากลบให้สูงถึงรอยเสียบยอด รอยทาบ หรือรอยติดตา หาวัสดุคลุมโคน รดน้ำให้ชุ่ม ปักไม้หลักป้องกันลมพัดโยก และจัดทำร่มเงาโดยใช้ตาข่ายพลาสติกพรางแสงทางมะพร้าว หรือทางปาล์มน้ำมัน เป็นต้น
การบำรุงดูแลต้นลองกอง
เมื่อตรวจพบต้นที่ตายหลังจากปลูก ให้ปลูกซ่อม และเพื่อให้ต้นลองกองมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว อยู่ในสภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ และมีโครงสร้างที่ดีเหมาะสมต่อการออกดอก ติดผล ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่ฝนทิ้งช่วง เพื่อให้ต้นลองกองเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง
การใช้วัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว ทางมะพร้าว ใบกล้วย ก็จะช่วยรักษาความชุ่มชื้นในดินได้เป็นอย่างดี ส่วนในฤดูฝนถ้าเกิดมีฝนตกชุกควรทำทางระบายน้ำ และตรวจดูหลุมปลูกถ้าพบว่าดินยุบตัวเป็นแอ่ง มีน้ำบริเวณโคนต้น ให้พูนดินเพิ่ม
การใส่ปุ๋ย เนื่องจากพื้นที่ ปลูกลองกอง ส่วนใหญ่มีฝนตกชุก ดินมีการชะล้างสูง การจัดการปุ๋ยเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ของดินจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์สูตร 2 ตราคนขี่ม้า จากบริษัทเรืองกิตต์เกษตรกร หลังจากตัดแต่งกิ่งและกำจัดวัชพืชควรหว่านปุ๋ยในบริเวณใต้ทรงพุ่มโดยรอบ ห่างจากโคนต้นประมาณ 20-30 ซม. และพรวนดินกลบตื้นๆ ซึ่งรากฝอยทำหน้าที่ดูดน้ำ และปุ๋ยนี้จะมีหนาแน่นบริเวณใกล้โคนต้น และน้อยลงเมื่อห่างโคนต้นออกไปยังชายพุ่ม
การตัดแต่งกิ่งต้นลองกอง
ต้นที่ปลูกด้วยเมล็ดโดยตรงจะมีทรงพุ่มสูงชะลูด การจัดการต่างๆ รวมทั้งการเก็บเกี่ยว ทำได้ลำบาก จึงควรมีการตัดยอดเพื่อสร้างทรงพุ่ม เมื่อต้นลองกองสูงประมาณ 1 เมตร และเพื่อให้กิ่งลองกองที่แตกออกมาเป็นกิ่งมุมกว้าง ควรช่วยโน้มกิ่งโดยใช้เชือกผูกกิ่งแล้วโน้มถ่วงลงมาด้วยก้อนหินหรือวัตถุหนักๆ
รวมทั้งควรตัดแต่งกิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งกระโดง หรือกิ่งน้ำค้าง กิ่งแขนงเล็กๆ ภายในทรงพุ่มออก เพราะกิ่งพวกนี้เป็นตัวใช้อาหารมากกว่าจะสร้างอาหาร ถ้าตัดออกก็จะทำให้ลองกองมีอาหารสะสมในต้นมากขึ้น แต่ต้องระวังอย่าตัดแต่งจนโปร่งมากเกินไป เพื่อรักษาความชื้นภายในทรงพุ่ม
การเก็บเกี่ยวผลผลิตลองกอง
การเก็บเกี่ยวลองกองในวัยที่ถูกต้อง เพราะลองกองเป็นไม้ผลที่ไม่สามารถนำไปบ่มให้สุกได้เหมือนกับมะม่วง กล้วย หรือทุเรียน การเก็บเร็วเกินไปจะมีรสเปรี้ยว แต่ถ้าเก็บช้าเกินไปผลจะหลุดร่วง ซึ่งลองกองในต้นเดียวกันจะสุกไม่พร้อมกัน ควรเก็บเฉพาะช่อที่สุกพอเหมาะเท่านั้น โดยพิจารณาได้จากสีผิวของเปลือกจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีอมเหลือง และมีสีเหลืองมากขึ้นจนเหลืองนวลหมดทั้งช่อ
ระยะที่เหมาะต่อการเก็บ คือ หลังจากผลเริ่มเปลี่ยนสีประมาณ 15-25 วัน กลีบเลี้ยงและก้านช่อผลเปลี่ยนจากสีเขียวสดเป็นสีน้ำตาล โดยให้ชิมผลที่อยู่ปลายช่อซึ่งจะสุกช้ากว่าตอนบนของช่อ ผลสุกจะมีรสหอม และเนื้อเปลี่ยนสีจากสีขาวขุ่นเป็นขาวใส โดยบีบเบาๆ จะพบว่าผลนิ่มลง
สนใจเทคนิคการผลิตลองกองคุณภาพ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ คุณธนัส กิตติมณีมาศ โทร.039-537-120