กระเทียมถือเป็นพืชสมุนไพรที่อยู่คู่กับเมืองไทยมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน ก็ยังคงเป็นพืชที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาประกอบอาหาร ทำเป็นยาสมุนไพร ทั้งแบบแผนโบราณ และแผนปัจจุบัน จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมกระเทียมยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ถึงแม้ว่าจะเป็นพืชที่ได้รับความนิยมในด้านของสมุนไพร การปลูกกระเทียม
แต่ก็ยังคงเป็นพืชที่หลายคนไม่ชอบด้วยกลิ่นที่แรง และถ้ารับประทานมากไปอาจจะทำให้เกิดกลิ่นตัวที่ไม่พึงประสงค์ตามมาด้วย เราไปทำความรู้จักกับกระเทียมกันดีกว่า
พืชที่มีติดครัวแทบทุกบ้าน และเก็บไว้ได้นาน แน่นอนหลายๆ คนคงนึกถึงกระเทียม พืชสมุนไพรที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้อย่างหลากหลาย รวมไปถึงการเป็นยาสมุนไพรแผนโบราณมากมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรประจำครัวเรือนเลยก็ว่าได้ เป็นถึงพืชสมุนไพรแน่นอนเรื่องสรรพคุณก็มีมากมายเลยทีเดียว ถือเป็นพืชที่ครองใจในวงการการแพทย์แผนโบราณเลยก็ว่าได้
นอกจากนี้กระเทียมยังมีอีกหนึ่งชนิดที่ขึ้นชื่อ คือ กระเทียมดำ ที่มีสรรพคุณค่อนข้างโดดเด่น และเป็นที่กล่าวขานกันอย่างหนาหูเลยว่าถ้าได้รับประทานกระเทียมดำจะช่วยรักษาและบำรุงร่างกายให้มีความสมดุลที่ดีขึ้น กระเทียมยังมีอะไรให้น่าค้นหาอีกเยอะ ไม่ใช่แค่พืชประจำครัวเรือนอย่างเดียวแน่นอน
การปลูกกระเทียม
ถึงแม้ว่ากระเทียมอาจจะเป็นพืชที่หลายๆ คนไม่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นของกระเทียม รวมไปถึงเมื่อรับประทานแล้วอาจจะทำให้เกิดกลิ่นตัว หรือทำให้มีกลิ่นปาก หรือกลิ่นไม่พึงประสงค์ แต่กระเทียมก็ยังคงเป็นพืชสมุนไพรที่รับการยอมรับในเรื่องของการบำรุงร่างกาย และปรับสมดุลต่างๆ มากมายเลยทีเดียว
และที่สำคัญเลยยังคงเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตและปลูกได้ค่อนข้างง่าย เป็นพืชที่มีความทนต่อสภาพดินที่หลากหลาย จึงไม่แปลกใจเลยที่ว่าจะเป็นพืชที่ได้รับความนิยมของการนำมาทำเป็นยาสมุนไพรได้เป็นอย่างดี เพราะว่าปัจจุบันได้มีการแปรรูปของกระเทียมเป็นพืชสมุนไพรในรูปแบบแคปซูล และรูปแบบผง รวมไปถึงน้ำมันกระเทียม ที่ออกมาอย่างแพร่หลาย แต่ทั้งนี้การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกระเทียมในรูปแบบของสมุนไพรนั้นจะต้องได้รับการรับรองจากแพทย์เสียก่อน จึงจะสามารถใช้ได้ ถือเป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่ได้ลองแล้วต้องประทับใจอย่างแน่นอน
กระเทียม พืชสมุนไพร และพืชเครื่องเทศ
กระเทียมถือได้ว่าเป็นทั้งพืชสมุนไพร และพืชที่เป็นเครื่องเทศ ที่ขึ้นชื่อของเมืองไทยเราเลยก็ว่าได้ โดยกระเทียมนั้นมักจะอยู่ในอาหารหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นประเภทแกง ผัด ต้ม ฯลฯ ซึ่งเราก็จะคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี ยิ่งเมนูผัดเราจะเห็นได้เลยว่านิยมใส่กระเทียมกันเป็นประจำอยู่แล้ว ถึงแม้หลายๆ คนจะไม่ชอบ แต่ก็ยอมที่ให้ใส่มา
โดยกระเทียมนั้นนอกจากจะนำมาประกอบอาหารหรือเป็นเครื่องเทศชั้นเยี่ยมแล้วนั้น ยังถือได้ว่าเป็นพืชสมุนไพรที่มีคุณประโยชน์มากมายเลยทีเดียว ซึ่งกระเทียมนั้นช่วยในเรื่องบำรุงร่างกายและปรับสมดุลในร่างกายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำตาลด้วย นอกจากนี้กระเทียมยังได้ถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย ที่โดดเด่นเลยก็จะเป็นกลุ่มอาหารเสริมที่ช่วยในเรื่องของการบำรุงและรักษาร่างกายได้เป็นอย่างดีนั่นเอง
นอกจากนี้กระเทียมยังถูกเรียกในหลากหลายชื่อตามท้องถิ่นของแต่ละพื้นที่ ซึ่งแต่ละพื้นที่นั้นก็จะมีการเรียกกระเทียมในแบบที่คุ้นเคยกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นคำว่า กระเทียมขาว เรียกกันมากในกลุ่มชาวจังหวัดอุดรธานี กระเทียมจีน ส่วนใหญ่จะเป็นคนภาคกลาง และกทม. ปะเซ้วา ชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่แม่ฮ่องสอน หอมเทียม ส่วนใหญ่จะเป็นทางภาคเหนือที่นิยมเรียก และคำว่า หัวเทียม สำหรับชาวภาคใต้ ซึ่งก็ถือเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องที่ ที่นิยมเรียกแตกต่างกันออกไปนั่นเอง
ลักษณะทั่วไปของกระเทียมนั้นโดยปกติแล้วเป็นพืชล้มลุก โดยจะมีลำต้นอยู่ใต้ดิน เป็นหัวที่ออกจะกลมๆ ซึ่งแต่ละหัวนั้นจะมีประมาณ 6-10 กลีบ และมีความสูงประมาณ 1-2 ฟุต เลยทีเดียว ที่สำคัญเป็นพืชที่มีกลิ่นค่อนข้างแรง ลักษณะของใบเป็นใบเดียวขึ้นมาจากดิน และเรียงซ้อนสลับกันแบนเป็นแถบแคบ ความกว้างของใบประมาณ 0.5-2.5 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ นอกจากนี้ลักษณะของดอกที่มีความสมบูรณ์แล้วนั้นจะมีกลีบดอกทั้งหมด 6 กลีบ จะแยกกันหรืออยู่ติดกันที่โคนก็ได้ อาจจะมีสีขาวหรือสีขาวอมชมพูก็ได้เช่นกัน
นอกจากนี้กระเทียมยังจัดอยู่ในกลุ่มของพืชประเภทเดียวกับหอมหัวใหญ่ หอมแดง หอมแบ่ง และกุยฉ่าย อีกด้วย ซึ่งในเมืองไทยนิยมปลูกมากในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ แต่ส่วนใหญ่แล้วกระเทียมจะมีชื่อเสียงในเรื่องของคุณภาพและกลิ่นจะต้องมาจากจังหวัดศรีษะเกษเท่านั้นที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นจังหวัดที่ผลิตกระเทียมที่มีคุณภาพและได้ราคาดี
สายพันธุ์กระเทียม
ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้นจะนิยม การปลูกกระเทียม ทางภาคเหนือ และภาคอีสาน ซึ่งภาคเหนือจะนิยมปลูกกระเทียมที่เป็นสายพันธุ์พื้นเมือง ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์เชียงราย เชียงใหม่ และสายพันธุ์จากพม่า ส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นจะนิยมปลูกสายพันธุ์ของศรีษะเกษ ซึ่งจังหวัดศรีษะเกษจะขึ้นชื่อเป็นอย่างมากในเรื่องของกระเทียม และภาคกลางจะนิยมปลูกพันธุ์จีนหรือไต้หวันเป็นหลัก
ซึ่งสายพันธุ์ที่ปลูกในเมืองไทยนั้นจะสามารถแบ่งแยกตามอายุตามความแก่ของสายพันธุ์ชนิดนั้นๆ ได้ โดยนิยมตามอายุของช่วงเวลาเก็บเกี่ยว คือ
- พันธุ์เบา หรือเรียกอีกอย่างว่า สายพันธุ์ขาวเมือง โดยลักษณะใบจะแหลม ลำต้นจะแข็ง กลีบของหัวนั้นจะประมาณ
หัวแม่มือ กลีบและหัวนั้นจะมีสีขาว แต่สายพันธุ์นี้กลิ่นจะค่อนข้างฉุนและมีรสจัด อายุในการเริ่มเก็บเกี่ยวได้นั้นประมาณ 75-90 วันโดยเฉลี่ย ซึ่งสายพันธุ์เบานี้เป็นสายพันธุ์พื้นเมืองของสายพันธุ์ศรีษะเกษนั่นเอง
- พันธุ์กลาง ลักษณะทั่วไปของพันธุ์นี้จะมีใบที่เล็กและยาว ส่วนลำต้นนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าพันธุ์อื่นๆ และค่อนข้าง
แข็งอีกด้วย ขนาดหัวจะไม่ใหญ่มาก กลีบมีสีม่วง อายุค่อนข้างแก่ และระยะเวลาเก็บเกี่ยวจะนานแต่ไม่มาก โดยอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 3-4 เดือน หรือ 90-120 วัน ซึ่งเป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากทางภาคเหนือ โดยจะเน้นเป็นพันธุ์พื้นเมือง คือ สายพันธุ์ของเชียงใหม่เป็นหลัก
- พันธุ์หนัก โดยรูปแบบของพันธุ์ประเภทนี้จะมีลักษณะใบที่กว้างและยาว แต่ลำต้นจะเล็กกว่าพันธุ์อื่นๆ ส่วนหัวจะ
ใหญ่ และมีกลีบที่โตกว่าพันธุ์อื่นๆ เปลือกจะมีสีชมพู ที่สำคัญพันธุ์หนักนี้จะมีน้ำหนักที่ค่อนข้างดีกว่าพันธุ์เบาและกลาง อายุที่เหมาะแก่การเก็บเกี่ยวนั้นจะอยู่ที่ 150 วัน หรือประมาณ 5 เดือน โดยสายพันธุ์ที่มีลักษณะนี้จะเป็นสายพันธุ์จีน หรือไต้หวัน เป็นต้น
สภาพพื้นที่ปลูกกระเทียม
การปลูกกระเทียม นั้นไม่ใช่เรื่องยากเลย ถ้าเราไม่ได้ทำส่งขายแต่ปลูกไว้เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักตามท้องตลาด ก็สามารถปลูกไว้ในพื้นที่บ้านหรือบริเวณที่มีที่จำกัดก็ได้ หรือจะปลูกในกระถางก็ได้เช่นกัน แต่ถ้าเราปลูกเพื่อเตรียมจำหน่ายก็อาจจะมีขั้นตอนในการดูแลและการเตรียมตัวต่างๆ เสียหน่อย เรามาดูกันว่าใน การปลูกกระเทียม นั้นจะต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะเริ่มปลูกและให้ได้ผลผลิตที่ดีพร้อมออกสู่ท้องตลาด
ที่สำคัญกระเทียมนั้นสามารถเพาะปลูกได้เกือบทุกภาคของประเทศ และปลูกได้ดีในดินที่มีความร่วนซุยหรือระบายน้ำได้เป็นอย่างดี และมีอุณหภูมิที่พอเหมาะ ยิ่งถ้าเป็นอากาศที่มีความเย็นก็จะเหมาะกับ การปลูกกระเทียม เป็นอย่างมาก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ การปลูกกระเทียม จะนิยมในภาคเหนือตอนบนที่มีอากาศหนาวเย็นเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังมีการเพาะปลูกในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนอีกเช่นกัน
ใน การปลูกกระเทียม นั้นส่วนใหญ่แล้วจะมีการแบ่งเป็น 2 ช่วงระยะเวลาในการปลูก เพราะว่าจะให้ผลผลิตที่ดีและโตได้อย่างเต็มที่ โดยมีการแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
1.เพาะปลูกในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งถ้าปลูกในช่วงระยะแรกจะสามารถเริ่มทำการเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือน มกราคม ถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งก็จะเป็นช่วงอายุในการเก็บเกี่ยวประมาณ 75-90 วัน ซึ่งกระเทียมรุ่นนี้จะเรียกว่าเป็นกระเทียม เบา ซึ่งจะนิยมมากในการทำกระเทียมดอง เนื่องจากไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะจะฝ่อเสียก่อน
2.เพาะปลูกในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ก็จะเริ่มปลูกกระเทียมใหม่ในช่วงนี้ ซึ่งกระเทียมที่ปลูกในช่วงนี้จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน โดยอายุเฉลี่ยของการเก็บเกี่ยวในช่วงที่ 2 นี้จะอยู่ที่ประมาณ 90-120 วัน ซึ่งจะเรียกว่ากระเทียมปี ซึ่งกระเทียมประเภทนี้จะเหมาะกับการทำเป็นกระเทียมแห้งที่เราใช้อยู่ทั่วไป เพราะจะเก็บได้นานกว่ากระเทียมที่ปลูกในช่วงเดือนตุลาคมนั่นเอง
การปลูกและบำรุงดูแลต้นกระเทียม
สิ่งแรกในการเริ่มปลูกกระเทียมเลยนั้น เราต้องเตรียมดินก่อน เพราะว่ากระเทียมเป็นพืชที่ชอบความร่วนซุยเป็นอย่างมาก และควรจะมีการระบายน้ำที่ดี แต่ได้หากดินมีความเป็นกรดมาก็ทำการไถพรวนดินและเติมปูนขาว โดยควรใส่ทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์เป็นอย่างต่ำ และทำการตากดินไว้ประมาณ 15 วัน ก็จะช่วยให้ดินมีการปรับค่าเป็นกลางได้ดีขึ้น และที่สำคัญเลยเพื่อเป็นการกำจัดวัชพืชในดินก็อาจจะมีการเติมปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกลงไปไถพรวนเพื่อผสมในดินด้วยก็ได้เช่นกัน
ทั้งนี้จะช่วยให้ดินมีธาตุอาหารที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ควรเตรียมแปลงปลูกให้มีขนาดความกว้างประมาณ 1-2.5 เมตร ความยาวตามพื้นที่ปลูกระหว่างแปลง ควรมีความกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร แต่ถ้าใครไม่ได้คิดจะปลูกในแปลงใหญ่หรือปลูกเพื่อขายก็สามารถที่จะปลูกในกระถางได้เช่นกัน สำหรับคนที่จะปลูกไว้เพื่อบริโภคเท่านั้นที่นิยมปลูกในกระถาง
ปลูกด้วยวิธีการใช้กลีบนอก
โดยทั่วไปแล้วนั้นกระเทียมจะปลูกด้วยวิธีการใช้กลีบนอกในการปลูกเป็นหลัก เพราะว่าจะให้กระเทียมหัวที่ใหญ่ และมีผลผลิตที่สูงกว่าการนำส่วนอื่นๆ มาปลูก วิธีการเลือกกลีบเพื่อนำมาปลูกนั้นให้ดูที่หัว โดยเน้นเลือกใช้หัวที่มีความแก่จัดและแห้งสนิท แต่ไม่ควรเลือกหัวที่เก่าและเก็บไว้นานแล้วมาปลูก เพราะว่าอาจจะเกิดความเสี่ยงในเรื่องของโรคได้ง่าย เวลาเลือกที่ปลูกก็ควรจะดูเสียก่อน เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะได้ของไม่ดี และทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่มีคุณภาพได้ และเมื่อได้หัวที่ต้องการมาปลูกก็ให้แกะเปลือกออกและตัดแต่งรากพอประมาณ
ก่อนจะนำลงปลูกก็รดน้ำในดินให้ชุ่มเสียก่อน จากนั้นก็ค่อยนำกลีบกระเทียมใส่ลงไปโดยเอาส่วนที่เป็นรากนั้นลงไปให้อยู่ที่ความลึกประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของกลีบกระเทียม หลังจากที่นำส่วนของกลีบกระเทียมลงปลูกแล้วให้นำฟางมาคลุมให้เรียบร้อย ในการนำฟางมาคลุมนั้นก็เพื่อเป็นการควบคุมปริมาณวัชพืช ช่วยคุมความชื้น และช่วยลดความร้อนในตอนกลางวันได้เป็นอย่างดีนั่นเอง
การให้น้ำต้นกระเทียม
ในการเริ่มปลูกกระเทียมนั้นควรจะให้น้ำในดินก่อนที่จะทำการเริ่มปลูก อาจจะกำหนดพื้นที่มาประมาณ 1 ไร่ โดยใช้กลีบเพื่อจะเริ่มปลูกประมาณ 75-80 กิโลกรัม โดยวิธีการปลูกเมื่อให้น้ำก่อนเริ่มปลูกนั้นจะเว้นระยะในการปลูก 10×10-15 เซนติเมตร ซึ่งระยะห่างประมาณนี้จะให้ผลผลิตค่อนข้างดี แต่ถ้าเป็นกระเทียมพันธุ์จีนอาจจะเว้นระยะการปลูกที่ 12-12 เซนติเมตร อาจจะใช้หัวพันธุ์ในการปลูกประมาณ 300-350 กิโลกรัมต่อไร่ ก็ได้เช่นกัน หลังจากที่เราเริ่มปลูกไปแล้วสภาพดินยังมีความชื้นสะสมอยู่ให้นำฟางมาคลุมแปลงที่ปลูกเพื่อเป็นการควบคุมวัชพืชที่จะขึ้นในระยะแรก และยังช่วยเก็บความชื้นในดินได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญในช่วงเวลากลางวันดินก็จะไม่ร้อนจนระเหยไปหมดด้วยนั่นเอง
ใน การปลูกกระเทียม สิ่งแรกที่กล่าวไปตามหัวข้อข้างบนเลย นั่นคือ การให้น้ำก่อนที่จะเริ่มปลูกกระเทียม เพราะกระเทียมเป็นพืชที่ต้องการดินที่มีความร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี จึงจำเป็นที่จะต้องทำให้ดินนั้นมีความชื้นและมีความร่วนเสียก่อนที่จะเริ่มปลูก และหลังจากที่ลงปลูกกระเทียมไปแล้วนั้นก็ควรให้น้ำกับกระเทียมในปริมาณที่พอดี และควรให้อย่างสม่ำเสมอในช่วงที่กระเทียมกำลังเจริญเติบโต ควรให้น้ำอย่างน้อย 7-10 วัน ต่อการให้น้ำหนึ่งครั้ง หรือจะกล่าวง่ายๆ คือ การปลูกประมาณ 1 ฤดูกาลปลูกจะให้น้ำแก่กระเทียมประมาณ 10 ครั้ง และเมื่อกระเทียมมีความแก่จัดก็ควรที่จะงดให้น้ำ โดยงดการให้น้ำตอนแก่ และก่อนเก็บเกี่ยว 2-3 สัปดาห์ นั่นเอง
นอกจากจะให้น้ำแล้วนั้นเรื่องของการคลุมดินก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญของ การปลูกกระเทียม ด้วยเช่นกัน ซึ่งการคลุมดินนั้นอาจจะใช้ฟางแห้ง เศษหญ้า เป็นต้น ที่ช่วยในเรื่องของการควบคุมปริมาณวัชพืชในระยะแรกได้เป็นอย่างดี และยังช่วยในเรื่องของการรักษาความชื้นในดินอีกด้วย ช่วยในเรื่องของการประหยัดน้ำ และลดอุณหภูมิในช่วงที่อากาศร้อนจัดได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยให้กระเทียมนั้นเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
การให้ปุ๋ยต้นกระเทียม
สำหรับกระเทียมนั้นการให้ปุ๋ยก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญพอสมควร ซึ่งปุ๋ยที่มีความเหมาะสมกับกระเทียมที่ปลูกในเมืองไทยส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้ปุ๋ยที่มีส่วนผสมของไนโตรเจนประมาณ 1 ส่วน ฟอสฟอรัส 1 ส่วน และโปแตสเซียมอีก 2 ส่วน ซึ่งถือว่าเป็นปุ๋ยที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในผู้ที่ปลูกกระเทียม
โดยสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมนั้นอาจจะเป็นสูตร 10-10-15 หรือ 13-13-21 ก็ได้ ซึ่งปริมาณในการให้นั้นจะอยู่ที่ประมาณ 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ อาจจะขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินด้วยเช่นกัน โดยการให้นั้นอาจจะแบ่งเป็นการใส่ 2 ครั้ง โดยครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนในช่วงที่ปลูก จากนั้นก็พรวนดินกลบให้เรียบร้อยโดยกลบดินประมาณครึ่งเดียวของหลุม จากนั้นครั้งที่ 2 ให้ใส่แบบหว่านทั่วๆ แปลงที่ปลูกกระเทียม
หลังจากที่ใส่ปุ๋ยครบ 2 ครั้งแล้ว เมื่อกระเทียมมีอายุครบ 30 วัน หลังจากที่เริ่มปลูก ก็ควรหาปุ๋ยเสริมที่มีส่วนผสมของไนโตรเจนมาช่วยในการดูแล เช่น ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียซัลเฟต เป็นต้น ซึ่งปุ๋ยเสริมนี้จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของกระเทียมในระยะแรกได้เป็นอย่างดีเลย
ซึ่งการใช้งานปุ๋ยเสริมนั้นก็จะอยู่ประมาณ 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ แต่จะใช้ก็ต่อเมื่อกระเทียมนั้นมีอายุหลังจาก 30 วัน ไปแล้ว ให้นับไปอีกประมาณ 10-14 วัน ก็สามารถใส่ปุ๋ยเสริมได้ตามต้องการ แต่แนะนำให้ใช้แค่ประมาณ 1-2 ครั้ง แต่ระยะเวลาการเติบโตของช่วงอายุกระเทียม หรือสอบถามผู้ที่มีประสบการณ์ด้วยก็จะดีอีกทางหนึ่ง
การป้องกันและกำจัดโรค วัชพืช ในแปลงกระเทียม
พืชที่ทำการปลูกทุกชนิดนั้นล้วนแล้วแต่จะต้องมีการกำจัดวัชพืชทั้งสิ้น กระเทียมก็เช่นกัน เป็นพืชที่ต้องกำจัดวัชพืชอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากกระเทียมเป็นพืชที่มีรากตื้น การกำจัดวัชพืชนั้นควรกำจัดตอนวัชพืชนั้นเริ่มงอกออกได้เลย เพราะว่าถ้าเกิดปล่อยวัชพืชทิ้งไว้ ก็จะทำให้วัชพืชนั้นไปแย่งอาหาร น้ำ และแสงแดด ที่เป็นอาหารหลัก ช่วยในการเจริญเติบโตของกระเทียมได้
นอกจากนี้วิธีการกำจัดวัชพืชนั้นไม่ควรใช้วิธีการถอน เพราะว่าเมื่อทำการถอนออกจะทำให้รากของต้นกระเทียมนั้นได้รับการกระทบกระเทือน ถ้ารากเกิดการกระทบกระเทือนจะทำให้การเติบโตนั้นหยุดชะงักได้ หรืออาจจะทำให้กระเทียมนั้นเหี่ยวตายได้นั่นเอง
เพราะถ้าเกิดมีวัชพืชที่เริ่มโตหรือมีขนาดใหญ่ขึ้นให้ใช้มีดหรือเสียมมือขนาดเล็ก ค่อยๆ แซะวัชพืชออกจะเป็นเรื่องดีกว่าการถอนโดยมือและดึงออกมา หรืออาจะใช้วิธีการใช้ยาฆ่าหญ้าประเภทอะลาคอร์ก็ได้เช่นกัน แต่วิธีนี้อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดสารเคมีสะสมในดิน อาจจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตและเกิดสารพิษตกค้างในกระเทียมได้ เลยไม่นิยมทำในวิธีนี้ หรืออาจจะใช้วิธีทางธรรมชาติก็ได้เช่นกัน
โรคใบเน่า โดยโรคนี้สาเหตุเกิดจากเชื้อรา ลักษณะของอาการนั้นใบจะเริ่มเกิดแผลขึ้น โดยเกิดเป็นจุดสีเขียวหม่น และเริ่มขยายออกเป็นแผลรูปรียาว สามารถมองเห็นรอยบุ๋มเล็กๆ ได้ โดยแผลอาจจะเกิดห่างกันหรือติดกันก็ได้เช่นกัน พอเกิดโรคแล้วจะทำให้ใบนั้นเริ่มแห้งและหักพับลงมา จนใบไม่สามารถที่จะผลิตอาหารไปหล่อเลี้ยงส่วนอื่นๆ ได้ นอกจากนี้เชื้อโรคชนิดนี้ยังสามารถแพร่ได้หลากหลายที่ ไม่ว่าจะเป็นแปลงโล่ง หรือแม้แต่โรงเก็บ ก็สามารถพบเจอการแพร่ระบาดของโรคชนิดนี้ได้เช่นกัน
การป้องกันนั้นสามารถทำได้โดยการให้เก็บส่วนที่เป็นแผลนั้นทิ้งไป หรือจะทำการเผาไฟทิ้งก็ได้ นอกจากนี้การใช้สารเคมีมาช่วยในการป้องกันก็เป็นอีกทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นไดโฟลแทน หรือไดเทนเอ็ม-45 ก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งความถี่ในการใช้นั้นอาจจะใช้แค่อาทิตย์ละครั้งเมื่อติดโรค แต่ถ้าเป็นมากก็เพิ่มความถี่เข้าไปเป็น 3-5 วันต่อครั้ง ก็จะช่วยให้โรคดังกล่าวทุเลาลงได้
การเก็บเกี่ยวผลผลิตกระเทียม
การเก็บเกี่ยวกระเทียมนั้นจะเริ่มเก็บในช่วงที่กระเทียมมีผลผลิตเริ่มแก่ โดยเราจะสังเกตได้ว่ากระเทียมเริ่มแก่นั้นมีลักษณะอย่างไร โดยกระเทียมที่เริ่มเก็บเกี่ยวได้แล้วนั้น สิ่งแรกเลย คือ สังเกตที่ตุ่ม จะมีตุ่มเกิดขึ้นที่หัวตั้งแต่ 1 ตุ่มขึ้นไป ส่วนของยอดก็เริ่มเจริญเติบโตขึ้น และมีดอกเพิ่มขึ้นมา
จากนั้นใบก็จะเริ่มแห้งตั้งแต่ปลายใบลงมาเล็กน้อย ส่วนของดอกและโคนนั้นจะเริ่มนิ่มมากขึ้น ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เป็นตัวบ่งบอกว่าสามารถเริ่มเก็บกระเทียมได้แล้ว โดยกระเทียมที่เริ่มเก็บได้นั้นจะมีช่วงอายุในการเริ่มเก็บเลย คือ กระเทียมที่มีอายุได้ 100-120 วัน หลังจากที่ปลูก ถ้าเกิดเก็บช้ากว่าที่กำหนดตัวกลีบจะเริ่มร่วง และทำให้ได้กระเทียมที่มีคุณภาพไม่ดี
ซึ่งการเก็บเกี่ยวนั้นส่วนใหญ่แล้วจะถอนและตากแดดในแปลงไว้ก่อนประมาณ 2-3 ชั่วโมง โดยวางสลับกันไป ให้ส่วนใบนั้นคลุมส่วนหัวไว้เพื่อไม่ให้โดนแสงแดดจัดจนเกินไป และตากทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน ข้อสำคัญเลยอย่าให้กระเทียมโดนฝนและน้ำค้างอย่างเด็ดขาด เสร็จก็นำมาผึ่งลมทิ้งไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ ให้หัวและใบแห้ง และค่อยนำมาคัดขนาดและมัดจุกได้ตามต้องการก็เป็นอันเสร็จ
ประโยชน์และสรรพคุณของกระเทียม
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่ากระเทียมนั้นค่อนข้างมีคุณประโยชน์ในทางสมุนไพรอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการบำรุงร่างกาย ช่วยในเรื่องการปรับสมดุล ฯลฯ เรามาดูกันดีกว่าว่ากระเทียมมีส่วนช่วยอะไรบ้าง โดยการกล่าวยกตัวอย่าง
- ลดไขมันและความเสี่ยงของโรคหัวใจ
ในกระเทียมนั้นจะมีสารอัลไลซินที่เป็นสายช่วยลดคลอเลสเตอรรอลในเลือด จึงเป็นสารที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณไขมันที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง ที่อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงได้เช่นกัน เช่น การใช้ชีวิตประจำวัน และพฤติกรรมการรับประทาน ฉะนั้นแล้วการป้องกันก็อยู่ที่ตัวเราด้วยเช่นกัน
- บรรเทาอาการหวัด
กระเทียมมีส่วนประกอบของน้ำมันหอมระเหย ทำให้ช่วยบรรเทาอาการหวัดได้เป็นอย่างดี ซึ่งมีส่วนในการต้านเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสได้เป็นอย่างดี เนื่องจากกระเทียมเป็นสมุนไพรที่มีความเผ็ดร้อน ทำให้ช่วยขยายทางเดินหายใจ และทำให้หายใจได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยบรรเทาอาการไอที่เกิดจากการไอแบบมีเสมหะอีกด้วย โดยนำกระเทียมสดมาคั้นจนได้น้ำสมุนไพรโดยผสมกับน้ำอ้อยสด จะช่วยบรรเทาอาการไอจากเสมหะได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าใครไม่ชอบก็ผสมกับน้ำมะนาวก็ได้ จะจิบดื่มหรือใช้กวาดคอช่วยก็ได้เช่นกัน
จะเห็นได้ว่า การปลูกกระเทียม นั้นสามารถปลูกได้ไม่ยาก และทำได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถปลูกที่บ้านก็ได้ หรือใครต้องการจำหน่ายก็สามารถปลูกเพื่อจำหน่ายได้เช่นกัน การปลูกกระเทียม อาจจะมีการแบ่งการปลูกได้เป็น 2 ช่วง เพราะว่าจะช่วยให้ได้กระเทียมที่คุณภาพและเต็มกลีบ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีเลยทีเดียว นอกจากนี้กระเทียมที่ดีจะนิยมปลูกในทางภาคเหนือและภาคอีสานตอนบน จึงไม่แปลกใจเลยว่าเป็นพืชที่ขึ้นได้ในช่วงฤดูหนาว อีกทั้งสรรพคุณในการช่วยรักษาและบำรุงร่างกายนั้นก็มากจนนับไม่ถ้วนเลยทีเดียว ถือว่าเป็นพืชผักสมุนไพรที่น่าสนใจไม่น้อย
กระเทียมเป็นพืชที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของรสชาติ และกลิ่นที่แรง ทำให้หลายๆ คนอาจจะไม่ชอบ ซึ่งบทความนี้ก็ได้กล่าวถึงวิธีการปลูก การเก็บเกี่ยว สรรพคุณ ที่ยกตัวอย่างความเข้าใจแบบง่ายมาให้ได้อ่านกัน ซึ่งถือว่ากระเทียมเป็นเรื่องที่มีความน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว อีกทั้งยังมีสรรพคุณที่โดดเด่น จึงถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เกินความคาดหมายมากเลยทีเดียว
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://health.kapook.com/view92910.html,http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2354/garlic-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1,http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/allium.html,https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1/