สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ ประจำวันที่ 02/09/2562-06/09/2562

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารพลังเกษตร

กษ. เปิดเวที ดึงภาคีเครือข่ายระดมความเห็น ทบทวนแผนเกษตรอินทรีย์ ปี 60-65

วันนี้ (5 กันยายน 2562) นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการทบทวนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564 สู่แผนปฏิบัติการด้านเกษตรอินทรีย์ พ.ศ.2560-2565 ว่าประเทศไทยได้มีการประกาศยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2561 เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักธรรมาภิบาล และใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกัน

1.นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่มาของภาพ https.th.wikipedia.org
1.นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่มาของภาพ https.th.wikipedia.org

ดังนั้นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงได้จัดให้มีการทบทวนสาระสำคัญของยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564 เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ

แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งบริบทต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

3.สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สศก.-ธ.ก.ส. จรดปากกา MOU เชื่อมโยงข้อมูล ยกระดับวิชาการ และการให้บริการเกษตรกร

การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านวิชาการ และการแลกเปลี่ยนเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ระหว่าง สศก. และ ธ.ก.ส. ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันความร่วมมือทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลด้านการติดตามประเมินผล การประมาณการ GDP ภาคเกษตร และการสำรวจข้อมูล โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการสนับสนุนข้อมูลอื่นๆ และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นประโยชน์ต่อทางการเกษตรและการบริการแก่เกษตรกรและประชาชน

ซึ่ง MOU ฉบับใหม่นี้ ลงนามโดยเลขาธิการ สศก. และ ผู้จัดการ  ธ.ก.ส. โดย นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ การดำเนินงานจะขับเคลื่อนภายใต้คณะทำงาน ประกอบด้วย รองเลขาธิการ สศก. ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานคณะทำงาน  มีผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. ที่ทำหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบงานศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส ร่วมกับผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศการเกษตร สศก. เป็นรองประธานคณะทำงาน และมีผู้บริหารจากทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นคณะทำงานร่วมกัน เพื่อกำหนดกรอบ ทิศทาง นโยบาย และแผนงานต่างๆ

เลขาธิการ สศก. กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันเกษตรกรมีแนวโน้มอายุสูงขึ้น เนื่องจากคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจต่อกิจกรรมทางการเกษตรน้อยลง การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นยำ จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญของเกษตรกรสูงวัยเพื่อทดแทนแรงงานภาคการเกษตรในอนาคต  ซึ่ง สศก. ในฐานะหน่วยงานด้านวิชาการ ในการกำหนดนโยบาย วิจัย ประเมินผล และเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศการเกษตร จึงมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความมั่นคงให้กับผู้มีอาชีพเกษตรกร โดยนำความรู้ด้านวิชาการตลอดจนเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ เพื่อตอบสนองความต้องการ และยกระดับชีวิตของเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสนับสนุนการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทยในเวทีสากล ในขณะที่ ธ.ก.ส. ได้ให้ความสำคัญกับการนำผลการวิจัยและข้อมูลสารสนเทศมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเช่นกัน รวมทั้งสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ภายใต้หลักการ “วิจัยนำการพัฒนา” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สศก. ลุย 5 จังหวัด ศึกษาโซ่ความเย็นของสถาบันเกษตรกร 24 แห่ง

รูปแบบและวิธีการจัดการสินค้าแต่ละประเภท พบว่า ทุเรียนผลสด ขนุน มะม่วง ผักใบ เพื่อส่งออกไปยังตลาดในและนอกประเทศ สหกรณ์จะมีการควบคุมอุณหภูมิโดยหลีกเลี่ยงแสงแดด ประมาณ 25°c  ขณะที่ทุเรียนแกะเนื้อ มีการจัดเก็บผลผลิตเพื่อการแปรรูป ในห้องแช่เย็น/แช่แข็งที่มีอุณหภูมิประมาณ -70 ถึง 0°c ส่วนมังคุดและเงาะ มีการลดความร้อนด้วยน้ำเย็น (น้ำผสมน้ำแข็ง) หรือ Hydro Cooling โดยนำตะกร้าผลผลิตไหลผ่านน้ำเย็นและเคลื่อนย้ายไปตามสายพาน อุณหภูมิประมาณ1-2°c ขณะที่การส่งออกมะม่วง ใช้ห้องเย็นในอุณหภูมิประมาณ 10°c เห็ดใช้ห้องเย็นในอุณหภูมิประมาณ 15°c

สำหรับตัวอย่างสถาบันเกษตรกร ที่มีการบริหารจัดการโซ่ความเย็นที่มีประสิทธิภาพ สามารถรักษาคุณภาพและเพิ่มมูลค่าผลผลิตได้เป็นอย่างดี  คือ สหกรณ์ท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ซึ่งทำธุรกิจรวบรวมผลไม้หลายชนิด อาทิ ทุเรียน มังคุด มะม่วง สละ แก้วมังกร ลำไย ลองกอง

โดยสหกรณ์ได้รับงบประมาณจากภาครัฐ จำนวน 75 ล้านบาท  สำหรับก่อสร้างโรงงาน (30 ล้านบาท) และจัดซื้อเครื่องอบไอน้ำ (45 ล้านบาท) และมีห้องเย็นขนาดความจุ 1,080 ตัน เก็บรักษาผลผลิตได้ประมาณ 1 สัปดาห์ ซึ่งสหกรณ์เน้นยึดหลักการทำธุรกิจรวบรวมผลไม้ให้สามารถใช้ประโยชน์จากโรงอบไอน้ำและอาคารตัดแต่งผลไม้เพื่อการส่งออกและห้องเย็นให้คุ้มค่าต่อเนื่องตลอดปี

3.eurastip

สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์น้ำ

EURASTiP มั่นใจใน “อุตสาหกรรมกุ้งทะเลไทย” กรมประมง…วอนผู้บริโภคอย่าเชื่อข่าวลวง

ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตกุ้งทะเลที่สำคัญ แต่จากข้อจำกัดด้านสิ่งแวดล้อมและโรคระบาดในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้การผลิตกุ้งทะเลของไทยลดปริมาณลงเป็นอันมาก แต่กระนั้นก็ตามไทยยังคงเป็นผู้ส่งออกในระดับต้นๆ ของโลก ที่หลายประเทศให้ความสนใจและจับตามอง

Schmutizge shrimps-dirty shrimp in German “ซึ่งเผยแพร่ในเยอรมันเมื่อปี พ.ศ.2555 ซึ่งมันหมายความว่า นอกจากเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเท็จแล้ว วีดีโอการนำเสนอครั้งนี้ยังเป็นข้อมูลที่ล้าสมัย โดยเฉพาะประเด็นการกล่าวอ้างว่า พื้นที่ป่าชายเลนของไทยถูกทำลายล้างด้วยฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเล มีการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีที่ผิดวิธี มีการปล่อยน้ำทิ้งที่ทำความเสียหายแก่แม่น้ำลำคลอง และสร้างมลพิษ เป็นอันตรายกับเด็กที่ไปว่ายน้ำบริเวณนั้น รวมทั้งการจ้างแรงงานผิดกฎหมายจากเมียนมาร์ และเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่อง ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องสร้างสรรค์เลย ไม่มีการพูดถึงสิ่งที่รัฐบาลไทย

รวมทั้งสมาคมกุ้งทะเลต่างๆ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องได้พยายามร่วมมือกันมาโดยตลอดในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เพื่อสร้างให้อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยมีความยั่งยืน…” และ EURASTiP ยินดีที่ให้ข้อมูลที่จำเป็นที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อต่อต้านข้อมูลและเนื้อหาที่เป็นเท็จในวิดีโอชุดนี้ Dr. David Bassett กล่าวทิ้งท้าย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

และในฐานะประเทศไทย กรมประมง เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเล และผู้ที่เกี่ยวข้องตลอดสายการผลิต ขอขอบคุณ EURASTiP ผู้นำเข้า และผู้บริโภคทั่วโลก ที่เชื่อมั่น “อุตสาหกรรมกุ้งทะเลไทย” ตลอดมา และยืนยันว่า อุตสาหกรรมกุ้งทะเลของไทยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาไปสู่ “ความยั่งยืน” และขอความร่วมมือทุกท่านในการหยุดยั้งการ “แชร์” วีดีโอที่มีเนื้อหาอันเป็นเท็จชุดนี้ และช่วยกัน “เผยแพร่” และ “นำเสนอ” ข้อมูลที่ถูกต้อง หากท่านใดต้องการข้อมูลการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทยที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ติดต่อประสานขอข้อมูลที่กรมประมงได้ตลอดเวลา อธิบดีกรมประมงกล่าวทิ้งท้ายในที่สุด

4.กรมประมง

กรมประมง… มั่นใจอุตสาหกรรมกุ้งไทยมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม

กระแสความยั่งยืน “เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคทั่วโลกตระหนักและให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และความยั่งยืนของอาหารให้ความสำคัญกับ “ความปลอดภัยทางอาหาร” “ความยั่งยืนของทรัพยากรและผลกระทบของสิ่งแวดล้อม” ตลอดจน “การปฏิบัติทางด้านแรงงานที่ดี” ประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตสินค้าสัตว์น้ำรายใหญ่ของโลกตระหนักถึง “ความยั่งยืน” จึงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประเทศไทยได้มีการปฏิรูปการประมงทั้งระบบ

ประกอบด้วยการประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูป ตลอดจนระบบการตรวจสอบย้อนกลับ เพื่อสร้างความเข้มแข็งในการที่จะทำให้การพัฒนาการประมงมุ่งไปสู่ความยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งกำหนดวัตถุประสงค์ไว้อย่างชัดเจนในการที่ต้อง “คำนึงถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในระยะยาว และรักษาสมดุลในระบบนิเวศ รวมทั้งสร้างความมั่นใจในการบริโภคสัตว์น้ำที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ทั้งในด้านคุณภาพและสุขอนามัยที่ได้มาตรฐาน” เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการส่งเสริมใด ๆ ต้องเป็นการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มุ่งไปสู่ “ความยั่งยืน”

การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของไทย เป็นการเพาะเลี้ยงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยจากยาและสารเคมีตกค้าง และกุ้งทะเลที่จำหน่ายทั้งในและต่างประเทศสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดสายการผลิต และจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะทำให้ “กุ้งไทย” ก้าวต่อไปได้อย่างมั่นคง

5.งานแพะแห่งชาติ ที่มาของภาพ http.siangtai.com
5.งานแพะแห่งชาติ ที่มาของภาพ http.siangtai.com

สถานการณ์ข่าวประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์บก

งานแพะแห่งชาติ ครั้งที่ 16 จังหวัดภูเก็ต

วันที่ 26-28 สิงหาคม 2562 นายศีลธรรม วราอัศวปติ ปศุสัตว์เขต 4 มอบหมายให้นายวรกร อินทแพทย์ ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์เขต 4 พร้อมคณะ เข้าร่วมงานแพะแห่งชาติ ครั้งที่ 16 และนำตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะ-แกะเขต 4 (อีสานบน) เข้าร่วมเสวนาสานสัมพันธ์เครือข่ายเกษตรกรเลี้ยงแพะ-แกะ พร้อมนำตัวแทนกลุ่มเกษตรกรรับรางวัลกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงแพะดีเด่นระดับเขต ในงานประกอบด้วยกิจกรรมการประกวดแพะ จำนวน 20 รุ่น การออกร้านขายผลิตภัณฑ์จากแพะ (เนื้อแพะ นมแพะ) การประกวดผลิตภัณฑ์และแข่งขันทำอาหารเมนูแพะ การชิมอาหารจากเนื้อแพะตลอดทั้งงาน

5.กรมปศุสัตว์

ออกตรวจต่ออายุการรับรองหลักการปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมไข่ จังหวัดอุดรธานี

วันที่ 29 สิงหาคม 2562 ปศุสัตว์เขต 4 มอบหมายให้ส่วนมาตรฐานการปศุสัตว์ ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี ร่วมตรวจต่ออายุการรับรองหลักการปฏิบัติที่ดี สำหรับศูนย์รวบรวมไข่ GMP จังหวัดอุดรธานี บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด สำนักงานอุดรธานี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้มีการจัดการศูนย์รวบรวมไข่ให้ได้มาตรฐาน ตามหลักการปฏิบัติที่ดี สำหรับศูนย์รวบรวมไข่ GMP เป็นการยกระดับการจัดการ และเป็นการรักษาคุณภาพไข่ที่ได้มาจากฟาร์มมาตรฐานให้มีคุณภาพดีก่อนส่งตลาด  อีกทั้งเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคภายในประเทศ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ปศุสัตว์เขต 6 เข้าตรวจเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จากพายุ “โพดุล” จังหวัดพิษณุโลก

วันที่ 4 กันยายน 2562 นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้มอบหมายและสั่งการให้ นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมนายพนม มีศิริพันธุ์ ปศุสัตว์เขต 6, นายธรรมนูญ ทองสุข ปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก, ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคหนือตอนล่าง และหัวหน้าด่านกักกันสัตว์พิษณุโลก เข้าตรวจเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย จากพายุ “โพดุล” โดยได้มอบหญ้าแห้งอาหารสัตว์จำนวน 1,000 ฟ่อน และเวชภัณฑ์ยารักษาโรคให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นการช่วยเหลือเบื้องต้น ดังนี้

-กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์บ้านตะแบกงาม ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

-กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์บ้านใหม่เจริญธรรม ต.นิคมพัฒนา อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก

-กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์บ้านดงพลวง ต.วังพิกุล อ.วังทอง จ.พิษณุโลก จำนวน 39 ราย