การเจริญเติบโตของพืชต้องอาศัยหลายอย่างเข้ามาช่วยเพื่อให้เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี ซึ่งการงอกของเมล็ดก็คือ จุดเริ่มต้นของพืชทุกชนิด เพราะพืชทุกชนิดก่อนจะเริ่มเติบโตเป็นต้นพันธุ์นั้นต้องเป็นเมล็ดมาก่อน ซึ่งตัวเมล็ดนี่เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของพืชหลายๆ อย่างเลยทีเดียว การงอกของเมล็ด แต่ละชนิดนั้นอาจจะมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไป เพื่อที่จะเติบโตและงอกได้อย่างเหมาะสมในช่วงของฤดูที่ต้องออกผลผลิต
การงอกของเมล็ด
โครงสร้างของเมล็ดเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเริ่มต้นการงอกของเมล็ดพันธุ์แทบทุกชนิด โดยจะอาศัยหลักต่างๆ ที่สามารถทำให้เมล็ดนั้นงอกได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยหลักของเมล็ดก็มีเรื่องของเปลือกเมล็ด ใบเลี้ยง และเนื้อเยื่อในเมล็ด ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้มีส่วนช่วยที่จะให้เมล็ดนั้นสามารถงอกได้อย่างเต็มที่ และเติบโตเป็นผลผลิตที่ดีได้ แต่อย่าลืมว่าไม่ใช่แค่เพื่อเมล็ดหรือการงอกของเมล็ดเพียงอย่างเดียวที่จะทำให้พืชเติบโตได้
ปัจจัยภายนอกเองก็มีส่วนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของน้ำ แสงแดด ลม สภาพอากาศ ฯลฯ ที่มีส่วนช่วยให้การงอกของเมล็ดนั้นสามารถทำได้อย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน
เมล็ดนั้นตามระยะเวลาแล้วก็ต้องมีการงอกเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นต้นพันธุ์ที่เติบโต หรือเป็นผลผลิตที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถนำผลผลิตที่ได้มาบริโภคหรือแบ่งขายสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเอง ซึ่งถ้าเมล็ดพันธุ์ดี การงอกใหม่ของเมล็ดก็จะดีตามไปด้วย ทั้งนี้เรื่องของการงอกเมล็ดนั้นไม่ใช่อาศัยแต่หลักการ ที่ทำให้เมล็ดงอกขึ้นมา แต่จะต้องมีสภาพแวดล้อมหรือองค์ประกอบโดยรวมที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการงอกใหม่ของเมล็ดนั้นๆ ออกมาด้วย เพราะว่าเมล็ดจะงอกออกมาเองไม่ได้ ถ้าไม่มีองค์ประกอบอื่นๆ เป็นตัวช่วยสนับสนุน อีกทั้งถ้าเมล็ดพันธุ์ไม่ดี การงอกใหม่ออกมาอาจจะไม่เกิด ฉะนั้นแล้วสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดการงอกออกของเมล็ด คือ การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่ดีที่พร้อมปลูกนั่นเอง
วิธีการงอกของเมล็ด
ก่อนที่เราจะไปดูวิธีการงอกของเมล็ด เราต้องมาทำความรู้จักกับเมล็ดกันก่อนดีกว่า เมล็ดนั้นเกิดจากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช เกิดการสนธิกันแบบคู่ ซึ่งมีการปฏิสนธิ 2 ครั้ง คือ การปฏิสนธิระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ หรือสเปิร์ม และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย หรือไข่ โดยเกิดเป็นไซโกต และจะเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอ หรือต้นอ่อน
การปฏิสนธิระหว่างสเปิร์ม และเซลล์กลาง โดยมีนิวเคลียส 2 นิวเคลียส ที่เรียกว่า โพลสนิวคลีไอ ซึ่งเกิดเป็นเซลล์กำเนิดเอนโดสเปิร์ม และพัฒนาต่อจนกลายเป็นเอนโดสเปิร์มที่มีหน้าที่คอยสะสมอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง
นอกจากนี้ตัวเมล็ดเองยังประกอบไปด้วยเปลือกเมล็ด ซึ่งเปลือกเมล็ดนั้นก็มีการแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ เปลือกเมล็ดชั้นนอก และชั้นใน
-เปลือกเมล็ดชั้นนอก เกิดขึ้นจากผนังชั้นนอกของออวุล จะมีลักษณะแข็งและมีความเหนียว ช่วยทำหน้าที่ป้องกันการระเหยของน้ำ และป้องกันอันตรายต่างๆ เช่น แมลง เชื้อโรค และทำหน้าที่ป้องกันอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก อย่างเช่น สภาพอากาศต่างๆ เป็นต้น
-เปลือกเมล็ดชั้นใน เกิดจากผนังชั้นในของออวุล ส่วนมากมีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ มีสีขาว อ่อนนุ่ม
นอกจากนี้เปลือกของเมล็ดบางชนิดอาจจะมีการเชื่อมติดกันอยู่ก็ได้ เช่น เปลือกของถั่วชนิดต่างๆ เปลือกเมล็ดบางชนิดอาจจะมีการเปลี่ยนสภาพไปหลายรูปแบบ เช่น เป็นเส้นใยสีขาว ทำให้เมล็ดปลิวไปตามลมได้ เช่น ฝ้าย หรือผนังชั้นนอกของออวุลของเมล็ดบางชนิด และมีการเปลี่ยนเป็นเนื้อนุ่มๆ สามารถรับประทานได้ เช่น เงาะ ลำไย เป็นต้น ซึ่งจะเรียกว่า ผลแบบมีปุยหุ้มเมล็ด
การจำแนกเมล็ดพันธุ์
โดยปกติแล้วเมล็ดพันธุ์นั้นมีหลายชนิด แต่เราจะพูดถึงการแบ่งเมล็ดออกเป็น 2 ชนิด โดยทั้ง 2 ชนิด เป็นภาพรวมของเมล็ดทั้งหมด ว่าเมล็ดนั้นแบ่งออกเป็นอย่างไรได้ดังนี้
–เมล็ดพืชสำหรับใบเลี้ยงคู่ เมล็ดพันธุ์ใบเลี้ยงนั้นเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีเอ็มบริโออยู่ภายในเมล็ดอยู่แล้ว โดยจะมีใบเลี้ยงจำนวน 2 ใบ ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็นอย่างอื่นอีก โดยเป็นใบเลี้ยงคู่ที่ไม่มีเอนโดสเปิร์ม กับที่มีเอนโดสเปิร์ม
โดยแบบไม่มีเอนโดสเปิร์มนั้นจะไม่สามารถแยกเป็นสองชั้นได้ ด้านหนึ่งจะมีลักษณะเว้าและจะมีรอยแผลเล็กๆ ติดอยู่ และแบบมีเอนโดสเปิร์มจะมีเมล็ดที่เป็นเปลือกเมล็ดชั้นนอกและชั้นในนั้นค่อนข้างชัดเจน ซึ่งแบบที่มีเอนโดสเปิร์มนั้นเมล็ดด้านหนึ่งจะมีสีสันของเมล็ดตลอดแนว ที่ปลายสันเมล็ดด้านล่างของเมล็ดนั้นจะมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อ
–เมล็ดพืชแบบใบเลี้ยงเดี่ยว โดยเมล็ดพืชแบบใบเลี้ยงเดี่ยวนั้น เมล็ดส่วนใหญ่แล้วเปลือกเมล็ดจะอยู่ติดแน่นกับเปลือกของผลเป็นหลัก เช่น เมล็ดข้าวโพด ข้าว เป็นต้น แต่บางชนิดก็มีเปลือกที่เมล็ดแยกออกมาจากผล เช่น มะพร้าว และตาล
เราได้ทำความรู้จักคร่าวๆ ในเรื่องของเมล็ดไปบ้างแล้ว ต่อมาก็จะเข้าสู่การงอกของเมล็ดว่ากว่าจะเป็นต้นไม้ หรือต้นพืชที่ให้เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ การงอกต้องใช้ปัจจัยในด้านใดบ้างมาเป็นตัวช่วยกระตุ้นการงอกของพืช และทำให้เติบโตได้อย่างมีคุณภาพ และให้ผลผลิตได้อย่างเต็มที่
จุดเริ่มต้นการงอกของเมล็ด
การงอกของเมล็ด คือ การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ ซึ่งตัวเอ็มบริโอที่อยู่ภายในของเมล็ดนั้นเริ่มงอกออกมาเป็นเมล็ดต้นใหม่ ส่วนประกอบของเมล็ดที่โผล่พ้นเมล็ดเป็นอันดับแรกเลย คือ รากแรกเกิด ซึ่งการงอกของเมล็ดนี้มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา และรูปร่างของเมล็ดเกิดขึ้น
–การดูดน้ำของเมล็ด เมื่อเมล็ดที่มีอายุได้ประมาณหนึ่งหรือเริ่มแก่ได้เต็มที่ และได้รับความชื้นจากภายนอกเมล็ดได้ในปริมาณที่เพียงพอ เมล็ดจะดูดน้ำโดยการดูดอุ้ม มีผลทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดนั้นเริ่มอ่อนตัวลง และเมล็ดก็จะเริ่มพองและขยายขนาดตัวเพิ่มขึ้น มีผลให้เปลือกเมล็ดนั้นแตกออก ทำให้น้ำและแก๊สออกซิเจนนั้นสามารถเข้าไปในเมล็ดได้ง่ายขึ้นด้วย
–การเกิดเมแทบอลิซึม เมื่อเมล็ดได้รับน้ำเข้าไปภายในแล้ว ก็จะไปกระตุ้นการสร้างเอนไซม์ให้เกิดขึ้นภายในเมล็ด เมล็ดก็จะเกิดการย่อยสลายสารอาหารที่มีอยู่ในเอนโดสเปิร์มหรือใบเลี้ยง ซึ่งเป็นสารอาหารที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ให้เป็นสารอาหารที่มีอณูเล็กลงและละลายน้ำได้ ทำให้เมล็ดนั้นสามารถที่จะดูดซึมเข้าสู่กระบวนการผลิตอาหารและหล่อเลี้ยงเพื่อการเติบโตได้ง่ายขึ้น
–การลำเลียงอาหารของเมล็ด หลังจากที่เกิดเมแทบอลิซึมแล้ว การลำเลียงอาหารนั้นก็จะมาจากเอนโดสเปิร์มหรือใบเลี้ยง ที่ถูกทำให้เกิดการย่อยจนมีขนาดโมเลกุลที่เล็ก จากนั้นก็จะมีการกระจายหรือลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ ของเมล็ดหรือเอมบริโอนั่นเอง
–การเจริญเติบโตของเอมบริโอ เมื่อเกิดส่วนต่างๆ แล้ว การลำเลียงอาหารเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเอมบริโอก็ได้รับสารอาหาร น้ำ แก๊สออกซิเจน อย่างเพียงพอแล้วนั้น ก็จะเกิดการหายใจทำให้เกิดพลังงานเพื่อที่จะนำไปใช้ในการแบ่งเซลล์ การเพิ่มจำนวนของเซลล์ และการเพิ่มขนาดของเอมบริโอ รวมไปถึงรากอ่อนแทงทะลุออกมาจากเปลือกหุ้มเมล็ดจนพ้นจากเมล็ดภายในอันดับแรก และส่วนปลายยอดก็จะมีการแทงเปลือกหุ้มเมล็ดออกมาเป็นอันดับถัดไป
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นจุดเริ่มต้นการงอกของเมล็ดสำหรับการเติบโตเป็นต้นพันธุ์ในอนาคต จะเห็นได้ว่ากว่าเมล็ดจะเริ่มงอกออกมานั้นก็ต้องมีการผ่านกระบวนการต่างๆ มากมาย จนกลายมาเป็นการงอกเมล็ดเกิดขึ้น และหลังจากที่เรานั้นรู้เรื่องของการงอกเมล็ดแล้วว่าการงอกเมล็ดนั้นคืออะไร ทำไมถึงเรียกว่าการงอกเมล็ด ต่อมาก็จะคือความหมายของการงอกเมล็ด ซึ่งความหมายนั้นก็คือ การพัฒนาของต้นอ่อน หรือการงอกจนไปถึงขั้นที่โครงสร้างของส่วนต่างๆ ที่สำคัญสำหรับต้นอ่อน ที่บ่งชี้ได้ว่าจะสามารถเจริญเติบโตขึ้นเป็นต้นพืชที่มีความปกติและแข็งแรงได้อย่างไร ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีดินที่เหมาะสม
การให้คำจำกัดความดังกล่าว หรือการให้ความหมายของการงอกของเมล็ดพันธุ์นั้น อาจจะแตกต่างกันตามลักษณะสาขาอาชีพที่มีความเกี่ยวข้องในทางด้านนี้ก็ได้เช่นกัน โดยคนทั่วไปอาจจะมองว่าต้นอ่อนนี้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือดิน ก็แสดงว่าเมล็ดพันธุ์นั้นมีการงอกเกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าเป็นนักสรีรวิทยาก็จะให้ความหมายอีกแบบหนึ่งว่าเมื่อใดก็ตามที่เห็นรากโผล่ออกมาแสดงว่าเมล็ดพันธุ์นั้นงอกออกมาแล้ว ในส่วนของนักวิทยาศาสตร์ทางด้านเมล็ดพันธุ์และนักวิชาการเกษตรที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็จะให้ความหมายอีกอย่างว่าการงอกของเมล็ดพันธุ์นั้น คือ เริ่มตั้งแต่เมล็ดพันธุ์มีกระบวนการเกิดขึ้นในเมล็ดที่กำลังอยู่ในระยะพักตัว จนถึงระยะที่ต้นอ่อนเจริญเติบโต และพัฒนาไปเป็นต้นกล้าที่แข็งแรง
การบริหารจัดการการงอกของเมล็ดพันธุ์
ปัจจัยสำคัญที่ช่วยในการงอกของเมล็ดพันธุ์นั้นมีอยู่หลักๆ 3 อย่าง คือ น้ำ ออกซิเจน และอุณหภูมิ ซึ่งถ้าเมล็ดพันธุ์ได้รับปัจจัยดังกล่าวที่เหมาะสมและพอดีต่อความต้องการแล้ว ก็จะช่วยให้เมล็ดพันธุ์สามารถเจริญงอกงามได้ดียิ่งขึ้น และเติบโตเป็นต้นพันธุ์ที่มีความแข็งแรงได้ ซึ่งความสำคัญของแต่ละอย่างนั้นมีดังนี้
–น้ำ เมื่อได้เมล็ดพันธุ์แล้ว และเตรียมทำการเพาะเมล็ดพันธุ์เพื่อให้เมล็ดพันธุ์สามารถงอกออกมาและเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวเมื่อครบอายุที่กำหนด ภายในเมล็ดนั้นก็จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่บ้างถึงน้อย เมื่อเมล็ดพันธุ์จะเริ่มงอก น้ำจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
ถือได้ว่าน้ำนั้นเป็นปัจจัยอันดับแรกเลยทีเดียว เพราะจะช่วยกระตุ้นให้เมล็ดพันธุ์มีการตื่นตัวที่ดี กระตุ้นปฏิกิริยาทางเคมีและขบวนการเมแทบอลิซึมด้วย ซึ่งเบื้องต้นนั้นเมล็ดพันธุ์ก็จะทำการดูดน้ำเข้าไป ทำให้เปลือกเมล็ดอ่อนนุ่ม ทำให้เมล็ดพันธุ์เริ่มพองโตขึ้น เมื่อเมล็ดพันธุ์เริ่มอ่อนนุ่มขึ้น ก็จะทำให้รากนั้นสามารถแทงผ่านเปลือกได้สะดวกมากขึ้นไปด้วย
ความต้องการน้ำของเมล็ดพันธุ์
ซึ่งในความต้องการน้ำนั้น เมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดมีความต้องการน้ำที่ไม่เหมือนกัน แต่จำเป็นที่จะต้องมีน้ำเพื่อช่วยในการงอกแตกต่างกัน บางชนิดนั้นถ้าหากได้รับน้ำในปริมาณมากเกินไปก็จะทำให้เมล็ดเกิดการขาดออกซิเจนได้ เมื่อขาดออกซิเจนที่ช่วยในการหายใจเมล็ดก็จะเน่า แต่บางชนิดนั้นถ้าได้รับน้ำในปริมาณที่เกินความจำเป็นมากเกินไป อาจจะทำให้เมล็ดนั้นเกิดการพักตัวขึ้นมาใหม่ได้เช่นกัน
สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการดูดน้ำของเมล็ดนั้น ปกติแล้วจะ ได้แก่ ความหนาของเปลือก สารที่เคลือบอยู่ที่ผิวเปลือก ความเข้มข้นของน้ำ อุณหภูมิ และการสุกแก่ของเมล็ดที่ต่างกัน เป็นต้น
–ออกซิเจน ขึ้นชื่อว่าออกซิเจนก็นับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อระบบนิเวศทุกชนิดเลยก็ว่าได้ ไม่เว้นแม้แต่พืช ซึ่งออกซิเจนสำหรับการงอกของพืชนั้นถือว่ามีความสำคัญต่อกระบวนการหายใจของเมล็ดพันธุ์ที่กำลังงอกด้วยเช่นกัน
ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่กำลังงอกนั้นจะต้องการพลังงาน และพลังงานนั้นต้องมาจากขบวนการออกซิเดชั่น คือ กระบวนการหายใจ เมล็ดพันธุ์ที่กำลังงอกจะมีปริมาณหรืออัตราการหายใจที่ค่อนข้างสูงกว่ามาก เมื่อเทียบกับช่วงอัตราการหายใจในช่วงอื่นๆ ของเมล็ดพันธุ์ และจะมีการสลายและเผาผลาญอาหารที่เก็บสะสมไว้
ซึ่งเมล็ดพันธุ์ปกติทั่วไปนั้นจะงอกในบรรยากาศปกติที่มีออกซิเจนประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 0.03 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือว่าเป็นการงอกเมล็ดพันธุ์แบบปกติทั่วไป แต่ถ้าเป็นเมล็ดพันธุ์ที่งอกในสภาพที่มีปริมาณออกซิเจนที่ต่ำกว่าปกติ จะเป็นพวกพืชที่งอกได้ในน้ำส่วนมากนั่นเอง
ซึ่งเมล็ดพันธุ์ข้าวนั้นถือว่าเป็นพืชน้ำ เพราะว่าจะงอกได้ในช่วงที่มีปริมาณออกซิเจนที่ต่ำกว่าพืชทั่วไป และสภาพออกซิเจนที่สูง ซึ่งลักษณะการงอกจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน ในสภาพที่มีออกซิเจนต่ำนั้นจะงอกยอดอ่อนออกมาก่อน แล้วจึงงอกรากตามมาทีหลัง ซึ่งตรงนี้จะใช้พลังงานในการงอกมาจากกระบวนการออกซิเดชั่นที่ไม่ใช้ออกซิเจน คือ กระบวนการเฟอร์เมนเทชั่น เมล็ดที่งอกออกมาจึงทนต่อการสะสมแอลกอฮอล์ หรือสารพิษ ที่เกิดจากการหมักได้ดี และจนกว่าจะขึ้นเหนือน้ำเพื่อรับปริมาณออกซิเจนที่เหมาะสมด้วย
–อุณหภูมิ อีกหนึ่งตัวแปรที่มีความสำคัญสำหรับการงอกของเมล็ดนั้น ก็คือ อุณหภูมิ ซึ่งตัวอุณหภูมินั้นจะคอยควบคุมและอัตราการเกิดปฏิกิริยาในทางชีวเคมี ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่ด้วยความแตกต่างของพืชแต่ละชนิด รวมไปถึงถิ่นกำเนิดของพืช จึงทำให้พืชนั้นมีความต้องการในอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการงอกที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น พืชเขตเมืองหนาว ซึ่งพืชเขตเมืองหนาวนั้นจะงอกได้ดีในเขตเมืองหนาว และเอนไซม์ก็จะทำงานได้อยู่ ถึงแม้ว่าจะอยู่ในเขตเมืองหนาว แต่ในขณะที่จุดเยือกแข็งนั้นจะเป็นอันตรายต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์เขตร้อนมากกว่า ซึ่งอุณหภูมิที่สูงหรือต่ำกว่านั้นอาจจะทำให้เมล็ดพันธุ์งอกได้ แต่เมล็ดพันธุ์บางชนิดอาจจะมีการงอกออกมาและเสียชีวิตได้
ดังนั้นเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดมีระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ซึ่งก็จะมีทั้งสูงสุดและจุดต่ำสุดเช่นกัน อย่างไรก็ตามเมล็ดพันธุ์ยังคงมีการปรับตัวต่อช่วงอุณหภูมิสูงสุดและต่ำสุดในรอบวันอยู่แล้ว เพราะถ้าอุณหภูมิในเวลากลางคืนและกลางวันมีความแตกต่างกันมาก เมล็ดพันธุ์ก็จะงอกได้ดีกว่าการได้รับอุณหภูมิที่สม่ำเสมออยู่ตลอดเวลานั่นเอง
–ปัจจัยในเรื่องของแสง ซึ่งแสงนั้นก็มีผลต่อการงอกของเมล็ดได้เช่นกัน แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดด้วยว่าต้องการปริมาณแสงมากเท่าไหร่ที่จะช่วยในการงอกของเมล็ดได้ดี อีกทั้งยังเป็นเรื่องของความเข้มของแสงอีกเช่นกันรวมถึงระยะเวลาการให้แสงหรือช่วงแสง
โดยทั่วไปนั้นความเข้มของแสงสำหรับการงอกของเมล็ดจะอยู่ที่ช่วงแสง 0.08 ลักซ์ ถึง 5 ลักซ์ แต่ในช่วงแสง Visible light นั้น จะพบว่าเป็นช่วงแสงที่มีการกระตุ้นการงอกตั้งแต่ 650-700 นาโนเมตร หรือก็คือแสงสีแดงนั่นเอง แสงสีแดงนั้นจะมีผลต่อการงอกของเมล็ดพันธุ์มากที่สุดเมื่อเทียบกับแสงสีอื่นๆ แต่แสงสีน้ำเงินนั้นมักไม่ค่อยมีผลต่อการงอกของพืชมากนัก
โดยช่วงแสงที่กระตุ้นการงอกของเมล็ดนั้นจะอยู่ที่ 670 นาโนเมตร และความยาวของช่วงแสงมากกว่า 700 และสั้นกว่า 290 นาโนเมตร โดยประมาณ แต่ทั้งนี้ก็จะพบว่าการงอกของเมล็ดกับแสงนั้นจะขึ้นอยู่กับปริมาณแสงที่ได้รับ อีกทั้งการงอกของเมล็ดก็ต้องขี้นอยู่กับอุณหภูมิและระยะเวลาการดูดน้ำของเมล็ดด้วยเช่นกัน
ลักษณะการงอกของเมล็ดพันธุ์
โดยทั่วไปแล้วลักษณะการงอกของเมล็ดพันธุ์นั้นก็มี 2 แบบ คือ การงอกแบบใบเลี้ยงอยู่เหนือดิน กับการงอกแบบ ใบเลี้ยงอยู่ใต้ดิน ซึ่งทั้ง 2 แบบ ก็มีวิธีการงอกที่แตกต่างกันออกไป
การงอกแบบใบเลี้ยงอยู่เหนือพื้นดิน
การงอกแบบใบเลี้ยงอยู่เหนือพื้นดิน คือ การงอกของเมล็ด พันธุ์ที่เมื่อต้นกล้าเติบโตได้เต็มที่จะมีใบเลี้ยงชูขึ้นมาเหนือดิน โดยขั้นตอนแรกของการงอกนั้นเมล็ดจะเริ่มดูดน้ำเข้าไป และเมล็ดก็จะมีลักษณะพองโต รากแรกเกิดจะแทงทะลุออกมาสู่พื้นดิน จากนั้นก็จะดึงส่วนของใบเลี้ยงตามขึ้นมาเหนือดิน ใบเลี้ยงเองก็จะทำหน้าที่สังเคราะห์แสงเพื่อที่จะสร้างอาหารในช่วงระยะหนึ่งเท่านั้น แล้วก็จะเริ่มเหี่ยวแห้งไปเอง หลังจากนั้นก็จะเหลือเพียงแค่ลำต้นเท่านั้นที่ปรากฏให้เห็น และจะเจริญเติบโตไปเป็นใบจริงใบแรกต่อไป
ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่จะงอกในลักษณะนี้นั้นส่วนใหญ่ที่เห็นได้บนดินนั้นจะเป็นส่วนของลำต้นที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง เช่น พวกถั่วเหลือง ถั่วแดง เป็นต้น นอกจากนี้พืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีลักษณะพิเศษนั้นยังสามารถที่จะงอกแบบอิพิเจียล เช่น เมล็ดหอม ใบเลี้ยงจะยืดตัวดึงเมล็ดเหนือพื้นดิน และยอดอ่อนก็จะแตกออกบริเวณระหว่างรากกับลำต้น และหลังจากนั้นส่วนของใบเลี้ยงก็จะเหี่ยวแห้งไปนั่นเอง
การงอกแบบใบเลี้ยงอยู่ใต้ดิน
การงอกแบบใบเลี้ยงอยู่ใต้ดิน คือ การงอกเมล็ดพันธุ์แบบใต้ดิน เมื่อเมล็ดพันธุ์เจริญเติบโตแล้วจะไม่งอกออกมาพ้นดิน หรือใบเลี้ยงนั้นจะไม่โผล่ขึ้นมาเหนือดิน หรือในบางทีอาจจะรวมถึงเอนโดสเปิร์มที่ยังมีการตกค้างอยู่ใต้ดินด้วย ซึ่งการงอกในลักษณะนี้นั้น
โดยเริ่มแรกเมล็ดพันธุ์จะเริ่มดูดน้ำเข้าเมล็ดแบบเดียวกับการงอกบนดิน เมื่อดูดน้ำเข้าไปแล้วก็จะทำให้สเปิร์มกับเอ็มบริโอขยายตัว จนแทงทะลุเปลือกออกมา รากปฐมภูมิก็จะเติบโตอย่างรวดเร็ว แล้วเนื้อเยื่อที่หุ้มยอดก็จะโผล่พ้นดินขึ้นมา แต่เมื่อได้รับแสงก็จะหยุดการเจริญเติบโต และปล่อยให้ยอดอ่อนเติบโตแตกใบจริงออกมาแทน ส่วนใหญ่ที่เห็นว่าอยู่บนพื้นดินนั้น คือ ส่วนของลำต้นที่อยู่เหนือใบเลี้ยง ซึ่งการงอกในลักษณะนี้มักจะพบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด แต่ก็มีพืชใบเลี้ยงคู่บางชนิดที่งอกแบบใบเลี้ยงอยู่ใต้ดินเช่นกัน
เมื่อเมล็ดพันธุ์เริ่มแก่ได้เต็มที่แล้ว ก็จะเริ่มสร้างกลไกเพื่อควบคุมการงอก ซึ่งเมล็ดจะสร้างขึ้นมาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมและฤดูกาลในธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดของต้นอ่อน โดยการควบคุม การงอกของเมล็ด พันธุ์นั้นส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นโดยการลดความชื้นภายในเมล็ดลง เมื่อเมล็ดเริ่มที่จะสุกได้เต็มที่แล้ว ทำให้เมล็ดพันธุ์นั้นขาดปัจจัยที่สำคัญในการงอกไป ซึ่งก็คือ น้ำ เพราะโครงสร้างที่ทำหน้าที่ควบคุมน้ำและอากาศที่จะเข้าไปในเมล็ดพันธุ์ ก็คือ เปลือกเมล็ด เมล็ดพันธุ์บางชนิดถึงจะมีปริมาณน้ำในเมล็ดมากอยู่แล้ว แต่ก็ไม่สามารถงอกได้ เนื่องจากไม่มีกลไกในการงอก
โดยกลไกในการงอกนั้นจะอยู่ภายในเมล็ด ซึ่งเมล็ดนั้นอาจจะมีสารในการยับยั้งการงอกอยู่ จึงทำให้เมล็ดไม่สามารถงอกได้ นอกจากนี้ยังมีเมล็ดพันธุ์อีกหลายชนิดที่สามารถงอกได้ ทั้งๆ ที่ยังไม่หลุดล่วงออกจากต้นพันธุ์หลักด้วย ซึ่งการงอกแบบดังกล่าวนั้นจะเรียกว่า การงอกแบบงอกคาต้น
นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งกลไกที่สำคัญสำหรับการงอก คือ การพักตัวของเมล็ดพันธุ์ ถึงแม้ว่าจะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะและมีปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนในการงอกแล้ว แต่เมล็ดพันธุ์ก็ไม่สามารถที่จะงอกได้เอง ซึ่งจะเกิดผลดีต่อเมล็ด คือ ทำให้พันธุ์ที่งอกในถิ่นที่เหมาะสมต่อความอยู่รอดของต้นอ่อน และการพักตัวจะจำกัดไม่ให้เมล็ดพันธุ์งอกในสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเติบโตของต้นอ่อนด้วย
ข้อดีการงอกของเมล็ดพันธุ์
การงอกของเมล็ด พันธุ์นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อภาคการเกษตร หรือเกษตรกรผู้ที่ทำการปลูกพืชอย่างยิ่ง เพราะว่ากลุ่มเกษตรกรมีความจำเป็นต้องอาศัยเมล็ดพันธุ์เพื่อการขยายพันธุ์พืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง รวมไปถึงพืชตระกูลถั่วต่างๆ อีกทั้งยังมีผลไม้บางชนิดที่ใช้เมล็ดในการเพาะปลูกด้วยเช่นกัน
ซึ่งเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดนั้นต่างก็มีเปอร์เซ็นต์ในการงอกที่สูง เนื่องจากว่าการงอกเป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพของผลผลิตในเมล็ดพันธุ์นั้นสำคัญที่สุด ซึ่งสำหรับเกษตรกรเองก็จะใช้ในการกำหนดอัตราเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ปลูกพืชต่อพื้นที่ในการปลูก ซึ่งเมล็ดพันธุ์ที่มีโอกาสในการงอกสูงนั้นก็จะมีคุณภาพที่ดีสูงขึ้นตามไปด้วย
ทั้งนี้เมล็ดพันธุ์ส่วนใหญ่ที่เกษตรกรต้องการนั้นควรเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีความคงทนต่อสภาพอากาศ และโรค รวมไปถึงเปอร์เซ็นต์ในการงอกที่สูงด้วย จึงจะเป็นที่ต้องการของเกษตรกร เพราะนอกจากจะช่วยลดต้นทุนในการผลิตแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มผลผลิต และสร้างความมั่นใจให้กับตัวเกษตรกรได้เป็นอย่างมาก เพราะว่าเมื่อเมล็ดพันธุ์ดี การปลูกพืชหรือผลไม้ก็จะดีตามไปด้วย เกษตรกรก็เกิดความมั่นใจว่าพืชที่เราปลูกนั้นดี มีคุณภาพ และพร้อมจำหน่ายในราคาที่เหมาะสมด้วยนั่นเอง
การงอกของพืชนั้นต่างก็มีระยะเวลาในการงอกที่แตกต่างกันออกไป แต่ปัจจัยหลักๆ ของการงอกเมล็ดพันธุ์มีอยู่ 3 อย่าง คือ น้ำ ออกซิเจน และอุณหภูมิ ซึ่งเป็น 3 ปัจจัยหลักในการเติบโตหรือ การงอกของเมล็ด ซึ่งในส่วนที่แตกย่อยนั้นก็จะเป็นส่วนเสริมที่ช่วยให้เมล็ดนั้นงอกได้ดีขึ้น นอกจากนี้คุณภาพของดินก็จะช่วยให้เมล็ดที่กำลังงอกนั้นสามารถเติบโตได้อย่างมีคุณภาพด้วยเช่นกัน แต่ การงอกของเมล็ด นั้นก็จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับสภาพอากาศด้วย จึงจะได้เมล็ดที่สามารถงอกได้ดี และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพต่อไป
เรื่องราวของการงอกเมล็ดพันธุ์ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของพืชแทบทุกชนิดเลยก็ว่าได้ เพราะว่าการงอกที่ดีจะช่วยให้ได้ ผลผลิตที่มีคุณภาพ ปัจจัยทั้งหลายจึงมีความจำเป็นต่อการงอกเป็นอย่างมาก ซึ่งการงอกที่ดีเราต้องรู้จักที่คอยดูอุณหภูมิและปริมาณออกซิเจนที่เมล็ดจะได้ รวมไปถึงปริมาณของน้ำด้วยเช่นกัน ซึ่งบทความนี้จะเป็นตัวช่วยในการคอยสังเกตว่าเมล็ดพันธุ์ที่ใช้นั้นสามารถงอกได้ดีหรือไม่ อย่างไรก็ตามลองนำไปอ่านและปรับใช้กันได้
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://ngthai.com,https://sivakon5651.wordpress.com,www.allkaset.com,http://kkn-rsc.ricethailand.go.th,https://km.nssc.ac.th