ถ้าพูดถึงเรื่องของถั่ว เป็นที่รู้กันดีว่าคงไม่มีใครที่จะไม่รู้จักถั่วลิสงอย่างแน่นอน ถั่วที่ได้รับความนิยมและมีการบริโภคเป็นของว่างกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เรียกได้ว่าถั่วลิสงนั้นแทบจะมีขายอยู่ทุกที่ทั่วทุกแห่งตามท้องถนนรวมไปถึงในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญๆ หรือแม้แต่ถนนแห่งยามค่ำคืนก็คงยังมีการนำถั่วลิสงมาขายกันอยู่ตลอด ถ้าเป็นคนที่นิยมบริโภคถั่วย่อมรู้ดีอยู่แล้วว่าถั่วนั้นมีมาเป็นร้อยปีเลยทีเดียว นับว่าถั่วลิสงก็เป็นอีกหนึ่งชนิดที่ผู้คนนิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก การปลูกถั่วลิสง
การปลูกถั่วลิสง
ถั่วลิสงนั้นถือได้ว่าเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ง่าย และปลูกได้อยู่ทั่วไป เกษตรกรส่วนใหญ่จึงนิยมที่จะปลูกหลังการเก็บเกี่ยวไปแล้ว เพราะว่าช่วยในเรื่องของการสร้างรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของดิน ทำให้ดินนั้นได้เกิดการหมุนเวียน ก่อให้เกิดโรคได้น้อยขึ้น จึงถือได้ว่า การปลูกถั่วลิสง นั้นเปรียบเสมือนการพักดินให้กับพืชที่ปลูกก่อนหน้านี้ไปด้วย อีกทั้งถั่วลิสงเองก็ยังไม่ได้มีแค่พืชปกติ แต่ยังเป็นถั่วลิสงที่เป็นถั่วลิสงอินทรีย์ได้อีกด้วย และเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าถั่วลิสงนั้นเป็นพืชที่มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยคุณปู่ คุณย่า นับว่าเป็นพืชที่สามารถปลูกและให้ผลผลิตแทบตลอดเวลาได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
ถั่วลิสงนั้นนับว่าเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ง่าย และปลูกได้แทบตลอดทั้งปี และยังเป็นพืชที่สามารถช่วยในการปรับสภาพดิน ให้ดินนั้นดีกว่าเดิมหลังจากเริ่มเก็บเกี่ยวไปได้แล้ว โดยถั่วลิสงนั้นถือว่าเป็นของว่างสำหรับทานเล่นได้เป็นอย่างดี แต่การบริโภคถั่วลิสงนั้นจะต้องบริโภคอย่างพอดี ไม่มากจนเกินไป เพราะว่าการทานถั่วมากเกินไปนั้นจะทำให้เกิดอาการคอแห้งได้ จึงควรที่จะทานแต่พอดี นอกจากนี้ถั่วลิสงยังถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างดี เพราะไม่ว่าจะไปที่ไหนก็สามารถพบเจอได้ง่ายเป็นอย่างมาก ทำให้มองเห็นว่าถั่วลิสงนั้นจะสามารถพัฒนาและต่อยอดให้กับตัวเกษตรกรได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักกับถั่วลิสงเป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าจะเดินไปมุมไหนของแหล่งท่องเที่ยวเอง ต่างก็มักจะมีถั่วลิสงขายอยู่แทบทุกที่ โดยถั่วลิสงนั้นก็ถือว่าเป็นพืชที่ช่วยในเรื่องของการปรับปรุงดินหลังจากเริ่มเก็บเกี่ยวพืชหลักไปแล้ว การปลูกถั่วลิสงก็ถือว่าเป็นการปลูกเพื่อรายได้เสริมได้ อีกทั้งยังเป็นพืชที่ปลูกง่าย ขึ้นได้แทบทุกสภาพดินก็ได้ เลยถือได้ว่าพืชที่ควรปลูกหลังจากเก็บผลผลิตหลักแล้ว ถั่วนี้แหละนับว่าเป็นพืชควรค่าแก่การปลูกมากที่สุด
นอกจากนี้ถั่วลิงสงเองก็มีความเป็นอยู่และเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่สมัยคุณปู่ คุณย่า เลยทีเดียว เพราะไม่ว่าจะไปไหนมาไหน หรือแม้แต่กระทั่งการพบปะพูดคุย ต่างก็ต้องมีถั่วลิสงมาเป็นของว่าง ในการช่วยบรรเทาอาการหิว หรือไม่ให้ปากว่างนั่นเอง แต่ถั่วลิสงนั้นถ้ารับประทานมากจนเกินไปจนส่งผลให้คอนั้นแห้งได้ เลยจำเป็นที่จะต้องมีน้ำมาเป็นเครื่องเคียงเพื่อไม่ให้คอนั้นแห้งระหว่างรับประทาน นอกจากนี้เป็นที่รู้กันว่าถ้าเรารับประทานถั่วลิสงมากเกินไป อาจจะทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งตรงนี้เองเป็นสาเหตุให้เกิดแก๊สผายลมได้
ถั่วลิสงนั้นเป็นพืชที่ปลูกและขึ้นได้ง่าย ทำให้มีการนำมาปลูกแทบทุกพื้นที่ ที่ปลูกถั่วนั้นก็เพื่อที่จะช่วยในเรื่องของการปรับสภาพดินที่ได้ปลูกพืชหลักมาเป็นระยะเวลานาน ช่วยให้ดินนั้นสามารถกลับมาปลูกพืชหลักได้อีกครั้ง ถั่วลิสงนั้นเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ โดยส่วนมากจะพบในแถบบราซิล แถบเทือกเขาแอนดีส และในประเทศโบลีเวีย ตามลุ่มแม่น้ำอเมซอน ซึ่งตามหลักการแล้วถั่วลิสงนั้นไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเริ่มเข้ามาในเมืองไทยเมื่อไหร่ แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเข้ามาได้เกือบๆ 100 กว่าปีแล้ว เลยไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าเข้ามาในไทยเมื่อใด
แต่ปัจจุบันในประเทศไทยนั้นมี การปลูกถั่วลิสง เป็นจำนวนมากหลากหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยจะปลูกกันมากในจังหวัดขอนแก่น นครสวรรค์ นครนายก ลพบุรี สระบุรี เป็นต้น นอกจากนี้ที่อุตรดิตถ์เองยังคงเป็นพื้นที่ที่มี การปลูกถั่วลิสง เป็นแหล่งประจำเลยทีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในอุตรดิตถ์เอง ที่ตำบลน้ำริด บ้านด่านข้าม และอำเภอเมือง ต่างก็มีพื้นที่ในการปลูกถั่วประมาณ 2,500 ไร่ เลยทีเดียว ซึ่งจะให้ผลผลิตที่ดีมาก ถ้าปลูกในช่วงที่สภาพอากาศแล้งหรือหน้าแล้ง หรือปลูกหลังการเก็บเกี่ยวก็เหมาะสมเช่นกัน
โดยปกติทั่วไปแล้วถั่วลิสงสามารถปลูกได้ทั้งฤดูฝน และฤดูแล้ง ได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือว่าเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมากเท่าไหร่ เพราะว่าเป็นพืชที่ทนต่อสภาพอากาศแล้งได้เป็นอย่างดี อีกทั้งก็ควรจะปลูกในพื้นดินที่มีความชื้นเหมาะสม ก็จะช่วยให้ถั่วลิสงนั้นสามารถเติบโตได้เป็นอย่างดี เรามาดูกันดีกว่าว่ากว่าจะได้ถั่วลิสงให้ได้ทานเล่นเป็นของว่างกันแบบนี้ ต้องมีการเตรียมการอย่างไรบ้าง
สายพันธุ์ถั่วลิสง
โดยปกติแล้ว การปลูกถั่วลิสง ให้ได้ผลผลิตที่ดี จำเป็นต้องมีการคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ที่จะนำมาปลูก เพราะจะช่วยให้ถั่วลิสงที่ได้นั้นสามารถเติบโตและมีคุณภาพได้อย่างเต็มที่
โดยสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับการปลูกถั่วในบ้านเรานั้นมีดังนี้
-สายพันธุ์ไทนาน 9 เป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดต้นเป็นพุ่มตรง โดยมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 95-105 วัน การติดฝักนั้นจะติดเป็นกระจุกที่โคนต้น โดยเยื่อหุ้มเมล็ดนั้นมีสีชมพู น้ำหนักโดยประมาณต่อ 100 เมล็ดนั้น อยู่ที่ 42.50 กรัม และให้ผลผลิตฝักแห้งประมาณ 260 กิโลกรัมต่อไร่
-สายพันธุ์ สข.38 มีลักษณะต้นเป็นลำต้นแบบพุ่มตรง มีอายุในการเก็บเกี่ยวฝักสดประมาณ 85-90 วัน แต่ถ้าเป็นฝักแก่เต็มที่จะมีอายุการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 95-105 วัน การติดฝักนั้นจะเป็นกระจุกที่โคน จะมีฝักที่งอกอย่างชัดเจนประมาณ 3-4 เมล็ดต่อฝัก เยื่อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดง และมีน้ำหนักประมาณ 100 เมล็ด ต่อ 39.00 กรัม ให้ฝักสดประมาณ 510 กิโลกรัมต่อไร่ และให้ผลผลิตฝักแห้ง 250 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งสายพันธุ์นี้จะเหมาะกับการนำมาใช้เป็นถั่วต้ม
-สายพันธุ์ลำปาง ทรงพุ่มต้นตรง มีอายุในการเก็บเกี่ยวประมาณ 85-90 วัน แต่ถ้าฝักแก่เต็มที่ก็จะยืดระยะเวลาไปอีกนิดหน่อยอยู่ที่ 95-110 วัน มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีชมพูน้ำหนักประมาณ 100 เมล็ด ต่อ 40.50 กรัม โดยประมาณ ฝักแห้งจะให้ผลผลิตอยู่ที่ 280 กิโลกรัมต่อไร่ เหมาะกับการทำเป็นถั่วต้มอย่างมาก
-สายพันธุ์ขอนแก่น 60-3 สายพันธุ์นี้จะเป็นถั่วลิสงที่มีขนาดใหญ่ หรือเรียกว่าขนาดจัมโบ้ สายพันธุ์นี้จะใช้สารอีเทรลเข้ามาช่วยในการเพาะเลี้ยงประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ โดยใส่ในน้ำปริมาณ 9 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร และปล่อยทิ้งไว้อีก 1 วัน จึงจะเริ่มนำไปปลูก สายพันธุ์นี้จะใช้ระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวประมาณ 120 วันขึ้นไป
การคัดเลือกสายพันธุ์ที่จะนำมาปลูกแล้วนั้นจะต้องเป็นสายพันธุ์ที่ดี มีความเหมาะสมและสมบูรณ์ อีกทั้งต้องคัดเมล็ดพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่เต็มฝัก เมื่อได้เมล็ดตามต้องการแล้วก็ให้ตากแดดไว้ประมาณ 4 แดด จนเมล็ดแห้งสนิท จากนั้นให้นำมากะเทาะเปลือกออกให้หมด แล้วจึงนำมาคัดเลือกเมล็ดที่มีความสมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์จริงๆ แล้วจึงนำไปลงแปลงปลูกเพื่อทำการปลูกต่อไป
สภาพพื้นที่ปลูกถั่วลิสง
ดินที่มีความเหมาะสมกับการปลูกถั่วลิสงนั้นควรจะเป็นดินที่มีความหน้าลึก และควรเป็นดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ไม่มีน้ำขัง แต่เมื่อหน้าดินเริ่มแห้งนั้นก็ไม่ควรที่จะแข็งหรือแน่นจนเกินไป ยิ่งเป็นช่วงเวลาเก็บเกี่ยวควรทำให้ดินนั้นมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าดินแห้งจะทำให้ฝักนั้นค้างอยู่ในดินได้ โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมนั้นควรอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส
เมื่อเราได้ดินที่มีความเหมาะสมแล้ว ดินที่เตรียมไว้นั้นจะต้องเป็นดินที่มีความร่วนซุย ให้ทำการไถดินอยู่ที่ความลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร พรวนและคราดดินเพื่อช่วยในการกำจัดวัชพืช ถ้าดินมีความเป็นกรดก็ใช้ปูนขาว เพื่อช่วยในการปรับสภาพดินให้เหมาะ จะช่วยทำให้ธาตุอาหารพืชนั้นสามารถละลายออกมาได้ดี และเป็นประโยชน์กับรากเพื่อที่จะดูดธาตุอาหารไปใช้ในการเติบโตได้อย่างเต็มที่
โดยทำการยกแปลงเพื่อให้ดินนั้นมีการระบายน้ำที่ดี โดยขนาดของแปลงที่เหมาะสมนั้นอาจจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่มี แต่โดยทั่วไปแล้วควรให้แปลงมีความกว้างประมาณ 70 เซนติเมตร และให้ปลูก 3-4 แถวต่อแปลง ระยะการปลูกระหว่างต้นที่เหมาะสมเลย คือ 20 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 1-1.5 ฟุต แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องดูสภาพความสมบูรณ์ของดินด้วยเช่นกัน แต่ยกเว้นว่าถ้าปลูกสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่หรือกลางอาจจะต้องใช้ความห่างระหว่างแถวประมาณ 30 เซนติเมตร ในพันธุ์ขนาดกลาง และ 50 เซนติเมตร ในพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่
เมื่อทำการวัดระยะห่างได้เรียบร้อยแล้ว ให้เตรียมไม้ที่ต้องใช้ขุดหลุมเพื่อปลูก แล้ววางเมล็ดพันธุ์ลงในหลุมปลูกประมาณหลุมละ 4-5 เมล็ด เป็นหลัก พอใส่เมล็ดเรียบร้อยแล้วให้นำดินมากลบบางๆ หลังจากปลูกเสร็จแล้วก็ให้นำน้ำเข้ามาในแปลงตามร่องน้ำระหว่างแปลงได้เลย เพื่อที่ว่าแปลงจะได้มีความชุ่มชื้นมากขึ้น แต่ก็ไม่ควรที่จะให้น้ำขังจนเกินไป แค่ปล่อยให้เข้ามาในแปลงและไหลผ่านก็พอ
วิธีการปลูกและบำรุงดูแลต้นถั่วลิสง
หลังจากที่เราเตรียมดินสำหรับในการเริ่มปลูกถั่วลิสงแล้ว ต่อมาก็เป็นวิธีการปลูก ซึ่งวิธีการปลูกนั้นก็อาจจะใช้ตามหลักการของตัวเองก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้ววิธีการตามมาตรฐานนั้นก็ยังไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่า ทำแบบนี้แล้วจะได้ผลเท่านี้ เราเลยยกตัวอย่างวิธีการปลูกเพื่อให้ทำความเข้าใจแบบง่ายมาฝากกัน
วิธีการปลูกด้วยเมล็ดนั้นอาจจะใช้เมล็ดที่มีการงอกมาแล้วบางส่วนนำมาปลูกโดยอัตราการงอกนั้นจะอยู่ที่ 75 เปอร์เซ็นต์ โดยประมาณ ในอัตราการปลูกที่ 17-18 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งระยะในการปลูกที่เหมาะสมก็อยู่ที่ 50×20 เซนติเมตร โดยวางเมล็ดพันธุ์ตั้งแต่ 3-5 เมล็ดต่อหลุม ซึ่งการใส่เมล็ดนั้นก็ต้องดูว่าเราวางระยะห่างแต่ละหลุมไว้ประมาณไหนด้วย และให้ความลึกประมาณ 10-20 เซนติเมตร ก็จะได้ผลผลิตประมาณ 32,000-48,000 ต้นต่อไร่
ในการกำจัดวัชพืชนั้นเริ่มแรกเลย ก็คือ เริ่มกำจัดตั้งแต่เตรียมดินก่อนแล้ว เพราะว่าในช่วงเดือนแรกหลังจากเริ่มปลูกไปไม่ควรที่จะรบกวนแปลงปลูกถั่วในช่วง 1 เดือนแรก แต่การกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานคนนั้น ควรทำ 1-2 ครั้ง เมื่ออายุได้ 15-20 วัน หลังจากเริ่มงอกแล้ว และถ้าต้องการใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืชก็ควรจะใช้ในปริมาณที่ได้รับคำแนะนำ ในปริมาณ 300-320 กรัม โดยสารจะออกฤทธิ์ในปริมาณต่อไร่ พ่นคลุมดินหลังปลูกและช่วงวัชพืชงอก แต่ในขณะพ่นนั้นดินจะต้องมีความชื้น
โดยทั่วไปนั้นการใส่ปุ๋ยของถั่วลิสงนั้นจะใช้ปุ๋ยเคมีเป็นหลัก จะต้องใช้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ในอัตราส่วนประมาณ 35 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่เป็นการรองก้นหลุมก่อนที่จะเริ่มปลูกถั่วลิสง หรือจะทำการโรยข้างแถว และพรวนดินกลบ ก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้การใส่ปุ๋ยในช่วงหลังจากถั่วเริ่มงอกไปแล้วควรใส่หลังงอกประมาณ 15-20 วัน จะเป็นช่วงที่เหมาะสมมากที่สุด
การป้องกันและกำจัด โรค แมลง ต้นถั่วลิสง
พืชทุกชนิดนั้นล้วนแล้วแต่จะพบปัญหาในเรื่องโรคและแมลงมารบกวนเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ในถั่วลิสงเองก็เช่นกัน เกษตรกรที่ปลูกนั้นส่วนใหญ่ก็จะเจอกับความเสียหายอยู่เสมอ โดยโรคที่พบนั้นส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโรคใบจุด และโรคราสนิม ซึ่งทั้ง 2 นี้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมาก ทั้งความเสียหายในด้านของปริมาณและคุณภาพ ทำให้เกษตรกรต่างก็กังวลกับโรคดังกล่าวเป็นอย่างมาก
โรคใบจุดนูน
ลักษณะของโรคดังกล่าวนั้นจะเริ่มมีจุดเป็นแผลแห้งตายออกสีดำ หรือสีน้ำตาลบนใบ รูปร่างของโรคนั้นจะกลมและมีขนาดที่ไม่แน่นอน โดยรอบรอยแผลนั้นส่วนใหญ่จะมีสีเหลือง การเกิดแผลนั้นจะเริ่มจากใบด้านล่างแล้วลุกลามขึ้นสู่ด้านบน ซึ่งใบบนที่ถูกทำลายนั้นมักจะถูกทำลายอย่างรุนแรงและแห้งตายในทันที จากนั้นก็จะเริ่มหลุดร่วงลง ซึ่งโรคดังกล่าวนี้มักจะพบการระบาดมากในช่วงหน้าฝน เพราะเป็นช่วงฤดูที่เชื้อสามารถกระจายได้ง่าย
การป้องกันโรค ส่วนมากแล้วมีการป้องกันง่ายๆ คือ หลีกเลี่ยง การปลูกถั่วลิสง ในช่วงกลางฤดูฝนจะดีที่สุด นอกจากนี้ถ้าพบโรคในระยะที่ต้นถั่วลิสงเริ่มออกดอก และสภาพอากาศมีความชื้นสูง อาจจะมีการฉีดสารเคมีในการป้องกันและกำจัดเชื้อรา แต่ถ้าหากพบในช่วงที่ฝักเติบโตเต็มที่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี เพราะระยะนี้จะได้รับผลกระทบค่อนข้างน้อย หลังจากที่พบโรคในช่วงระยะเวลาใดก็แล้วแต่ ซึ่งที่สำคัญเลย คือ การทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคให้หมดทันทีหลังจากเก็บเกี่ยวไปแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งที่จะเกิดการระบาดของโรคในฤดูกาลปลูกอื่นๆ
โรคราสนิม
โรคราสนิมสามารถพบการระบาดได้ทั่วไปตามแปลงปลูกถั่วลิสง มักจะเกิดร่วมกับโรคใบจุด แต่มีลักษณะอาการ คือ ใบที่เป็นโรคจะมีแผลเป็นสีน้ำตาลขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วผิวใบ โดยเริ่มจากด้านล่างและลามมาด้านบน เมื่อเราลองพลิกใบดูก็จะเห็นตุ่มนูนขึ้นปกคลุมด้วยผงสปอร์จะมีลักษณะคล้ายกับผงสนิมเหล็กจำนวนมาก ซึ่งโรคราสนิมนี้จะแพร่ระบาดได้ดีในสภาพอากาศที่มีความชื้นค่อนข้างสูงเมื่ออากาศร้อนในช่วงกลางวัน และอากาศเย็นในช่วงกลางคืน ยิ่งช่วงฤดูฝนจะเป็นช่วงที่เชื้อสามารถแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี
การป้องกันโรค โรคดังกล่าวนี้ควรหลีกเลี่ยงการปลูกในช่วงปลายฤดูฝน เพราะเป็นช่วงที่มักจะเกิดโรคระบาดเป็นอย่างมาก แต่ถ้าหากพบโรคดังกล่าวนี้ในช่วงที่ฝักออกดอกหรือฝักอ่อนจะทำให้ผลผลิตที่ได้นั้นลดลง ฉะนั้นควรจะทำการฉีดพ่นสารเคมีและสารกำจัดเชื้อรา คือ สารคลอโรธาโลนิล แมนโคเซบ โดยการใช้ในแต่ละครั้งก็ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค แต่ถ้าพบโรคในช่วงเวลาที่ฝักแก่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้ และการทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะว่าจะช่วยให้หลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว ถ้าเราเก็บกวาดเศษซากพืชทั้งหมดออกก็จะช่วยลดการระบาดของโรคในช่วงเวลาปลูกฤดูถัดไปได้เป็นอย่างมาก
การให้น้ำและปุ๋ยต้นถั่วลิสง
หลังจากที่เราปลูกไปได้ประมาณ 1 เดือนแล้ว ต้นถั่วลิสงก็จะเริ่มงอกออกมา ให้นำน้ำเข้าแปลงจนชุ่ม จากนั้นก็ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สลับกับปุ๋ยหมักหว่านให้ทั่วแปลง ซึ่งจะเป็นการประหยัดต้นทุนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการบำรุงต้น ใบ และเมล็ด ให้ได้ความสมบูรณ์อย่างเต็มที่
หลังจาก 1 เดือนครึ่งแล้ว ถั่วก็จะเริ่มออกดอกเป็นสีเหลือง ซึ่งจะเริ่มใช้ฮอร์โมนฉีดพ่นเพื่อการเร่งการเติบโตของลำต้นและเมล็ดได้ หลังจากนั้นก็คอยดูแลและบำรุงรักษาเช่นเดียวกันจนกระทั่งถึงช่วงเก็บผลผลิต ซึ่งรวมแล้วก็จะใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน ถ้าเริ่มปลูกช่วงปลายเดือนมกราคม ก็จะได้ผลผลิตในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงจะสามารถเก็บผลผลิตได้
การเก็บเกี่ยวผลผลิตถั่วลิสง
เมื่อถั่วลิสงมีอายุได้ประมาณ 80-110 วัน หรืออาจจะขึ้นอยู่ว่าแต่ละสายพันธุ์ใช้เวลาในการเติบโตเต็มที่เมื่อไหร่ด้วย เมื่อได้ช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการเก็บเกี่ยว ให้สุ่มถอนต้นถั่วลิสงเสียก่อน ก่อนที่จะเริ่มเก็บเกี่ยว โดยการเก็บเกี่ยวนั้นอาจจะใช้ได้ทั้งแรงงานคนเก็บเกี่ยว ที่บางทีอาจจะเสียเวลา และมีค่าใช้จ่ายสูงบ้า แต่ก็ได้ผลที่ปลอดภัยกับต้นถั่วลิสงเอง อาจจะเสียเวลาหรือใช้เวลานานเสียหน่อย หรืออาจจะใช้รถเก็บเกี่ยวสำหรับการเก็บเกี่ยวถั่วลิสงโดยเฉพาะเลยก็ได้ เพราะวิธีนี้จะช่วยให้ประหยัดเวลา และลดการใช้แรงงานคนได้เยอะทีเดียว อีกทั้งยังได้ผลผลิตในการเก็บเกี่ยวที่เร็วขึ้น ช่วยให้ได้ผลผลิตอย่างเต็มที่ และพร้อมจำหน่ายได้เร็ว นอกจากนี้ต้นถั่วที่ได้เก็บเกี่ยวไปแล้วนั้นสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยรองสำหรับการทำนาได้ ซึ่งการนำต้นถั่วมาใช้เป็นปุ๋ยรองนั้นจะช่วยลดการใส่ปุ๋ยในแปลงนาได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
ประโยชน์ของถั่วลิสง
หลายๆ คนอาจจะมองว่าถั่วลิสงนั้นเป็นเพียงของว่างสำหรับแกล้มในวงเหล้า หรือของทานเล่นทั่วไปที่สามารถหาซื้อทานได้ง่าย แต่จริงๆ แล้วตัวถั่วลิสงนั้นมีคุณประโยชน์ต่อร่างกายคนเราด้วยเหมือนกัน แต่การบริโภคนั้นควรอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมจะดีที่สุด
โดยประโยชน์หลักๆ เลย คือ การควบคุมน้ำหนัก ซึ่งถั่วนั้นถือได้ว่าเป็นโปรตีนชั้นดีที่ช่วยในเรื่องของการสร้างมวลกล้ามเนื้อ และควบคุมปริมาณน้ำหนักให้คงที่ได้เป็นอย่างดี เพราะว่าถั่วลิสงนั้นสามารถช่วยให้เราอิ่มได้เร็วและอยู่ท้องได้นาน ถึงแม้ว่าในถั่วลิสงจะมีปริมาณไขมันที่เยอะ แต่ถ้าบริโภคในปริมาณที่พอดีก็จะช่วยในเรื่องของการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
ป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี มีงานวิจัยพบว่าการบริโภคถั่วลิสงนั้นสามารถช่วยป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้ เพราะสารบางชนิดในถั่วลิสงนั้นสามารถช่วยในการป้องกันโรคนิ่วได้ ซึ่งมีการทดลองว่าให้คนลองรับประทานถั่วเป็นระยะเวลานาน และพบว่าการรับประทานถั่วเป็นระยะเวลานานนั้นสามารถช่วยป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้ดี ถ้าบริโภคเป็นประจำและรับประทานอย่างพอดี
แต่ก็ต้องระวังในเรื่องของการบริโภคถั่วลิสงด้วย เพราะว่าการบริโภคถั่วลิสงมากเกินไปอาจจะก่อให้เกิดโรคอ้วนได้ เพราะถั่วลิสงนั้นมีปริมาณแคลอรีสูง จึงไม่ควรทานมากจนเกินไป และบางครั้งถั่วลิสงเองอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดสารพิษตกค้าง ทำให้ต้องระมัดระวังในการรับประทานด้วย
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายถั่วลิสง
ต้องยอมรับเลยว่าถั่วลิสงนั้น เป็นพืชที่มีความต้องการในตลาดเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกหนึ่งชนิดเลยก็ว่าได้ เพราะมีการส่งมายังโรงงานแปรรูปถั่ว รวมไปถึงตามร้านค้าต่างๆ ก็มีการนำถั่วลิสงมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นร้านขายยำ ร้านขายส้มตำ ร้านขายอาหารตามสั่ง ฯลฯ เพื่อใช้ในการประกอบอาหาร อีกทั้งโรงงานขนม หรือร้านค้าเบเกอรี่ต่างๆ ก็นิยมนำถั่วลิสงมาใช้ในการประกอบทำขนมด้วยเช่นกัน โดยการส่งโรงงานแปรรูปนั้น จะนำมาบรรจุอย่างดี และทำเป็นถั่วลิสงเคลือบคาราเมล ช็อกโกแลตบ้าง เป็นต้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจของเมืองไทยเลยก็ว่าได้
ถั่วลิสงนับได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากของเมืองไทย เพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนเราก็จะเห็นถั่วลิสงอยู่แทบทุกที่ เพราะถือว่าเป็นพืชที่ใช้ในการประกอบอาหารได้อย่างมากมาย อีกทั้ง การปลูกถั่วลิสง นี้ยังสามารถปลูกได้ง่าย ยิ่งช่วงหลังการปลูกพืชถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะช่วยในการปรับปรุงดินได้ด้วย เห็นได้ว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์เป็นอย่างมาก นับว่าการปลูกถั่วเป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างดี
ถือได้ว่าเรื่องของ การปลูกถั่วลิสง นับว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะว่าเราได้รู้ถึงรายละเอียดในการปลูกและการดูแล รวมไปถึงโรคในถั่วลิสง ซึ่งเรื่องราวของ การปลูกถั่วลิสง นี้ เป็นการเรียบเรียงข้อมูลให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจอย่างง่ายๆ ไม่ยาก ที่จะทำตาม ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปลูกได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ข้อมูลด้านอื่นๆ ก็อาจจะต้องปรึกษาหรือสอบถามผู้ที่มีความรู้เฉพาะด้าน ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.sentangsedtee.com/farming-trendy/article_71557,https://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=6263&s=tblplant,http://www.farmthailand.com/612,http://doa.go.th/pibai/pibai/n15/v_4-may/korkui.html, https://www.technologychaoban.com/marketing/article_50325