สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ ประจำวันที่ 30/09/2562-04/10/2562

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารพลังเกษตร

ผลส่งเสริมข้าวหอมมะลิคุณภาพดี ปี 62/63 ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนเมล็ดพันธุ์ รวม 8.5 ล้านบาท

จากการติดตามประเมินผลโครงการ พบว่า มีเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพดี จำนวน 112,811 ราย ตามเป้าหมาย แยกเป็นรายจังหวัด ได้แก่ สถานการณ์ข่าว

  • นครราชสีมา 37,067 ราย
  • บุรีรัมย์ 21,037 ราย
  • มหาสารคาม 23,115 ราย
  • ร้อยเอ็ด 19,208 ราย
  • ขอนแก่น 11,386 ราย
  • สุรินทร์ 484 ราย และ
  • ศรีสะเกษ 514 ราย

รวมเมล็ดพันธุ์  4,423 ตัน โดยเกษตรกรได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิที่ได้รับจากโครงการมาปลูกเพื่อผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ รวมพื้นที่กว่า 232,000 ไร่ หรือเฉลี่ยรายละ 2.06 ไร่

1.ข้าวหอมมะลิได้คุณภาพ
1.ข้าวหอมมะลิได้คุณภาพ สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว

ด้านการอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร เกษตรกรที่ได้รับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ อาทิ เรื่องการใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราปลูกที่เหมาะสม การลดต้นทุนการผลิตข้าว และเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองโดยส่วนใหญ่ได้ปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตนเอง

ซึ่งผลจากการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ และอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ส่งผลให้เกษตรกรที่ได้รับการอบรมสามารถลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ลง โดยก่อนเข้าร่วมโครงการเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์สำหรับเพาะปลูกเฉลี่ย 20.31 กิโลกรัม/ไร่ ภายหลังร่วมโครงการใช้เมล็ดพันธุ์เฉลี่ย 18.90 กิโลกรัม/ไร่ (ลดลง 1.41 กิโลกรัม/ไร่) สามารถลดต้นทุนจากการใช้เมล็ดพันธุ์ จากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 112,811 ราย คิดเป็นมูลค่า 8.5 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการบางส่วนประสบภัยแล้งต่อเนื่อง ในปี 2562/63 (ช่วงเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม) ส่งผลให้ข้าวหอมมะลิที่ได้รับเมล็ดพันธุ์จากโครงการได้รับความเสียหาย โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

ซึ่งได้มีการประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย สถานการณ์ฝนแล้ง ไปแล้วรวม 29 อำเภอ และจากสภาวะดังกล่าว อาจกระทบผลผลิตที่ได้รับต่ำกว่าที่โครงการคาดไว้ ซึ่งเกษตรกรจะเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2562 แต่จะส่งผลให้ราคาข้าวหอมมะลิในปีการผลิต 2562/63 ปรับตัวสูงขึ้น โดยเกษตรกรที่ยังคงได้รับผลผลิตจากเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพดีของโครงการ คาดว่าจะมีรายได้ไม่ต่างกับช่วงปีที่ฝนฟ้ามีสภาวะปกติมากนัก

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สศก. ที่มาของภาพ http.www.oae.go.th
2.นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สศก. ที่มาของภาพ http.www.oae.go.th

พืชผัก-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชทางเลือกเพิ่มมูลค่าในนาข้าวไม่เหมาะสม จ.อ่างทอง

นางอัญชนา ตราโช รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สินค้าเกษตรสำคัญที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด (Top 4) ของจังหวัดอ่างทอง ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ไข่ไก่ และมะม่วงน้ำดอกไม้ โดยเกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) จากการผลิตข้าวนาปี ในพื้นที่มีความเหมาะสมมาก และเหมาะสมปานกลาง (S1/S2) เฉลี่ย 1,050 บาท/ไร่

ส่วนพื้นที่มีความเหมาะสมน้อย และไม่เหมาะสม (S3/N) เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 604 บาท/ไร่  ข้าวนาปรัง พื้นที่ S1/S2 เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 1,252 บาท/ไร่ ส่วนพื้นที่ S3/N เฉลี่ย 934 บาท/ไร่ มะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งไม่มีการจำแนกพื้นที่เหมาะสม และไม่เหมาะสม เกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 6,508 บาท/ไร่ และไข่ไก่ ได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 0.07 บาท/ฟอง

หากพิจารณาเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวของจังหวัดอ่างทอง พบว่า พื้นที่ S1/S2 สำหรับปลูกข้าวมีจำนวน 366,388 ไร่ และพื้นที่ S3/N มีเพียงจำนวน 13,859 ไร่ โดยพื้นที่ไม่เหมาะสมบางส่วน เกษตรกรสามารถปรับเปลี่ยนการผลิตและพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างหลากหลาย ได้แก่

การปลูกผักต่างๆ เช่น ตะไคร้ มีต้นทุนการผลิต 22,089 บาท/ไร่ ระยะเวลาปลูกถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 5-6 เดือน ซึ่งใน 1 ปี สามารถปลูกได้ถึง 2 รอบเกษตรกรได้ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 20,086 บาท/ไร่/รอบการผลิต ราคารับซื้อในจังหวัดอยู่ที่กิโลกรัมละ 13-15 บาท โดยตะไคร้สามารถทำสมุนไพรแปรรูป เช่น ชาตะไคร้ ส่งขายได้ทั้งตลาดภายในจังหวัด และภายนอกจังหวัด อาทิ ศูนย์ทำสมุนไพรแปรรูปจังหวัดอ่างทอง ตลาดไท และตลาดสี่มุมเมือง

3.ไผ่สะดิ้ง ที่มาของภาพ http.www.komchadluek.netnewsagricultural391333
3.ไผ่สะดิ้ง ที่มาของภาพ http.www.komchadluek.netnewsagricultural391333

ไผ่สะดิ้ง ดูแลง่าย รายได้ดี สร้างกำไรปีแรกกว่า 3 หมื่นบาท

สำหรับการปลูกไผ่สะดิ้ง ต้นพันธุ์ที่นำมาปลูกมีอายุประมาณ 1 ปี หากดูแลสม่ำเสมอจะสามารถจำหน่ายได้หลังจากการปลูก 8-10 เดือนขึ้นไป เกษตรกรสามารถทยอยเก็บผลผลิตได้ทุกวัน ให้ผลผลิตในปีแรกประมาณ 3,000 กิโลกรัม/ไร่ ซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับฤดูกาล

โดยปกติราคาจะอยู่ที่ประมาณ 10-25 บาท/กิโลกรัม โดยราคาสูงที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายน แต่หากเป็นช่วงหน้าฝนระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน ราคาจะลดลงเหลือประมาณ 5-10 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้เมื่อคิดเป็นรายได้สุทธิ (กำไร) ในปีแรกเกษตรกรจะได้ประมาณ 35,000-39,000 บาท/ไร่ และในปีถัดมาจะมีรายได้สุทธิไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท/ไร่/ปี  ซึ่งจะมีพ่อค้าจากจังหวัดเลยและขอนแก่นมารับซื้อถึงสวน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้เกษตรกรสามารถขยายพันธุ์ได้เองโดยง่าย และสามารถจำหน่ายต้นพันธุ์ให้กับเกษตรกรและผู้ที่สนใจได้อีกด้วย โดยราคาจำหน่ายต้นพันธุ์จะอยู่ประมาณ 50 บาท/ต้น  ดังนั้นการปลูกไผ่เลี้ยงทวาย หรือไผ่สะดิ้ง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับเกษตรกรผู้สนใจที่ต้องการทำเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลักเพื่อเพิ่มรายได้ เพื่อลดความเสี่ยงจากพืชอื่น อีกทั้งการดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก ไม่มีการใช้สารเคมี ทำให้เกษตรกรและผู้บริโภคปลอดภัยจากสารเคมี

ทั้งนี้เกษตรกรควรรักษาคุณภาพผลผลิตเพื่อให้ผู้ซื้อเกิดความเชื่อมั่น และควรมีการรวมกลุ่มเพื่อจำหน่ายผลผลิต เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง โดยผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ นายช่วย บุตรดาเวียง และคุณสุวรรณา เรือนทอง บ้านห้วยเดื่อ หมู่ที่ 8 ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย โทร.090-586-0503 ซึ่งยินดีให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรทุกท่าน

4.กรมประมง

สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์น้ำ

กรมประมงร่วมจิตอาสา ก.เกษตรฯ หนุนพันธุ์สัตว์น้ำ-จุลินทรีย์ ปม.1

กิจกรรมโครงการ “จิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรผู้ประสบภัย” มีวัตถุประสงค์ให้ทุกหน่วยงานบูรณาการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัยหลังน้ำลด ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ ใน 21 จังหวัด ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ โดยในส่วนของกรมประมงสนับสนุนลูกพันธุ์ปลาสัตว์น้ำเศรษฐกิจ 3,256,060 ตัว เพื่อนำไปต่อยอดเป็นแหล่งอาหาร ตลอดจนสร้างอาชีพเบื้องต้นให้ผู้ประสบภัย และจุลินทรีย์ ปม.1 จำนวน 8,750 ซอง สำหรับนำไปปรับคุณภาพน้ำให้เหมาะกับการเลี้ยงสัตว์น้ำต่อไป

สำหรับการลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี กรมนำพันธุ์สัตว์น้ำ 100,000 ตัว พร้อมด้วยจุลินทรีย์ ปม.1 ไปมอบให้ตัวแทนชุมชนใน ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ นำไปส่งมอบให้ผู้ได้รับผลกระทบต่อไป พร้อมเร่งสำรวจความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือเยียวยาต่อไป ทั้งนี้เกษตรกรและประชาชนถ้าต้องการความช่วยเหลือหรือขอคำแนะนำด้านการเลี้ยงสัตว์น้ำ ติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่สำนักงานประมงอำเภอ/สำนักงานประมงจังหวัด/ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงในพื้นที่ หรือกองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษกลุ่มช่วยเหลือเกษตรกรและชาวประมง กรมประมง โทรศัพท์หมายเลข 0-2558-0218 และ 0-2561-4740

ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย ตรวจสอบสินค้าอาหารสัตว์น้ำที่แจ้งส่งออก

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2562 เวลา 13.40 น. นายบุญส่ง พานชัยภูมิ หัวหน้าด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดหนองคาย มอบหมายให้นายวัลลภ กองกรม นักวิชาการประมงปฏิบัติการ พร้อมด้วยนายกรีฑาพล ลันโคตร นักวิชาการประมง ตรวจสอบสินค้าอาหารสัตว์น้ำที่แจ้งการส่งออก (สอ.1)ไปยัง สปป.ลาว ตามหลักเกณฑ์/ข้อกำหนดของ พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2558 ที่หน้าสำนักงานด่านฯ เลขที่ 43501012726200186 เป็นอาหารสัตว์น้ำสปีด 450 พลัส จำนวน 700 กระสอบ สปีด 450 จำนวน 100 กระสอบ มูลค่า 380,000 บาท ผลการตรวจถูกต้องตามที่แจ้ง จึงได้ออกหนังสือรับรอง (สอ.2) ให้กับผู้ประกอบการต่อไป ซึ่งในการตรวจสอบครั้งนี้ก็เหมือนกับเป็นการเฝ้าระวังการนำเข้าและส่งออกสัตว์น้ำที่ถูกต้อง และถูกหลักอนามัยตามกรมควบคุมโรคและคุณภาพอาหารทะเลและสัตว์น้ำ

6.ASF

สถานการณ์ข่าว ประจำสัปดาห์ของนิตยสารสัตว์บก

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 สำนักงานปศุสัตว์อำเภอบ้านนาลงพื้นที่ปฏิบัติงานฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย และวัคซีนป้องกันโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมียให้กับสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นวัว ควาย กระบือ ในเขตพื้นที่ ม.12 ต.พิกุลออก อ.บ้านนา จ.นครนายก  ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือ จำนวน 29 ตัว  เพื่อเป็นการสร้างมาตรการป้องกันโรคดังกล่าวให้กับผู้เลี้ยงสัตว์ประเภทนี้ อีกทั้งยังเป็นการเฝ้าระวังโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์ละแวกใกล้เคียงด้วยเช่นกัน สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว 

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เพิ่มมาตรการ การป้องกันเพิ่มเติม และเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด สำหรับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ประจำพื้นที่จังหวัดนครนายก

เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครนายก โดยกลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอบ้านนา ปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์และเก็บข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ตามมาตรการเพิ่มเติมการเข้มงวดเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรพื้นที่จังหวัดนครนายก และฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยสำหรับสุกร ในเขตพื้นที่ ต.บ้านพริก ต.เขาเพิ่ม อ.บ้านนา จ.นครนายก รวม 5 ราย เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดที่อาจเกิดความเสี่ยงในโรคดังกล่าวที่จะเข้ามาในพื้นที่ได้ จึงมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

6.ไข่ไก่ฟองใหญ่-สด-สะอาด
6.ไข่ไก่ฟองใหญ่-สด-สะอาด

แถลงข่าวงาน “วันไข่โลก 2562” (World Egg Day 2019)

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานพิธีแถลงข่าวงาน “วันไข่โลก 2562” (World Egg Day 2019) แถลงถึงภาพรวมและบทบาทของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ แถลงการดูแลและควบคุมการผลิตไข่ไก่ให้มีมาตรฐานตลอดห่วงโซ่เพื่อคุณภาพและความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

นายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย แถลงการณ์ให้ความสำคัญการบริโภคไข่ไก่ให้เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย และผู้มีโรคประจำตัว และคุณเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ประธานคณะกรรมการโครงการรณรงค์บริโภคไข่ไก่ 300 ฟอง แถลงความสำคัญของการรณรงค์บริโภคไข่ไก่ ในวันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2562 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 115 ชั้น 1 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า การจัดงานวันไข่โลกปี 2562 จัดโดยคณะอนุกรรมการรณรงค์เพิ่มการบริโภคไข่ไก่ ภายใต้แนวคิด “กินไข่ทุกวัน กินได้ทุกวัย” เพื่อสร้างความรับรู้ในวงกว้างให้คนไทยเห็นถึงคุณประโยชน์การบริโภคไข่ ซึ่งมีกรดอะมิโนที่จำเป็นครบถ้วน ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงสมบูรณ์ รวมถึงสมอง สามารถบริโภคได้ทุกวัน ทุกเพศ ทุกวัย

สอดคล้องกับโครงการรณรงค์เพิ่มการบริโภคไข่ไก่ ภายใต้ยุทธศาสตร์ไก่ไข่ ทั้งยังเพิ่มการบริโภคไข่ไก่ของคนไทยให้เป็น 300 ฟอง/คน/ปี สร้างความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ด้วยการควบคุมคุณภาพการผลิตไข่ไก่ที่ได้มาตรฐาน สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว สถานการณ์ข่าว

โดยกิจกรรมจัดขึ้นในวันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562  ณ โถงชั้น 1 อาคารสมเด็จพระศรีนครินทร์  โรงพยาบาลศิริราช,  วันพุธที่ 9 ตุลาคม 2562 ณ ชั้น 1 อาคาร 14 ชั้น และอาคารคัคณางค์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และวันศุกร์ที่ 11 ตุลาคม 2562 ณ อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ และอาคารหลัก คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

โฆษณา
AP Chemical Thailand