หญ้าแฝกนับว่าเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาปลูกตามแนวคันดินเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นหญ้าที่มีประโยชน์ และยังเป็นแนวปรัชญาตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ท่านทรงนำหญ้าแฝกมาใช้ในการป้องกันการพังทลายของหน้าดิน และการเกิดน้ำหลากจากแนวเขา หรือตามพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดเหตุอุทกภัยบ่อยๆ ซึ่งคุณสมบัติของ หญ้าแฝก นั้นนับว่ามีมากมายเลยทีเดียว
การปลูกหญ้าแฝก
หญ้าแฝกจัดเป็นหญ้าเขตร้อน มักจะขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ และเป็นหญ้าที่กระจายอยู่แทบทั่วทุกมุมโลก หญ้าแฝกนั้นสามารถที่จะขึ้นกับดินได้ทุกชนิดเลยก็ว่าได้ โดยหญ้าแฝกนั้นถ้ายิ่งปลูกใกล้ๆ กันในระยะห่างที่ไม่มากนัก ก็จะช่วยเพิ่มปริมาณรากให้มีความแข็งแรงและจับตัวกันมากขึ้นนั้นก็จะส่งผลดีให้กับตัวหน้าดินได้เป็นอย่างดี ซึ่งอย่างที่บอกหญ้าแฝกนั้นเป็นพืชที่สามารถทนแล้งได้เป็นอย่างดี การปลูกตามหน้าดิน ตามคันดินต่างๆ จะช่วยเพิ่มความอุ้มน้ำได้เป็นอย่างดี และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดินด้วย ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมการปลูกหญ้าแฝกตามคันนา หรือตามข้างคลองชลประทานอ่างเก็บน้ำ บ่อน้ำ ป่าไม้ ฯลฯ จัดอยู่ในกลุ่มวัชพืชที่นับได้ว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก
ถึงแม้ว่าหญ้าอาจจะดูเหมือนไม่มีประโยชน์อะไรในสายตาของหลายๆ คน แต่ถ้าเป็นด้านการแต่งสวนหรือทางธรรมชาติแล้ว หญ้าถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะว่าการแต่งสวนนั้นถ้าขาดพื้นหญ้าไปอาจจะทำให้สวนดูไม่สวยงามน่ามองได้ ในส่วนของทางธรรมชาตินั้นหญ้ามีส่วนช่วยในเรื่องของการป้องกันหน้าดินไม่ให้พังทลายลงมาในช่วงหน้าฝน เห็นได้เลยว่าเหมือนจะไม่มีประโยชน์ แต่กับสร้างผลประโยชน์ให้กับตัวเองได้ไม่ยากเลย อีกทั้งหญ้าในปัจจุบันก็มีรูปแบบที่แตกต่างออกไป ไม่ว่าจะเป็นหญ้าสำเร็จรูป หรือหญ้าเทียมที่เป็นแผ่นๆ เพื่อสะดวกต่อการใช้งานในการปูสนามหญ้า ซึ่งก็มีราคาที่แตกต่างกันที่ความนิยมออกไปด้วย อย่ามองว่าหญ้าเป็นเพียงวัชพืชกันเลย จริงๆ แล้วก็มีประโยชน์ในตัวเหมือนกัน
หลายๆ คนอาจจะมองแค่ว่าหญ้านั้นจะเหมาะกับสวนหน้าบ้าน อยู่ใต้เท้าเรา คอยให้เราได้เดินแบบสบายๆ ไม่ต้องสัมผัสกับดินโดยตรง แต่ถ้าหญ้าเข้ามาเกี่ยวกับเกษตรกร หรือนักกีฬา ก็อาจจะถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างมาก แต่ถ้าอยู่ในเขตตัวเมืองอาจจะมองเรื่องหญ้าเป็นเรื่องเล็กน้อย หรือไม่ได้ให้ความสำคัญเลยก็ได้ เพราะชีวิตในเมืองนั้นไม่ค่อยมีหญ้าให้พบเห็นมากนัก
ประเภทของหญ้า
หญ้าเองก็มีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นหญ้าแบบสำเร็จรูปที่ใช้ตกแต่งสวนเป็นแผ่นๆ หรือหญ้าเทียมที่นิยมนำมาใช้ในสนามฟุตบอล หญ้าแพรก หญ้าคา หญ้าหมัก รวมไปถึงดอกหญ้า หรือดอกธูปฤาษี เป็นต้น โดยปกติแล้วหญ้านั้นมีหลายสกุลมากทั่วโลก ที่สำคัญหญ้าก็ไม่ใช่แค่เพียงพื้นสีเขียวหรือสนามหญ้าธรรมดา นอกจากนี้ข้าวโพด หรือพืชตระกูลถั่วเอง ก็อยู่ในพวกตระกูลหญ้าเช่นกัน
แต่สำหรับหญ้านั้นถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งเลยก็ว่าได้ เพราะว่าปัจจุบันมีการนำหญ้าที่เป็นแผ่นหญ้าแท้และหญ้าเทียมมาใช้ในการทำพื้นสนามฟุตบอล สนามหญ้า รวมไปถึงอาหารสัตว์ ที่จำเป็นจะต้องใช้หญ้า ถือได้ว่าหญ้าไม่ใช่แค่พืชธรรมดาทั่วไป หรือจัดว่าเป็นวัชพืชเพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ปัจจุบันก็ได้มีการนำหญ้ามาใช้ในเรื่องของการสร้างพลังงานทดแทน หรือพลังงานธรรมชาติ ที่เป็นพลังงานสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยหญ้าที่นำมาใช้นั้นจะเป็นหญ้าสกุลในต่างประเทศ คือ หญ้ามิสแคนทัส และหญ้ามิสแคนทัสช้าง เป็นสกุลหญ้าที่นิยมนำมาใช้ในเรื่องของพลังงานทดแทนในหลายประเทศ ก็เริ่มมีการนำหญ้าชนิดนี้มาใช้กันมากขึ้นด้วย
สภาพพื้นที่ปลูกหญ้าแฝก
เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วว่าหญ้าแฝกนั้นคืออะไร หญ้าแฝกเป็นหญ้าที่จัดอยู่ในพื้นที่เขตร้อน ถ้าเป็นเมืองไทยนั้นสามารถพบหญ้าแฝกได้ทั่วไปตามธรรมชาติจากพื้นที่ราบลุ่มถึงที่ดอน หญ้าแฝกนั้นสามารถขึ้นได้กับทุกสภาพดิน โดยจะเป็นพืชหญ้าที่ขึ้นเป็นกอหญ้า และมีความหนาแน่น การเติบโตนั้นสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และจะค่อยๆ แตกกอออก หญ้าแฝกนั้นจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 30 เซนติเมตร โดยความสูงจากยอดประมาณ 0.5 ถึง 1.5 เมตร ใบจะแคบ และความยาวใบประมาณ 70-75 เซนติเมตร ความกว้างประมาณ 8 มิลลิเมตร และค่อนข้างแข็ง
นอกจากนี้ถ้านำหญ้าแฝกมาปลูกติดๆ กันเป็นเหมือนแนวรั้ว จะสามารถกรองเศษพืชและตะกอนดินได้เป็นอย่างดี ซึ่งจะช่วยกรองตะกอนดินที่เกิดจากการพัดของกระแสน้ำในช่วงหน้าฝนตกมาทับถมกันตามธรรมชาติของดินตามกอหญ้าแฝก และหญ้าแฝกเองก็เป็นพืชที่มีระบบรากค่อนข้างลึก และเจริญเติบโตในแนวดิ่งมากกว่าที่จะออกทางด้านข้าง และมีจำนวนรากมาก จึงเป็นพืชที่สามารถทนต่อสภาพอากาศแล้งได้เป็นอย่างดี
โดยถ้าปลูกเป็นแนวรั้วใกล้ๆ กัน ตัวรากของหญ้าแฝกนั้นจะสามารถเชื่อมติดกันจนแน่นได้ ซึ่งตรงนี้เองที่มีส่วนช่วยในการป้องกันการพังทลายของหน้าดินในช่วงฤดูฝน หรือการเกิดน้ำป่าตามแนวเขาได้เป็นอย่างดี อีกทั้งตัวหญ้าแฝกนั้นยังมีส่วนช่วยในการเก็บความชุ่มชื้นในดินและเก็บน้ำได้ดีอีกด้วย โดยรากนั้นจะแผ่ขยายออกไปประมาณ 50 เซนติเมตร ของรอบกอเท่านั้น และจะไม่เป็นอุปสรรคต่อพืชข้างเคียงอย่างแน่นอน ซึ่งการปลูกหญ้าแฝกนั้นก็นับว่าเป็นตัวช่วยในเรื่องของการอนุรักษ์น้ำได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของดินด้วย เพราะว่าจะทำให้ดินนั้นมีความชุ่มชื้นได้นานขึ้น
นอกจากนี้ยังช่วยรักษาหน้าดินในการปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ได้อีกเช่นกัน ซึ่งการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำนั้นเป็นวิธีที่สามารถทำได้ง่าย วิธีการดังกล่าวนั้นจะช่วยนำไปสู่การพัฒนาระบบเกษตรกรรมให้มีพื้นที่ในการใช้น้ำได้นานขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถนำวิธีการดังกล่าวไปใช้กับพื้นที่ที่มีปัญหาในเรื่องของความแห้งแล้งได้เป็นอย่างดี ซึ่งหญ้าแฝกจะช่วยรักษาทางน้ำไม่ให้หมดไปได้โดยเร็ว สำหรับหญ้าแฝกที่ปลูกตามแนวสันเขาเพื่อช่วยรักษาหน้าดินแล้ว ยังสามารถนำไปปลูกตามรอบอ่างเก็บน้ำ ข้างทางคลองชลประทาน บ่อน้ำ ในป่าไม้ คอสะพาน หรือแม้แต่ไหล่ถนน ตามข้างทาง ได้เช่นกัน
สายพันธุ์หญ้าแฝก
หลายๆ คนอาจจะคิดว่าหญ้าแฝกนั้นเป็นหญ้าธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ แต่จริงๆ แล้วหญ้าแฝกนั้นมีสายพันธุ์เหมือนกับพืชหรือต้นไม้ทั่วๆ ไป โดยหญ้าแฝกนั้นเราสามารถที่จะแยกได้ออกเป็น 2 ประเภท ด้วยกัน คือ หญ้าแฝกลุ่ม กับหญ้าแฝกดอน
–หญ้าแฝกลุ่ม โดยมีการสันนิษฐานว่าเป็นหญ้าแฝกที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย และมีการนำมาเพาะขยายพันธุ์ปลูกในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยลักษณะของหญ้าแฝกลุ่มนั้นจะเป็นกอพุ่มที่มีขนาดใหญ่ ความยาวของใบประมาณ 45-100 เซนติเมตร โดยสายพันธุ์นี้จะมีไขที่เคลือบเป็นอย่างมาก ทำให้ใบนั้นจะมีความเนียนและนุ่ม ส่วนของรากนั้นจะลงลึกได้ถึง 1 เมตร หรือขึ้นอยู่กับสภาพดิน
นอกจากนี้กลุ่มหญ้าแฝกชนิดนี้จะมีรากที่หอม เนื่องจากว่าหญ้าแฝกลุ่มนั้นในส่วนของรากจะมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งเป็นสารจำพวก Alkaloids จึงทำให้มีอีกชื่อว่า หญ้าแฝกหอม ด้วยเช่นกัน โดยหญ้าแฝกลุ่มนั้นจะมีการปลูกในพื้นที่ลุ่มซึ่งมีความชุ่มชื้นและมีน้ำขัง ในเมืองไทยนั้นจะแบ่งออกเป็น 11 กลุ่ม คือ กำแพงเพชร 2, สงขลา 1, 2 และ 3 ตรัง 1 และ 2
–หญ้าแฝกดอน โดยหญ้าแฝกดอนนั้นมีถิ่นกำเนิดในเมืองไทย รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง ลาว เขมร รวมไปถึงเวียดนาม ซึ่งสามารถพบเจอได้ตามธรรมชาติทั่วไป มีลักษณะเป็นกอพุ่ม รูปร่างใบยาว ปลายใบแหลม แต่ปลายใบจะโค้งลงเหมือนกอของต้นตะไคร้ และเนื้อใบจะมีไขเคลือบน้อย จึงทำให้สากกว่าแบบลุ่ม ในส่วนของรากนั้นจะค่อนข้างสั้นประมาณ 80-100 เซนติเมตร และไม่มีกลิ่นหอม สำหรับหญ้าแฝกดอนนั้นส่วนใหญ่แล้วมักจะพบในพื้นที่แห้งแล้ง หรือตามธรรมชาติแนวเขา
ข้อดีของหญ้าแฝก
หญ้าแฝกนั้นนับได้ว่าเป็นหญ้าที่มีความมหัศจรรย์เป็นอย่างมาก เพราะถ้าปลูกในพื้นที่รอบๆ คันนา หรือพื้นที่สวนที่มีการสร้างคันดินนั้น นอกจากจะช่วยในเรื่องของการรักษาหน้าดินแล้ว ยังช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดินได้เป็นอย่างดี จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมหญ้าแฝกถึงได้รับความนิยม และเป็นหญ้าที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานให้เกษตรกรหันมาปลูกตามแนวคันดิน
หญ้าแฝกที่เป็นตัวช่วยในการพังทลายของหน้าดินแล้ว ตรงระบบรากนี้เองที่เป็นตัวช่วยอย่างดี ถือได้ว่าเป็นความพิเศษของหญ้าแฝกเลยก็ว่าได้ เพราะว่าหญ้าแฝกนั้นจะมีระบบรากที่มีขนาดใหญ่ และมีความแตกต่างระหว่างรากทั่วไปเป็นอย่างมาก จึงได้ถูกนำมาใช้ในการป้องกันหน้าดินได้เป็นอย่างดี ซึ่งระบบรากทั่วไปของหญ้านั้นจะเป็นลักษณะที่เป็นรากฝอยแตกออกจากส่วนลำต้นใต้ดิน และกระจายออกเป็นวงกว้างเพื่อที่จะยึดให้ชั้นดินไปตามแนวนอน และทำให้ดินมีความเกาะตัวกันมากขึ้น อีกทั้งบางส่วนของรากเองนั้นสามารถเจริญเติบโตในแนวดิ่งได้อีกด้วย
แต่ระบบรากของหญ้าแฝกนั้นจะเป็นระบบรากฝอยที่มี 2 ขนาด คือ เส้นโต และเส้นเล็ก ซึ่งถ้าเป็นรากฝอยขนาดเล็ก แต่มีเส้นที่โต จะมีความแข็งแรงและเหนียว สามารถเจาะลึกลงไปใต้ดินได้เป็นอย่างดี แต่เส้นเล็กก็จะมีการแตกแขนงออกไปจากเส้นใหญ่อีกทีหนึ่ง โดยจะมีการประสานกันคล้ายกับแหเพื่อช่วยในการยึดเกาะดินให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น และในส่วนของความยาวรากนั้นส่วนใหญ่แล้วหญ้าแฝกจะมีความยาวของรากประมาณ 2-2.5 เมตร ซึ่งจะต่างจากหญ้าคาที่มีความยาวเพียง 50 เซนติเมตร เท่านั้น
การปลูกและบำรุงดูแลหญ้าแฝก
สำหรับการปลูกหญ้าแฝกให้ได้ผลดีนั้นจะต้องเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับการที่จะนำมาปลูก อีกทั้งวิธีการปลูก และรูปแบบในการปลูกหญ้าแฝกนั้นก็จะให้ผลต่างกันด้วย โดยมีข้อมูลจากกรมพัฒนาการจัดการที่ดินให้คำแนะนำว่าถ้าต้องการปลูกหญ้าแฝกเพื่อที่จะทำเป็นแนวป้องกันการพังทลายของหน้าดินจะต้องปลูกหญ้าแฝกให้เป็นแนวเดียวกัน หรือแถวเดียวกัน ตามแนวระดับของความลาดชันของพื้นที่นั้นๆ โดยจะปลูกเป็นช่วงๆ แถวของหญ้าแฝกนั้นจะต้องปลูกให้ถี่ สำหรับกล้ารากเปลือยก็ต้องปลูกให้ห่างกันประมาณ 5 เซนติเมตร
นอกจากนี้เรายังสามารถที่จะปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้แก่ดินได้อีกด้วย โดยการปลูกนั้นจะเป็นปลูกระหว่างพืชหรือผลไม้ โดยจะปลูกหญ้าแฝกทุกๆ แถวพืช หรือเว้น 1-2 แถว แล้วค่อยปลูกหญ้าแฝกอีก 1 แถว ก็ได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ถ้าปลูกเพื่อปรับปรุงพื้นที่เสื่อมโทรม เช่น นากุ้งร้าง หรือพื้นที่รกร้าง อาจจะต้องอาศัยการปลูกให้เต็มทั้งพื้นที่ โดยมีระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 50×50 เซนติเมตร ก็ได้เช่นกัน
ในการปลูกหญ้าแฝกนั้นอาจจะต้องปลูกในช่วงต้นฤดูฝนเป็นหลัก เพราะจะทำให้หญ้าแฝกนั้นสามารถที่จะตั้งตัวได้ค่อนข้างเร็ว การดูแลก็จะรักษาไม่ยากด้วย โดยให้รดน้ำทุกๆ 2 สัปดาห์ หรือ 15 วัน ต่อครั้ง ในช่วงฤดูแล้ง และใส่ปุ๋ยหมัก 1 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝน และค่อยทยอยกำจัดวัชพืชตามความเหมาะสม ซึ่งการปลูกหญ้าแฝกนั้นไม่ใช่เพื่อช่วยแต่รักษาหน้าดินเท่านั้น แต่ใบของหญ้าแฝกยังสามารถนำไปใช้ในการมุงหลังคา ทำกระดาษ เชือก เสื่อ เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการทำเป็นอาหารสัตว์ จำพวกโค กระบือ รวมไปถึงใช้เป็นวัสดุในการช่วยคลุมดินได้ นำมาทำปุ๋ยหรือช่วยในการเพาะเห็ดได้ด้วย
นอกจากนี้หญ้าแฝกหรือหญ้าหอม ในส่วนของรากนั้นสามารถนำมาทำเป็นสบู่ หรือน้ำหอม ได้อีกด้วย หญ้าแฝกจึงถือได้ว่าเป็นหญ้าที่มีประโยชน์อย่างมาก ทั้งช่วยในเรื่องของการรักษาหน้าดินหรือดิน และยังสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้อีกทางหนึ่งด้วย
การปลูกหญ้าแฝกนั้นเราต้องมาดูจุดประสงค์ก่อนว่าเราจะปลูกเพื่อใช้งานในด้านอะไร และปลูกไว้ทำอะไร โดยการปลูกหญ้าแฝกนั้นสามารถปลูกได้ทั้งในป่าไม้ ตามแนวสันเขา และรอบคูน้ำ เป็นต้น โดยแยกวิธีการปลูกในรูปแบบต่างๆ ได้ดังนี้
-การปลูกเพื่อใช้ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน โดยวิธีการปลูกนั้นจะนำหญ้าแฝกมาปลูกตามแนวขวางตามความลาดชันของพื้นที่ โดยให้ห่างต่อต้นประมาณ 15-20 เซนติเมตร และระหว่างแถวขึ้นไปอยู่ที่ความลาดชันของพื้นที่ด้วย แต่ถ้าความลาดชันมากแถวอาจจะถี่ขึ้นประมาณ 3-5 เมตร ถ้าความลาดชันไม่มากก็ห่างประมาณ 10-20 เมตร
-การปลูกหญ้าแฝกตามลำห้วยเพื่อใช้ดักตะกอนดิน โดยวิธีการปลูกแบบนี้จะใช้วิธีการปลูกแบบสลับฟันปลา ให้ความห่างระหว่างต้นประมาณ 15-20 เซนติเมตร และระหว่างแถวประมาณ 1 ฟุต อาจจะแบ่งเป็น 5-10 ตามแต่ละพื้นที่
-การปลูกหญ้าแฝกเพื่อปรับสภาพความเสื่อมโทรม ให้นำหญ้าแฝกมาปลูกเป็นแถวแนวสลับฟันปลา โดยให้ระยะห่างระหว่างต้นประมาณ 10-15 เซนติเมตร และระหว่างแถวประมาณ 1-2 ฟุต จนเต็มพื้นที่
การปลูกหญ้าแฝกนั้นควรจะปลูกในช่วงฤดูฝน คือ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน และให้ใส่ปุ๋ยบำรุงหญ้าไปด้วย เพราะจะช่วยให้หญ้าแฝกนั้นโตได้เร็ว โดยปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยไดแอมโมเนี่ยมฟอสเฟต และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ประมาณครึ่งช้อนชาต่อต้น โดยให้ใส่ปุ๋ยปีละ 2 ครั้ง
สำหรับการตัดแต่งต้น หญ้าแฝก นั้นควรตัดแต่งอย่างสม่ำเสมอ ทุกๆ 3-4 เดือน เพื่อป้องกันไม่ให้ หญ้าแฝก ออกดอก และยังเป็นการควบคุม หญ้าแฝก ไม่ให้สูงเกินไป ทำให้ หญ้าแฝก นั้นชิดกันมากที่สุด เพื่อเป็นกำแพงในการป้องกันการพังทลายของดิน และช่วยในการกรองดินได้อย่างเต็มที่ และสุดท้ายก็ควรจะดายหญ้าหรือวัชพืชในระยะแรกที่ปลูก ในการดายวัชพืชนั้นจะช่วยให้ หญ้าแฝก นั้นสามารถเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี และแตกหน่อได้เร็ว
ประเภทของหญ้าหมัก
หญ้าหมักคืออะไร คือ หญ้าที่เหมาะแก่การนำมาทำเป็นอาหารของสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นช้าง ม้า วัว โค กระบือ ฯลฯ โดยหญ้าหมักนั้นจะเก็บรักษาไว้ในสภาพพื้นที่ที่มีความชื้นสูงในที่ไม่ค่อยจะมีอากาศมากนัก ซึ่งวิธีการเก็บถนอมแบบนี้จะช่วยให้หญ้าหมักนั้นสามารถเก็บไว้ได้เป็นเวลานาน โดยยังคงมีส่วนประกอบและคุณค่าทางอาหารอยู่ครบถ้วน ซึ่งเป็นหญ้าสำหรับอาหารสัตว์ในช่วงที่หญ้าเริ่มมีการขาดแคลนด้วย
โดยหญ้าหมักนั้นจะมีการแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
-หญ้าหมักแบบสด
-หญ้าหมักแบบแห้ง
หญ้าหมักแบบสด คือ หญ้าที่หมักจากการใช้พืชสด มีความชื้นที่สูงที่เกิดจากการตัดโดยตรงแล้วนำมาหมัก
หญ้าหมักแบบแห้ง คือ หญ้าที่ได้จากการที่ใช้พืชสดนำมาผึ่งแดดในระยะสั้น เพื่อให้ความชื้นนั้นออกไปประมาณ 25-55 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณความชื้นในตัวหญ้า แล้วค่อยนำมาลงภาชนะสำหรับการหมักทีหลัง ที่สำคัญต้องสับให้สั้นเพื่อให้เกิดการอัดแน่นได้ดี เนื่องจากว่าปริมาณความชื้นนั้นต่ำกว่าปกติ การเก็บหญ้าประเภทนี้ต้องมีวิธีการเก็บหรือเก็บใส่ภาชนะให้ดีเพื่อป้องกันไม่ให้อากาศนั้นเข้าไปได้
การทำหญ้าหมัก
ปัจจัยที่ช่วยในเรื่องของการควบคุมคุณภาพของหญ้าหมัก ชนิดของพืชที่เหมาะสมนั้นควรจะเลือกพืชที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาลสูงกว่า 6 เปอร์เซ็นต์ เพราะว่าจะช่วยเป็นจุลินทรีย์ในอาหารที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการหมัก อีกทั้งลักษณะของต้นพืชที่มีการนำมาใช้นั้นควรจะมีลำต้นติดมาด้วยเล็กน้อย เพื่อเป็นการลดช่องว่าง หรือช่องอากาศภายในให้น้อยที่สุด
ในการตัดพืชตระกูลที่คล้ายกับหญ้านั้น ในการตัดแต่ละครั้งจะต้องตัดในช่วงที่พืชชนิดนั้นโตพอ หรือมีช่วงอายุที่เหมาะสมแล้ว เพราะว่าจะได้ธาตุอาหารที่มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ และการหมักแต่ละครั้งนี้จะต้องมีความชื้นประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ จะช่วยให้มีความอัดแน่นมากขึ้น ไล่อากาศได้ง่ายขึ้น และไม่ทำให้เกิดเชื้อราในพืช หากพืชที่นำมาทำหญ้าหมักนั้นมีความชื้นที่สูงเกินไป ก่อนที่จะนำมาหมักก็อาจจะใช้วิธีการผึ่งแดดก่อนก็ได้เช่นกัน โดยผึ่งแดดประมาณ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งสารช่วยหมักนั้นเป็นสารที่ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำตาล และลดความชื้น ทำให้เกิดกรดแลค ติกเร็วขึ้น และเพิ่มความน่ากินมากขึ้น ก็คือ กากน้ำตาล และรำละเอียด เป็นต้น
ข้อดีและข้อเสียของการทำหญ้าหมัก
การทำหญ้าหมักนั้นก็มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ต่างกันไม่มากนัก โดยข้อดีของการทำหญ้าหมักนั้นสามารถทำได้ทุกฤดูกาลที่เหมาะสม สามารถใช้ทุกส่วนให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด ใช้พื้นที่ในการเก็บรักษาได้น้อย ลดความเสี่ยงจากอัคคีภัย สามารถเก็บรักษาได้นาน แต่ข้อเสีย คือ เกษตรกรจะใช้วิธีนี้จะต้องมีความรู้ ความชำนาญ เพราะถ้าไม่มีความรู้เลยจะเสียเวลา และสิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์ อีกทั้งถ้าทำไม่ดีอาจจะทำเกิดราได้ง่าย ซึ่งถ้าเกิดราเมื่อไหร่ ถ้านำมาใช้จะทำให้หญ้าหมักนั้นเสียหายได้ง่ายมากขึ้น
วิธีการทำหญ้าหมักเพื่อเป็นอาหารสัตว์
หญ้าหมักนั้นอาจจะไม่ได้เป็นหญ้าเพียงอย่างเดียว โดยลักษณะการปลูกหญ้าหมักนั้น คือ การปลูกพืชตระกูลหญ้า ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพด หรือพืชตระกูลถั่ว ซึ่งวิธีการปลูกข้าวโพดและถั่วนั้นเรามีบอกรายละเอียดไว้ในบทความด้านอื่นๆ แล้ว ลองศึกษาได้ เพราะว่าข้าวโพดและถั่วนั้นสามารถนำมาใช้ในการทำเป็นหญ้าหมักเพื่อเป็นอาหารสัตว์ได้
การทำหญ้าหมักเพื่อเป็นอาหารสัตว์ หญ้าหมักเพื่อเป็นอาหารสัตว์นั้นควรจะหั่นหรือสับหญ้า หรือวัตถุดิบที่มาทำให้มีขนาดเล็กประมาณ 2-3 เซนติเมตร หลังจากที่หั่นหรือสับเรียบร้อยแล้วก็ให้นำมาใส่ภาชนะเพื่อเตรียมการหมัก ซึ่งภาชนะที่ใช้นั้นอาจจะเป็นบ่อซีเมนต์ หรือหลุม ก็ได้ โดยอัดให้แน่นเพื่อไล่อากาศออกให้หมด ในขณะที่บรรจุวัตถุดิบลงในภาชนะให้ละลายกากน้ำตาลตาม และพรมให้ทั่วๆ เพื่อที่จะช่วยให้การหมักหญ้านั้นดียิ่งขึ้น
แต่ในกรณีที่หากากน้ำตาลไม่ได้ หรือไม่ทัน ก็อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ก็ได้เช่นกัน จากนั้นให้ทำการปิดภาชนะที่บรรจุหญ้า หรือวัตถุดิบที่ใช้ในการทำหญ้าหมักให้เรียบร้อย อาจจะเป็นแผ่นพลาสติกหรือวัสดุอะไรก็ได้ที่สามารถปิดได้สนิทและมิดชิด จากนั้นก็โรยทับด้วยทรายเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำและอากาศเข้าไปได้ หลังจากที่ปิดภาชนะไว้แล้ว ประมาณ 3-4 สัปดาห์ หญ้าและวัตถุดิบเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนเป็นหญ้าหมักที่สามารถนำมาเป็นอาหารสัตว์ได้
หญ้าหมักที่ดีนั้นจะสามารถเก็บไว้ได้นาน โดยมีคุณค่าทางอาหารที่เหมาะสมและไม่เปลี่ยนแปลง ถ้าเลี้ยงโคนมก็ควรใช้หญ้าหมักไม่เกิน 15 กิโลกรัมต่อวัน และควรให้หลังการรีดนมไปแล้ว แต่ถ้าเพิ่งเริ่มให้หญ้าหมัก หรือนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ ก็ควรมีการแบ่งให้วันละน้อย และค่อยๆ เพิ่มขึ้น เมื่อสัตว์เลี้ยงเริ่มมีการปรับตัวและชิน
ลักษณะหญ้าหมักที่ดี หญ้าหมักที่ดีนั้นควรมีกลิ่นหอมเปรี้ยว และไม่เหม็นเน่า อีกทั้งเนื้อพืชหรือหญ้าที่นำมาทำเป็นหญ้าหมักนั้นจะต้องไม่เป็นเมือก และไม่เละ หญ้าหมักควรมีสีเขียวอมเหลือง หรือมีสีสด และรสเปรี้ยวพอดี ไม่มีเชื้อราขึ้น หรือเริ่มบูดเน่า จึงจะเหมาะกับการนำมาใช้เป็นหญ้าหมักเพื่ออาหารสัตว์ได้
ข้อควรระวังในการทำหญ้าหมักเพื่อเป็นอาหารสัตว์
ในการทำหญ้าหมักนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ประหยัดในเรื่องของค่าอาหารสัตว์ แต่ก็ต้องมีความระมัดระวังในช่วงการทำหญ้าหมัก
-การอัดหญ้าหมักนั้นจะต้องอัดให้แน่นเพื่อไม่ให้มีอากาศอยู่ภายในหญ้าหมักที่อัดลงไปในภาชนะ ต้องไล่อากาศออกมาให้มากที่สุด เพราะถ้าไม่มีอากาศภายในจะช่วยให้การหมักนั้นทำงานได้ดี และหญ้าหมักจะเสียน้อย
-ต้องปิดภาชนะที่ใช้ในการหมักให้สนิทและมิดชิด เพื่อไม่ให้อากาศนั้นสามารถเข้าไปได้
-เมื่อเปิดภาชนะที่ใช้ในการหมักหญ้าแล้ว ควรจะใช้ให้หมดในระยะเวลาอันสั้น และตอนเปิดภาชนะนั้นอย่าเปิดให้กว้างมาก เพื่อเป็นการป้องกันให้หญ้าหมักนั้นเสื่อมได้ช้าลง
-หญ้าหมักนั้นไม่ควรจะนำมาใช้ในที่ที่มีความชื้นสูงมาก เพราะจะทำให้เกิดน้ำในภาชนะหมักมากเกินไป และจะทำให้เก็บได้ไม่นาน
ฝากถึงเกษตรกรที่สนใจปลูก หญ้าแฝก
หญ้าแฝก นั้นถือว่าเป็นหญ้าที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นหญ้าที่สามารถขึ้นได้ทั่วไป อีกทั้งยังปลูกได้ง่าย และไม่ยุ่งยากในการดูแล นอกจากนี้ตัว หญ้าแฝก เองก็ถือได้ว่าเป็นตัวช่วยในเรื่องของการพังทลายของหน้าดินได้เป็นอย่างดี เพราะมีรากที่มีความสมบูรณ์และแข็งแรง คอยช่วยยึดเกาะหน้าดินไม่ให้ไหลไปกับน้ำในช่วงที่น้ำท่วม หรือช่วงน้ำหลากได้ เห็นได้เลยว่าเป็นหญ้าที่มีประโยชน์อย่างมาก เกษตรกรสามารถนำมาใช้ในสวนเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับดิน และเป็นการป้องกันหน้าดินได้ด้วยเช่นกัน
เรื่องของ หญ้าแฝก ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจอีกมากมาย เพราะว่า หญ้าแฝก นั้นถือได้ว่าเป็นหญ้าที่ได้รับการพิจารณา และพระราชทานคำแนะนำจากในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อให้เกษตรกรได้มีพื้นที่ที่ทำกิน และป้องกันการพังทลายของดินได้เป็นอย่างดี ถือว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ข้อมูลบางส่วนอาจจะหาเพิ่มเติมได้ ทั้งในอินเตอร์เน็ต และภายนอกได้ ถือเป็นเรื่องราวดีๆ ที่นำมาแบ่งปันให้ได้ทราบกัน
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.baanjomyut.com/library_5/agricultural_knowledge/livestock/20.html,http://puparn.rid.go.th/soilnew/plants.html,https://www.ku.ac.th/e-magazine/aug49/agri/grass.htm,http://www.chaipat.or.th/site_content/item/1298-2010-06-01-08-04-07.html