ในเมืองไทยนั้นมีต้นไม้และพืชอยู่หลากหลายชนิด ทำให้มีการแตกแยกสายพันธุ์พืชออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งพืชตระกูลไผ่เองก็มีหลากหลายชนิดและหลายสายพันธุ์ให้ได้รู้จักกัน ไผ่เลี้ยง ก็ถือว่าเป็นพืชตระกูลไผ่อีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย อีกทั้งพืชตระกูลไผ่เองก็ถือได้ว่าเป็นพืชที่มีความเป็นมาที่ยาวนานสำหรับเมืองไทย เพราะถือว่าเป็นต้นไม้ที่มีความคงทนต่อสภาพอากาศเลย สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายด้านด้วย การปลูกไผ่เลี้ยง
การปลูกไผ่เลี้ยง
ไผ่เลี้ยงนั้นเป็นไผ่อีกหนึ่งชนิดที่เริ่มได้รับความนิยมในการปลูกเป็นอย่างมากในช่วงระยะเวลาหลังๆ ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นพืชที่มีความคงทนเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังปลูกได้ง่าย และดูแลรักษาง่าย โตไว และให้ผลผลิตที่ดี จึงได้รับความนิยมในการปลูก อีกทั้งไผ่เลี้ยงยังมีประโยชน์และสามารถบริโภคได้ จึงไม่แปลกที่จะได้รับความนิยมในช่วงหลังๆ ถือว่าเป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่กำลังเป็นที่สนใจให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าไผ่เลี้ยงจะเป็นพืชที่ปลูกง่าย และโตได้เร็ว แต่การจะปลูกไผ่เลี้ยงนั้นก็ต้องมีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกไผ่ด้วย เพราะว่าเป็นพืชที่โตเร็ว ทำให้การขยายพันธุ์และเติบโตนั้นทำได้ค่อนข้างเร็ว การมีพื้นที่จำกัดนั้นจำเป็นจะต้องคอยหมั่นดูแลต้นไผ่เพื่อไม่ให้โตมากจนเกินไป แต่ถ้าใครมีพื้นที่จะปลูกให้โตเลยก็ได้ เพราะว่าต้นไผ่นั้นยิ่งปลูกมากก็จะช่วยสร้างร่มเงาให้แก่เราได้ด้วยนั่นเอง
ในเมืองไทยนั้นไผ่ถือว่าเป็นต้นไม้หรือพืชที่ได้รับความนิยมในการนำมาสร้างเป็นอุปกรณ์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นแคร่ สร้างเป็นฝายกั้นน้ำ สร้างบ้าน สร้างกระท่อม นำมาสร้างเป็นอุปกรณ์การใช้งานต่างๆได้อย่างมากมาย ถือว่าเป็นต้นไม้ที่มีประโยชน์ต่อมนุษย์เราเป็นอย่างมากเลยทีเดียว นอกจากจะนำมาใช้งานแล้ว ไผ่เลี้ยงก็ถือว่าเป็นพืชตระกูลไผ่อีกหนึ่งชนิดที่เราสามารถนำมาบริโภคได้ด้วย ซึ่งในการบริโภคของไผ่เลี้ยงนั้นถือว่าไม่ธรรมดาเลยทีเดียว โดยรสชาติของไผ่เลี้ยงนั้นจะมีรสชาติที่อร่อย และไม่ขมจัด
ซึ่งปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดเชียงรายนั้นเป็นจังหวัดที่มีความต้องการเป็นอย่างมาก แต่ในเรื่องของการปลูกยังไม่แพร่หลายมากนัก แต่ผลผลิตนั้นกลับเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก ซึ่งไผ่เลี้ยงนั้นเป็นไผ่ที่มีลักษณะไม่เหมือนไผ่ทั่วไป คือ จะไม่มีหนาม หรือขนระคายเคือง เหมือนไผ่ชนิดอื่นๆ อีกทั้งยังมีความพิเศษอีกอย่าง คือ ไผ่เลี้ยงนั้นสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้ทุกวันเลยทีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วผู้บริโภคจะนิยมนำมาทำอาหาร หรือดอง หรืออัดปี๊บ ก็ได้เช่นกัน ถือได้ว่าเป็นไผ่อีกหนึ่งชนิดที่เริ่มได้รับความนิยมทั้งในการนำมาแปรรูปเป็นอาหาร และการนำไปใช้ประโยชน์เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ ได้อย่างมากมาย
ลักษณะทั่วไปของไผ่เลี้ยง
–ลำต้น ถือว่าเป็นไผ่อีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสามารถนำมารับประทานสดได้ เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนยาว มีเหง้าอยู่ใต้ดิน และแตกออกขึ้นเป็นกอเหนือพื้นดิน นอกจากนี้ยังมีกาบที่หุ้มหน่อสีเหลืองอมเขียว มีลำต้นเป็นปล้องๆ โดยจะแบ่งเป็นสองส่วน คือ ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน และลำต้นเหนือดิน
อีกทั้งยังมีหน่ออ่อนแตกเหง้าออกจากดิน มีลำต้นที่สูงผอมเรียว มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีลักษณะทรงกลมยาวมีข้อปล้อง และยังมีรากอากาศที่ขึ้นอยู่บริเวณรอบๆ ข้างในกลมกลวงด้วย หน่อที่อยู่ใต้ดินนั้นสามารถนำมารับประทานได้ มีเนื้อที่ฉ่ำแน่น มีรสชาติหวาน มัน อร่อย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ไม่มีหนาม และแตกกิ่งตลอดทั้งลำต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำมาทำเป็นเครื่องจักสานได้ด้วย
–ราก ในส่วนของรากในไผ่เลี้ยงนั้นจะเป็นระบบรากแก้ว มีรากฝอยมีลักษณะฝอยเล็กๆ แผ่ขยายออกรอบๆ มีเหง้าใต้ดินเป็นสีน้ำตาล
–ใบ สำหรับใบไผ่เลี้ยงจะเป็นใบเดียว มีก้านใบที่ยาวออกไป ออกตามข้อถึงปลายยอด ออกเรียงสลับกันไป และยังออกเรียงเวียนรอบๆ ข้อของลำต้น มีก้านใบย่อย ใบจะมีลักษณะเป็นทรงรีเรียวยาวและเล็ก
–ดอกและผล ดอกของไผ่เลี้ยงจะออกเป็นช่อ ออกดอกตามกิ่ง ตามซอกใบ ก้านดอกยาว มีดอกย่อยอยู่กันเป็นกระจุก และจะมีลักษณะทรงยาวรีเล็ก กลีบดอกมีสีเหลืองนวล และมีก้านสีเขียว นอกจากนี้จะมีผนังของผลเชื่อมติดกับส่วนเปลือกของเมล็ด มีลักษณะรีเล็กๆ และมีเมล็ดที่สีน้ำตาล
สายพันธุ์ไผ่เลี้ยง
สำหรับสายพันธุ์ของไผ่เลี้ยงนั้นก็จะแบ่งได้ประมาณ 2 ชนิด คือ ไผ่เลี้ยงพันธุ์หนัก และไผ่เลี้ยงพันธุ์เบา ซึ่งทั้ง 2 สายพันธุ์ต่างก็มีความแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อย
- ไผ่เลี้ยงพันธุ์หนัก ไผ่สายพันธุ์นี้จะเป็นไผ่ที่ให้ผลผลิตหน่อได้ตามปกติอยู่แล้ว ในช่วงฤดูฝนประมาณเดือน
มิถุนายน-สิงหาคม ซึ่งต่างจากไผ่ชนิดอื่นที่จะให้ผลผลิตแค่เฉพาะในช่วงนี้เท่านั้น หรืออาจจะให้ได้น้อยกว่าบ้าง แต่ถ้านำหน่อไผ่เลี้ยงพันธุ์หนักไปผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดู หรือต้นฤดูฝน ก่อนที่ผลผลิตหน่อจะออกตามฤดูกาลจะออกมานั้น จะทำให้สามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงกว่าไผ่ที่ออกตามฤดูกาลนั้นๆ แต่จะต้องมีการบำรุงรักษาอย่างดี และค่อนข้างยาก ต้นทุนสูง ผลผลิตที่ได้น้อยมาก และไม่ค่อยจะคุ้มทุนมากนัก จึงไม่นิยมปลูกพันธุ์นี้ในนอกฤดูกาลเท่าไหร่
- ไผ่เลี้ยงพันธุ์เบา ถือว่าเป็นไผ่เลี้ยงสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตตั้งแต่หน่อไผ่ในช่วงฤดูฝนเช่นกัน แต่ไผ่เลี้ยงพันธุ์เบานั้น
จะสามารถผลิตเป็นไผ่นอกฤดูกาลได้เป็นอย่างดี โดยลักษณะเด่นนั้น คือ การที่ปลูกได้ง่าย บำรุงรักษาได้ง่าย ยิ่งได้น้ำและปุ๋ยที่ดีจะให้ผลผลิตหน่อได้ทันทีเลยทีเดียว ถือได้ว่าเป็นไผ่เลี้ยงที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมเป็นอย่างมากในการนำมาปลูก
ซึ่งการให้ปุ๋ยและน้ำนั้นทำให้ไม่จำเป็นจะต้องให้ถึงช่วงฤดูฝนเพียงอย่างเดียว ผลผลิตที่ได้จะเพิ่มมากขึ้นตามความเอาใจใส่ในการดูแลและบำรุงรักษา จึงทำให้สามารถที่จะเก็บผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่แล้วเลยแนะนำเกษตรกรหรือผู้ที่จะปลูกนั้นควรจะปลูกไผ่เลี้ยงสายพันธุ์เบาจะเหมาะสมที่สุด เพราะจะช่วยสร้างรายได้ได้เร็วกว่าสายพันธุ์หนัก
การขยายพันธุ์ไผ่เลี้ยง
การขยายพันธุ์สำหรับไผ่เลี้ยงนั้น วิธีที่เหมาะสมมากที่สุด คือ การแยกเหง้า ซึ่งการแยกเหง้าสำหรับไผ่เลี้ยงนั้นจะเริ่มแยกได้ก็ต่อเมื่อไผ่มีอายุได้ประมาณ 2-3 ปี แต่ถ้าหากอายุไผ่เกิน 3 ปีขึ้นไป จะทำให้ต้นที่แยกออกนั้นไม่แข็งแรงได้
การคัดเลือกต้นไผ่หรือลำไผ่ที่มีความแข็งแรงนั้นจะต้องตัดให้สั้นเหลือตอไว้ในความสูงประมาณ 50-80 เซนติเมตร บำรุงต่อไปให้ผลิใบ และเริ่มมีการแตกกิ่งใหม่ จากนั้นอาจจะใช้เสียมคมหรืออุปกรณ์ในการขุดที่ผ่านการทำความสะอาด หรือไม่มีสนิม มาทำการตัดแซะออกจากถุงเพาะชำ เมื่อทำการแซะเรียบร้อยแล้วให้เอาแกลบดำหรือดินที่มีขุยไผ่มาเป็นวัสดุในการเพาะ จากนั้นก็ดูแลรักษาต้นไผ่ให้แข็งแรง เมื่ออายุได้ 1 ปี ก็นำลงแปลงปลูกต่อได้เลย
สภาพพื้นที่ปลูกไผ่เลี้ยง
สำหรับการปลูกไผ่เลี้ยงให้ได้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพนั้น มันจะต้องขึ้นอยู่กับการเตรียมดิน และการเลือกพื้นที่ในการปลูก ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูก เพราะไม่เช่นนั้นก็จะทำให้ได้ผลผลิตที่ไม่ดี หรือได้ผลผลิตน้อยไปด้วย
ซึ่งสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมกับ การปลูกไผ่เลี้ยง นั้น คือ จะต้องเป็นพื้นที่ที่มีดินร่วนปนทราย เป็นดินที่เหมาะสมมากที่สุด เพราะจะทำให้ต้นไผ่นั้นเติบโตได้ดี แต่ถ้าพื้นที่ไหนเป็นดินโคลน หรือดินลูกรัง การจะปลูกไผ่นั้นอาจจะทำได้ยาก และทำให้ต้นไผ่นั้นเจริญเติบโตได้ไม่ดี ส่งผลต่อผลผลิตที่จะได้ด้วย ทำให้ไผ่ที่ปลูกในดินโคลนนั้นมีคุณภาพที่แย่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการคัดเลือกพื้นที่ในการปลูกเสียก่อน
การเตรียมดินในการปลูกนั้นสิ่งแรกเลย คือ จำเป็นต้นมีการไถกลบหน้าดินทิ้งไว้ก่อน โดยไถกลบทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อเป็นการกำจัดวัชพืชในดิน หลังจากนั้นเมื่อทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ เรียบร้อย ก็ให้ทำการไถกลบอีกครั้ง เพื่อเป็นการปรับสภาพดินให้มีความร่วนซุยมากขึ้นด้วย ซึ่งเมื่อดินมีความร่วนซุยแล้วก็จะเหมาะเป็นอย่างมากในการที่จะเริ่มดำเนินการปลูกต่อไป
สำหรับระยะใน การปลูกไผ่เลี้ยง นั้น โดยส่วนใหญ่แล้วระยะที่เหมาะสม คือ ระยะ 4×4 เมตร ใน 1 ไร่นั้นจะสามารถปลูกไผ่เลี้ยงได้ประมาณ 66 ต้น แต่ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับเกษตรกรที่ทำการปลูกด้วยว่าจะมีการเว้นระยะห่างประมาณเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม อีกทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการปลูกนั้นมีการจัดการแบ่งระยะแปลงปลูกได้ดีหรือไม่ด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีระยะการปลูกในรูปแบบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นระยะการปลูกระหว่างต้นxระหว่างแถว ประมาณ 2×4 เมตร ต่อ 1 ไร่ ซึ่งระยะประมาณนี้จะปลูกได้ประมาณ 200 ต้น, ระยะระหว่างต้นและแถว 4×4 เมตรต่อ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 100 ต้น และระยะระหว่างต้นและแถว 4×6 เมตร ต่อ 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 66 ต้น
ซึ่งระยะการปลูกทั้งหมดนั้นก็จะขึ้นอยู่กับว่าเกษตรกรที่ทำการปลูกนั้นมีพื้นที่ใน การปลูกไผ่เลี้ยง ประมาณไหนด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้วระยะการปลูก 4×4 เมตร จะเป็นระยะการปลูกมาตรฐานที่เกษตรกรส่วนใหญ่นั้นนิยมปลูกกันมากที่สุด
การบำรุงดูแลรักษาไผ่เลี้ยง
ในเรื่องของการดูแลรักษาไผ่เลี้ยงนั้นถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เพราะว่าไม่จำเป็นจะต้องทำอะไรมากก็สามารถทำให้ไผ่เลี้ยงนั้นเติบโตและให้ผลผลิตได้เป็นอย่างดี เริ่มจากการกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นอย่างสม่ำเสมอก่อนเลย เพราะว่าการกำจัดวัชพืชที่โคนต้นไผ่เลี้ยงนั้นจะช่วยทำให้หน่อไผ่ที่งอกขึ้นมานั้นได้รับปริมาณอาหารอย่างเต็มที่และมีคุณภาพมากขึ้นด้วย แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ก็จะทำให้หน่อไผ่ที่จะเติบโตมานั้นไม่ได้รับสารอาหารได้อย่างเต็มที่ เพราะว่ามีวัชพืชคอยแย่งอาหารอยู่ จึงจำเป็นที่จะต้องกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ จึงไม่ควรที่จะปล่อยให้หญ้าขึ้นรกคลุมมากนัก
นอกจากเรื่องของการกำจัดวัชพืชแล้ว การให้น้ำก็ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับไผ่เลี้ยง โดยถ้าเป็นช่วงหน้าแล้งหรือหน้าร้อนและไม่ค่อยมีฝนตกลงมาเลย ก็ควรรดน้ำอย่างน้อยประมาณ 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เพื่อช่วยเพิ่มความชุมชื้นให้กับดินและตัวต้นไผ่ เป็นปริมาณการให้น้ำที่พอเหมาะด้วย แต่ถ้าพื้นที่ไหนแล้งมากก็อาจจะมีการปรับการให้น้ำให้บ่อยขึ้นก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องดูดินด้วยว่ามีความชื้นหรือยังเปียกอยู่หรือไม่
การตัดแต่งกอและกิ่งไผ่
เมื่อเราปลูกไผ่ได้ประมาณ 7 เดือน ก็ควรจะเริ่มมีการตัดแต่งกิ่งและลำต้นที่เล็กนั้นออกไป จากนั้นก็เริ่มมีการพรวนดินบริเวณรอบๆ โคนต้น ให้ทั่วทั้งกอไผ่ที่อยู่บริเวณนั้นด้วย จากนั้นก็ตามด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยใส่ประมาณกอละ 5-10 กิโลกรัม แล้วนำหญ้าที่ถอนออกไปนั้นกลับมาคลุมโคนต้นไว้เหมือนเดิม หรืออาจจะใช้เป็นใบไม้แห้งก็ได้เช่นกัน เพื่อที่จะช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินไว้ นอกจากนี้ควรจะรดน้ำในช่วงฤดูแล้งอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยในการเจริญเติบโต
หลังจากนั้นเมื่อไผ่ที่ปลูกมีอายุได้ 8 เดือน ก็เริ่มที่จะให้หน่อและเพิ่มจำนวนต้นในแต่ละกอได้ เพื่อที่จะได้ปริมาณจำนวนต้นไว้ผลิตหน่อในช่วงฤดูต่อไป เมื่อปลูกไผ่เลี้ยงได้ประมาณ 2 ปี ต้องมีการตัดต้นที่แก่และชิดกันออก โดยให้แต่ละต้นนั้นเหลือกอประมาณ 12 ต้น ไม่เกินจากนี้ อีกทั้งควรจะมีการตัดแต่งกิ่งทุกปี โดยตัดแต่งปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ต้นไผ่นั้นไม่หนาทึบหรือทับกันมากจนเกินไป โดยจะเน้นตัดแต่งกิ่งในช่วงเดือน ธันวาคม-มกราคม
หลังจากที่เริ่มตัดแต่งกิ่งเรียบร้อย ให้นำปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมาใส่ประมาณกอละ 15-20 กิโลกรัม แล้วรดน้ำทันที เพื่อเป็นการเร่งการให้ผลผลิตในช่วงต้นฤดู ซึ่งผลผลิตที่ได้ในช่วงต้นฤดูนั้นจะสามารถจำหน่ายได้ในราคาที่สูงพอสมควรเลยทีเดียว
การเก็บเกี่ยวผลผลิตไผ่เลี้ยง
หลังจากที่ปลูกไปได้สักระยะแล้ว ก็ต้องมาดูกันว่าไผ่เลี้ยงที่เหมาะสมจะทำการเก็บเกี่ยวได้นั้นมีลักษณะอย่างไร โดยไผ่เลี้ยงที่เหมาะสมกับการเก็บเกี่ยวนั้นจะต้องรอหน่อไผ่ให้พ้นจากพื้นดินขึ้นมาประมาณ 1 สัปดาห์ โดยจะมีขนาดประมาณ 40-50 เซนติเมตร ซึ่งในระดับประมาณนี้ก็จะสามารถตัดเพื่อเตรียมจำหน่ายได้ ซึ่งจะมีขนาดที่ไม่แก่เกินไป โดยมีการจำหน่ายในราคาที่แตกต่างกัน ตามพื้นที่ของเกษตรกรที่ปลูก โดยราคาขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณกิโลกรัมละ 8-12 บาท แต่ราคาอาจจะสูงกว่านี้ ถ้าเป็นช่วงต้นฤดูกาล หรือนอกฤดูกาล
นอกจากหน่อไผ่สดที่ได้จำหน่ายแล้ว หน่อไผ่เลี้ยงยังสามารถที่จะแปรรูปเป็นหน่อไม้โป่งขายทั้งในฤดูและนอกฤดูได้ด้วย ซึ่งการผลิตนั้นก็ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยาก โดยนำหน่อไม้มาแช่น้ำไว้ประมาณ 2 คืน หลังจากนั้นนำออกมาต้มให้สุก ช่วงที่ต้มก็ให้ทำการใส่เกลือปรุงรสเล็กน้อย แล้วนำใส่บรรจุถุงออกมาจำหน่ายก็ได้เช่นกัน โดยอาจจะขายในราคาประมาณ 8 บาท ซึ่งรสชาตินั้นก็แล้วแต่คนชอบ บางคนก็บอกอร่อยดี แต่บางคนก็ส่ายหัว แต่ทั้งนี้สามารถเก็บไว้ได้นาน ยิ่งใส่ตู้เย็นสามารถเก็บได้ถึง 10 วัน เลยทีเดียว
เราพูดถึงลักษณะของไผ่เลี้ยงที่ทำการเก็บเกี่ยวได้ไปแล้ว ต่อมาก็มาดูถึงวิธีการเก็บเกี่ยวไผ่เลี้ยง ซึ่งการเก็บเกี่ยวไผ่เลี้ยงนั้นจะใช้ระยะเวลาประมาณ 8 เดือน หลังจากย้ายปลูกลงแปลงแล้วหน่อก็จะเริ่มโผล่ออกมาบนดินเล็กน้อย มีขนาดโตเต็มที่ ซึ่งตรงปลายหน่อจะแน่น ก็จะเริ่มเก็บผลผลิตได้
โดยการเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นจะใช้อุปกรณ์ในการเก็บเกี่ยว อาจจะเป็นพลั่วเอามาแซะก่อน จากนั้นใช้มีดตัดตรงโคนต้น แล้วนำใส่ภาชนะที่มิดชิด พยายามอย่าให้โดนแสงแดด เพราะว่าถ้าไผ่เลี้ยงที่ขุดออกมานั้นโดนแสงแดดมากก็จะทำให้เหี่ยวได้ ให้เหลือหน่อไว้ประมาณ 3-4 หน่อ ต่อต้น เพื่อที่จะเป็นการขยายพันธุ์และปล่อยให้เติบโตได้ต่อไป ทั้งนี้การเก็บเกี่ยวนั้นควรจะสังเกตให้ดีว่าหน่อไผ่นั้นโผล่พ้นและมีความสมบูรณ์ด้วยหรือไม่ เพราะถ้าเกิดขุดมาทั้งที่หน่อยังไม่ดีก็อาจทำให้เสียคุณภาพได้
ประโยชน์และสรรพคุณของไผ่เลี้ยง
มาดูถึงคุณประโยชน์ของไผ่เลี้ยงกันก่อนดีกว่า โดยไผ่เลี้ยงนั้นจะสามารถที่จะนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการทำเป็นด้ามไม้กวาด หรือนำมาสร้างเป็นราวตากผ้าได้ หรือไม่ก็นำมาใช้ในการสร้างบ้านได้เป็นอย่างดี อีกทั้งในต่างจังหวัดยังมีการนำมาสร้างเป็นฝายกั้นน้ำ และเป็นสะพาน ได้อีกด้วย ถือว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากเลยทีเดียว
นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณที่จำเป็นต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยมีวิตามินซี วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี3 ฟอสฟอรัส มีวิตามินเอ มีคาร์โบไฮเดรตที่ช่วยให้พลังงาน อีกทั้งยังมีเส้นใยและไขมันดี มีเหล็กและแคลเซียมที่ช่วยให้กระดูกแข็งแรง มีโปรตีนที่มีความจำเป็นด้วย
อีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดีที่ช่วยในการรักษาและป้องกันโรค ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยขับสารพิษได้เป็นอย่างดี ช่วยบรรเทาอาการไอ และ แก้กระหาย ช่วยขับเสมหะ ช่วยบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยบำรุงฟัน ช่วยสร้างเม็ดเลือดได้ดี ช่วยรักษาโลหิตจาง มีสารต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดีด้วย
การเก็บรักษาไผ่เลี้ยงนั้นจะนำไผ่เลี้ยงสดที่ผ่านการตัดแล้วมาทำความสะอาด เพื่อเป็นการล้างดินให้ออกจากหน่อไผ่ให้สะอาด จากนั้นก็นำไปวางไว้ในที่ที่มีอากาศผ่านได้ง่ายหรืออากาศถ่ายเท หรือใส่ในกล่องหรือภาชนะ แล้วนำไปแช่ตู้เย็น หรือต้มให้สุกแล้วแช่แข็งก็จะเก็บไว้ได้นานมากขึ้นด้วย
การป้องกันและกำจัด โรค แมลง ศัตรูพืช ต้นไผ่เลี้ยง
ไผ่เลี้ยงนั้นถือว่าเป็นต้นไม้หรือพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งก็ต้องมีปัญหาในเรื่องของศัตรูพืชและโรคตามมาบ้าง สำหรับโรคในไผ่เลี้ยงนั้นถือได้ว่าไม่ค่อยพบเจอมากเท่าไหร่นัก หรือยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าไผ่เลี้ยงเกิดโรคได้ง่าย เนื่องจากว่าต้นไผ่นั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นพืชหรือต้นไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพอากาศ จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคมากเท่าไหร่นัก เมื่อเทียบกับต้นไม้และพืชอื่นๆ
ในเรื่องแมลงศัตรูพืชนั้นส่วนใหญ่แล้ว การปลูกไผ่เลี้ยง หรือไผ่อื่นๆ มักจะพบเจอกับด้วงเจาะหน่อไผ่ และหนู ซึ่งศัตรูพืชของไผ่ทั้ง 2 ชนิดนี้จะมีวิธีการทำลายที่ต่างกัน โดยตัวด้วงเจาะหน่อนั้นจะเข้าไปทำลายภายในของไผ่ และทำให้เป็นกลวงมากขึ้น แต่การระบาดนั้นยังอยู่ในระดับที่เกษตรกรส่วนใหญ่ยังสามารถควบคุมได้
ในส่วนของหนู เป็นศัตรูตัวร้ายที่คอยกัดกินและทำลายหน่อไผ่ เพราะหนูจะเข้ามากินหน่อไผ่ที่กำลังขึ้นมาจากดิน ทำให้หน่อไผ่นั้นเสียหาย และไม่สามารถเก็บเกี่ยวเพื่อจำหน่ายได้ แต่ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่ก็สามารถดูแลและควบคุมได้ เพราะการระบาดนั้นยังไม่มากจนส่งผลกระทบความเสียหายเป็นวงกว้างมากนัก
ฝากถึงผู้ที่สนใจปลูกไผ่เลี้ยง
สำหรับไผ่เลี้ยงถือว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกหนึ่งชนิดที่กำลังเป็นที่จับตามองของเกษตรกรส่วนใหญ่ เพราะเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายและโตได้เร็ว ทำให้เกษตรส่วนใหญ่นั้นเริ่มหันมาปลูกไผ่เลี้ยงกันมากขึ้น อีกทั้งตัวไผ่เลี้ยงเองยังเป็นพืชที่สามารถต้านทานต่อโรคต่างๆ ได้ดี จึงไม่เป็นปัญหาในเรื่องของสารเคมีมากเท่าไหร่นัก ทั้งนี้หน่อไผ่เลี้ยงสามารถที่จะเก็บได้ตลอดทั้งปี จึงสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นพืชอีกหนึ่งชนิดที่น่าจับตามองในวงการ การเกษตรของไทยเลยทีเดียว
ความรู้เกี่ยวกับไผ่เลี้ยงนั้นยังมีอะไรที่น่าสนใจอีกมาก ทั้งนี้ในเรื่องของบทความนี้ก็เป็นการพูดถึงไผ่เลี้ยง และลักษณะต่างๆ รวมไปถึงการปลูกและดูแลรักษา เนื่องจากว่าไผ่ส่วนใหญ่นั้นเป็นพืชที่ดูแลได้ง่ายไม่ยุ่งยาก จึงเหมาะเป็นอย่างมากในการนำมาปลูก ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว สำหรับคนที่สนใจก็นำเอาบทความนี้ไปปรับใช้ในเรื่องของการปลูกและดูแลรักษาได้อีกทาง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.rakbankerd.com,https://www.thai-thaifood.com,https://www.technologychaoban.com,https://www.baanmaha.com,https://plant.thaiorc.com,https://www.sentangsedtee.com