ทําทุเรียนนอกฤดู ลดต้นทุนเหลือ 82 บาท/1ต้น ตกต้นทุน 1 ไร่ ที่ 30,000 บาท/ไร่

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เชื่อว่าเกษตรกรผู้ ทําทุเรียนนอกฤดู คงได้หน้าชื่นตาบานกันทุกคนที่ได้เห็นดอกทุเรียนบานสะพรั่งเรียงรายเป็นพุ่มเป็นพวงกันเต็มกิ่ง และสิ่งที่เกษตรกรชั้นเซียนที่ต้องคำนึงและให้ความสำคัญเตรียมพร้อมไว้เสมอ นั่นก็คือ น้ำ กล่าวคือ ทุเรียนเป็นพืชที่ขาดน้ำไม่ได้ ต้องให้น้ำตลอด

ในการให้แต่ละครั้งใช้เวลานานร่วมชั่วโมงเลยทีเดียว ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นให้แตกตาดอก ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูกจะต้องมีแหล่งน้ำที่เพียงพอไว้ให้น้ำทุเรียนอย่างเหมาะสม

1.ลุงแดงและครอบครัว
1.ลุงแดงและครอบครัว

เทคนิค ทําทุเรียนนอกฤดู

นิตยสาร “เมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ” ฉบับนี้ จะพาท่านผู้อ่านบุกถึงสวนทุเรียนของ “คุณวิเชียร (ลุงแดง) และ คุณวรรณี ฮายีมา” เกษตรกรคู่รักที่ปลูกทุเรียน หากจะพูดถึงลักษณะการทำสวนทุเรียนในฤดูหรือนอกฤดู ลุงแดงเป็นอีกท่านหนึ่งที่ศึกษาเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันทั้งสองท่านได้ ทำทุเรียนนอกฤดู หลากหลายสายพันธุ์ บนพื้นที่กว่า 70 ไร่  ที่ประสบความสำเร็จจากการปลูกทุเรียนนอกฤดู  รวมเป็นเจ้าของ ล้งทุเรียน

Advertisement Banner by บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด www.sotus.co.th
Advertisement Banner by บริษัท โซตัส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด www.sotus.co.th

ซึ่งบริหารจัดการภายในครอบครัว โดยมีลูกชายเป็นตัวตั้งตัวตีในขณะนี้ ส่วนลุงแดงและภรรยานอกจากจะดูแลสวนทุเรียนเพื่อให้ได้ผลผลิตออกมาดี ได้มาตรฐาน อีกทั้งยังเอาเวลาส่วนหนึ่งไปช่วยกิจการของลูกชายทางด้านการคัดลูกทุเรียนตามเกรดต่างๆ ที่กำหนดไว้ แล้วทำการบรรจุส่งจำหน่ายต่อไป

ลุงแดงได้กล่าวกับทีมงานว่า ตนปลูกทุเรียนมากว่า 30 ปี ในความรู้สึกและความเห็นที่มีต่อเกษตรกรที่เข้ามาทำสวนทุเรียนในปัจจุบัน คิดว่าทุกคนสามารถเข้ามาทำได้หมด แต่สิ่งที่ท่านควรคำนึงก่อนปลูก คือ ท่านมีแหล่งน้ำเพียงพอหรือไม่ นอกจากนี้ท่านเข้าใจถึงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของท่านก่อนที่จะทำการปลูกว่าเหมาะสมหรือไม่ เมื่อทั้งสองสิ่งที่กล่าวมามีความพร้อมและเหมาะสม ก็อยากจะแนะนำว่าท่านปลูกได้เลย และเตรียมตัวรวยได้ ถ้าหากทุเรียนราคาดีเช่นปีนี้

2.บรรยากาศภายในสวนทุเรียน
2.บรรยากาศภายในสวนทุเรียน

สภาพพื้นที่ปลูกทุเรียน

สำหรับภาพรวมสวนทุเรียนของลุงแดงโดยทั่วไป เมื่อถามถึงภูมิอากาศ ลุงแดงบอกว่าโชคดีที่มีสภาพภูมิประเทศทางด้านลักษณะดินและมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ ถือว่าเป็นแหล่งที่เหมาะและเอื้ออำนวยต่อการปลูกทุเรียนเป็นอย่างดี เพราะอยู่ในพื้นที่สูง ตัดปัญหาทางด้านน้ำท่วมขังได้ 100% นอกจากนี้ภายในสวนตนได้ทำการขุดบ่อพักน้ำ (ขุดสระ) เพื่อรองรับน้ำไว้ใช้ตลอดทั้งปี โดยใช้วิธีการให้น้ำผ่านระบบน้ำสปริงเกลอร์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ดังนั้นเมื่อมองถึงภาพรวมเป็นสวนที่มีความเหมาะสมอีกสวนหนึ่งในละแวกเดียวกัน สำหรับขั้นตอนในการปลูกและวิธีบำรุงทุเรียนก่อนและหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ลุงแดงเผยว่าไม่มีอะไรยุ่งยาก เพียงแค่ต้องเอาใจใส่หมั่นสังเกต ต้น กิ่ง ใบ และดอก อย่างสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่น การบำรุงดิน จะบำรุงโดยใช้ทั้งผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นต้องใช้ปุ๋ยสูตรเสมอตามอัตราส่วนของผลิตภัณฑ์ต่อน้ำ 200 ลิตร เพื่อฉีดพ่นทางใบ

3.ถึงจะ ทำทุเรียนนอกฤดู แต่ระบบของต้นแข็งแรงสมบูรณ์มาก
3.ถึงจะ ทำทุเรียนนอกฤดู แต่ระบบของต้นแข็งแรงสมบูรณ์มาก

เทคนิคการบำรุงดูแลต้นทุเรียน

นอกจากนี้ลุงแดงยังเรียนรู้และนำมาใช้จนได้ผล ก็คือ เขาได้ใช้อาหารเสริมฉีดพ่นร่วมทางใบ ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยได้ทางด้านการบำรุงลำต้นล่วงหน้าก่อนการเก็บเกี่ยว สาเหตุที่ทำอย่างนั้นลุงแดงอธิบายว่าเพื่อเป็นการบำรุงผลให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ที่สำคัญซึ่งเป็นผลพลอยได้ ก็คือ เป็นการบำรุงต้นให้มีความสมบูรณ์อยู่เสมอ หลังจากเก็บผลผลิตจนหมด หากท่านที่คิดจะ ทำทุเรียนนอกฤดู ก็จะทำให้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะสภาพต้นมีความสมบูรณ์อย่างเต็มที่ และเมื่อถึงช่วงระยะการเร่งดอกก็จะให้ปุ๋ยอีกสูตรหนึ่ง ใช้หมุนเวียนสับเปลี่ยนไป

“ด้านผลิตภัณฑ์ที่ใช้บำรุงดูแลต้นทุเรียน ผมใช้กลุ่มปุ๋ยหลักๆ ก็คือ “อะมิโนฮิวมิค-สาหร่ายอะมิโน, ปุ๋ยดิน 6-3-3 ฯลฯ นอกจากนี้ยังใช้อาหารเสริมแบบครบสูตร ก่อนเก็บเกี่ยวจะให้อาหารเสริมและปุ๋ยดังที่กล่าวมา หลังจากนั้นพอเก็บเกี่ยวแล้วจึงให้อาหารเสริมทางใบอีกรอบทั้งหมด 3 ชุด โดยผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ใช้ คือ แพคโคลบิวทราโซล” (Paclobutrazol) ช่วยเปิดตาดอก และเร่งการเจริญเติบโต ลำต้น ใบ ดอก สมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งทำให้ผลผลิตออกมาได้น้ำหนัก ขายราคางาม ตรงความต้องการของตลาด”

เป็นการอธิบายเสริมถึงเทคนิคและวิธีการที่ลุงแดงที่ถือปฏิบัติมาโดยตลอด  หลังจากนั้นก็ให้สาร  แพคโคลบิวทราโซล ในปริมาณ 1.50 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร ช่วงแรกของการฉีดพ่นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หลังจากนั้นจะสังเกตเห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ก็คือ การเจริญเติบโตว่าดีหรือไม่ ถ้าผลตอบรับยังไม่ดีให้ปรับเปลี่ยนการฉีดพ่นเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อย่างไรก็ตามลุงแดงได้เล่าเสริมว่าไม่มีสูตรการบำรุงต้นที่ตายตัวและแน่นอน ขึ้นอยู่ที่เจ้าของสวนว่าจะมีความเข้าใจ และสนใจมากน้อยแค่ไหน พร้อมกับหมั่นสังเกตและให้ความใกล้ชิดหรือไม่

หลังจากทำการฉีดพ่นอาหารเสริม แพคโคลบิวทราโซล แล้ว ลุงแดงจะเริ่มทำการ บล็อกใบ กล่าวคือ บังคับไม่ให้ใบเคลื่อน หรือบังคับเพื่อไม่ให้ลำต้นแตกใบอ่อนออกมา ทั้งนี้เพราะจะทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนการบำรุงรักษาที่เพิ่มมากขึ้น จากนั้นก็ทำการบำรุงดูแลรักษาแบบทั่วไป อาทิเช่น ใช้อาหารเสริมบำรุง, ยากำจัด/ป้องกันเชื้อรา เป็นต้น ซึ่งลักษณะการทำอย่างนี้ไปจนถึงช่วงหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตนั่นเอง

ทางด้านผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ลุงแดงนำมาใช้บำรุงต้นทุเรียนในปัจจุบัน ก็ได้รับการแนะนำจากทางบริษัทฯ ซึ่งจะมีทีมงานเข้ามาดูแลและให้คำแนะนำอยู่เสมอทางด้านการใช้ผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการให้คำปรึกษามาตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบันด้วยดีเสมอมา หลังจากที่ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม

โฆษณา
AP Chemical Thailand

สิ่งที่เห็น ก็คือ การเจริญเติบโตของต้นทุเรียนที่สมบูรณ์แข็งแรงอย่างเห็นได้ชัด โดยส่วนตัวของลุงแดงเองก็ไม่ได้ปิดบังต่อชาวสวนที่อยู่ใกล้เคียง เขาได้ให้คำแนะนำถึงผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้แล้วเห็นผล ซึ่งชาวสวนที่อยู่ติดกันก็ลองนำวิธีการและตัวผลิตภัณฑ์นำไปทดลองใช้ จากการติดตามก็ได้ผลเป็นที่น่ายินดีด้วยเช่นกัน

4.ดอกทุเรียนออกเป็นกลุ่ม
4.ดอกทุเรียนออกเป็นกลุ่ม ทําทุเรียนนอกฤดู ทําทุเรียนนอกฤดู ทําทุเรียนนอกฤดู ทําทุเรียนนอกฤดู 

การจำหน่ายผลผลิตทุเรียน

“ต้นทุนในการทำทุเรียนภายในสวนของผม หากจะคิดเป็นพื้นที่ 1 ไร่ ที่ทำการปลูกทุเรียนไว้ทั้งหมด 400 ต้น รวมเป็นค่าปุ๋ยที่ใช้ไป 1 ต้น รวมเฉลี่ยต้นทุน รวมทั้งค่ายาป้องกันโรค ค่าสารฮอร์โมนเพื่อนำมาใช้ในการบำรุงต้น รวมต้นทุนทุกอย่างต่อต้นประมาณ 82 บาท/1 ต้น (ยังไม่รวมต้นทุนแฝงอื่นๆ) และหากคิดต้นทุนรวมทั้งหมดในการปลูกต่อ 1 ไร่ อยู่ที่ประมาณ 30,000 บาท/ไร่”

เป็นคำอธิบายถึงต้นทุนในการทำทุเรียนทั้งในและนอกฤดูของลุงแดง จากการทราบถึงตัวเลขการลงทุนดังกล่าวถือว่าไม่มากมายเท่าไหร่นัก ถ้าเทียบกับผลผลิตที่จะออกมาต่อต้น หากจะถามถึงทางด้านการลงทุนถือว่าเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้ดีทีเดียว

ทางด้านธุรกิจ “ล้งรับซื้อทุเรียน” ซึ่งลูกชายลุงแดงเป็นตัวหลัก และทำการซื้อทุเรียนในพื้นที่เป็นหลัก นอกจากนั้นยังเข้าไปรับซื้อทุเรียนจากภาคเหนือจังหวัดเชียงใหม่  และอีสานโดยเฉพาะที่จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางด้านรสชาติที่หอมหวาน เนื้อนุ่ม ไม่มีเสี้ยน เม็ดลีบ ซึ่งเป็นลักษณะที่ชาวสวนในท้องที่หรือหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบได้ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่าลักษณะที่ดีดังกล่าวน่าจะมาจากการปลูกบนดินภูเขาไฟที่มอดดับมาตั้งแต่อดีต

5.ผลทุเรียนบางส่วนกำลังเติบโตขึ้น
5.ผลทุเรียนบางส่วนกำลังเติบโตขึ้น ทําทุเรียนนอกฤดู ทําทุเรียนนอกฤดู ทําทุเรียนนอกฤดู ทําทุเรียนนอกฤดู

การบริหารจัดการสวนทุเรียน

ท้ายที่สุดลุงแดงยังกล่าวถึงการทำสวนทุเรียนของตัวเองถึงความคาดหวังที่จะได้รับทางด้านผลผลิตทุเรียนนอกฤดูว่า ผลผลิตในปีนี้น่าจะเพิ่มมากกว่าปีที่แล้วจนถึงเดือนเมษายนปีหน้าอย่างแน่นอน โดยส่วนตัวลุงแดงบอกว่าค่อนข้างพอใจในการบริหารจัดการสวนที่ดำเนินงานมาไม่มีปัญหาอุปสรรคใดๆ

ผมเริ่มต้นทำสวนทุเรียนก็เริ่มจากความไม่รู้ เริ่มแบบงูๆ ปลาๆ ลองผิดลองถูก ถามเพื่อนบ้าน สอบถามผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์เอา แต่ไม่เคยท้อถอย มีปัญหาก็ค่อยแก้ไขกันไป เป็นเรื่องปกติธรรมดาของคนทำสวน โดยเฉพาะทุเรียนขึ้นชื่อว่าปลูกยากอยู่แล้ว จึงอยากเป็นกำลังใจให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนค่อยๆ ปรับแก้ไขปัญหากันไป ทว่าปัจจัยสำคัญ คือ แหล่งน้ำที่บอกไป โดยเฉพาะอยากฝากบอกถึงคนอีสานที่อยากปลูกทุเรียน ผมบอกเลยว่าแหล่งน้ำสำคัญมาก ให้ท่องจำไว้ว่า ทุเรียนใช้น้ำเยอะ แต่ละแปลงต้องให้น้ำนานต่อเนื่องเป็นชั่วโมง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ในส่วนพื้นที่ สิ่งแวดล้อม สภาพอากาศที่เพาะปลูก ก็มีส่วนสำคัญ ส่วนเรื่องปุ๋ย ยา อาหารเสริม เกษตรกรสามารถหาซื้อได้ทั่วไป หากคิดจะปลูกทุเรียน จะปล่อยให้ขาดน้ำจนกระทั่งต้นแห้งไม่ได้เด็ดขาด เพราะต้นจะไม่สมบูรณ์ ผลผลิตรูปทรงลูกทุเรียนออกมาจะไม่สวย ขายไปมีแต่ขาดทุน เมื่อเทียบกับที่บำรุงดูแลรักษามาหลายปี

อีกประเด็นหนึ่งผมมองว่าทุเรียนปัจจุบันนี้แม้จะมีผู้ที่หันมาปลูกกันเยอะขึ้น แต่จากประสบการณ์และมุมมองส่วนตัวมองว่า ถึงอย่างไรแล้วทุเรียนจะไม่ล้นตลาด เพราะมีทั้งคนที่ปลูกแล้วสำเร็จ และคนที่ทำแล้วไม่สำเร็จ สับเปลี่ยนเป็นแบบนี้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นทุเรียนก็ยังเป็นผลไม้ที่มีความต้องการสำหรับผู้บริโภค และของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศตลอดไปคุณวิเชียร ฮายีมา (ลุงแดง) กล่าวส่งท้ายในที่สุด

เกษตรกรท่านใดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อไปได้ที่ 27/2 ม.2 ต.แสลง อ.เมือง จ.จันทบุรี โทร.063-541-4789 ได้ทุกวัน

สำหรับเกษตรกรสนใจผลิตภัณฑ์ทั้งปุ๋ยและยา สามารถสอบถามไปที่ “บริษัท เอส ที เฟอร์ติลิตี้ จำกัด 116 หมู่ 5 ต.นิลเพชร อ.บางเลน จ.นครปฐม 13130 โทร.034-991-614-5 มือถือ 089-201-1796 หรือเกษตรกรที่อยู่ทางภาคตะวันออกสามารถติดต่อตัวแทนจำหน่ายได้ที่ บริษัท นามวิชัย จำกัด 9/18 ซ.สุนทรภู่ 2 ต.ทางเกวียน อ.แกลง จ.ระยอง 093-556-5524 หรือคุณจักรกฤษณ์ (กร) นามวิชัย ผู้จัดการ โทร.092-189-9615 ได้ทุกวัน

อ้างอิง : นิตยสารเมืองไม้ผล&พืชสุขภาพ ฉบับที่ 210