การเลี้ยงกุ้งระบบปิด ซีพี เปิดฟาร์ม โชว์นวัตกรรม เลี้ยงเพียง 105 วัน ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ได้กุ้งคุณภาพ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

การเลี้ยงกุ้งระบบปิด

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) ได้เปิดฟาร์มเลี้ยงกุ้งคุณภาพในระบบปิดอย่างเป็นทางการ โดยมี นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชม การเลี้ยงกุ้งระบบปิด โดยเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในโรงเรือนระบบปิด เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในด้านต่างๆ

พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตโดยไม่ใช้สารเคมี และยาปฏิชีวนะ เป็นระบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และชุมชนละแวกใกล้เคียง นำไปสู่การผลิตอาหารที่ปลอดภัย ณ ฟาร์มบางสระเก้า อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

บรรยากาศภายในฟาร์ม
บรรยากาศภายในฟาร์ม เยี่ยมชม การเลี้ยงกุ้งระบบปิด การเลี้ยงกุ้งระบบปิด การเลี้ยงกุ้งระบบปิด 
1.นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ
1.นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ

นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟได้ทุ่มเทศึกษาและวิจัยพัฒนารูปแบบการเลี้ยงกุ้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถรองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและในอนาคต อาทิ ความผันผวนทางสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อน และโรคระบาด

เพื่อให้ได้ผลผลิตกุ้งที่สด สะอาด ไม่ใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะส่งผลต่อผู้บริโภค ทำให้กุ้งปลอดภัย ป้องกันความเสี่ยงจากเชื้อโรค เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน เป็นแนวทางที่จะช่วยการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมกุ้ง

2.ภายในระบบโรงเรือนใน การเลี้ยงกุ้งระบบปิด
2.ภายในระบบโรงเรือนใน การเลี้ยงกุ้งระบบปิด

สภาพพื้นที่เลี้ยงกุ้ง

ทั้งนี้ ฟาร์มบางสระเก้า เป็นฟาร์มต้นแบบที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากฟาร์มร้อยเพชร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 600 ไร่ เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2557 และเริ่มให้ผลผลิตในปี 2558 มีโรงเรือนเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมในระบบปิด แบ่งออกเป็น 6 โซน

มีการป้องกันพาหะนำโรคเข้าสู่กุ้งทุกชนิด ไม่ให้เล็ดลอดเข้าสู่ระบบการเลี้ยงได้ และโรงเรือนมีระบบควบคุมสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงให้เหมาะสม ใช้ระบบม่านระบายอากาศที่สามารถรักษาอุณหภูมิในบ่อเลี้ยงให้อยู่ในระหว่าง 28-30 องศาเซลเซียส ตลอดเวลา ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่กุ้งอยู่สบาย กินอาหารได้ดีอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าสภาวะแวดล้อมภายนอกจะผันแปรอย่างไร ช่วยให้สามารถเลี้ยงกุ้งได้ทุกฤดูกาล

โฆษณา
AP Chemical Thailand

“การพัฒนาระบบการเลี้ยงกุ้งในโรงเรือนระบบปิด เราพัฒนาให้ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งจะทำให้กระบวนการผลิตกุ้งสามารถรองรับความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม และยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในอาหารที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งกระบวนการผลิต เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้”

3.นายเปรมศักดิ์ อธิบายถึงขั้นตอนการเพาะเลี้ยงของฟาร์ม
3.นายเปรมศักดิ์ อธิบายถึงขั้นตอนการเพาะเลี้ยงของฟาร์ม

การบริหารจัดการบ่อกุ้ง

นายเปรมศักดิ์กล่าวว่า ฟาร์มบางสระเก้าได้นำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเลี้ยง เพื่อลดการใช้สารเคมี และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่การเตรียมน้ำ จะใช้เครื่องกรอง Ultra Filtration (UF) ที่จะช่วยกรองน้ำที่จะนำไปใช้ในกระบวนการเลี้ยงได้ทั้งหมด ปราศจากเชื้อโรคต่างๆ โดยไม่ต้องใช้สารเคมี

ส่วนระบบการจัดการน้ำภายในบ่อเลี้ยงกุ้ง นำเทคโนโลยีไบโอฟลอค (Biofloc Technology) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยในการจัดการของเสียในระบบการเลี้ยงกุ้ง ที่ใช้การเติมจุลินทรีย์ที่ผ่านการวิจัยและคัดเลือกสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อกุ้ง และปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งช่วยลดการใช้น้ำในการผลิต ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มากับน้ำได้

อีกทั้งยังช่วยลดการใช้น้ำภายในบ่อเลี้ยง จากเดิมการเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไมคุณภาพจะต้องใช้น้ำมากถึง 5 คิว ต่อกุ้ง 1 กิโลกรัม หลังจากที่นำเทคโนโลยีไบโอฟลอค (Biofloc Technology) เข้ามาใช้สามารถลดการใช้น้ำเหลือเพียง 1.5 คิว ต่อกุ้ง 1 กิโลกรัม อีกด้วย

นายเปรมศักดิ์กล่าวว่านอกจากนี้ซีพีเอฟยังเน้นการจัดการฟาร์มโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ (Probiotics) หรือ จุลินทรีย์ที่เป็นมิตรกับกุ้งมาช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ฟาร์มบางสระเก้าและฟาร์มกุ้งของซีพีเอฟไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยง เพิ่มความมั่นใจในด้านความปลอดภัยของผู้บริโภค สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดทั้งกระบวนการผลิต

ทั้งนี้จากการเปรียบเทียบการเลี้ยงกุ้งแบบระบบเปิดกับระบบปิด จะพบว่า การเลี้ยงกุ้งระบบปิด มีระยะการเลี้ยงเพียง 105 วัน สามารถให้ผลผลิตสูงถึง 8 ตัน ต่อไร่ต่อรุ่น รวมทั้งซีพีเอฟมีการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงแบบครบวงจร ใช้การอนุบาลลูกกุ้งก่อนย้ายไปเลี้ยงในบ่อใหญ่ ร่วมกับการใช้เทคนิคการทยอยจับกุ้งออกบางส่วน เพื่อให้ได้กุ้งขนาดต่างๆ ตรงตามที่ตลาดต้องการ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ซีพีเอฟ กล่าวอีกว่า การเลี้ยงกุ้งในโรงเรือนระบบปิดที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อม และนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับซีพีเอฟที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาพันธุ์กุ้งอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้พันธุ์กุ้งของซีพีเอฟมีความแข็งแรง ปลอดโรค และโตเร็ว จึงเป็นแนวทางที่พัฒนาให้อุตสาหกรรมกุ้งของไทยมีความมั่นคง และยั่งยืน

4.กุ้งขาวได้ขนาดตามที่ตลาดต่างประเทศต้องการ
4.กุ้งขาวได้ขนาดตามที่ตลาดต่างประเทศต้องการ
กุ้งขาวคุณภาพ ขนาด 25-30 ตัวต่อ1กิโลกรัม
กุ้งขาวคุณภาพ ขนาด 25-30 ตัวต่อ1กิโลกรัม
กุ้งต้มสุกคุณภาพ
กุ้งต้มสุกคุณภาพ

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายกุ้ง

นอกจากนี้นายเปรมศักดิ์แนะนำผลิตภัณฑ์แปรรูปกุ้งคุณภาพจากทางฟาร์ม คือ “กุ้งต้มสุก” โดยนำกุ้งคุณภาพจากทางฟาร์มผ่านการแปรรูปที่ได้คุณภาพ เพื่อให้คงความสดของเนื้อกุ้ง โดยที่ผู้บริโภคสามารถนำไปบริโภคได้ทันที ไม่ต้องนำไปต้มอีกรอบ ซึ่งวิธีการรับประทานเพียงนำกุ้งเข้าไมโครเวฟเพียง 1 นาที เพื่อละลายความเย็นของเนื้อกุ้ง ก็สามารถรับประทานได้ พร้อมน้ำจิ้มรสเด็ดจากทางฟาร์ม

นอกจากกุ้งต้มสุกแล้ว ทางบริษัท ยังมีบริการเดลิเวอรี่ส่งกุ้งสดคุณภาพ (กุ้งเป็น) แบบไร้น้ำ ส่งถึงหน้าบ้านลูกค้า ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถได้บริโภคกุ้งสดคุณภาพจากทางฟาร์มได้โดยตรง โดยสามารถสั่งซื้อกุ้งสดขนส่งแบบแห้งได้ที่ ไลน์ ID @ori8481r ขอขอบคุณข้อมูล สยามรัฐ

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 349