ในวงการอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง ทุกคนต้องรู้จัก บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) ต.หนองอิรุณ อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี เพราะบริษัทนี้มีความเป็นเลิศด้านการส่งเสริมชาวไร่ปลูกสับปะรดป้อนโรงงานมาหลายทศวรรษแต่เก่งแค่ไหนก็ต้องมารบกับ “มด” และ “เพลี้ยแป้ง” ที่คอยทำลายผลผลิตอยู่ตลอดเวลา วิธีปลูกสับปะรด
ดังนั้น “ผู้อำนวยการฝ่ายการเกษตร” ตำแหน่งนี้จึงขาดไม่ได้ เพราะเป็นตำแหน่งที่รับผิดชอบ “ผลผลิต” ให้เพียงพอต่อออร์เดอร์สับปะรดกระป๋อง แต่ละปีซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้าต่างประเทศ
ปัญหาและอุปสรรคของสับปะรด
บริษัท อาหารสยามฯ เจ้าของเดิม คือ ตระกูลล่ำซำ เครือ ธ.กสิกรไทย แต่วันนี้เจ้าพ่อน้ำเมาเป็นเจ้าของ ตามนโยบายขยายบทบาทธุรกิจเข้าสู่ NON-Alcohol มากขึ้น
คุณชัชวาล เปาทอง ผู้อำนวยการฝ่ายการเกษตร ยืนยันว่า มด และเพลี้ยแป้ง ยังเป็นปัญหาการปลูกสับปะรด
ออร์เดอร์ 1.5-2 แสนตัน/ปี ทั้งที่บ้านบึง และประจวบฯ จะพังทันที ถ้าหยุดตัวแสบ มด และเพลี้ยแป้ง ไม่ได้
เนื่องจากเพลี้ยแป้งมีความสามารถในการสร้าง “น้ำตาล” ชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นอาหารชั้นดีของมด ดังนั้นเมื่อมดกินน้ำตาล แล้วนำเพลี้ยแป้งไปด้วย ดังนั้นมดจึงเป็นพาหะอย่างดี และในเพลี้ยแป้งจะมี “ไวรัส” ชนิดหนึ่ง ที่ทำลายต้นสับปะรดจนต้นเหี่ยวและตายในที่สุด เมื่อสับปะรดเป็นโรคเหี่ยวต้องทำลายทันที ซึ่งโรคเหี่ยวเข้าทำลายได้ทุกช่วงอายุของสับปะรด ดังนั้นต้องหมั่นตรวจแปลงอยู่ตลอดเวลา และต้องทำให้ต้นแข็งแรงด้วยการให้ปุ๋ยและน้ำที่ถูกต้อง
วิธีปลูกสับปะรด และการป้องกันและกำจัด แมลง และศัตรูพืช
นอกจากนี้จะต้องทำลายมดที่เป็นพาหะด้วยการใช้ยาที่ชื่อ ไฮดร้าแม็กซินอล ฉีดมดตายยกรัง และต้องคุมเพลี้ยด้วยยา EPA จากอเมริกา ยาตัวนี้นอกจากฆ่าเพลี้ยแล้ว ยังทำให้สับปะรดแข็งแรงด้วย เพราะตัวยามี “แคลเซียม” เป็นองค์ประกอบสำคัญ
แต่การใช้สารเคมีก็ต้องระวังเรื่องการตกค้าง ดังนั้นทางที่ดีคุณชัชวาลจะเน้นเรื่องการตรวจแปลง และหาทางป้องกันดีที่สุด
การปลูกสับปะรดป้อนโรงงาน ปัญหาใหญ่ คือ “โรคเหี่ยว” ในต้นสับปะรด แม้จะผ่านโรคนี้ไปได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้เงินจากการขาย “ผลสับปะรด” เพราะต้องไปเจอโรคแกรนในผลสับปะรด หรือผลไม่โตตามที่ต้องการ มักเกิดในช่วงต้นฤดูฝน ในสภาพอากาศร้อนจัด หรือแล้งนานๆ แล้วฝนตก
เนื่องจากผลสับปะรดเมื่ออยู่ในสภาพอากาศร้อน ตาสับปะรดจะขยายตัวทำให้โรคเข้าสะดวก และขยายตัวในผลรักษายากมาก ดังนั้นทางที่ดี คือ ต้อง “ป้องกัน” อย่างเดียว ส่วนใหญ่จะให้ปุ๋ยคลอไรด์ที่เหมาะสม เพื่อให้ผลสมบูรณ์ ไม่มีโรค แต่ถ้าให้ไม่เหมาะสม สับปะรดอาจเปรี้ยวได้ และสุกเร็วขึ้น ไม่เป็นที่ต้องการของโรงงาน
การส่งเสริมและให้ความรู้การปลูกสับปะรด
ดังนั้นก่อนส่งเสริมให้ชาวไร่ปลูก จึงต้องมีคู่มือให้ศึกษา เป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการปลูกสับปะรด “ประเด็นแรก คือ ควรทำให้ติดดินก่อน ดังนั้นคนที่ปลูกหน้าแล้งควรให้น้ำเพื่อให้รากติดดินให้ได้ ติดให้พร้อมกัน ต้นจะโตสม่ำเสมอ” คุณชัชวาลให้ความเห็น และต้องคอยฉีดยาและให้ปุ๋ย พอสับปะรดเริ่มออกดอกต้องให้น้ำ ถ้าเป็นไปได้ควรลงทุนวางระบบน้ำ
การทำให้สับปะรดออกดอกทางตะวันออกใช้สารชักนำให้เกิดดอก ไม่เหมือนทางประจวบฯ ที่ใช้แก๊สหยอด ซึ่งสารชักนำที่ผสมกับน้ำนำเข้าจากหลายประเทศ โดยเฉพาะจากจีนราคาถูก แต่ถ้ามาจากอเมริกามีประสิทธิภาพมาก ออกดอก 95% ขึ้นไป ใน 100 ไร่ ผิดพลาดเพียง 5% เท่านั้น
เนื่องจากสับปะรดเป็นพืชที่มี “ปากใบ” อยู่ด้านล่าง กลางคืนมันจะเปิด เมื่อหย่อนสารลงไปมันจะเกิดการแตกตัวเป็น “แก๊ส” แต่กลางคืนชาวไร่ไม่ชอบ จึงมาใช้ในช่วงเย็น ซึ่งทางไร่ปลูกสับปะรดมาก ไม่ใช้แรงงานคน จะใช้เรื่องสเปรย์เป็นหลัก ทำงานเร็วกว่า 8 ชั่วโมง ฉีดได้ 200-300 ไร่ ซึ่งเครื่องจักรหลายอย่างในไร่ แรกๆ บริษัทจ้างผู้เชี่ยวชาญจากฮาวาย อเมริกา มาเป็นที่ปรึกษา ต่อมาบริษัทเป็นผู้ผลิตเอง
อย่างไรก็ดี วันนี้เรื่อง “โรคเหี่ยว” ยังต้องป้องกันและแก้ไข และภัยแล้งทำให้สับปะรดอ่อนแอ ขาดภูมิต้านทาน ทำให้ชาวไร่เลิกปลูกสับปะรด เมื่อผลผลิตมีน้อย ปีนี้ราคาสับปะรดสูงขึ้นมาก จากปี 62 กก.ละ 3 บาท ขยับขึ้นเป็น 11 บาท เป็นผลดีระยะสั้นๆ ต่อเกษตรกร แต่โรงงานสับปะรดกระป๋องต้องแบกภาระ
สำหรับ บริษัท อาหารสยาม จำกัด (มหาชน) คุณชัชวาลกล่าวว่า บริษัทได้วางแผนการผลิต ปี 63 จำนวน 135,000 ตัน ส่วนจะทำได้แค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของบริษัท ต้องการติดต่อโรงงานที่บ้านบึง โทร.038-291-621, 08-9921-1250