เลี้ยงไก่งวง ควบคู่โคขุน หมู และเป็ด ผสมผสาน ขายทั้ง เนื้อ และ พ่อแม่พันธุ์

โฆษณา
AP Chemical Thailand

จากอาชีพลูกจ้างประจำสู่การประกอบอาชีพอิสระทำฟาร์มปศุสัตว์ผสมผสาน ทางนิตยสารสัตว์บกได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณศรีสุนันท์ เดชบุตร หรือคุณปู อายุ 42 ปี เจ้าของฟาร์มไก่งวง อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี ที่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับธรรมชาติกับครอบครัว จัดแบ่งพื้นที่ 13 ไร่ ทำการเกษตรผสมผสาน ปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เลี้ยงไก่งวง

1.คุณศรีสุนันท์ เดชบุตร เจ้าของฟาร์มไก่งวง
1.คุณศรีสุนันท์ เดชบุตร เจ้าของฟาร์มไก่งวง

การปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์ ผสมผสาน

คุณปูได้เล่าถึงสาเหตุการออกจากงานว่า ตนอยากประกอบอาชีพอิสระ อยากทำสิ่งที่อยากทำ คือ การทำอาชีพเกษตรกร และในปัจจุบันได้ประกอบอาชีพนี้มาได้กว่า 16 ปีแล้ว โดยศึกษาจากการลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ ศึกษาเรียนเรียนรู้ด้วยตัวเอง และจากผู้มีประสบการณ์

“เมื่อก่อนเคยทำฟาร์มเห็ด เริ่มจากการไปฝึกงานกับฟาร์มเห็ด และเริ่มทำฟาร์มเห็ด เพาะเห็ดทุกประเภท เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฐาน เห็ดหูหนู เห็ดฟาง และอาชีพดั้งเดิมของคุณแม่ทำฟาร์มหมู ทำนา ต่อมาจึงได้เริ่มปลูกพืชผสมผสาน และหันมาเลี้ยงเป็ด เลี้ยงวัว และไก่งวง”

2.คอกแม่พันธุ์หมู
2.คอกแม่พันธุ์หมู

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงหมู

เริ่มต้นจากการเลี้ยงหมู ซึ่งเป็นอาชีพดั้งเดิมของคุณแม่ มีหมูแม่พันธุ์ 15 ตัว หมูขุน 60 ตัว ใช้ระยะเวลาในการขุนประมาณ 5 เดือน จะได้น้ำหนัก 150 กิโลกรัม แล้วส่งขายโรงเชือดที่นครปฐม โดยขายตามราคาประกาศ สายพันธุ์ที่เลี้ยงจะเป็นหมูลูกผสม เลี้ยงในระบบเปิดแบบคอกลอย

ในส่วนของอาหารแม่พันธุ์จะผสมอาหารเองเพื่อลดต้นทุน แต่หมูขุนจะใช้อาหารสำเร็จรูปของ บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด และผสมพรีมิกซ์เพิ่มเข้าไปในอาหาร เพื่อช่วยในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์  ช่วยให้การเจริญเติบโตและแข็งแรง

3.วัวอ้วนดี แข็งแรงสมบูรณ์
3.วัวอ้วนดี แข็งแรงสมบูรณ์

การบริหารจัดการโรงเรือนโค

ต่อมาได้มีการเลี้ยงโคขุนขาย โดยเริ่มต้นจากการเลี้ยงโคแม่พันธุ์ 30 แม่ แต่ในปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเลี้ยงแบบขุนขาย เพราะแม่พันธุ์ต้องใช้พื้นที่และแรงงานคนค่อนข้างเยอะในการดูแล ซึ่งปัจจุบันเลี้ยงโคขุน 20 ตัว เนื่องจากไม่มีเวลาดูแล เพราะเลี้ยงหลายอย่าง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ส่วนการจัดการโคขุนจะมีแปลงหญ้า ฟาง และให้อาหารสำเร็จรูปของ บริษัท แรมโบ้อินเตอร์ฟีด จำกัด“อาหารของบริษัทนี้ดี กินแล้ววัวอ้วนดี แล้วอีกอย่างเราก็คุ้นเคยกับสูตรอาหารของบริษัทนี้ เพราะในการเลี้ยงสัตว์ไม่ควรเปลี่ยนอาหารไปมา เพราะจะทำให้เราคาดเดาเรื่องปริมาณยาก ต้องมีการจดบันทึกใหม่ แต่ถ้าใช้สูตรเดิมก็จะรู้ว่าปริมาณที่ควรให้อาหารเป็นยังไง” คุณปูให้ความเห็น

ซึ่งระยะเวลาในการขุนนั้นแล้วแต่สายพันธุ์ ถ้าขุนโคพันธุ์บราห์มันโครงสร้างเล็กจะใช้เวลาประมาณ 3-4เดือน ถ้าบราห์มันลูกผสมใช้เวลา 5-6 เดือน แต่ถ้าเป็นฮินดูลูกผสมใช้เวลา 7 เดือน โดยจะส่งขายให้ลูกค้าเจ้าประจำซึ่งจะมารับถึงหน้าฟาร์ม

4.พื้นที่ เลี้ยงไก่งวง
4.พื้นที่ เลี้ยงไก่งวง

การเลี้ยงเป็ดเนื้อ และ เลี้ยงไก่งวง

หลังจากการเลี้ยงหมู และโคขุน คุณปูก็ได้เริ่มเลี้ยงเป็ดเนื้อ และไก่งวง โดยเลี้ยงเป็ดพันธุ์บาบารี่ โดยมีลักษณะเด่น คือ เป็นเป็ดเนื้อลูกผสมที่มีโครงสร้างใหญ่ เนื้อมาก ไขมันต่ำ ทนทานต่อสภาพแวดล้อม และมีข้อดี คือ เลี้ยงง่าย โตเร็ว สามารถใช้อาหารที่มีตามท้องถิ่นได้

ซึ่งคุณปูเปิดเผยว่า “อาหารที่ใช้เลี้ยงจะเป็นพวกรำ ปลายข้าว และผสมพรีมิกซ์เสริมให้ วัตถุดิบอาหารส่วนมากจะได้จากการทำนา ซึ่งเรามีโรงสีข้าวเล็กๆ ของเราเอง เราจะผลิตอาหารเป็ดเอง ไม่ต้องซื้อข้างนอกทั้งหมด และมีใช้อาหารสำเร็จรูปบ้าง ซึ่งเราใช้ของ บริษัท เอส พี เอ็ม อาหารสัตว์ จำกัด เราใช้ในไก่เล็ก เป็ดเล็ก คุณภาพอาหารดี ซึ่งค่อนข้างตอบโจทย์ในเรื่องของอาหารสัตว์”

โดยจะใช้ระยะเวลาในการขุนแค่ 3 เดือน ตัวเมียจะได้น้ำหนัก 2.5 -3 กิโลกรัม ตัวผู้จะหนัก 4.5-5 กิโลกรัมส่วนเรื่องราคาจะแล้วแต่ตลาด ถ้าคัดส่งตลาดมหาชัยจะขายกิโลกรัมละ 80 บาท ที่มหาชัยจะใช้เป็ดใหญ่ แต่ถ้าคัดส่งกรุงเทพฯ จะขายกิโลกรัมละ 50-60 บาท โดยจะมีลูกค้าเจ้าประจำมารับที่หน้าฟาร์ม จำนวนเป็ดที่เลี้ยงจะมีแม่พันธุ์ไม่เกิน 100 ตัว แต่ก็จะมีรุ่นลูกที่ออกมาเรื่อยๆ ประมาณ 1 พันตัว ก็จะมีทั้งเป็นรุ่นเล็ก รุ่นกลาง และรุ่นใหญ่

ต่อมาได้มีการนำเงินไปซื้อไก่งวงชุดแรกมาเลี้ยง แต่เป็นการเลี้ยงเพื่อความสวยงาม ก่อนต่อยอดการ เลี้ยงไก่งวง เพื่อขายเนื้อแทน  ซึ่งเริ่มจากเลี้ยงแม่พันธุ์  มีการคัดสายพันธุ์ และพยายามเปลี่ยนพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ ในทุกๆ ปี มีการคัดสายพันธุ์ในทุกๆ รอบปี โดยแม่พันธุ์จะใช้อายุประมาณ 1-1 ปีครึ่ง และจะปลดเมื่ออายุประมาณ 2 ปี พ่อพันธุ์จะเริ่มใช้ตอนอายุ 8 เดือน เมื่ออายุประมาณปีครึ่งจะทำการเปลี่ยนพ่อพันธุ์ เพราะตัวจะใหญ่เกินไป ไม่สามารถผสมตัวเมียได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.พ่อแม่พันธุ์ไก่งวง
5.พ่อแม่พันธุ์ไก่งวง เลี้ยงไก่งวง เลี้ยงไก่งวง เลี้ยงไก่งวง เลี้ยงไก่งวง 

การให้อาหารไก่งวง

อาหารที่ใช้ เลี้ยงไก่งวง จะเป็นวัตถุดิบพวกปลายข้าว ข้าวโพด พรีมิกซ์ รำ และจมูกข้าว ในส่วนของแม่พันธุ์จะไม่ใช้อาหารสำเร็จรูป จะใช้อาหารผสมเอง เพราะราคาอาหารที่สูงเกินไป และจะทำให้แม่ไก่งวงอ้วนเกินไป จะส่งผลให้แม่ไก่งวงไข่ลำบาก

ระยะเวลาให้ไข่แล้วแต่สายพันธุ์ ถ้าเป็นสายพันธุ์ลูกผสม อายุให้ไข่จะประมาณ 6-7 เดือน แต่ไข่ที่จะคัดเข้าโรงฟักจะเป็นไข่รังสอง ไข่ที่ได้รอบแรกจะยังไม่นำไปเข้าฟัก ส่วนลูกไก่งวงถ้ามีเหลือจากออเดอร์ที่ลูกค้าสั่ง ก็จะแบ่งลูกไก่ขาย ถ้าแรกเกิดจะขายตัวละ 50 บาท

ระยะเวลาการเลี้ยงขุน ถ้าเป็นสายพันธุ์ไทย สมอลไวท์ (Small White) โครงสร้างจะเล็ก ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 5 เดือน จะได้น้ำหนัก 4-5 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นอเมริกันบรอนซ์ (American Beonze)จะเลี้ยงประมาณ 7เดือน จะได้น้ำหนักประมาณ 7-8 กิโลกรัม

6.เนื้อไก่งวง
6.เนื้อไก่งวง

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายไก่งวง

“ถ้าถามว่าเลี้ยงนานกว่านั้นได้หรือไม่ ก็ได้ แต่น้ำหนักก็จะมากขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้า 1 ปี จะได้ประมาณ 12-15กิโลกรัม ก็แล้วแต่สายพันธุ์ แต่ระยะเวลาการเลี้ยงก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด ถ้าเป็นโรงแรมจะต้องการไก่งวงน้ำหนักอยู่ที่ 10 กิโลกรัม แต่ส่วนใหญ่ถ้าเป็นคนซื้อไปกินเองจะต้องการที่น้ำหนัก 4 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นตามภัตตาคาร 5.5-7 กิโลกรัม” คุณปูให้ความเห็น

การใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์ม ถ้าไม่จำเป็นจะไม่ใช้ จะใช้สมุนไพรเพื่อป้องกันมากกว่า อย่างในช่วงหน้าฝนฟ้าทะลายโจรในชุมชนจะขึ้นเยอะ จะรับซื้อจากเกษตรกรมากักตุนไว้ใช้ เอาไว้สำหรับผสมในอาหารให้ไก่กินเพื่อป้องกันโรคในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งไก่งวงค่อนข้างไวต่ออากาศ เพราะฉะนั้นลักษณะภูมิอากาศค่อนข้างมีผลอย่างมาก แต่จะมีกรมอุตุที่คอยช่วยเหลือ คือ จะส่งรายงานพยากรณ์อากาศล่วงหน้ามาให้ทุกๆ วัน ถ้ารู้ล่วงหน้าว่าฝนจะตกจะผสมฟ้าทะลายโจรในอาหารมากกว่าปกติในทุกมื้ออาหารให้ไก่กินติดต่อกันประมาณ 3 วัน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน

ไก่งวง 100 ตัว เมื่อเลี้ยงต่อรุ่นไม่รวมค่าอาหาร จะได้ค่าตอบแทนประมาณ 70,000 บาท แต่จะต้องขึ้นกับการเลี้ยงตัวเมียมากหรือน้อยด้วย ถ้ามีตัวผู้มากกว่าก็จะได้เงินมากกว่า เนื่องจากตัวผู้จะมีน้ำหนักดีว่าตัวเมีย ถ้านำมาเลี้ยงรวมกันรุ่นละ 100 ตัว ก็จะได้เงินประมาณ 65,000-70,000 บาท ใช้เวลาเลี้ยง 7-8 เดือน ในแต่ละรุ่น หักต้นทุนค่าใช้จ่ายก็ถือว่าพออยู่ได้

โฆษณา
AP Chemical Thailand
7.โรงเรือนหมู
7.โรงเรือนหมู

ปัญหาและอุปสรรคการเลี้ยงหมู

ที่ผ่านมาจะเจอปัญหากับการเลี้ยงหมู ในเรื่องของโรค PRRS (Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome) และ FMD (Foot and Mouth Disease) จึงต้องเปลี่ยนแม่พันธุ์ใหม่ทั้งหมด ต้องตั้งต้นใหม่ทั้งหมด โดยสั่งหมูสาวเข้ามาใหม่ ขาดทุนไปกับการเลี้ยงหมูค่อนข้างเยอะ แต่ในช่วงระยะหลังหมูราคาดีขึ้น แต่ก็ได้ลดปริมาณการเลี้ยงลงไปแล้ว เพราะสู้บริษัทใหญ่ไม่ไหว และการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง

8.ไข่ไก่พร้อมจำหน่าย
8.ไข่ไก่พร้อมจำหน่าย

แนวโน้มในอนาคต

ต้องดูสถานการณ์ในอนาคต  ดูเรื่องของตลาด  ถ้ามีบริษัทใหญ่เข้ามาทำ เกษตรกรรายย่อยอาจจะลำบาก เพราะการแข่งขันอาจจะสูงขึ้น ถ้าถามถึงการทำธุรกิจในอนาคตก็ต้องดูปีนี้ด้วยว่าไก่งวงจะไปได้แค่ไหน เพราะไก่งวงยังเป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม

“อยากให้ทุกคนทำอาชีพอะไรก็ได้ที่เราสามารถทำได้ และทำให้เรามีรายได้หมุนเวียนอยู่ตลอด ไม่จำเป็นต้องเป็นอาชีพเกษตรกรก็ได้ แต่เป็นอาชีพที่ทำให้เราอยู่ได้ สามารถพึ่งพาตัวเองได้ และไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น อาจจะมีการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เสริมบ้างเล็กน้อยก็ได้ อยากให้ทุกคนได้ทำอาชีพที่เรารัก และทำอย่างมีความสุข” คุณปูฝากแง่คิดการเลี้ยงสัตว์แบบผสมผสาน

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณศรีสุนันท์ เดชบุตร (พี่ปู)

หากท่านใดสนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับธุรกิจไก่งวง สามารถติดต่อได้ที่ บ้านเลขที่ 30 หมู่ 2 ต.ดอนทราย อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 70140 โทร : 089-914-8016

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 325