เลี้ยงปลาบู่ ส่ง ธนาคารปลาบู่ ขาย 450บาท/กก. สอนเทคนิคการเลี้ยง พร้อมรับซื้อผลผลิตคืน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

ประเทศไทยขึ้นชื่อเรื่องเมืองเกษตร ด้วยภูมิประเทศเป็นเขตร้อนชื้น จึงง่ายต่อการเพาะปลูก รวมไปถึงการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งกุ้งและปลา “นิตยสารสัตว์น้ำ” ฉบับนี้ขอพาผู้อ่านทุกท่านมารู้จักกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่ ใครๆ ก็พูดว่า “เลี้ยงยาก เลี้ยงแล้วขาดทุน” เป็นสัตว์น้ำที่ปราบเซียนมาหลายราย แต่ทำไมจึงมีคนอยากเลี้ยงมันนัก ก็เพราะว่ามูลค่าทางตลาดที่สูงถึงกิโลกรัมละ 450 บาท ทีเดียว สัตว์น้ำที่ว่านี้นั้น คือ “ปลาบู่” เลี้ยงปลาบู่

1.ปลาบู่เจริญเติบโตเร็ว เนื้อแน่น รสชาติอร่อย
1.ปลาบู่เจริญเติบโตเร็ว เนื้อแน่น รสชาติอร่อย

ตลาดมีความต้องการปลาบู่มาก 

ปลาพื้นบ้านที่รู้จักกันมานาน เดิมทีปลาบู่เป็นปลาธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากแหล่งน้ำสะอาดทั่วไป ในแต่ละปีชาวบ้านจะดักจับปลาบู่มาทำอาหารมากมาย ด้วยรสชาติที่อร่อย เนื้อแน่น ส่งผลให้มูลค่าของมันจึงสูง อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง ไต้หวัน หรือพี่ใหญ่ อย่าง จีน เมื่อตลาดมีความต้องการมาก ก็มีเกษตรกรหลายรายหันมา เลี้ยงปลาบู่ แบบจริงจัง

หวังจับขายเพิ่มเงินในกระเป๋า แต่เมื่อเลี้ยงไปแล้วกลับเจ็บตัว ขาดทุนไปหลายราย เพราะปลาบู่เป็นปลาที่เลี้ยงยากในระดับหนึ่ง ข้อสำคัญ คือ การเจริญเติบโตค่อนข้างช้า นั่นหมายถึง ต้นทุนด้านอาหารที่สูงขึ้น หรือกินเท่าไรก็ไม่โตสักที จนเมื่อจะจับขายก็ยังขาดทุนอยู่ดี

การเพาะ เลี้ยงปลาบู่

แต่ในวันนี้การ เลี้ยงปลาบู่ จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ด้วยวิธีการเลี้ยงแบบอิงธรรมชาติโดยการสร้างสิ่งแวดล้อมในบ่อให้เหมาะสม เน้นสร้างห่วงโซ่อาหารที่มีประโยชน์ต่อตัวปลามากที่สุด ซึ่งวิธีการเลี้ยงแบบนี้มีผู้ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว สามารถเลี้ยงปลาบู่เพียง 8-9 เดือน สามารถจับขายได้ในไซซ์ 3-4 ขีด ที่สำคัญยังมีกำไรจากการเลี้ยงเป็นกอบเป็นกำอีกด้วย

2.คุณแป๊ะ เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาบู่
2.คุณแป๊ะ เกษตรกรผู้ เลี้ยงปลาบู่

จุดเริ่มต้นการเพาะเลี้ยงปลาบู่

เกษตรกรท่านนี้ คือ คุณแป๊ะ คนเลี้ยงปลามากความสามารถ ที่ชีวิตหักเหจากอาชีพช่างผันตัวมาเลี้ยงกุ้งจนเจ๊งไม่เป็นท่า แต่ด้วยหัวใจที่รักการเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงตัดสินใจมาเลี้ยงปลาน้ำจืด ซึ่งได้ผลเป็นอย่างดี สร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวได้อย่างสบาย โดยเน้นการเลี้ยงปลานิลหมัน และปลาน้ำจืดเศรษฐกิจทั่วไป รวมถึงเลี้ยง และเพาะพันธุ์ ปลาบู่ เพื่อเป็นรายได้เสริม

กว่าจะมาเป็นคนเลี้ยงปลาบู่ คุณแป๊ะยอมรับว่าเส้นทางนี้ไม่ง่าย เจ็บตัวไปก็เยอะ ค่าวิชาแสนแพง แต่เมื่อเริ่มเลี้ยงและจับขายได้ รายได้ก็เข้ากระเป๋ามากขึ้น “เทคนิคการเลี้ยงปลาบู่ของผม ต้องบอกว่าที่ผ่านมาคนเลี้ยงไม่ได้ มันไม่โต ยิ่งให้อาหารต้นทุนก็ยิ่งสูง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แต่ด้วยใจที่ชอบปลาชนิดนี้ อีกทั้งราคาตอนขายค่อนข้างสูง ทำให้ผมตั้งมั่นที่จะต้องเลี้ยงปลาบู่ให้ได้ ก็เริ่มศึกษาวงจรชีวิตของมัน ดูว่าเค้าชอบกินอะไร หรือกินอะไรแล้วโตดี เลี้ยงยังไงให้มันรอด  ลูกพันธุ์หาที่ไหน จนสุดท้ายเราเริ่มทดลองเอามาเลี้ยงในบ่อปลานิล เลี้ยงคู่กันไปเลย ก็เก็บข้อมูลมาเรื่อยๆ ปรับเปลี่ยนไปเยอะ กว่าจะสำเร็จอย่างที่เห็นในทุกวันนี้ จนเมื่อเราเลี้ยงได้ก็เริ่มมีคนสนใจเข้ามาดู มาศึกษา และที่สำคัญเราผลิตลูกปลาได้ด้วย คนก็ยิ่งสนใจมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้มากมายอย่างทุกวันนี้”

3.คุณธงชัย ศีลอุดม
3.คุณธงชัย ศีลอุดม เจ้าของฉายา “จอมยุทธ์” ผู้ซึ่งหลงใหลการเลี้ยงปลาบู่ 

การจัดตั้ง ธนาคารปลาบู่

จนกระทั่งมาเจอกับ คุณธงชัย ศีลอุดม เจ้าของฉายา “จอมยุทธ์” ผู้ซึ่งหลงใหลการเลี้ยงปลาบู่ เพราะรู้ว่าตลาดปลาบู่กว้างมากโดยเฉพาะในต่างประเทศที่ต้องการผลผลิตเป็นจำนวนมาก แต่ประเทศไทยกลับมีกำลังการผลิตน้อย เพราะเลี้ยงกันไม่ได้ แต่เมื่อมาเจอกับคุณแป๊ะ เสมือนคนคุยภาษาเดียวกัน จึงร่วมกันจัดตั้ง “ ธนาคารปลาบู่ ” ขึ้น เพื่อผลักดันให้เกษตรกรมาศึกษา และเลี้ยงปลาบู่ให้รอด ได้กำไร โดยคุณแป๊ะจะเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเลี้ยงให้ทั้งหมด

ธนาคารปลาบู่ แห่งนี้จัดตั้งขึ้นเมื่อต้นปี 2563 ที่ผ่านมา มีการขับเคลื่อนโดยคุณแป๊ะ ทำหน้าที่ให้ความรู้เรื่องเทคนิคการเลี้ยง และผลิตลูกพันธุ์ปลา ส่วนคุณจอมยุทธ์ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์โครงการให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโครงการขึ้นมา มีเกษตรกรหรือคนสนใจการเลี้ยงปลาบู่เพิ่มขึ้นมา ต่างแวะเวียนเข้ามาศึกษา พูดคุยถึงวิธีการเลี้ยง รวมถึงความเป็นไปได้ทางตลาด เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าเลี้ยงแล้วมีที่ขายแน่นอน

สอนเทคนิคการเลี้ยง +รับซื้อคืนในราคาเท่ากับท้องตลาด

โดยธนาคารปลาบู่แห่งนี้ นอกจากจัดตั้งขึ้นมาเพื่อสอนเทคนิคการเลี้ยงแล้ว ผลผลิตที่เกษตรกรเลี้ยง หากไม่มีตลาดขาย ทางธนาคารก็พร้อมรับซื้อคืนในราคาซื้อขายเท่าๆ กับท้องตลาด เพื่อนำผลผลิตส่งไปขายยังพาร์ทเนอร์ต่อไป

“ถ้าพูดถึงเรื่องตลาด ผมไม่กลัวเลย เพราะตลาดมันกว้างมาก อย่างที่ผมส่งขายอยู่เป็นประจำ เขาจะส่งออกไปต่างประเทศ ซึ่งทุกครั้งที่มาจับก็จะถามตลอดว่ามีของอีกมั๊ย เพราะเขาต้องการปลาบู่เยอะมาก แต่เป็นที่เราเองที่ผลิตให้เขาไม่ได้ ดังนั้นถ้าใครที่มาเรียนกับเรา พอกลับไปเลี้ยงแล้วไม่มีตลาดขาย ผมก็จะรับซื้อคืนทั้งหมด”

4.บ่อเลี้ยงปลาบู่
4.บ่อ เลี้ยงปลาบู่

เทคนิคการเลี้ยงปลาบู่ แบบฉบับคุณแป๊ะ

เทคนิคการเลี้ยงปลาบู่ของคุณแป๊ะไม่มีอะไรยุ่งยากมากนัก เริ่มต้นจากการเตรียมบ่อ เน้นบ่อที่สะอาด พื้นบ่อไม่มีกองเลนสะสมมาก จากนั้นเติมน้ำเข้าบ่อ ผ่านผ้ากรองลูกปลา และไข่ปลา แล้วจึงเริ่มปรับสภาพน้ำให้เหมาะสม pH อยู่ในระดับกลาง จากนั้นจะเริ่มสร้างอาหารธรรมชาติ เช่น หนอนแดง กุ้งฝอยปล่อยไร่ละ 1 กก.รวมถึงปลาท้องแตก (ปลาที่มีลักษณะคล้ายปลาหางนกยูง แต่ไม่มีสีสัน และออกลูกครั้งละมากๆ)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

เมื่อเตรียมน้ำได้ประมาณ 5-7 วัน จะเริ่มลงลูกปลานิลหมันขนาดใบมะขาม โดยช่วงแรกจะใช้รำเป็นอาหารให้ปลานิล เมื่อปลานิลมีอายุ 1 เดือน ก็เริ่มปล่อยลูกปลาบู่ได้ อัตราไร่ละ 1,500-2,000 ตัว (สำหรับทำปลาเนื้อ) และ 1,000 ตัว (สำหรับทำแม่พันธุ์) ขนาด 1 นิ้ว ซึ่งการเลี้ยงปลานิลและปลาบู่ควบคู่กันนี้จะส่งผลให้ระบบนิเวศในบ่อเป็นธรรมชาติ รวมถึงการสร้างอาหารมีชีวิต อย่าง กุ้งฝอย ปลาท้องแตก และหนอนแดง ไว้ เพื่อให้ปลาบู่จับกิน ซึ่งจะส่งผลให้ปลาโตเร็ว จากนั้นเกษตรกรเลี้ยงปลาต่อไป อีก 1 ปี ก็จะเริ่มทยอยดักปลาบู่จับขายได้

5.ปลาบู่คุณภาพ ที่ตลาดต้องการ
5.ปลาบู่คุณภาพ ที่ตลาดต้องการ

การเพาะพันธุ์ปลาบู่

ในส่วนของการเพาะลูกพันธุ์นั้น ทาง ธนาคารปลาบู่ ก็จะมีสอนเทคนิคการเพาะด้วยเช่นกัน โดยใช้ทฤษฎีหลอกปลา เน้นการทำบ่อแบบธรรมชาติ ให้ปลาคิดว่าอยู่ในคลองธรรมชาติ รวมถึงวิธีกระตุ้นการผสมพันธุ์ของปลาอีกด้วย ซึ่งการผลิตลูกพันธุ์นั้น คุณแป๊ะจะมีวิธีการสอนแบบเชิงลึกอีกทีสำหรับเกษตรกรที่สนใจ

ปัจจุบัน “ ธนาคารปลาบู่ ” ได้รับการตอบรับจากเกษตรกรผู้ที่สนใจเป็นอย่างมาก ไม่เว้นแม้แต่บริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำยักษ์ใหญ่ ยังต้องส่งตัวแทนลงมาศึกษาตลาด และวิธีการเลี้ยง เพราะเชื่อว่าในอนาคตปลาบู่จะเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจอีกตัวที่น่าสนใจ และคุณธงชัยได้กล่าวอีกว่า หาก ธนาคารปลาบู่ ประสบความสำเร็จดีแล้ว ในอนาคตตนจะเปิด “ธนาคารกุ้ง” ขึ้นมาอีก เพราะอย่างไรอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งในประเทศไทยยังเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ มีมูลค่าสูง และยังมีคนสนใจอีกเป็นจำนวนมาก

หากเกษตรกรท่านใดสนใจอยากศึกษาวิธีการเลี้ยงปลาบู่แบบอิงธรรมชาติ สามารถติดต่อได้ที่ คุณธงชัย ศีลอุดม (จอมยุทธ์) โทร : 081-300-0166, คุณแป๊ะ โทร : 082-209-8947

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 370