สายพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ โมน่า โตดี แข็งแรง ไม่แตกไซซ์ เทคนิคเลี้ยง “นายหัวฟาร์ม” ส่งตลาดจีน

โฆษณา
AP Chemical Thailand

กุ้งลายเสือหรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “กุ้งกุลาดำ” เป็นกุ้งน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย ขนาดประมาณ 18-25 เซนติเมตร เมื่อโตเต็มวัยจะมีลำตัวสีเข้ม มีแถบสีอ่อนพาดขวางสลับกับแถบสีน้ำตาลเข้มเกือบดำตลอดตัว คนส่วนใหญ่นิยมนำไปเผา ย่าง หรืออบ ซึ่งในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมของตลาดชาวจีน สายพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ

1.เสี่ยจอย เจ้าพ่อกุ้งดำเมืองเพชร
1.เสี่ยจอย เจ้าพ่อกุ้งดำเมืองเพชร

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงกุ้งขาว

นิตยสารสัตว์น้ำ มาพูดคุยกับ “คุณชยานันต์ อินทรัตน์” หรือที่คนแถวนี้รู้จักกันดีในนาม “เสี่ยจอย” เจ้าของบ่อกุ้ง “นายหัวฟาร์ม” เกษตรกรคนเลี้ยงกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ มานานกว่า 20 ปี บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ ที่จังหวัดเพชรบุรีจำนวนทั้งหมด 30 บ่อ แบ่งเป็นกุ้งขาว 20 บ่อ และกุ้งดำ 10 บ่อ

เสี่ยจอยได้เผยถึงที่มาของการเลี้ยงกุ้งว่า “เริ่มเลี้ยงกุ้งตั้งแต่ปี 2540 หลังจากเรียนจบยังไม่มีงานทำ เลยไปทำงานกับญาติที่เปิดฟาร์มกุ้งกุลาดำ ทำได้ 4-5 ปี ตอนนั้นเขาเลี้ยงแล้วขาดทุนก็เลยหยุด แต่เรายังมีความสนใจในเรื่องกุ้งอยู่ และเห็นว่ายังมีบ่อ มีอุปกรณ์ อยู่แล้ว เลยขอเช่าที่แล้วมาเลี้ยงเอง ตอนนั้นปี 47 กุ้งขาวกำลังมาใหม่ เลยหันมาเลี้ยงกุ้งขาวลงไป 2 บ่อ แล้วค่อยขยับขยายมาทีละนิด จนปัจจุบันมีทั้งหมด 30 บ่อ บนพื้นที่ 300 ไร่”

2.บ่อพักน้ำขนาดใหญ่ของฟาร์ม
2.บ่อพักน้ำขนาดใหญ่ของฟาร์ม
เครื่องตีน้ำที่เปิดเมื่อมีอากาศร้อนจัด ช่วยลดการแบ่งชั้นของน้ำในบ่อเลี้ยง
เครื่องตีน้ำที่เปิดเมื่อมีอากาศร้อนจัด ช่วยลดการแบ่งชั้นของน้ำในบ่อเลี้ยง

การบริหารจัดการบ่อกุ้ง

ส่วนเรื่องการจัดการกุ้งขาวกับกุ้งกุลาดำจะเลี้ยงคล้ายๆ กัน แต่แร่ธาตุที่ใส่ในกุ้งดำจะไม่เยอะเท่ากุ้งขาว การให้ออกซิเจนก็น้อยกว่ากุ้งขาว กุ้งกุลาดำที่เลี้ยงจะเป็นกุ้งที่ว่ายอยู่พื้นน้ำ จึงทำให้ประหยัดกว่า เพราะจะตีน้ำน้อยกว่า แต่อายุการเลี้ยงจะยาวกว่ากุ้งขาว ที่บ่อจะเลี้ยงประมาณ 4 เดือนครึ่ง ขนาดที่ได้จะประมาณหน้า 3 ระดับความเค็มของน้ำจะใช้เท่ากัน ทั้งกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำจะใช้ความเค็ม 10-15 พีพีที. แล้วแต่ฤดูกาล จำนวนที่ปล่อยทั้งกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำจะปล่อยบ่อละหนึ่งแสนตัว/ไร่

ฟาร์มแห่งนี้จะเน้นการบริหารจัดการน้ำให้สะอาดเป็นหลัก และมีการป้องกันเชื้อทั้งทางน้ำและทางบก โดยเริ่มตั้งแต่การเคลียร์บ่อ ทำความสะอาดบ่อตามปกติทั่วไป แม้ว่าจะอยู่ใกล้ทะเลแต่จะไม่ใช้น้ำทะเลโดยตรง เพราะมองว่าน้ำจากภายนอกเสี่ยงเกินไป จึงใช้น้ำที่เก็บในฟาร์มที่ความเค็ม 10 พีพีที. เป็นบ่อน้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงกุ้งสูบไปพักในบ่อพักขนาดใหญ่ มีการบำบัดด้วยปลา แล้วสูบมาผ่านบ่อทรีตน้ำด้วยคลอรีน และเปิดเครื่องตีน้ำ 1 วัน ก่อนนำกุ้งเข้าบ่อ นอกจากนี้ยังขึงเชือกเหนือบ่อเพื่อป้องกันสัตว์พาหะต่างๆ และมีอ่างแช่เท้าในน้ำคลอรีนก่อนเข้าบ่อ เพื่อป้องกันโรค

เสี่ยจอยได้บอกถึงเทคนิค การเลี้ยงยังไงให้อัตราการรอดสูง  ผลผลิตดี ว่า  “ตอนที่ปล่อยกุ้งจะตีน้ำหมดเลย  4 แขน 8 ตัว ให้ออกซิเจนตั้งแต่เช้า ก่อนลงกุ้งก็จะตีพัด พอลงกุ้งเสร็จ ช่วง 6 โมงเย็น ก็เปิดแค่ 4 ตัว บ่อที่ฟาร์มจะปูพลาสติก PE แค่ตรงสโลป ส่วนที่พื้นก็จะเป็นดิน จะดูดเลนเฉพาะตอนปิดขอบ จะมีการจัดการพื้นในช่วงก่อนเลี้ยงและระหว่างเลี้ยง ช่วงก่อนเลี้ยงจะลงปูนร้อนที่พื้นบ่อ ส่วนช่วงระหว่างเลี้ยงจะเปลี่ยนถ่ายน้ำ ดูดน้ำตรงกลางตามปกติ แต่ไม่ได้ดูดเลน โดยจะดูดน้ำจากคลองธรรมชาติมาบ่อพัก ระบบน้ำในฟาร์มจะเป็นระบบหมุนเวียน”

โฆษณา
AP Chemical Thailand

โดยครั้งแรกที่ปล่อยน้ำลงบ่อจะปล่อยแค่ 50 ซม. หรือประมาณหัวเข่า แล้วลากโซ่เพื่อให้กุ้งตะกุยดิน ต่อมาลงยาฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ จะมีการทรีตน้ำประมาณ 20 วัน ต้องมีการทรีตน้ำค่าเชื้อประมาณหนึ่งอาทิตย์ เพื่อกำจัดหน้าดิน จากนั้นเลี้ยงอาหารธรรมชาติ จำพวกตัวแดง ไรแดง เพราะคิดว่ากุ้งช่วงเล็กๆ กินอาหารธรรมชาติจะดีกว่า โดยจะให้กินประมาณ 10-15 วัน หลังจากนั้นก็ให้อาหารตามปกติ

3.อาหารกุ้งคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผลผลิตออกมาตรงตามที่ตลาดต้องการ
3.อาหารกุ้งคือสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผลผลิตออกมาตรงตามที่ตลาดต้องการ

การให้อาหารกุ้ง

จะให้อาหารในระบบออโต้ฟีด ของ  บริษัท ไทยลักซ์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จํากัด  สูตร “ไทยลักซ์  สปีด” และ “ไทยลักซ์ โกลด์” ผลผลิตกุ้งที่ได้ โตไว น้ำหนักดี และสีสวย จะให้อาหารตามเบอร์ที่เหมาะสมกับกุ้งในแต่ละระยะ ให้วันละ 3 มื้อ (เช้า เที่ยง เย็น)

ปริมาณการให้ในมื้อเย็นจะน้อยกว่ามื้อเช้าและเที่ยง อย่างเช่น ถ้าให้อาหารวันละ 100 กก. จะให้มื้อเช้าและเที่ยง มื้อละ 40 กก. ส่วนมื้อเย็นจะให้ 20 กก. เทคนิคนี้เป็นการบีบให้กุ้งกินอาหารให้หมดในแต่ละวัน ในช่วงที่กุ้งอายุ 1-2 เดือน จะเสริมวิตามินในอาหาร ให้จุลินทรีย์ มีการปรับสภาพน้ำ เสริมด้วย ปม. อาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง ซึ่งในช่วงแรกจะใช้อาหารไทยลักซ์ สปีด 39% โปรตีน ส่วนในช่วงท้ายที่ใกล้จับจะให้อาหารไทยลักซ์ โกลด์ 42% โปรตีน เพื่อเร่งสี และน้ำหนัก

“ผมเริ่มใช้อาหารของไทยลักซ์มาตั้งแต่เริ่ม เพราะอาหารมีคุณภาพดี ทำให้ผลผลิตกุ้งที่ได้ตรงตามความต้องการของตลาดที่จีน  ส่วนลูกกุ้งโมน่าเป็นกุ้งสายพันธุ์ดี  เป็นที่ต้องการของตลาดประเทศจีน  มีลักษณะที่โตดี แข็งแรง ไม่แตกไซซ์” เสี่ยจอยบอกถึงเหตุผลที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของไทยลักซ์ฯ

4.กุ้งดำคุณภาพ ตัวสวยจัด แบบที่ตลาดต้องการ
4.กุ้งดำคุณภาพ ตัวสวยจัด แบบที่ตลาดต้องการ

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายกุ้ง

การเลี้ยงกุ้งที่ฟาร์มจะเน้นขายกุ้งเป็นไปประเทศจีน ตลาดกุ้งกุลาดำที่จีนกำลังเป็นที่นิยม นอกจากกุ้งสีสวย แข็งแรงแล้ว ตัวต้องสะอาด ท้องไม่ดำ ไม่มีตะกอนเข้าเหงือก และหางไม่กร่อน ส่วนไซซ์ที่ตลาดต้องการประมาณ 30 ตัว/กก. เมื่อถึงเวลาจับส่งก็จะมาแพ็คกุ้งที่ฟาร์มไปส่งขึ้นเครื่องบินที่สุวรรณภูมิเพื่อส่งไปประเทศจีนต่อไป

“การเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ตรงนี้ค่อนข้างดีเพราะใกล้กรุงเทพ ทำให้การขนส่งง่าย อัตราการเสียหายระหว่างขนส่งก็ค่อนข้างต่ำ น้ำในพื้นที่ตรงนี้ก็ดี ความเค็มได้ เป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำด้วย และตลาดที่นี่ก็เป็นตลาดของกุ้งอ๊อกส่งจีน” เสี่ยจอยให้ความเห็นเพิ่มเติม

โฆษณา
AP Chemical Thailand
5.สุ่มจับกุ้งมาวัดไซซ์ เพื่อดูการเจริญเติบโต
5.สุ่มจับกุ้งมาวัดไซซ์ เพื่อดูการเจริญเติบโต สายพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ สายพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ สายพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ สายพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ สายพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ

สายพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ

สำหรับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในปัจจุบันนั้นการเลี้ยงไม่แตกต่างกับการเลี้ยงกุ้งขาว เพียงแค่ต้องใส่ใจรายละเอียดในการเลี้ยง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา และสามารถหาทางแก้ไขได้ทัน และต้องหาวิธีการลดต้นทุน กุ้งกุลาดำก็จะสามารถกลับมาเลี้ยงได้อีก เพราะตอนนี้มีตลาดรองรับ และในปัจจุบันยังมีสายพันธุ์กุ้งกุลาดำที่โตเร็ว และแข็งแรง เพื่อสนับสนุนการเลี้ยงอีกด้วย

ลูกกุ้งที่นำมาปล่อยจะเป็นกุ้งกุลาดำสายพันธุ์โมน่า  เป็นสายพันธุ์ที่ผู้ส่งออกนิยมส่งไปประเทศจีน  เนื่องจากมีความ แข็งแรง สีสวย เลี้ยงง่าย โตไว และจุดเด่นของกุ้งกุลาดำสายพันธุ์โมน่า คือ ขาแดง ตัวเข้ม เหงือกใหญ่กว่าสายพันธุ์ทั่วไป

“จริงๆ แล้วผมก็เลิกเลี้ยงกุ้งกุลาดำไปช่วงหนึ่ง นี่เพิ่งจะกลับมาเลี้ยงได้สองปี เพราะหนีโรคขี้ขาว ในช่วงสองปีที่ผ่านมาเลยมาเจอกับลูกกุ้งสายพันธุ์โมน่าของ บริษัท ไทยลักซ์ฯ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่โตดีกว่า มีขนาดสม่ำเสมอกว่าสายพันธุ์ที่เคยเลี้ยง ที่มาจากทะเล เป็นพันธุ์พื้นเมือง” เสี่ยจอยบอกเหตุผลที่หันกลับมาเลี้ยงกุ้งดำอีกครั้ง

6.ทดลองต้มกุ้งที่สุ่มจับมา ปรากฏว่าขึ้นสีสวย สีเข้ม แบบนี้สิที่ต้องการ
6.ทดลองต้มกุ้งที่สุ่มจับมา ปรากฏว่าขึ้นสีสวย สีเข้ม แบบนี้สิที่ต้องการ สายพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ สายพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ สายพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ 

ฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง

สุดท้ายเสี่ยจอยได้ฝากทิ้งท้ายถึงเกษตรกรคนเลี้ยงกุ้งที่อยากจะหันมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำว่า “ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีหากจะลองเปลี่ยนมาเลี้ยงกุ้งกุลาดำ เพราะตัวผมเองก็เลี้ยงกุ้งขาวมา 20 ปีแล้ว หนีโรคขี้ขาว เลยได้มาเริ่มเลี้ยงกุ้งกุลาดำอีกรอบ ทำให้ผมได้มาเจอกับลูกกุ้งกุลาดำสายพันธุ์โมน่า ของไทยลักซ์ฯ ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่โตดี แข็งแรง มีขนาดตัวเสมอกัน จะไม่ค่อยเจอปัญหาแตกไซซ์ และกุ้งกุลาดำก็ยังถือว่าเป็นสัตว์น้ำที่ยังเป็นที่ต้องการของตลาดอยู่

ถ้าใครสนใจก็ลองเริ่มเลี้ยงกุ้งกุลาดำก่อนซัก 1 บ่อ พอเลี้ยงไปได้ซักพักเราก็จะรู้ตัวเองว่าเราเหมาะกับเลี้ยงกุ้งแบบไหน สุดท้ายผมขอเป็นกำลังใจให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทุกคนที่กำลังจะเริ่ม หรือเริ่มเลี้ยงแล้วกำลังเจอกับปัญหา ขอให้ทุกคนสู้ๆ ทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ”

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณชยานันต์ อินทรัตน์ หรือเสี่ยจอย

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์น้ำ ฉบับที่ 371