ถ้าพูดถึงอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งมีมาอย่างยาวนาน ก้าวสู่ในยุคปัจจุบันเกษตรกรรุ่นใหม่เพิ่มมากขึ้น โดยบางส่วนเป็นลูกหลานที่เข้ามาสานต่อธุรกิจ แต่ก็มีบางส่วนที่เข้ามาจากการนับหนึ่งด้วยตนเอง ทำให้วงการผู้เลี้ยงกุ้งมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง มีเทคโนโลยีเข้ามาเป็นส่วนประกอบเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดเทคนิคและวิธีการเลี้ยงที่แตกต่างกันออกไป โรคขี้ขาวกุ้ง
แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ต้องการผลผลิตที่ออกมามีคุณภาพ และเป็นที่ต้องการของตลาด
การเพาะเลี้ยงกุ้ง
ทำให้วันนี้อยากพาท่านผู้อ่านมาพบกับ คุณวิทยา เอี่ยมนนท์ หรือคุณแจ๋ว เกษตรกรผู้ที่สานต่อธุรกิจจากรุ่นคุณพ่อ คุณแม่ สามารถพัฒนาระบบและกระบวนการเลี้ยงให้มีมาตรฐานเพิ่มมากขึ้น ด้วยการเลือกใช้ปัจจัยการผลิตด้านอาหารและเวชภัณฑ์ที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยให้ผลผลิตออกมาเป็นกุ้งที่มีคุณภาพมากที่สุด โดยค่อยๆ พัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 15 ปี
สภาพพื้นที่เลี้ยงกุ้ง
ปัจจุบันคุณแจ๋วเลี้ยงกุ้งทั้งหมด 18 บ่อ ขนาดของบ่อเลี้ยงประมาณ 3-8 ไร่ ในรูปแบบปูพีอี อัตราการปล่อยกุ้งโดยประมาณอยู่ที่ 100,000 ตัว/ไร่ ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้ใส่ใจในทุกรายละเอียดของกระบวนการเลี้ยงกุ้ง จนความก้าวหน้าเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก และยังคงพัฒนาต่อไป
คุณแจ๋วเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการเลือกใช้สายพันธุ์ที่มีคุณภาพ อย่าง “ลูกกุ้งซีพี” เพราะเคยพบเจอกับปัญหาด้านลูกกุ้งเมื่อเจอปี พ.ศ.2557 ขาดทุนประมาณ 50 ล้านบาท หลังจากนั้นได้เริ่มต้นใหม่และเลือกใช้ลูกกุ้งซีพีทั้งฟาร์มเมื่อปีพ.ศ.2559-2563 สามารถฟื้นขึ้นมาได้ด้วยลูกกุ้งของซีพีในช่วงที่ผ่านมา
การอนุบาลลูกกุ้ง
ลงกุ้งพี 12 ตามปกติ นำมาอนุบาล 7 วัน ภายในบ่ออนุบาลพลาสติก (อัตราส่วนลูกกุ้ง 120,000 ตัว : น้ำ 3 ตัน) เนื่องจากเคยเจอกับปัญหาเรื่องการขนส่ง ทำให้ลูกกุ้งอ่อนแอ ทางฟาร์มจึงมีแนวคิดในการนำลูกกุ้งมาอนุบาลที่ปากบ่อ หลังจากนั้นเป็นต้นมาลูกกุ้งมีอัตราการรอดที่ดีขึ้น ใช้ระยะเวลาอนุบาลประมาณ 5-7 วัน หรือตัวลูกกุ้งมีความยาวประมาณ 2 เซนติเมตร
ก่อนลงลูกกุ้งในบ่อเลี้ยง ทางฟาร์มพักบ่อประมาณ 1 เดือน หลังจากนั้นลงปูนฆ่าเชื้อที่พื้นบ่อร่วมกับพวกไนโตรเจนคาร์บอเนต และปูนขาว ปล่อยน้ำเข้าบ่อครั้งแรกระดับความลึกประมาณ 1.2 เมตร เมื่อครบ 45 วัน เติมน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ จนถึงสูงสุด 1.6 เมตร โดยทางฟาร์มจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ แต่จะใช้หลุมกลางบ่อในการดูดของเสียออก เพื่อช่วยให้ระหว่างการเลี้ยงมีคุณภาพน้ำที่ดี โดยจะเลือกบางบ่อที่สามารถทำได้ ส่วนบ่อที่ไม่มีหลุมกลาง ทางฟาร์มจะใช้จุลินทรีย์ โดยจะใส่ในบ่อเลี้ยงทุกๆ วัน เริ่มตั้งแต่ตอนปล่อยกุ้งจนถึงวันจับ ในปริมาณ 100 ลิตร/ไร่
การให้อาหารกุ้ง
เคล็ดลับสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ การเลือกใช้ปัจจัยด้านอาหารที่มีคุณภาพ โดยทางฟาร์มเลือกอนุบาลลูกกุ้งด้วย “อาหารกุ้งวัยอ่อนของซีพี” แบ่งให้สำหรับ 8 มื้อ ประมาณ 100-120 กรัม/วัน ร่วมกับการคลุกอาหารเสริมหรือวิตามินบำรุง โดยทางฟาร์มเลือกใช้ “เบต้าแซคพลัส, เนสิด พาวเดอร์, สไป-ซี พลัส และเทอร์แบค 15” จาก บริษัท ยีสต์ มาสเตอร์ จำกัด เพื่อช่วยเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต และบำรุงร่างกายของลูกกุ้งให้แข็งแรงตลอดการเลี้ยง
โดยทางคุณแจ๋วเล่าให้ฟังว่า “รู้จักผลิตภัณฑ์ของยีสต์มาสเตอร์จากน้องๆ ที่มาแนะนำ จึงได้เปิดใจและเริ่มทดลอง ตอนนั้นตัวกุ้งไม่มีปัญหา แต่เจอปัญหาขี้ขาว ทำให้อัตราการรอดต่ำ หลังจากทดลองใช้เบต้าแซคพลัสคู่กับสไปซี และผลิตภัณฑ์เนซิด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยโปรตีน ทำให้มีประสิทธิภาพการแตกเนื้อที่ดีขึ้น คลุกร่วมกับอาหาร ผลปรากฏว่าเห็นผลภายใน 7 วัน กุ้งตัวใสขึ้น แข็งแรงขึ้น สุขภาพของกุ้งฟื้นตัวเร็วกว่าปกติ
อัตราการรอดดีขึ้น จากเดิมอัตราการรอด 65-75 % ตอนนี้เพิ่มขึ้นมา 80-85 % โดยเลือกจะให้เสริมตั้งแต่กุ้งเล็กถึงจับเลยในทุกมื้ออาหาร ใช้เบต้าแซคพลัสให้ประมาณ 10-20 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม และใช้สไป-ซีในกุ้งขาว 5 ซีซี. และกุ้งกุลาดำให้ประมาณ 10 ซีซี./อาหาร 1 กิโลกรัม”
การบริหารจัดการบ่อกุ้ง ป้องกัน โรคขี้ขาวกุ้ง
ต่อมาเรื่องการจัดการอื่นๆ ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน อาทิ การเติมออกซิเจนภายในบ่อเลี้ยง ทางฟาร์มเลือกใช้ระบบใบพัดตีน้ำ ภายในบ่อเลี้ยงขนาดประมาณ 7 ไร่ จะวางเครื่องใบพัดตีน้ำประมาณ 12 แขน ร่วมกับสายออกซิเจนแนวดิ่งบริเวณออโต้ฟีด เพราะกุ้งจะมาวนรอบๆ แถวนั้นตอนกินอาหาร
การพาเชี่ยน ทางฟาร์มจะเลือกพาเชี่ยนผลผลิตออกถ้าแน่นเกินไป โดยดูจากค่า DO ภายในบ่อเลี้ยง ถ้าค่า DO ตกมาอยู่ 3 จะเริ่มพาเชี่ยนออกที่ไซซ์ประมาณ 70 ตัว/กิโลกรัม
วิธีการจัดการของเสียพื้นบ่อ นอกจากใส่จุลินทรีย์อาจจะมีเพิ่มสารดักตะกอนและแร่ธาตุต่างๆ
การจัดการโรค โรคที่มักเจอในเขตพื้นที่ อย่าง พวกขี้ขาว จะเจอที่อายุ 35-45 วัน ทางฟาร์มจะเฝ้าระวังโดยเน้นเรื่องการให้อาหาร คุมอาหารในช่วงอายุ 35-50 วัน กุ้งอาจจะโตช้าบ้าง แต่ยังไม่เป็นขี้ขาว ทำให้สามารถเลี้ยงต่อได้ และอัตราการรอดไม่ลดลง
ตรวจสุขภาพกุ้ง ทางฟาร์มจะนำตัวอย่างน้ำและกุ้งภายในบ่อเข้าแลป เพื่อตรวจคุณภาพน้ำ และตรวจสุขภาพกุ้ง ทุกๆ 3 วัน เพื่อเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ฝากถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง
สุดท้ายนี้คุณแจ๋วฝากทิ้งท้ายถึงเกษตรกรไว้ว่า “การเลี้ยงกุ้งสำคัญทุกขั้นตอนเหมือนกันหมด แต่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นเรื่องอาหาร ต้องให้อาหารที่พอดี วันนี้ต้องกินซักเท่าไหร่ สมควรกินได้กี่กิโลกรัม การให้ออโต้ฟีดก็เป็นเหมือนดาบสองคม กุ้งอาจจะได้กินมากกว่าปกติ แต่การกินมากก็ต้องถ่ายทิ้ง แล้วของเสียจะส่งผลต่อคุณภาพน้ำไหม หรือบางทีให้เยอะ แต่กุ้งกินไม่หมด ก็จะกลางเป็นของเสียที่พื้น จึงต้องระมัดระวังให้ดี”
สำหรับท่านใดต้องการสอบถามข้อมูลด้านสินค้า บริษัท ยีสต์ มาสเตอร์ จำกัด สามารถติดต่อได้ที่ บริษัท ยีสต์ มาสเตอร์ ฟาร์ม จำกัด โทร : 087-054-5175 (เภสัชกร ชานนท์ ระวังเหตุ), ตัวแทนจำหน่ายภาคใต้ คุณมารียะฮ์ ทุมมาลี โทร : 098-246-6654, 074-830-224, Email : [email protected], www.yeastmasterfarm.co.th ทางบริษัทยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านด้วยความยินดี