การเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันจะเห็นว่าองค์ประกอบสำคัญนอกจากลูกกุ้งที่ดี อาหารที่ดี รวมถึงเทคนิคการเลี้ยงที่ดีแล้วเรื่อง “ธาตุอาหาร” คือ อีกหนึ่งส่วนสำคัญที่ทำให้กุ้งที่เลี้ยงมีความแข็งแรง สมบูรณ์ และห่างไกลจากโรคที่จะเข้ามารุกรานคุณวาที จันทร์นุศร หรือคุณเดียร์ อดีตหนุ่มวิศวกรไฟฟ้าเงินเดือนเฉียดแสน แต่กลับหันหลังให้งานประจำ และเดินหน้ามุ่งสู่อาชีพเกษตรกรคนเลี้ยงกุ้งเต็มตัว ในวันนี้คุณเดียร์ คือ เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้นำเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาใช้ในการดูแลจัดการบ่อกุ้ง รวมถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์คุณภาพเพื่อแก้ปัญหาเรื่องกุ้ง แร่ธาตุกุ้งก้ามกราม
การเพาะเลี้ยงกุ้ง
โดยเฉพาะ “แร่ธาตุ” องค์ประกอบหลักของการเจริญเติบโตของกุ้ง ซึ่งแร่ธาตุที่คุณเดียร์เลือกใช้ คือ แร่ธาตุรวม “ไทยเอ็กตร้า พลัส” สินค้าคุณภาพจาก บริษัท ไทยเอ็กตร้า จำกัด
“เมื่อก่อนผมทำงานประจำเป็นวิศวกรโรงงานมา 7 ปี จากนั้นก็ออกมาทำธุรกิจรับซื้อ-ขายส่งปลากะพงอยู่ 1 ปี แต่พอเจอวิกฤติราคาปลาที่ผ่านมา ตนจึงต้องพักธุรกิจนี้ไว้ก่อน และหันกลับมาต่อยอดธุรกิจฟาร์มกุ้งที่บ้าน ภายใต้ชื่อ “สามพี่น้องฟาร์ม”
เริ่มจากปรับปรุงระบบบ่อเลี้ยงใหม่ทั้งหมด ปูพลาสติกพีอีขอบบ่อ ขุดบ่อพักน้ำ และทดลองเลี้ยงกุ้งกุลาดำในพื้นที่ความเค็มต่ำ เพราะผมมองว่าธุรกิจนี้ยังสามารถต่อยอดไปได้ ยังมีตลาดที่รับซื้อ และยังตอบโจทย์ผู้บริโภคอยู่ ในปัจจุบันนี้ได้เห็นเกษตรกรยุคใหม่ได้นำเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการเลี้ยงมากขึ้น
อย่างฟาร์มผมเองก็ได้นำเอาเทคโนโลยี “smart farm” ของบริษัท แฮปปี้ฟาร์ม เกิดผล จำกัด มาใช้เพื่อช่วยในเรื่องการดูแลบ่อกุ้งขาว การใช้ smart farm สามารถดูผลต่างๆ ผ่านทางแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ หรือแอพพลิเคชั่นไลน์ได้ ซึ่งระบบนี้จะช่วยควบคุมระบบต่างๆ ในบ่อเลี้ยง ช่วยแจ้งเตือนเวลาที่อะไรตก อะไรขาด” คุณเดียร์เปิดเผยถึงที่มาและนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้
สภาพพื้นที่เลี้ยงกุ้ง
“สามพี่น้องฟาร์ม” แห่งนี้เน้นการเลี้ยงกุ้งขาว บ่อขนาด 1 ไร่ 1 งาน และกุ้งกุลาดำ บ่อขนาด 2 ไร่ ควบคู่กัน ด้วยคุณเดียร์มองว่ากุ้งกุลาดำยังมีตลาดที่ต้องการอยู่ และด้วยทำเลพื้นที่ที่ใกล้สนามบิน ทำให้การขนส่งไม่ลำบากมาก บวกกับราคาขายกุ้งที่ค่อนข้างสูง ทำให้คุณเดียร์ตัดสินใจที่จะยังคงเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ไว้ อีกทั้งการเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ไม่ต่างจากการเลี้ยงกุ้งขาวมากเท่าไร โดยทางฟาร์มจะเน้นการเติมแร่ธาตุให้เหมาะสม และตามความต้องการของกุ้ง ซึ่งจะช่วยให้กุ้งแข็งแรง และมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี
การบริหารจัดการบ่อกุ้ง
หลังจากจับกุ้งหมดแล้วคุณเดียร์จะเริ่มจัดการบ่อ โดยตากบ่อทิ้งไว้ 1-3 เดือน เมื่อดินแห้งดีแล้วนำรถลงไถลงปรับพื้นบ่อ และขุดหลุมดูดเลนกลางบ่อ จากนั้นเริ่มปรับ pH ในดินให้เป็นกลาง โดยสาดปูนร้อนแบบบางๆ ประมาณ 8 ถุง/ไร่ ตากทิ้งไว้นาน 2 วัน แล้วจึงเริ่มดึงน้ำเข้าบ่อ โดยบ่อของคุณเดียร์จะสูบน้ำตรงจากคลองธรรมชาติเข้าบ่อพัก แล้วจึงสูบเข้าบ่อเลี้ยงอีกครั้ง ในความสูงประมาณ 1.5 เมตร จากนั้นจะทรีตน้ำในบ่อเลี้ยงให้มีค่าที่เหมาะสม ในกุ้งดำจะเลี้ยงน้ำเค็มประมาณ 10 ppt. และในกุ้งขาวน้ำเค็ม….ppt.
จากนั้นจึงติดตั้งเครื่องตีน้ำ ไร่ละ 4 แขน ในบ่อกุ้งดำ และ 8 แขน ในบ่อกุ้งขาว รวมถึงใส่หัวทรายมากถึง 80 หัว ในบ่อกุ้งขาว ซึ่งคุณเดียร์จะเปิดเครื่องตีน้ำในช่วงแรกตลอดเวลา เพื่อให้การหมุนของน้ำช่วยพัดตะกอนดินมารวมกันที่หลุมกลาง คุณเดียร์จะทรีตน้ำประมาณ 10 วัน จึงลงลูกกุ้ง อัตราหนาแน่น 100,000 ตัว/ไร่ ในกุ้งดำ และ 400,000 ตัว/ไร่ ในกุ้งขาว
ช่วงหนึ่งเดือนแรกหลังจากลงลูกกุ้งขาวและกุ้งดำ ทางฟาร์มจะเน้นใส่จุลินทรีย์ ปม.1 ของกรมประมง ที่หมักไว้ 24 ชม. วันละ1,600 ลิตร สลับกับตัวหัวเชื้ออีเอ็มทุกวัน เพื่อเพิ่มความหลากหลายของตัวจุลินทรีย์“ การที่ผมใส่จุลินทรีย์ลงไปเพื่อต้องการสร้างสัตว์หน้าดินด้วย พวกไรแดง หนอนแดง เพื่อใช้เป็นอาหารของลูกกุ้ง อีกทั้งจุลินทรีย์พวกนี้จะช่วยปรับสภาพน้ำในบ่อ และกินพวกของเสียในบ่อ คือ หลังจากลงฆ่าเชื้อตามขั้นตอนก็จะลงตัวจุลินทรีย์ที่หมักไว้ตามลงไป แล้วใส่แร่ธาตุตามความจำเป็นที่บ่อ เพื่อให้น้ำได้ค่าตามมาตรฐาน”
ปัญหาและอุปสรรค กุ้งกุลาดำ และกุ้งขาว
ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำปัญหาหลักๆ ที่มักพบเจอ คือ “กุ้งไม่ลอกคราบ”,“เปลือกกุ้งเป็นสีฟ้า”และเรื่องการกินอาหารที่ถอยลง ทำให้คุณเดียร์มองว่าวิธีแก้ปัญหาที่เร็วที่สุด คือ ต้องเอา “อาหารสด” จำพวกหอยต้ม และปลาสับ มาให้กุ้งกินวันละ 1 มื้อ แทนอาหารเม็ด เพื่อช่วยเสริมโปรตีน และช่วยกระตุ้นการกินในกุ้งกุลาดำ
ซึ่งเมื่อใดที่เริ่มให้ของสด จะต้องให้ยันจับกุ้ง ไม่เช่นนั้นกุ้งจะเริ่มกินกันเอง“ปัญหาของการให้อาหารสดในกุ้งดำ อย่างหนึ่ง คือ ถ้าให้อาหารสดแล้วต้องให้ยันวันจับกุ้งเลย เพราะเขาจะมีนิสัยดุมากขึ้น และจะเริ่มกินกันเอง และอีกสิ่งที่ตามมา คือ ของเสียพื้นบ่อ อันนี้มี 100% ดังนั้นเราก็ต้องเน้นการถ่ายน้ำมากขึ้น ซึ่งเป็นข้อดีนอกจากช่วยถ่ายเทของเสียแล้ว กุ้งยังได้น้ำใหม่ทุกวัน ส่งผลให้กุ้งโตดี กินอาหารมากขึ้น รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์ดักจับตะกอนเพื่อกำจัดของเสียให้ได้มากที่สุด”
และอีกประการสำคัญ คือ ปัญหา “โรคซูโอแทมเนียม” ที่มักติดตามตัวกุ้ง ซึ่งสาเหตุมาจากของเสียพื้นบ่อนั่นเอง นอกจากนี้ทางฟาร์มยังพบปัญหาเวลาที่ยกยอเช็คกุ้ง มักเจอกุ้งเป็นตะคริว ส่วนในกุ้งขาวปัญหาที่พบมากที่สุด คือ “คุณภาพน้ำในบ่อ” ด้วยปัญหาต่างๆ เหล่านี้ทำให้คุณเดียร์หันมาสนใจเรื่องแร่ธาตุหลัก และแร่ธาตุรวม มากขึ้น เพราะตนมองว่าหากแร่ธาตุดี ปัญหาต่างๆ ที่เจออาจจะทุเลาลงได้
จนกระทั่งได้มารู้จักแร่ธาตุรวมสูตรเข้มข้น “ไทยเอ็กตร้า พลัส” จึงตัดสินใจทดลองสั่งซื้อผลิตภัณฑ์มาใช้ในบ่อกุ้งของตน ทั้งกุ้งขาวและกุ้งดำ “ผมนำมาใช้แก้กุ้งเป็นตะคริว มันก็คือปัญหาการขาดแร่ธาตุ จึงได้ติดต่อไป ครั้งแรกซื้อมาลอง 20 ลูก ตอนนั้นกุ้งอายุได้ 10 กว่าวันแล้ว
ครั้งแรกที่ลองใช้ก็เห็นผลเลย น้ำสีโปร่งขึ้น เรื่องกุ้งเป็นตะคริวหายไป จ้ำเนื้อขาวไม่มีเลย ทำให้ลดต้นทุนการใช้แร่ธาตุเพียวได้ด้วย และกุ้งยังได้น้ำหนักดี เนื้อเหนียว เนื้อแน่น ถือว่าผลิตภัณฑ์ของไทยเอ็กตร้าฯ ตอบโจทย์สำหรับผมมาก เพราะในพื้นที่ความเค็มระดับ 5-10 พีพีที. แร่ธาตุมันน้อยอยู่แล้ว แต่พอได้ใช้แร่ธาตุของไทย “เอ็กตร้า พลัส” ถือว่าตอบโจทย์ดีมาก”
เทคนิคการใช้ แร่ธาตุกุ้งก้ามกราม สไตล์ “สามพี่น้องฟาร์ม”
ในส่วนของการใช้ไทยเอ็กตร้าพลัส คุณเดียร์จะเน้นใส่แร่ธาตุทุกวัน เช้า-เย็น ยันวันจับกุ้ง ในอัตรา 40% ของอาหารกุ้ง และให้ช่วงเวลาเดียวกัน ตั้งแต่กุ้งเล็กยันจับ โดยในบ่อกุ้งดำจะใช้วิธีการเทกองไว้ริมบ่อ เพื่อให้แร่ธาตุค่อยๆละลายตัว และให้การไหลเวียนของน้ำค่อยๆ พัดแร่ธาตุลงบ่อ
เนื่องจากในบ่อกุ้งดำจะมีปริมาณกุ้งไม่หนาแน่นมาก แต่สำหรับบ่อกุ้งขาว คุณเดียร์จะใช้วิธีเทเป็นแนวยาวตามสะพานยอ จะช่วยให้กุ้งได้รับแร่ธาตุที่เพียงพอ ซึ่งจะสังเกตได้จากลักษณะตัวกุ้งเวลาที่ยกยอจะไม่เห็นกุ้งที่เป็นตะคริว หรือตัวขาวขุ่น อย่างที่เคยเป็นก่อนที่จะใช้แร่ธาตุ อีกทั้งหลังจากใช้แร่ธาตุไปแล้วจะเห็นว่าลักษณะตัวกุ้งจะใส กุ้งลอกคราบง่ายขึ้น เปลือกแข็งเร็ว ที่สำคัญเมื่อพาเชี่ยนกุ้งออกไปรอบแรก 70 ตัว/กก. (กุ้งขาว) ปรากฏว่าเนื้อกุ้งจะเหนียว และเนื้อแน่น กว่าที่เคย นั่นหมายถึงว่าจะมีน้ำหนักแฝงในตัวกุ้งที่เพิ่มเข้ามา
แนวโน้มในอนาคต
สุดท้ายคุณเดียร์ได้วางเป้าหมายในอนาคตว่าตั้งใจจะเพิ่มอัตราหนาแน่นของกุ้งให้สูงขึ้น เน้นการพาเชี่ยนออกเป็นหลัก และพยายามผลิตกุ้งคุณภาพไซซ์ใหญ่ตามที่ตลาดต้องการให้ได้มากที่สุด เพื่อตอบโจทย์กับผู้บริโภคทั้งในและนอกประเทศ แต่ทว่าเรื่องปัจจัยการผลิตก็มีส่วนสำคัญที่จะทำให้กุ้งได้คุณภาพหรือไม่ ดังนั้นการเลือกซื้อหรือ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์อะไรก็แล้วแต่จะดูที่ราคาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูว่ามันสามารถตอบโจทย์กับกุ้งที่เราเลี้ยงหรือไม่
“ผมชอบเป็นผู้ทดลอง และผู้ศึกษา เห็นอะไรน่าสนใจก็จะหามาทดลองใช้ในบ่อ เพราะการเลี้ยงกุ้งมันไม่มีสูตรตายตัว มันต้องปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา แล้วตอนนี้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในท้องตลาดก็มีเยอะมาก เราไม่สามารถรู้ได้ว่ามันดี หรือไม่ดี จนกว่าเราจะเอามาลองใช้ ถ้าใช้แล้วมันดี เหมาะกับพื้นที่ เหมาะกับกุ้งที่เราเลี้ยง ทุกอย่างมันก็จบ กุ้งที่เลี้ยงก็แข็งแรง ไม่อ่อนแอ หรือปัญหาที่เคยเจอก็จะหายไป อย่าง แร่ธาตุ “ไทยเอ็กตร้า พลัส” ผมถือว่ามันช่วยตอบโจทย์การเลี้ยงของผมได้มาก ทั้งช่วยลดต้นทุน ช่วยให้กุ้งแข็งแรง ตัวใส โตเร็ว แบบนี้คนเลี้ยง Happy คนกินก็ Happy เพราะได้กินกุ้งอร่อย”
ขอขอบคุณข้อมูล คุณวาที จันทร์นุศร (เดียร์) สามพี่น้องฟาร์ม ที่อยู่ 40/2 หมู่ 3 ต.แหลมใหญ่ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร 75000 โทร : 084-884-6341
สนใจสั่งซื้อแร่ธาตุ “ไทยเอ็กตร้า พลัส” ติดต่อได้ที่ บริษัท ไทยเอ็กตร้า จำกัด ที่อยู่ 18/2 หมู่ 8 ต.ไสหร้า อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช 80150 สายด่วน : 094-794-4789 คุณนัฐชุนันท์ กิจเหมทานนท์