“ศิริขวัญฟาร์ม” จำหน่าย “แพะบอร์เลือดแชมป์” ดีกรีถ้วยพระราชทานกว่า 10 สมัย เผยสูตร อาหารแพะ

โฆษณา
AP Chemical Thailand

แพะ สัตว์เศรษฐกิจอีกตัวที่กำลังเป็นที่นิยมเลี้ยงในปัจจุบัน เพราะแพะเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นสัตว์ที่นิยมใช้เลี้ยงทดแทนโค-กระบือ สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่จำกัด และยังให้ผลผลิตที่หลากหลาย ทั้งเนื้อ นม หนัง และขน อาหารแพะ

แพะบอร์โครงสร้างใหญ่ แข็งแรง สมบูรณ์
แพะบอร์โครงสร้างใหญ่ แข็งแรง สมบูรณ์

แต่การที่จะได้ผลผลิตที่ดีนั้นก็ขึ้นอยู่กับการดูแลจัดการที่ดี และสายพันธุ์ที่ดี ซึ่งแน่นอนว่าแพะสายพันธุ์แท้เลือดร้อยย่อมให้ผลผลิตที่ดีกว่าแพะลูกผสมพันธุ์พื้นเมือง แต่การจะนำเข้าแพะสายพันธุ์แท้จากต่างประเทศมาเลี้ยงนั้นอาจเป็นเรื่องยากสำหรับเกษตรผู้เลี้ยงแพะทั่วๆไป

1.คุณกุ๊ก และคุณเก่ง (น้องชาย)
1.คุณกุ๊ก และคุณเก่ง (น้องชาย)

การเลี้ยงแพะ

นิตยสารสัตว์บกฉบับนี้จึงได้พาทุกท่านมารู้จักกับ คุณศิริขวัญ โชติชื่น หรือคุณกุ๊ก เจ้าของฟาร์มแพะกาญจนบุรี “ศิริขวัญฟาร์ม” หญิงแกร่งสาวสวย ที่หลายๆ ท่านรู้จักกันในวงการคนเลี้ยงแพะ และเป็นเจ้าของถ้วยพระราชทานมามากกว่า 10 สมัย

คุณกุ๊กได้ทำการคัดสรรแพะด้วยประสบการณ์และความชำนาญที่มากกว่า 10 ปี เพื่อที่จะนำเข้าสายพันธุ์แพะที่มีคุณภาพมาพัฒนาต่อยอดให้กับเกษตรกรในบ้านเราให้เทียบเท่าสากล  ซึ่งกว่าจะได้แพะแต่ละชุดไม่ใช่เรื่องง่าย  แต่คุณกุ๊กก็สามารถคัดสรรมาได้เพื่อพี่น้องเกษตรกรคนเลี้ยงแพะจะได้มีแพะสายพันธุ์ดีๆไว้ต่อยอดต่อไป

“จุดประสงค์หลักของศิริขวัญฟาร์ม คือ การนำพ่อแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพ เพื่อนำลูกที่ได้แจกจ่ายให้แก่เกษตรกรในราคาที่ถูกลง ไม่ว่าเราจะนำเข้าพ่อแม่พันธุ์แพงแค่ไหน แต่ราคาที่ขายให้แก่เกษตรกรก็เป็นไปตามมาตรฐานของศิริขวัญ

เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแพะสายพันธุ์ดีๆได้ สามารถพัฒนาสายพันธุ์แพะในฟาร์มตัวเองได้ เพื่อที่ต่อไปในอนาคตเกษตรกรจะได้มีแพะสายพันธุ์ดีๆ โดยไม่ต้องไปนำเข้าจากต่างประเทศ และประเทศไทยจะได้มีแพะสวยๆ สู้ของต่างประเทศได้ คุณกุ๊กให้ความเห็นถึงเป้าหมายของศิริขวัญฟาร์ม

โฆษณา
AP Chemical Thailand
2.เจ้าฮีโร่ แพะพันธุ์ตัวแรก เจ้าของถ้วยพระราชทาน
2.เจ้าฮีโร่ แพะพันธุ์ตัวแรก เจ้าของถ้วยพระราชทาน

จุดเริ่มต้นการเลี้ยงแพะ

เดิมครอบครัวคุณกุ๊กทำธุรกิจอยู่ที่กรุงเทพฯ เมื่อคุณพ่ออายุมากขึ้น ท่านก็อยากใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัด จึงได้มาซื้อที่เมืองกาญฯ และได้หันมาเลี้ยงแพะ ซึ่งตอนที่คุณกุ๊กมาทำปีแรกยังไม่มีแพะพันธุ์แท้ ก็ได้เริ่มจากการเลี้ยงแพะลูกผสมก่อน ต่อมาก็ได้รู้จักกับฟาร์มที่นำเข้าแพะจากต่างประเทศ จึงเริ่มติดต่อซื้อแพะพันธุ์นอกเข้ามาในฟาร์ม

ซึ่งคุณกุ๊กเปิดเผยว่า “ตอนแรกเลยที่เริ่มเลี้ยงแพะ พี่กุ๊กไม่ได้นำเข้าเอง แต่จะซื้อจากฟาร์มที่เขานำเข้ามา โดยได้ซื้อพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์มา และนำมาต่อยอดพัฒนาในฟาร์มเรื่อยๆ จนได้มีโอกาสที่เราบินไปเลือกเอง ชุดล่าสุดที่นำเข้ามาเป็นพ่อแม่พันธุ์ 141 ตัว ซึ่งพี่กุ๊กบอกเลยว่าพี่เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้นำเข้าแพะบอร์มาเอง”

พ่อพันธุ์ 2 ตัวแรก ที่นำเข้ามาเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซื้อมาตัวละ 1 แสนบาท ชื่อ ฮีโร่ และนาธาน เป็นแพะบอร์แอฟริกา แต่พ่อพันธุ์นาธานพอให้ลูกได้ครอกแรกก็ตาย ซึ่งคุณกุ๊กได้ให้ความเห็นว่าทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงไม่ว่าจะอาชีพไหนก็ตาม การลงทุนครั้งแรกของคุณกุ๊กหลายล้านบาท ซึ่งตอนนั้นมีคอกเดียว และได้พัฒนาต่อยอดมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นศิริขวัญฟาร์มในปัจจุบัน

3.แพะพ่อพันธุ์แอฟริกา
3.แพะพ่อพันธุ์แอฟริกา
แพะแม่พันธุ์แอฟริกา
แพะแม่พันธุ์แอฟริกา

สายพันธุ์แพะ

ปัจจุบันทางฟาร์มมีแพะพ่อพันธุ์ทั้งหมด 9 ตัว และแม่พันธุ์ 90 ตัว แพะพ่อพันธุ์ทางฟาร์มจะมีทั้งหมด 3 สาย ได้แก่ แอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา ส่วนสายแม่พันธุ์จะเป็นแอฟริกา เพราะแพะทุกๆ สายพันธุ์ ไม่ว่าจะมาจากประเทศไหนก็ตาม ต้นสาย คือ มาจากแอฟริกา ที่ฟาร์มจึงจะเน้นพ่อแม่พันธุ์ที่มาจากแอฟริกาเป็นหลัก และโครงสร้างพ่อพันธุ์ของแอฟริกาจะใหญ่และหนากว่าสายพันธุ์อื่นๆ

เกษตรกรที่มาซื้อแพะที่ฟาร์มส่วนใหญ่จะเลี้ยงแพะลูกผสม จะนำแพะจากศิริขวัญฟาร์มไปผสมกับแม่แพะที่ฟาร์ม เพื่อปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ลูกแพะ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น โครงสร้างใหญ่ และกล้ามเนื้อชัดเจน

ทางฟาร์มจะเริ่มขายลูกแพะที่อายุ 3-4 เดือน หรือหลังหย่านมแล้ว ถ้ายังไม่หย่านมทางฟาร์มจะยังไม่ขาย เพราะกลัวว่าลูกแพะอาจจะไม่รอด หรือร่างกายแคระแกรน ไม่แข็งแรง เพราะการที่ลูกแพะได้กินนมแม่ไม่ถึง 2เดือน อาจทำให้ภูมิคุ้มกันตก แคระแกรน และร่างกายไม่แข็งแรง เมื่อเกษตรกรซื้อไปเลี้ยงอาจเจอปัญหาได้ ซึ่งทางฟาร์มต้องการให้เกษตรกรได้แพะสายพันธุ์ที่ดี และมีสุขภาพแข็งแรง ไปเลี้ยง

โฆษณา
AP Chemical Thailand

นอกจากนี้ที่ศิริขวัญฟาร์มยังมีแพะแคระสายพันธุ์ไนจีเรีย และสายพันธุ์ปิ๊กมี่ สำหรับฟาร์มที่เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งแพะไนจีเรียเป็นสายพันธุ์แพะนม คุณภาพน้ำนมของแพะสายพันธุ์นี้จะมีคุณค่าทางอาหารที่มากกว่าน้ำนมที่ได้จากแพะนมสายพันธุ์ซาแนน

4.โรงเรือนแพะ
4.โรงเรือนแพะ

การบริหารจัดการภายในฟาร์มแพะ

“การที่เราเลี้ยงสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะมาจากประเทศไหนก็ต้องมีการสูญเสียอยู่แล้ว บางครั้งเรานำเข้ามา อาจจะด้วยการกักโรค น้ำไม่สะอาดบ้าง หรืออาหารไม่ดี ก็ทำให้แพะน็อคได้ มันเป็นเรื่องธรรมชาติ มีโอกาสสูญเสียได้อย่างพี่ทำฟาร์มแพะมา 14 ปี ต่อให้เราดูแลจัดการดีแค่ไหนก็มีโอกาสสูญเสียได้

สำหรับคนเลี้ยงแพะ วิชาแพะเป็นวิชาที่ไม่มีวันจบ การเลี้ยงแพะจึงต้องมีการศึกษาเรียนรู้อยู่ตลอด และต้องใช้การดูแลเอาใจใส่ คุณกุ๊กให้ความเห็นเกี่ยวกับการเลี้ยงแพะที่ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา

สิ่งสำคัญที่คุณกุ๊กเน้นย้ำเลย คือ เรื่องความสะอาดของฟาร์ม คอกต้องสะอาด รางอาหารต้องสะอาด ถังน้ำมีการเปลี่ยนน้ำให้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อสิ่งแวดล้อมดีจะส่งผลให้สุขภาพแพะดี ที่ศิริขวัญฟาร์มจะใส่ใจทุกรายละเอียด เน้นทุกการจัดการ จะสังเกตพฤติกรรมแพะตลอด โดยเฉพาะตอนให้อาหาร ถ้าแพะไม่กินแสดงว่าต้องมีอะไรผิดปกติ ก็จะรีบหาสาเหตุ และเข้าไปดูแลจัดการ

5.ลูกแพะหย่านม
5.ลูกแพะหย่านม

สภาพพื้นที่เลี้ยงแพะ

ที่ศิริขวัญฟาร์มจะแบ่งคอกแพะเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคอกสำหรับผสม จะมีพ่อพันธุ์ 1ตัว/แม่พันธุ์ประมาณ 10 ตัว และมีพื้นที่ให้เพียงพอต่อการเดิน นอน และขึ้นผสมของแพะ มีคอกสำหรับแม่และลูก ให้ลูกแพะอยู่กับแม่จนถึงหย่านม  3-4 เดือน เพื่อป้องกันแพะตัวใหญ่เหยียบลูกแพะ เพื่อให้ลูกแพะได้รับอาหารอย่างเต็มที่ และเป็นการพักท้องแม่แพะไปในตัว แต่เพื่อสุขภาพที่ดีของแม่แพะ

ทางฟาร์มจะพักท้องต่ออีกประมาณ 2-3 อาทิตย์ หลังจากลูกแพะหย่านมแล้ว เพื่อให้แม่แพะได้พักทุกอย่างก่อนนำเข้าคอกผสม สุดท้ายเป็นคอกสำหรับแพะที่พร้อมขาย และในอนาคตทางฟาร์มได้มีการสร้างคอกเพิ่มสำหรับแพะป่วย

โฆษณา
AP Chemical Thailand
6.การให้อาหารแพะ
6.การให้ อาหารแพะ

การให้ อาหารแพะ

การให้อาหาร ทางฟาร์มจะให้ข้าวโพดผสมผิวถั่วเป็นหลัก และมีเสริมด้วยอาหารเม็ดสำเร็จรูป ซึ่งข้าวโพดที่นำมาให้แพะกินนั้นจะมีการตกลงกับลูกไร่ว่าไม่ให้ใช้สารเคมีเลย โดยปกติในข้าวโพดจะมีหนอนเยอะ และสารเคมีในยาฆ่าหนอนทำให้แพะตายได้

เพราะที่ฟาร์มเคยเจอเหตุการณ์นี้อยู่ครั้งหนึ่ง ทำให้ที่ฟาร์มเสียหายไปเกือบล้าน และที่ฟาร์มจะมีพื้นที่สำหรับปลูกหญ้าแพงโกล่าสำหรับปล่อยแพะแทะเล็ม และนำมาทำเป็นหญ้าแห้งไว้ให้แพะเพื่อช่วยในเรื่องการเคี้ยวเอื้อง

การเสริมอาหารเม็ด คุณกุ๊กจะให้แค่วันละมื้อเท่านั้น เพราะอาหารเม็ดมีทั้งโทษและประโยชน์ โทษของอาหารเม็ดก็คือ แพะบางตัวกินเข้าไปอาจจะเป็นนิ่วในกระเพาะหรือท่อปัสสาวะ ถ้ากินเข้าไปในปริมาณที่มากเกินไป ทางฟาร์มจึงให้ข้าวโพดผสมผิวถั่วเป็นหลัก ทางฟาร์มจะให้อาหาร 3 รอบ ในช่วงเช้าและช่วงเย็นจะให้ข้าวโพดผสมผิวถั่ว ส่วนในตอนบ่ายจะให้อาหารเม็ดครึ่งถ้วย/ตัว/มื้อ

7.ลำตัวหนา เขาไม่ชิดติดกัน หลังกว้างตรง
7.ลำตัวหนา เขาไม่ชิดติดกัน หลังกว้างตรง

ลักษณะโดดเด่นของแพะ

ส่วนการขยายพันธุ์ ทางฟาร์มจะใช้การผสมด้วยวิธีธรรมชาติทั้งหมด เนื่องจากทางฟาร์มมีพ่อพันธุ์ค่อนข้างเยอะอยู่แล้ว เพียงพอต่อจำนวนแม่พันธุ์ที่มี จึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการผสมเทียม ซึ่งการผสมจริงตัวน้ำเชื้อจะมีความเข้มข้นและปริมาณมากกว่าการผสมเทียม ทำให้มีอัตราการผสมติดที่ดีกว่า และช่วยให้ประหยัดเวลาในการจับสัด และการที่ต้องมารีดน้ำเชื้อเก็บไว้

เมื่อถามถึงลักษณะที่ดีของแพะประกวด คุณกุ๊กได้ให้ความเห็นว่า“ข้อแรกโครงสร้างต้องใหญ่ ลำตัวหนา กะโหลกกว้าง เขาไม่ชิดติดกัน หลังกว้างตรง ขาหน้าต้องตรง หน้าอกกว้าง ตูดผาย ซึ่งลักษณะของแพะที่ฟาร์มส่วนใหญ่คุณกุ๊กจะเน้นไปทางโครงสร้างที่ใหญ่ ยาวและหนา เพื่อให้ผลผลิตลูกที่ได้ออกมาดี

ซึ่งแพะลักษณะนี้จะมีราคาค่อนข้างสูง แต่คุณกุ๊กไม่สนใจเรื่องราคา เพียงต้องการลักษณะที่ดี เพื่อนำมาพัฒนาต่อไป ให้ประเทศไทยได้มีแพะลักษณะดีๆ ไม่มีคำว่าแพง

โฆษณา
AP Chemical Thailand
8.ปล่อยแพะให้แทะเล็มหญ้า
8.ปล่อยแพะให้แทะเล็มหญ้าซึ่งเป็น อาหารแพะ ชั้นดี อาหารแพะ อาหารแพะ อาหารแพะ อาหารแพะ อาหารแพะ อาหารแพะ อาหารแพะ อาหารแพะ

ฝากถึงเกษตรกรที่เลี้ยงแพะ

ตอนนี้ทางศิริขวัญฟาร์มกำลังพัฒนาคอกแพะต่อเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะในอนาคตมีโครงการจะเปิดศูนย์การเรียนรู้สำหรับเกษตรกรที่สนใจ หรืออยากเข้ามาพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และมีการจัดสวนตกแต่งฟาร์มให้พร้อมสำหรับเกษตรกรที่สนใจ หรือท่านใดที่สนใจอยากเข้ามาเรียนรู้ คุณกุ๊กก็พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำ

สุดท้ายคุณกุ๊กได้ฝากทิ้งท้ายถึงพี่น้องเกษตรกรคนเลี้ยงแพะว่า “อยากจะบอกพี่น้องเกษตรกรที่เลี้ยงแพะทุกๆ ท่านว่า การเลี้ยงแพะมันไม่มีวันจบ และมีตลาดรองรับแน่นอน ซึ่งศิริขวัญฟาร์มทำมา 10 กว่าปี ก็ไม่เคยพอที่จะจำหน่ายออกไป มีออเดอร์เข้ามาตลอด ไม่ว่าจะเป็นแพะลูกผสม หรือจะเป็นแพะลูกนอก ก็ไม่พอจำหน่าย เพราะเราไม่ได้ส่งขายแค่ในประเทศอย่างเดียว เราส่งประเทศเพื่อนบ้านด้วย

ก็อยากฝากเกษตรกรที่เลี้ยงแพะอยู่แล้ว หรืออยากหันมาเลี้ยงแพะ อาชีพนี้ก็เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่จะทำให้เรามีรายได้เลี้ยงครอบครัวได้ แต่อยากฝากสำหรับเกษตรที่เพิ่งเริ่มเลี้ยงว่าให้ใจเย็นๆ ค่อยเป็นค่อยไป แล้วคุณก็จะรู้จังหวะในการตอบโจทย์ของแพะ

และสุดท้ายขอฝากศิริขวัญฟาร์มแพะของผู้หญิงตัวเล็กๆ และอีกไม่นานสำหรับศูนย์เรียนรู้ การจัดอบรมให้กับเกษตรกรที่สนใจไม่เกินปีนี้แน่นอนค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณศิริขวัญ โชติชื่น (คุณกุ๊ก) ที่อยู่ หมู่บ้านห้วยรังคง 84 หมู่8 ตำบลยางม่วง อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

หากผู้อ่านท่านใดสนใจแพะบอร์สายเลือดแชมป์ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ เฟสบุ๊ค : ศิริขวัญฟาร์มแพะกาญจนบุรี โทร : 081-918-8229 (คุณกุ๊ก), 065-863-8777 (คุณเก่ง)

โฆษณา
AP Chemical Thailand

อ้างอิง : นิตยสารสัตว์บก ฉบับที่ 330