การเลี้ยงหมู ขุนได้กำไร ในปัจจุบันแม้จะเกิดโรคระบาดต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโควิดที่กำลังกลับมาระบาดอีกรอบ และสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรที่ยังต้องเฝ้าระวังการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (African Swine Fever หรือ ASFอีกด้วย ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร
จุดเริ่มต้น การเลี้ยงหมู
นิตยสารสัตว์บกพามารู้จักกับ สมศักดิ์ฟาร์ม ฟาร์มหมูขุนที่มีรูปแบบการเลี้ยงแบบรับจ้างเลี้ยงกับ บริษัท เบทาโกร จำกัด และได้พูดคุยกับ คุณสมศักดิ์ และคุณสบาไพร นงนวล เจ้าของสมศักดิ์ฟาร์ม เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูขุนมานานกว่า 8 ปี ทั้งสองจะมาเผยถึงอุปกรณ์ตัวสำคัญที่ช่วยให้การจัดการภายในฟาร์มง่ายขึ้น ที่ช่วยให้เลี้ยงหมูขุนได้กำไรถึง 800 บาท/ตัว
“ก่อนหน้านี้ได้ไปช่วยฟาร์มหมูของน้า ได้เก็บประสบการณ์ และความรู้ต่างๆ มา แล้วเห็นว่าได้ผลตอบแทนดี มีรายได้หาเลี้ยงครอบครัวได้ ตัวผมและภรรยาได้ศึกษาเรียนรู้กับฟาร์มหมูของน้าอยู่ 2 ปี เลี้ยงได้ประมาณ 4 รุ่น จึงได้ตัดสินใจออกมาเปิดฟาร์มของตัวเอง” คุณสมศักดิ์เผยถึงที่มาของการทำฟาร์ม
เริ่มต้นเลี้ยงตอนแรก 1 โรงเรือน บรรจุหมูได้ 700-750 ตัว ในโรงเรือนขนาด 14×72 ลงทุนไป 1.6 ล้านบาท รวมโรงเรือนและอุปกรณ์ ใช้พื้นที่ประมาณ 3ไร่ เลี้ยงในรูปแบบรับจ้างเลี้ยงกับเบทาโกรในโรงเรือนระบบปิด ต่อมาได้สร้างเพิ่มอีก 2 หลัง ขนาดโรงเรือน 15×80 บรรจุหมูได้ 800 ตัว ใช้พื้นที่ประมาณ 7 ไร่ครึ่ง
การบริหารจัดการฟาร์มหมู
ส่วนอุปกรณ์ใช้ของ บริษัท บี.อินเตอร์เนชั่นแนล แอนด์ เทคโนโลยี จำกัด ในเครือ เบทาโกร กรุ๊ป ซึ่งตั้งแต่ใช้มา 8 ปี ไม่เคยมีปัญหา อุปกรณ์ที่มีปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นผ้าพีวีซีที่ต้องเปลี่ยนปล่อย เพราะมีปัญหาเรื่องหดตัว ขาด
เพราะปัญหาเหล่านี้ทำให้คุณสมศักดิ์ได้เปลี่ยนมาใช้แอร์โร่ฟอยล์ ซึ่งก่อนที่คุณสมศักดิ์จะตัดสินใจเลือกแอร์โร่ฟอยล์ ก็ได้ศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เมทัลชีทเช่นกัน แต่พบว่าเมทัลชีทมักจะพบปัญหาในช่วง 3 ปีหลัง ปัญหาในเรื่องของสนิม
“พูดจริงๆ ตอนแรกผมไม่รู้จักผลิตภัณฑ์ตัวนี้เลย ผมเล่นโทรศัพท์แล้วบังเอิญเจอผลิตภัณฑ์แอร์โร่ฟอยล์ แล้วมันน่าสนใจ เพราะมันมีฉนวนกันความร้อน คิดว่ามันน่าจะช่วยลดอุณหภูมิในโรงเรือนได้ และได้ไปดูตัวอย่างจากฟาร์มที่ใช้แอร์โร่ฟอยล์ และเห็นว่าช่วยลดอุณหภูมิในโรงเรือนได้จริงตามที่โฆษณา จึงตัดสินใจหันมาใช้แอร์โร่ฟอยล์แทนผ้าพีวีซี” คุณสมศักดิ์เผยที่มาของการเลือกใช้แอร์โร่ฟอยล์
ได้สั่งมาครั้งแรกสำหรับโรงเรือนใหม่ 2 หลัง พอได้ลองใช้แล้ว คุณสมศักดิ์เผยว่า มันตอบโจทย์ได้ดีในเรื่องของการลดอุณหภูมิในโรงเรือน โดยปกติอุณหภูมิที่ฟาร์มจะอยู่ที่ 38-40 องศาฯ ซึ่งสูงเกินไป ทำให้ต้องเปิดน้ำคูลลิ่งแพดอยู่ตลอดเพื่อระบายความร้อน
แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้แอร์โร่ฟอยล์ ช่วยลดอุณหภูมิในฟาร์มได้ถึง 3-5 องศาฯ ไม่จำเป็นต้องเปิดคูลลิ่งแพดตลอดเหมือนฟาร์มเก่า และช่วยให้หมูได้น้ำหนักดีขึ้นด้วย เมื่อเปรียบเทียบหลังเก่าที่ยังไม่ได้ติดตั้งแอร์โร่ฟอยล์ กับหลังใหม่ที่ติดตั้งแล้ว น้ำหนักต่างกันถึง 10 กิโลกรัม
ด้วยคุณสมบัติพิเศษของแอร์โร่ฟอยล์ ที่ผลิตจากแผ่นสะท้อนความร้อน (Heat reflective sheet) ชนิดอลูมิเนียมฟอยล์บริสุทธิ์ทั้ง 2 ด้าน ซึ่งสามารถสะท้อนความร้อนได้สูงถึง 95% ไม่อมความร้อน ไม่ลามไฟ และกันความชื้นได้ดี เหมาะกับงานฟาร์ม ทนทาน ไม่ขาดง่าย อายุการใช้งานยาวนาน ไม่หดตัว 100% และรับประกันการใช้งานนานกว่า 5 ปี
คุณสมศักดิ์ยังได้เผยอีกว่าหากมีใครเข้ามาสอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์แอร์โร่ฟอยล์ ก็สามารถพูดได้เต็มปากว่าสามารถลดอุณหภูมิในโรงเรือนได้จริง เมื่ออุณหภูมิในโรงเรือนดี หมูอยู่สบาย ไม่เครียด ได้ผลผลิตดี ช่วยให้การจัดการง่ายยิ่งขึ้น และสามารถทำความสะอาดได้ง่าย
ต่อไปในอนาคตหากมีโอกาสขยายฟาร์ม คุณสมศักดิ์ยังยืนยันว่าต้องใช้แอร์โร่ฟอยล์แน่นอน และอยากให้เกษตรกรท่านอื่นที่กำลังตัดสินใจ ลองเปิดใจแล้วหันมาลองใช้ผลิตภัณฑ์แอร์โร่ฟอยล์ อาจจะเริ่ม 1 หลังก่อน เพื่อเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ตัวเดิมที่ใช้อยู่
สภาพพื้นที่เลี้ยงหมู
นอกจากนี้ทางฟาร์มยังมีบ่อไบโอแก๊ส ขนาด 500 คิวบ์ สำหรับนำของเสียจากฟาร์มมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตไฟฟ้าใช้ในฟาร์ม และครัวเรือน ช่วยลดต้นทุนค่าไฟ ส่วนน้ำเสียที่เหลือจะนำไปรดแปลงหญ้า และแบ่งให้เพื่อนบ้านนำไปรดสวนยาง
รูปแบบการเลี้ยงที่ฟาร์มจะเป็นระบบเข้าพร้อมกัน ออกพร้อมกัน (all-in, all-out) คือ ในโรงเรือนเดียวกันจะมีการจัดการให้สุกรเขาเลี้ยงพรอมกันทั้งหลัง และเมื่อครบกำหนดส่งออก ก็จะขายสุกรออกไปพรอมกันทั้งหลัง ซึ่งจะช่วยให้การจัดการ การให้อาหาร และการควบคุมปองกันโรคง่ายขึ้น
โดยจะซื้อลูกสุกรหย่านมน้ำหนักอยู่ที่ 5 กิโลกรัม นำมาขุนต่อไปอีก 140-155 วัน จะได้น้ำหนักประมาณ 90-150 กิโลกรัม โดยเฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ 105 กิโลกรัม โดยจะให้อาหาร 2 เวลา เช้า/เย็น ช่วงเช้าจะให้หลังจากทำความสะอาดเสร็จประมาณ 8โมง และให้อีกครั้งในช่วงเย็นตอนประมาณ 5โมง ส่วนปริมาณอาหารจะให้ตามมาตรฐานของหมูในแต่ละช่วงวัย
หลังจากหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้ว ถ้าอัตราการรอดสูงจะได้กำไรดี ตัวหนึ่งจะอยู่ที่ตัวละ 600-800 บาท เพราะเป็นการเลี้ยงในรูปแบบรับจ้างเลี้ยง ถ้าเลี้ยงได้ผลผลิตดี ก็จะได้ผลตอบแทนดี
เมื่อถามถึงสิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับคนเลี้ยงหมู คุณสมศักดิ์ได้ให้คำตอบว่า “โรค” ยิ่งในช่วงนี้ยังมีการระบาดของโรค ASF ทำให้ทางฟาร์มต้องมีการดูแลป้องกันอย่างเข้มงวด แล้วมีการตรวจสอบคนก่อนเข้า-ออกฟาร์ม มีน้ำยาฆ่าเชื้อให้จุ่ม และฉีดพ่นรถทุกคันก่อนเข้าสู่โรงเรือน และโดยปกติแล้วทางบริษัทจะมีสัตวแพทย์มาคอยดูแลแนะนำเป็นประจำ
ฝากถึงผู้ที่สนใจ ผลิตภัณฑ์แอร์โร่ฟอยล์
สุดท้ายคุณสมศักดิ์และคุณสบาไพรได้ฝากทิ้งท้ายถึงผลิตภัณฑ์แอร์โร่ฟอยล์กับอาชีพคนเลี้ยงหมูว่า “เมื่อใช้ผลิตภัณฑ์แอร์โร่ฟอยล์แล้ว รู้สึกว่าตอบโจทย์กับการเลี้ยงหมูมาก โดยเฉพาะคุณสมบัติที่ช่วยลดอุณหภูมิในโรงเรือนได้ ช่วยให้การจัดการต่างๆ ง่ายขึ้น เพราะเมื่ออากาศในโรงเรือนดี ทำให้หมูไม่เครียด กินอาหารได้ดี สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บ ไม่ป่วย และให้ผลผลิตที่ดีตามมา และอาชีพนี้ถือว่าเป็นอีกอาชีพที่ดี มีรายได้ ที่สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้”
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณสมศักดิ์ นงนวล และคุณสบาไพร นงนวล 158 ม.2 ตำบลดงกลาง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด 45180 โทร.080-1715089
หากสนใจผลิตภัณฑ์แอร์โร่ฟอยล์สามารถดูตัวอย่างเพิ่มเติมได้ที่ Website: https://www.denyai.com และสามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ เพจเฟสบุ๊ค : แอร์โร่ฟอยล์ อลูมิเนียมฟอยล์ของคนไทย