กล้วย พืชสวนที่เป็นพืชเศรษฐกิจ มีการบริโภคในรูปสด แช่แข็ง หรือแปรรูปผลิตภัณฑ์ส่งตลาด ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทั้งอาหารและยา ชัดเจน
เหตุที่ได้รับความนิยมเพราะเป็นพืชสุขภาพ แต่การผลิตผลสด ทั้งกล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ กล้วยหอมทอง และกล้วยหอมเขียว เจอโรคตายพราย ที่เกิดจากเชื้อราทำลาย
การเสวนาการแก้ปัญหาโรคตายพรายในกล้วย
เหตุนี้ บริษัท พลังเขียวสร้างชาติ จำกัด จึงได้ร่วมมือกับ 3 ภาคีธุรกิจเกษตร ได้แก่ บริษัท เรนคอทตอน จำกัด บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด และ บริษัท พรหมชีวา จำกัด จัดประชุมความรู้เชิงปฏิบัติการแก่พี่น้องเกษตรกรขึ้น ณ ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 6 ก.พ. ที่ผ่านมา
โดยในงานได้ยึดหลักและปฏิบัติตามกฎระเบียบการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – 19 อย่างเคร่งครัด ทั้งการตรวจวัดอุณหภูมิ , สวมใส่หน้ากากอนามัย , เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และการเตรียมสถานที่ โดยมีการเว้นระยะห่างให้กับผู้เข้ามาร่วมงาน ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องขอบคุณกรมการปกครองอำเภอท่ายางที่เข้ามาดูแลและอำนวยความสะดวกในครั้งนี้
ปัญหาและอุปสรรคของ โรคตายพรายในกล้วย
คุณพายัพ ยังปักษี ประธานสมาพันธ์พลเมืองฐานราก กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลังเขียวสร้างชาติ จำกัด ในฐานะผู้ดำเนินการประชุม กล่าวถึงความสำคัญและจุดประสงค์ของงาน โดยระบุว่า เพื่อเป็นการให้เกษตรกรในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีการเพาะปลูกกล้วยอยู่มาก และเป็นผลผลิตที่สำคัญของพี่น้องเกษตรกรในอำเภอท่ายางแห่งนี้ ได้รับทราบข้อมูลตลอดจนแนวทางการแก้ปัญหาโรคตายพรายในกล้วย เพื่อนำองค์ความรู้ไปต่อยอดและพัฒนา ทั้งในแง่ของผลผลิตและการจัดการไร่สวนของตนเอง
“ โรคกล้วยตายพราย ” เกิดจากเชื้อรา F.OXYSPORUM พบได้ในกล้วยเกือบทุกชนิด อายุตั้งแต่ 4 – 5 เดือนขึ้นไป โดยช่วงแรกตามก้านใบจะมีสีเหลืองอ่อน ของใบแก่ ซึ่งต่อมาเชื้อราจะลุกลามไปยังขอบใบ และจะเหลืองทั้งใบ หากป้องกันไม่ทันเชื้อราเข้าทำลายลำต้นและลุกลามเข้าสู่ก้านใบโคนใบแก่ สีเหลืองซีด ในที่สุดลำต้นจะยืนต้นตายหรือล้มตาย
การป้องกันและควบคุมโรคตายพรายในกล้วย
ด้วยเหตุนี้วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดต้องอาศัยองค์ความรู้ในเรื่องของการจัดการอย่างถูกวิธี และตรงจุด คุณสัญญา ศรีพงษ์พันธ์กุล หรือ หมอญะฮ์ และคุณมนตรี บุญจรัส 2 ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการและแก้ปัญหาต่างๆ ในภาคการเกษตรมาอย่างยาวนาน จึงได้เข้ามาให้ข้อมูลเชิงลึก พร้อมกับอธิบายตั้งแต่กลไกและปัจจัยต่างๆ อาทิ การป้องกันและการควบคุมโรค เพื่อเป็นทั้งการทราบถึงต้นตอของปัญหา และวิธีป้องกันตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค
โดยเนื้อหาการเสวนา ประกอบด้วย
- บทบาทของดินและน้ำ
- ความสำคัญของนวัตกรรม
- ฉลาดใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ
- รู้ลึกเรื่องโรคกล้วยตายพราย
การแก้ปัญหาโรคตายพรายในกล้วย
คุณผาณิต ตันติสุขารมณ์ หรือที่คนเพชรฯ เรียก “ เจ๊หน่อย ” ผู้ประสานงานการประชุม เผยถึงภาพรวมของเกษตรกรในเพชรบุรีว่า ” ที่นี่มีชาวสวนปลูกกล้วยกันจำนวนมาก ซึ่งแต่ละคนก็เจอปัญหาที่ต่างกันออกไป แต่สำหรับชาวสวนที่ปลูกกล้วยนั้นเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะไม่เจอเรื่องของโรคตายพราย ดังนั้นข้อมูลและแนวทางแก้ปัญหาจึงสำคัญอย่างมาก ที่เกษตรกรต้องรู้และเข้าใจเพื่อนำไปแก้ปัญหา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิต ”
ปัจจุบันเกษตรกรที่ทำสวนผลไม้ในเพชรบุรีได้มีการปลูกพืชกันหลายชนิด อาทิ อินทผาลัม ทุเรียน กล้วย มะนาว ชมพู่ หรือโกโก้ ซึ่งส่วนหนึ่งก็ต้องยอมรับว่าเป็นเพราะพื้นที่และสภาพภูมิอากาศของจังหวัดนั้นเอื้อต่อการทำเกษตรที่หลากหลาย
ชาวสวนกล้วย และผู้ใหญ่บ้านหลายหมู่ ที่เข้าร่วมเสวนา แล้วได้ทราบสาเหตุของโรคตายพราย 3 คน ขออาสาเข้าทดสอบเชื้อราในแปลง ได้แก่ คุณพิฑูร ตันติสุขารมณ์ (เฮียทัด) คุณเสรี กอวชิรพันธ์ และ คุณช้อยจู อัครสกุลภิญโญ ซึ่งทีมวิชาการหมอญะฮ์ได้อำนวยความสะดวกด้านผลิตภัณฑ์ สร้างภูมิคุ้มกันโรคตายพราย ไม่นานผลการทดสอบจะออกมาสู่ชาวกล้วยทั่วประเทศ ขณะเดียวกัน ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ และ บริษัท ไทยกรีนอะโกร จำกัด ก็จะใช้นวัตกรรมจุลินทรีย์ป้องกันกำจัดโรค/ศัตรูกล้วย เข้ามาเสริม เป็นการใช้อินทรีย์ชีวภาพอย่างมีหลักการ จะได้ “กล้วยปลอดสาร” ซึ่งเรื่องนี้คุณมนตรีได้ขับเคลื่อนมาหลายทศวรรษ มีผลงานเชิงประจักษ์มากมาย
ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายผลผลิตกล้วย
เมื่อผลผลิตกล้วยปลอดสารออกมา บริษัท พรหมชีวา จำกัด นำโดย ดร.สุขุม วงประสิทธิ และ คุณเตือนใจ ขันติยู จะรับผิดชอบการตลาดโดยตรง
กิจกรรมทั้งหมดเพื่อป้องกัน/หยุดโรคตายพรายในกล้วยที่ท่าไม้รวกครั้งนี้ จัดโดย บริษัท พลังเขียวสร้างชาติ จำกัด ถ่ายทอดองค์ความรู้โดย สำนักข่าวพลังเกษตร ผู้นำด้านข่าวสารการเกษตรของประเทศ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางและการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการทำเกษตรได้ที่
-บริษัท เรนคอทตอน จำกัด หรือ เพจFacebbok ” บริษัท เรนคอทตอน จำกัด ” และทีมงานหมอญะฮ์ ชัดเจน
-บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด หรือ เพจFacebook ” Thai Green Agro ” และ เว็บไซต์ thaigreenagro.com และ
-บริษัท พรหมชีวา จำกัด โทร. 087 – 405 – 9339