ส้มโอ “ ทับทิมสยาม ”
คุณ ฉัตรชัย ศีลประเสริฐ เจ้าของสวนลุงน้อย ทับทิมสยาม ท่าน อายุ 63 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ 6/19 ถ.พัฒนาการคูขวาง ต.ในเมือง จ.นครศรีธรรมราช เป็นคนภาคกลางครับ มีเนื้อที่การปลูก 15 ไร่ และลูกสวนอีกประมาณ 45 ไร่ ท่านมองเห็นว่า “ส้มโอทับทิมสยาม” เป็นสินค้าเศรษฐกิจของเมืองนครศรีธรรมราช ราคาค่อนข้างสูง จึงสร้างผลกำไรให้กับเกษตรกรได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ และมีความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศสูง เพราะมีเนื้อสีแดงเข้มแบบสีทับทิม เป็นเอกลักษณ์ มีรสชาติหวาน มีกลิ่นหอมถูกใจผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ท่านให้ความรู้ด้านการปลูกดังนี้
ระยะเวลาการปลูก
ส้มโอทับทิมสยามมีระยะเวลาในการปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 15-20 ปีกันเลยทีเดียว ( ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาครับ ) โดยแบ่งเป็น ระยะเวลาในการปลูกประมาณ 3 ปี และ มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวผลผลิตอีกประมาณ 15 – 18 ปี “ผลผลิตต่อส้มโอทับทิมสยาม 1 ต้น (ต้นที่สมบูรณ์ๆนะครับ)” ส้มโอทับทิมสยาม 1 ต้น ให้ผลผลิตได้ประมาณ 80-100 ลูก/เดือน
การขยายพันธุ์ส้มโอ
ทำได้หลายวิธี คือ การเพาะเม็ด การติดตา การเสียบกิ่ง และการตอน
แต่ปัจจุบันนิยมคือการตอน ซึ่งเป็น วิธีที่ชาวสวนส้มโอมีความชำนาญมาก เนื่องจากมีข้อดีหลาย ประการ เช่น วิธีการทำง่าย อุปกรณ์หาได้ง่าย ราคาถูก ออกรากเร็ว ต้นที่ได้ไม่กลายพันธุ์ ให้ผลเร็ว ต้นไม่สูง ทรงต้น เป็นพุ่ม สะดวกในการเข้าไปดูแลรักษา แต่ก็มีข้อเสียคือ อายุไม่ ยืน และอ่อนแอต่อโรค อุปกรณ์ที่ใช้ในการตอนกิ่งส้มโอมีดังนี้ มีด ขุยมะพร้าว ถุงพลาสติก และเชือกฟาง
ฤดูที่ทำการตอนกิ่งส้มโอ :
ตามปกติแล้ว การตอนกิ่งไม้ทุกชนิดจะทำการตอนใน ฤดูฝน คือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม เพราะ ในระยะนั้นต้นไม้กำลังอยู่ในระยะที่กำลังเจริญเติบโต ฝนตก บ่อยไม่ต้องเสียเวลาในการรดน้ำให้กับกิ่งตอน
การคัดเลือกกิ่งตอน
ก่อนที่จะทำการคัดเลือกกิ่งส้มโอที่จะตอน ต้อง พิจารณาเลือกต้นก่อน เพราะถ้าต้นแม่พันธุ์ที่ใช้ตอนไม่ดีแล้ว กิ่งตอนที่จะนำไปปลูกต่อไปก็จะไม่ดีด้วย ซึ่งมีหลักในการ พิจารณาหลายประการ เช่น
– เลือกต้นแม่พันธุ์ที่ให้ผลแล้ว ซึ่งทำให้เราสามารถ จะพิจารณาลักษณะที่ดีๆ ตามมาได้อีก
– เป็นต้นที่ให้ผลดก ให้ผลสม่ำเสมอ เป็นพันธุ์ดี และมีรสดี
– เลือกจากต้นที่มีความเจริญเติบโต แข็งแรง สังเกต จากมีการเจริญเติบโตดีกว่าต้นอื่นๆ
– เลือกจากต้นที่ปราศจากโรคและแมลงรบกวน
เมื่อเลือกได้กิ่งที่สมบูรณ์ตามต้องการแล้ว จึงทำการ ควั่นกิ่ง การควั่นนั้นให้ควั่นที่ใต้ข้อของกิ่งเล็กน้อย เนื่องจาก บริเวณข้อของกิ่งจะสะสมอาหารไว้มาก ทำให้การงอกของ รากเร็ว และได้รากจำนวนมาก รอยควั่นด้านล่างห่างจาก รอยควั่นบนเท่ากับความยาวของเส้นรอบวงของกิ่ง กรีดที่ เปลือกระหว่างรอยควั่นทั้งสอง ลอกเปลือกตรงรอยควั่นออก ส่วนมากแล้วกิ่งที่ลอกเปลือกออกได้ง่ายจะงอกรากได้เร็วกว่า กิ่งที่ลอกเปลือกออกยาก ใช้มีดขูดเยื่อเจริญซึ่งมีลักษณะเป็น เยื่อลื่นๆ ออกให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้เยื่อเจริญมาประสานกัน ต่อได้อีก ซึ่งจะทำให้รากไม่งอก สังเกตได้โดยใช้มือจับดู ถ้าหาก ลื่นแล้วแสดงว่าขูดเยื่อเจริญออกหมดแล้ว
*** นำถุงขุยมะพร้าวที่เตรียมไว้มาผ่าตรงกลาง จากด้านที่ มีเชือกมัดจนถึงก้นถุงใช้มือแหวกขุยมะพร้าวให้แยกออกเป็นร่อง นำไปหุ้มรอยควั่น พร้อมกับมัดด้วยเชือกฟางให้แน่นอย่าให้ ถุงขุยมะพร้าวหมุนได้
การปลูกส้มโอ :
ถ้าเป็นการปลูกส้มโอแบบยกร่อง จะปลูกเป็นแถวเดียว ใช้ระยะปลูกระหว่างต้นประมาณ 6 เมตร โดยขุดหลุมปลูกกลางแปลงดิน ส่วนการปลูกในพื้นที่ดอนจะปลูกตามลักษณะของพื้นที่โดยให้มีระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว ประมาณ 6 x 6 เมตร
หลุมปลูกควรมีขนาดความกว้างประมาณ 0.5 เมตร ขุดหลุมแยกดินบนและดินล่างไว้แยกกัน กองไว้ปากหลุม แล้วตากดินทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 เดือน เพื่อให้แสงแดดฆ่าเชื้อโรคเชื้อราต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน ผสมดินปนกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เศษใบไม้ หญ้าแห้ง และบางส่วนของดินชั้นล่าง แล้วกลบลงไปในหลุมจนเต็มปากหลุม นำกิ่งพันธุ์ส้มโอที่เตรียมไว้ปลูกตรงกลางหลุม โดยให้ระดับของดินอยู่เหนือตุ้มกาบมะพร้าว กิ่งตอนเล็กน้อย หรือถ้าเป็นกิ่งตอนที่ชำแล้วให้ระดับพอดีกับระดับดินที่ชำ แล้วใช้ไม้หลักปักให้ถึงก้นหลุมเพื่อกันลมโยก รดน้ำให้ชุ่ม หาวัสดุพรางแสงแดด เช่น ทางมะพร้าว หรือกิ่งไม้ที่มีใบใหญ่พรางแสงแดดทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตก
ประโยชน์ของการตัดแต่งกิ่ง :
– เพื่อให้การออกดอกติดผลดีขึ้น เนื่องจากใบได้รับแสงแดดทั่วถึงกัน การปรุงอาหารของใบมีประสิทธิภาพมากขึ้น
– ช่วยลดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช เนื่องจากการตัดแต่งกิ่งที่มีโรคแมลงทิ้งไป
– ช่วยให้กิ่งแย่งอาหารลดน้อยลง เพราะกิ่งนี้ ชาวสวนต้องตัดทิ้งจะเป็นกิ่งที่คอยแย่งอาหารและไม่ค่อยออก ดอกติดผล
– ช่วยทำให้ขนาดของผลส้มโอได้ขนาดตามที่ ตลาดต้องการ
การกำจัดวัชพืช
ในสวนส้มโอทุกแห่งมักจะมีปัญหาจากวัชพืชที่ขั้นรบกวน ถ้ามีจำนวนมากก็จะก่อให้เกิดผลเสียหาย เพราะนอกจากจะแย่งน้ำและอาหารแล้วังเป็นแหล่งสะสมโรคและแมลงอีกด้วย จึงต้องคอยควบคุมอย่าให้มีวัชพืชมาก แต่การกำจัดหญ้าหรือวัชพืชอื่นให้หมดไปเลยก็ไม่ดีควรให้มีเหลืออยู่บ้างจะช่วยยึดดินไม่ให้หน้าดินพังทลาย รวมทั้งช่วยป้องกันกายระเหยของน้ำได้อีกด้วย
การดูแลรักษาขึ้นอยู่กับเจ้าของสวนแต่ละสวน
ลูกค้าที่ต้องการปลูกเชิงธุรกิจ ปรึกษาลุงน้อยได้โดยตรง ตั้งแต่เริ่มปลูกจนเก็บผลผลิต และลุงน้อยจะไปรับซื้อเองถึงสวนเลย
รับสมัครตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศไม่มีค่าสมัครแม้แต่บาทเดียว ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับยอดการขายของแต่ละคนสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ คุณฉัตรชัย ศีลประเสริฐ เจ้าของสวนลุงน้อยส้มโอทับทิมสยาม ติดต่อที่เบอร์.084-058-8691 ( WWW.ส้มโอทับทิมสยาม.COM )
tags: ทับทิมสยาม ส้มโอ ส้มโอทับทิมสยาม OTOP การปลูกและการดูแลส้มโอทับทิมสยาม ส้มโอ
[wpdevart_like_box profile_id=”108666299214543″ connections=”show” width=”300″ height=”220″ header=”big” cover_photo=”show” locale=”th_TH”]